หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การป้องกันและรักษาโรคโคพื้นเมือง
     
           รค   หมายถึง การเจ็บป่วยที่สืบเนื่องมาจากการทำงานของร่างกายที่ผิดปกติไป อาจเป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อ เช่น โรคบรูเซลโลซีส หรืออาจเป็นโรคชนิดไม่ติดต่อ เช่น บาดทะยัก โรคที่ไม่ติดเชื้อ เช่น โรคไข้น้ำนม โรคคีโตซีส ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะรายเกิดจากความผิดปกติของขบวนการสร้างและทำลายร่างกาย สาเหตุการเกิดโรคพอสรุปและแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
    เกษตรกรนำโคมาให้วัคซีนและถ่ายพยาธิ
     

    1. โรคเนื่องจากอาหารสัตว์
      แม้นว่าอาหารนั้นจะมีส่วนประกอบครบถ้วนจากการคำนวณ แต่ถ้าร่างกายสัตว์ไม่สามารถย่อย หรือ นำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ย่อมเป็นอาหารที่ขาดคุณภาพ เช่น ขาดไวตามิน แร่ธาตุ
    2. สารเคมีเป็นพิษ
      เช่น สารพิษที่เกิดจากเชื้อรา ชนิดที่เรียกว่าอัลฟลาท็อกซิน กรดไฮโดรไซยานิก ในใบพืชบางชนิดที่ยังอ่อนอยู่ เช่น ข้าวฟ่างในระยะอ่อนๆหญ้าซอกั้ม ใบมันสำปะหลัง ยาฆ่าแมลง ล้วนเป็นสารเคมีที่เป็นพิษ หากหลงเหลือหรือตกค้างอยู่ในอาหารย่อมเป็นพิษต่อสัตว์ได้
    3. โรคที่เกิดจาก เชื้อจุลินทรีย์
      เชื้อจุลินทรีย์เป็นต้นตอที่ทำให้เกิดโรคแบ่งออก ได้ดังนี้
      แบคทีเรีย
      เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็ก รูปร่างต่างๆ กันแล้วแต่ชนิด แบคทีเรียหลายๆ ชนิด เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย บางชนิดช่วยกำจัดสิ่งสกปรกในดิน ทำให้ดินอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ส่วนแบคทีเรียอีกพวกหนึ่งซึ่งเป็นต้นตอของโรคหลายๆ ชนิดเช่น อี. โคไล
      ไวรัสหรือวิสา
      เชื้อจุลินทรีย์ประเภทนี้จัดเป็นเชื้อที่มีขนาดเล็กที่สุดในจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมด คุณสมบัติของไวรัสแตกต่างจากเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นก็ตรงที่มีชีวิตอยู่ในเซลล์และเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนภายในเซลล์ ด้วยเหตุที่ไวรัสมีขนาดเล็กมากและอาศัยอยู่ภายในเซลล์นี้เองจึงมีอำนาจในการทำลายสูง โรคที่เกิดจากเชื้อโรคชนิดนี้มักมีความรุนแรงและเป็นอันตรายกว่าเชื้อชนิดอื่นๆการรักษาด้วยยาชนิดใดก็ไม่ได้ผลโดยตรงเพราะเป็นการยากที่ตัวยาจะเข้าถึงแหล่งที่ตัวเชื้ออาศัยอยู่และมีคุณสมบัติในการดื้อยารักษาเกือบทุกชนิด โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสและพบบ่อยที่สุดคือโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคพิษสุนัขบ้า
      โปรโตซัว
      มีลักษณะคล้ายกับแบคทีเรียแต่โดยทั่วไปจะมีรูปร่างใหญ่กว่าโปรโตซัวมีหลายชนิดที่เป็นต้นเหตุของโรคเช่น เชื้อบิดและที่สำคัญคือเชื้อบาบีเซีย ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เห็บโค เชื้ออนาพลาสม่า ที่เป็นสาเหตุของโรคอนาพลาสโมซีส เชื้อรา พวกเป็นสาเหตุของโรคขี้กลาก
    4. โรคที่เกิดจากพยาธิ
      พยาธิภายในร่างกาย คือพวกที่รบกวนอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้ ตับ และปอด ส่วนพยาธิภายนอกของร่างกาย คือ พวกเห็บ เหา ไร แมลงบางชนิด ซึ่งเป็นตัวนำเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
    5. โรคต่างๆ ที่ยังไม่ทราบสาเหตุ
      เช่น เนื้องอกหูด

    การควบคุมป้องกันโรค มีมาตรการป้องกันและควบคุมโรคหลักอยู่ 4 ประการคือ
    1. ป้องกันโรคด้วยหลักสุขาภิบาล
      คือการรักษาความสะอาดภายในคอกและโรงเรือนพ่นยาฆ่าเชื้อโรค ทำลายเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ และการกำจัดมูลสัตว์ อาจจะขนออกไปรวมกองไว้เพื่อทำปุ๋ยหมัก ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและพยาธิได้
    2.

    การป้องกันโรคโดยการเลี้ยงดู

      ดูแลเอาใจใส่สัตว์ให้มีอาหารและน้ำพอเพียงมีอาหารคุณภาพดี โรงเรือนเหมาะสม อากาศถ่ายเทได้ดีให้การเลี้ยงดูให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
    3. การป้องกันโรคโดยใช้วัคซีน
      คือการใช้วัคซีนป้องกันโรคบางชนิดตามระยะเวลาที่สัตว์แพทย์แนะนำ เพื่อให้มีภูมิคุ้นกันโรคแก่สัตว์ในระดับสูงตลอดเวลาเป็นวิธีประหยัดและได้ผลดีพอสมควร วัคซีนที่ควรจะฉีดป้องกันโรคให้กับโค คือ
     

     

    วัคซีนป้องกันโรคติดต่อ

      หรือโรคบรูเซลโลซีสชนิดสะเตรน -91 จะต้องฉีดให้กับลูกโคตัวเมียทุกตัวที่มีอายุ 3-8 เดือนฉีดครั้งเดียวให้ความคุ้มโรคนาน 6-7 ปี วัคซีนนี้ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังตัวละ 2 ซี.ซี หลังฉีดควรทำเครื่องหมายที่ใบหูไว้ด้วย เช่น เจาะหูให้เป็นรูเล็กๆ 3 รู เพื่อเป็นการยีนยันว่าโคตัวนี้ฉีดวัคซีนเอาไว้แล้ว
      วัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์
      ฉีดให้โค-กระบือ เมื่ออายุ 6 เดือน ขึ้นไปเพียงปีละ 1 ครั้ง โดยฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนังตัวละ 1 ซี.ซี
      วัคซีนป้องกันโรคแบล็คเลก
      หรือ โรคไข้ขา ฉีดให้โคอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปจนถึง 2 ปี ให้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังตัวละ 5 ซี.ซี ป้องกันโรคได้ประมาณ 6 เดือน
      วัคซีนป้องกันโรคเฮโมรายิก
      เซฟติกซีเมีย หรือที่ผู้เลี้ยงทั่วไปเรียกว่า "โรคคอบวม"ควรฉีดให้โค-กระบือทุกตัวอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนังตัวละ 3 ซี.ซี.ปีละ 2 ครั้ง คือก่อนฤดูฝนและก่อนฤดูหนาว
      วัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย
      มีอยู่ 3 ไทป์( 3 ชนิด) คือ โอ เอ และเอเซียวัน การฉีดไทป์ใดไทป์หนึ่งจะป้องกันเพียงโรคที่เกิดจากไทป์นั่น เช่น โรคที่เกิดจากชนิดเอแต่ผู้เลี้ยงฉีดชนิดโอไว้เพียงชนิดเดียวย่อมเป็นโรคขึ้นได้ การฉีดควรฉีดทั้ง 3 ไทป์ แต่เป็นการสิ้นเปลือง ถ้าจะให้เป็นการประหยัดผู้เลี้ยงจะต้องคอยสนใจว่าโรคที่กำลังระบาดอยู่นี้เป็นเชื้อชนิดใด แล้วจึงทำการฉีดยาป้องกันโรคด้วยวัคซีนไทป์นั้น การฉีดแต่ละไทป์ต้องฉีดเข้าใต้ผิวหนัง โดยแยกฉีดไทป์ละแห่งไทป์ละ 5 ซี.ซี. จะให้ความคุ้มโรคนาน 6 เดือน ผู้เลี้ยงสัตว์ควรได้สอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดของวัคซีนาชนิดนี้เพิ่มเติมจากสัตว์แพทย์ใกล้บ้านท่าน
    4. การป้องกันโรคโดยการใช้ยา การผสมยาปฎิชีวนะ
      หรือยาซัลฟาบาสง อย่างลงในอาหารสัตว์ หรือน้ำในระดับที่ใช้ป้องกันโรคสามารถป้องกันโรคบางชนิดได้ ยาปฎิชีวนะ ชนิดมีส่วนช่วยให้สัตว์เลี้ยงมีการเจริญเติบโตขึ้น

        อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงสัตว์จะต้องคำนึงเสมอว่าการป้องกันโรคเป็นวิธีที่ดีที่สุด ดีกว่าที่จะเลี้ยงสัตว์อย่างปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่เท่าที่ควร เมื่อสัตว์เกิดเจ็บป่วยหรือเกิดโรคขึ้นแล้ว ต้องทำการรักษาจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการผลิตสูง นอกจากนี้การรักษายังให้ผลไม่แน่นอน อาจจะหายหรือไม่หายก็ได้ ดังนั้นการควบคุมโรคต้องคำนึงถึงเป็นเบื้องต้น

    • Update : 2/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch