หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    อาหารและการให้อาหารโคนม-1
    โคนมเป็นสัตว์สี่กระเพาะ   หรือที่เรียกว่า   สัตว์เคี้ยวเอื้อง   ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ประเภทนี้จะมี 2 ชนิด  คือ  อาหารหยาบ  เช่น หญ้า  ถั่วอาหารสัตว์   ฟางข้าว   และอาหารข้น   เช่น  อาหารผสม   ในการให้อาหารแก่โคนม   อาหารทั้ง 2 ชนิดจะมีความสำคัญเท่า ๆ กันและต้องมีความสัมพันธ์กันเพื่อที่จะทำให้โคนมสามารถให้น้ำนมได้สูงสุดตามความสามารถของโคแต่ละตัวที่จะแสดงออก   
       โคนมในปัจจุบัน  ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จนมีความสามารถในการให้น้ำนมได้สูงกว่าแต่ก่อน   ลำพังการให้อาหารหยาบเพียงอย่างเดียวโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารหยาบในเขตร้อนอย่างประเทศไทยซึ่งมีคุณค่าทางอาหารต่ำ   มีโภชนะไม่เพียงพอแก่ความต้องการของแม่โคนม   จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องการให้อาหารข้นเสริม   จะเห็นได้ว่าอาหารข้นจะเข้ามามีบทบาทต่อการผลิตน้ำนมมากขึ้น   นอกจากนั้นบทบาทที่สำคัญอีกอย่างก็คือ   จะเป็นตัวกำหนดผลตอบแทนที่จะได้รับจากการเลี้ยงโคนมทั้งนี้เพราะ   ค่าใช้จ่ายในด้านอาหารจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุด   คือประมาณร้อยละ 70 ของต้นทุนทั้งหมด   ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของประเทศกำลังประสบอยู่   นั่นคือ   ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบที่สูงขึ้น   ฉะนั้นการให้อาหารแก่โคนมอย่างเหมาะสมนอกจากจะสามารถช่วยให้แม่โคนมสามารถให้น้ำนมได้สูงขึ้นแล้ว   ยังสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย
        อย่างไรก็ตาม  การให้อาหารข้นแก่โคนมก็มีข้อที่จะต้องพิจารณาอยู่มาก   ซึ่งจากการสำรวจพบว่า   เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้อาหารข้น   ทั้งเรื่องเกี่ยวกับว่า   อาหารข้นควรจะมีคุณภาพอย่างไร   ประกอบด้วยอะไรบ้าง   และจะให้โคนมกินปริมาณเท่าไร   ซึ่งคำถามต่าง ๆ เหล่านี้มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ   ก่อนที่จะกล่าวถึงในเรื่องของการให้อาหารเกษตรกรควรที่จะทำความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ที่จะไปมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง   อาทิเช่น

    ความต้องการสารอาหารของแม่โคนม

              แม่โคนมแต่ละตัวมีความต้องการสารอาหารได้แก่   โปรตีน   พลังงาน   วิตามิน   แร่ธาตุ   ฯลฯ   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะ (1) บำรุงร่างกาย (2) เจริญเติบโต (3) ผลิตน้ำนม (4) เพื่อการเจริญเติบโตของลูกในท้อง   แม่โคจะนำสารอาหารที่ให้กินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ตามลำดับ  ทำให้แม่โคแต่ละตัวซึ่งมีน้ำหนักตัวต่างกัน   และให้นมจำนวนไม่เท่ากัน   มีความต้องการสารอาหารแตกต่างกันไป   นอกจากนั้นในแม่โคตัวเดียวกันก็ยังมีความต้องการสารอาหารในแต่ละช่วงแตกต่างกันไปอีกซึ่งจะขึ้นอยู่กับ

              1.  ช่วงระยะการให้น้ำนม   แม่โคนมที่อยู่ในระยะใกล้คลอดหรือหลังคลอดใหม่ ๆ แม่โคนมที่อยู่ระหว่างการให้น้ำนมสูงสุด (2เดือนแรกของการให้นม)   การให้นมช่วงกลาง   การให้นมในช่วงปลาย   และช่วงหยุดการให้นม   จะมีความต้องการสารอาหารในแต่ละระยะการให้นมที่แตกต่างกัน   ทั้งนี้เพราะปริมาณน้ำนมที่แม่โคผลิตได้ในแต่ละช่วงจะแตกต่างกัน

              2.  สภาพของร่างกายโคนมที่สามารถให้น้ำนมได้เต็มที่   สุขภาพของแม่โคจะต้องพร้อม  คือไม่ควรจะอ้วนหรือผอมจนเกินไป   จึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารที่มากขึ้น   ทั้งนี้เพราะโคจะต้องใช้สารอาหารในการบำรุงร่างกายและเจริญเติบโตก่อน   จึงจะนำไปใช้ในการสร้างน้ำนม

              เมื่อเกษตรกรได้รู้ถึงความต้องการสารอาหารของโคแล้ว   ซึ่งในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงความต้องการสารอาหารแต่ละชนิดเพราะอาจจะทำให้สับสน   แต่อยากจะให้เกษตรกรได้ทราบถึงเหตุผลว่า   ทำไมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้อาหารต่างกันในโคแต่ละตัวหรือในโคตัวเดียวกันแต่ต่างระยะเวลา

    ปริมาณการกินอาหารของแม่โค

              แม่โคนมแม้จะต้องการสารอาหารมากเพียงไร   แต่ปริมาณอาหารที่แม่โคกินได้นั้นมีอย่างจำกัด   ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากความจุของกระเพาะโคเองหรืออาจจะเนื่องมาจากลักษณะและคุณภาพของอาหารที่ให้แก่โค   ฉะนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมควรจะทราบด้วยว่า   โคนมของท่านแต่ละตัวจะสามารถกินอาหารได้วันละเท่าใด   เพื่อที่จะทำให้ทราบว่า   สารอาหารที่แม่โคได้รับนั้นจะเพียงพอหรือไม่กับการให้น้ำนมของแม่โค   การผลิตน้ำนมให้ได้มาก ๆ นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ได้รับเพียงอย่างเดียวแต่คุณภาพของอาหารมีความสำคัญยิ่งกว่าคาดคะเนปริมาณการกินอาหารของโค   ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับปัจจัยหลัก 2 ปัจจัยคือ   น้ำหนักตัวของแม่โคและปริมาณน้ำนมที่แม่โคนั้นผลิตได้   ซึ่งในเรื่องของน้ำหนักตัวของแม่โคเกษตรกรมักจะไม่ทราบเพราะไม่มีเครื่องชั่งสัตว์ในฟาร์ม   แต่ก็พอจะประมาณได้   เพราะโคลูกผสมขาว-ดำในเมืองไทยจะมีน้ำหนักโดยประมาณนี้เป็นตัวคำนวณปริมาณอาหารต่อไปได้   และเมื่อพิจารณาร่วมกับปริมาณน้ำนมที่ผลิตได้ก็พอจะประมาณการกินอาหารของแม่โคได้ดังนี้
    ตาราง ปริมาณอาหารที่คาดว่าแม่โคจะกินได้ต่อวัน คิดเป็นร้อยละของน้ำหนักตัว
    ปริมาณน้ำนมที่ให้
    (ก.ก./วัน)
    น้ำหนักตัวแม่โค (ก.ก.)
    400
    450
    500
    10
    2.5
    2.4
    2.3
    14
    2.7
    2.6
    2.5
    18
    2.9
    2.8
    2.7
    18
    2.9
    2.8
    2.7
    26
    3.4
    3.3
    3.2
    30
    3.7
    3.6
    5.5
    ที่มา :  ดัดแปลงจากตารางมาตรฐานความต้องการโภชนะของแม่โคนม (NRC,  1988)

             เมื่อดูจากตารางแล้ว   เกษตรกรอาจสงสัยว่า   ทำไมแม่โคนมที่มีน้ำหนักมากจึงกินอาหารได้น้อยกว่าแม่โคที่มีน้ำหนักน้อยกว่าถ้าให้นมเท่ากันทั้งนี้เพราะว่า   ตารางที่แสดงนั้น   แสดงเป็นค่าของร้อยละของน้ำหนักตัวแม่โค   ซึ่งจริงแล้วแม่โคที่มีน้ำหนักมากกว่าจะกินอาหารมากกว่าแม่โคที่มีน้ำหนักน้อยกว่า   ถ้าคิดเป็นจำนวนกิโลกรัมของอาหาร   ตัวอย่างเช่น   จะคาดคะเนปริมาณการกินอาหารของแม่โคที่มีน้ำหนักประมาณ 400 ก.ก.  และสามารถให้นมวันละ 18 กิโลกรัมว่าแม่โคจะกินอาหารได้วันละเท่าใด   เมื่อดูจากตารางจะเห็นว่าแม่โคกินอาหารได้ประมาณ  2.9  เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว  เท่ากับ   (2.9x400)/100 = 11.6 กิโลกรัม   คำตอบคือ   แม่โคจะกินอาหารที่มีน้ำหนักแห้งได้ประมาณวันละ  11.6   กิโลกรัม   แต่แม่โคที่มีน้ำหนักตัว  500 ก.ก.  และให้นม 18 ก.ก / วัน  เหมือนกันจะกินอาหารคิดเป็นน.น.แห้งได้  (2.8x500)/100 = 13.5  กิโลกรัมเป็นต้น

    ปริมาณการกินอาหารหยาบ
              ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า   โคนมเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องจึงจำเป็นต้องได้รับอาหารหยาบอย่างเพียงพอ   ซึ่งในจุดนี้เกษตรกรบางส่วนไม่ค่อยได้คำนึงถึงมากนัก   อย่าคิดแต่เพียงว่าถ้าให้อาหารข้นมาก ๆ โคจะได้รับสารอาหารมาก   และจะทำให้ผลผลิตน้ำนมได้มาก   ตรงกันข้ามในความเป็นจริงแล้วโคที่ได้รับอาหารข้นมากเกินไป   กลับทำให้ผลผลิตน้ำนมลดลงด้วยซ้ำ   เนื่องจากการที่โคได้รับอาหารหยาบน้อยเกินไป   อาจจะทำให้เกิดอาการผิดปกติในระบบการย่อยอาหารคือ   เกิดความเป็นกรดในกระเพาะผ้าขี้ริ้วมากจนโคไม่ยอมกินอาหาร   ทั้งนี้เพราะอาหารหยาบมีเยื่อใยสูง   จะช่วยในการเคี้ยวเอื้องทำให้ต่อมน้ำลายของโคหลั่งน้ำลายได้มากขึ้น   และน้ำลายนี้เองมีฤทธิ์เป็นด่างจะช่วยปรับสภาพภายในกระเพาะผ้าขี้ริ้วให้เหมาะสมแก่การทำงานของจุลินทรีย์   เพื่อสังเคราะห์โปรตีนและพลังงานแก่โคต่อไป
              เกษตรกรจึงจำเป็นที่จะต้องมีอาหารหยาบเพียงพอให้แก่โค   ซึ่งระดับของอาหารหยาบเมื่อคิดเป็นน้ำหนักแห้งที่แม่โคควรจะได้รับต่อวันไม่ควรต่ำกว่า  1.4  เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว   ตัวอย่างเช่น   แม่โคนมมีน้ำหนักประมาณ  400  กิโลกรัม   ควรจะได้รับอาหารหยาบแห้งตามที่ได้กำหนดไว้ดังต่อไปนี้คือ   แม่โคนมที่มีน้ำหนักตัว  100  กิโลกรัม   ต้องการอาหารหยาบ = 1.4 กิโลกรัม   แม่โคที่มีน้ำหนักตัว  400  กิโลกรัม  ต้องการอาหารหยาบ = (1.4 x 400) / 100  กิโลกรัม
              แม่โคควรจะได้รับอาหารหยาบแห้ง/วัน =  5.6 กิโลกรัม  เมื่อนำมาคิดเทียบกลับไปเป็นหญ้าสดซึ่งทั่ว ๆ ไปมีวัตถุแห้งประมาณ  25  เปอร์เซ็นต์  ดังนั้นโคควรจะได้รับหญ้าสดในปริมาณวันละ = (5.6 x 100) / 100 =  22.4  กิโลกรัม


    คุณภาพของอาหารหยาบ
              เมื่อทราบถึงปริมาณของอาหารหยาบที่จำเป็นที่แม่โคจะต้องได้รับต่อวัน   เพื่อที่จะทำให้ระบบการย่อยอาหารเป็นไปอย่างปกติแล้ว   สิ่งที่ต้องคำนึงถึงต่อมาก็คือ   อาหารหยาบที่ให้แก่แม่โคมีคุณภาพเป็นอย่างไร   โคจะใช้ประโยชน์ได้มากน้อยแค่ใหน   ทั้งนี้เพราะคุณภาพของอาหารsยาบจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของอาหารข้นด้วย   คือ   ถ้าอาหารหยาบที่ให้แก่โคมีคุณภาพต่ำอาหารข้นที่จะใช้เสริมจำเป็นต้องมีคุณค่าทางอาหารสูง   ซึ่งผลการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหาร   ทางกลุ่มงานวิเคราะห์อาหารสัตว์   กองอาหารสัตว์ได้จัดทำสรุปไว้แล้ว   แต่ในเอกสารฉบับนี้จะขอนำเอาผลการวิเคราะห์ของอาหารหยาบที่มีใช้ทั่ว ๆ ไปมาเสนอเท่านั้น  (ดังแสดงในตารางที่2)

    ตารางผลการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของอาหารหยาบที่มีใช้โดยทั่วไป
    ชื่ออาหาร
    %ความชื้น
    %วัตถุแห้ง
    %โปรตีน
    %เยื่อใย
    คุณภาพ
    ถั่วฮามาต้าแห้ง
    10.40
    89.60
    14.67
    26.60
    ///
    ใบกระถินแห้ง
    10.40
    89.60
    18.59
    9.30
    ///
    หญ้าสด(รูซี่,กินนี)
    75.90
    24.10
    2.55
    6.92
    //
    เปลือกข้าวโพดฝักอ่อน
    82.00
    18.00
    2.26
    3.78
    //
    ต้นข้าวโพดฝักอ่อน
    73.60
    26.40
    1.16
    6.94
    /
    เปลือกสับปะรด
    81.67
    18.33
    0.66
    2.09
    /
    ยอดอ้อย
    62.33
    37.67
    3.26
    13.41
    /
    หญ้าธรรมชาติในฤดูฝน
    72.90
    27.10
    10.62
    7.56
    //
    ฟางข้าว
    8.60
    91.40
    3.43
    27.66
    /
    /// = คุณภาพดี
    // = คุณภาพปานกลาง
    / = คุณภาพต่ำ

    หมายเหตุ   การจำแนกคุณภาพของอาหารหยาบในที่นี้จะใช้เปอร์เซ็นต์โปรตีนหยาบเป็นหลักในการจำแนก   เพื่อให้สอดคล้องกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนในสูตรอาหารข้นที่จะกล่าวถึงต่อไป
        คุณภาพของอาหารหยาบ   นอกจากจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของอาหารข้นแล้ว   ยังเป็นตัวควบคุมในเรื่องการกินอาหารของแม่โคด้วย   เพระาถ้าใช้อาหารหยาบคุณภาพต่ำอาทิเช่น   ฟางข้าว   หรือหญ้าธรรมชาติในช่วงที่ออกดอกแล้ว   โคจะย่อยได้น้อย   ทำให้การกินอาหารลดลงตามไปด้วย   เกษตรกรควรจะหาวิธีการที่จะแก้ปัญหานี้   ซึ่งอาจจะทำได้โดยการเพิ่มคุณภาพ   และการใช้ประโยชน์ของอาหารหยาบ   เช่นการสับฟางเป็นชิ้นเล็ก ๆ การทำฟางปรุงแต่ง   หรือการใช้ใบพืชตระกูลถั่วที่มีคุณภาพสูงให้กินร่วมกับฟาง   เพื่อให้อาหารหยาบนั้นมีความน่ากินและมีการย่อยได้สูงขึ้น   นอกจากนั้นในเรื่องฤดูกาลเช่น   ในช่วงที่มีอากาศร้อน   ก็จะทำให้แม่โคกินอาหารหยาบได้ลดลงเช่นกัน
    ....
    ... ทั้งนี้เพราะความร้อนที่เกิดจากขบวนการหมักของอาหารหยาบในกระเพาะผ้าขี้ริ้วของโค   ไม่สามารถจะระบายออกนอกร่างกายได้ทัน   เนื่องจากอุณหภูมิภายในตัว   โคมีอาการหอบชอบยืนแช่น้ำและกินอาหารลดลง   เกษตรกรอาจจะแก้ไขปัญหานี้โดยพยายามให้อาหารหยาบแก่โคทีละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งขึ้น   และพยายามให้อาหารหยาบในช่วงเวลาที่อากาศเย็นลง   เช่น  กลางคืน   หรือจะใช้วิธีอาบน้ำและใช้พัดลมช่วย   หรืออาจจะใช้หลายวิธีร่วมกัน   อย่างไรก็ตามเกษตรกรต้องคำนึงอยู่เสมอว่าจะต้องให้แม่โคได้กินอาหารหยาบแห้งไม่ต่ำกว่า  1.4  เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวแม่โคเสมอ

    • Update : 2/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch