หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงดูโคพื้นเมือง
     

    การเลี้ยงแม่โคจากคลอดลูกถึง 3-4 เดือน (120 วัน) หลังคลอด

    การเลี้ยงแม่โคระยะตั้งท้อง 4-6 เดือน

    การเลี้ยงแม่โคระยะ 90 วัน (3 เดือน) ก่อนคลอด
    การเลี้ยงลูกโคเล็ก (จากแรกเกิดถึงหย่านม)
    การเลี้ยงโคหลังหย่านม
    การเลี้ยงดูโคสาว









    ..........การเลี้ยงแม่โคให้มีสุขภาพดีเป็นปัจจัยสำคัญต่อการผสมติดของแม่โคและทำให้แม่โคให้ลูกอย่างสม่ำเสมอ ความต้องการอาหารของแม่โคระยะต่าง ๆ แตกต่างกัน การจัดการเลี้ยงดูแม่โคสามารถจำแนกออกเป็นระยะต่าง ๆ ตามความต้องการอาหารของดคได้ 3 ระยะดังนี้
    ระยะที่ 1
    จากคลอดลูกถึง 3-4 เดือน หลังคลอด ซึ่งเป็นระยะผสมพันธุ์จนถึงตั้งท้อง
    ระยะที่ 2
    ท้อง 4-6 เดือน
    ระยะที่ 3
    ท้อง 3 เดือน ก่อนคลอด เป็นระยะที่แม่โคท้องแก่จนถึงคลอดลูก

    .........ระยะนี้เป็นระยะก่อนผสมพันธุ์ เมื่อผสมติดแล้วจะเริ่มตั้งท้องและแม่โคยังผลิตน้ำนมเลี้ยงลูกที่ยังติดแม่อยู่ การให้อาหารมีความสำคัญมากที่สุดสำหรับแม่โคระยะนี้ เพราะแม่โคต้องการอาหารสำหรับฟื้นฟูระบบอวัยวะสืบพันธุ์และผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก
    การให้อาหาร

    .........ระยะจากคลอดลูกถึงผสมพันธุ์ หากแม่โคมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจะทำให้การผสมติดดีขึ้นและลดระยะห่างของการให้ลูกลง แต่การทำให้โคเพิ่มน้ำหนักโดยให้อาหารข้นเสริมต้องเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ถ้าให้แม่โคได้กินหญ้าอ่อนในแปลง 3-4 สัปดาห์ก่อนถึงฤดูพันธุ์แม่โคจะเริ่มทำน้ำหนักเพิ่มขึ้นและมีการผสมพันธุ์ดีขึ้น เมื่อแม่โคคลอดแล้วจะกินอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตารางที่ 3 เป็นการให้อาหารแม่โคอุ้มท้องของสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์อุบลราชธานี (หน่วยบำรุงพันธุ์สัตว์บุณฑริก) ซึ่งฤดูฝนจะเน้นให้แทะเล็มในแปลงหญ้า ส่วนปลายฤดูหนาวและฤดูแล้งจะให้หญ้าหมักหรือฟางข้าวพร้อมเสริมด้วยอาหารข้นประมาณ 0.3 - 0.5 กก./ตัว นอกจากนี้ควรมีแร่ธาตุให้โคเลียกินตลอดปี ซึ่งแร่ธาตุสามารถผสมเองได้ โดยมีส่วนผสมคือ กระดูกป่น : เกลือทะเลป่น ในอัตราส่วน 3 : 1 ในกรณีที่กระดูกป่นหาซื้อไม่ได้อาจใช้ "ไดแคลเซียมฟอสเฟต" แทนในอัตราส่วนเดียวกัน ซึ่งแร่ธาตุมีประโยชน์สำหรับโคในด้านช่วยส่งเสริมให้โคมีการเจริญเติบโตเป็นไปอย่างปกติ ผสมติดง่าย ให้ลูกที่มีสุขภาพแข็งแรง ให้ลูกสม่ำเสมอทุกปี

    การผสมพันธุ์
    .........ปกติแม่โคเมื่อคลอดแล้วกลับเป็นสัดอีกภายใน 3 ถึง 50 วันแต่ควรผสมหลัง 60 วัน การผสมภายใน 40
    วันหลังคลอดอาจมีปัญหาทำให้เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ควรผสมหลัง 60 วัน การที่จะให้แม่โคให้ลูกปีละตัวแม่โคจะต้องได้รับการผสมอีกภายใน 80 วัน ถ้าแม่โคผอมจะกลับเป็นสัดช้าลง
    ......... แม่โคจะผสมติดได้จะต้องอยู่ในระยะที่เป็นสัด ซึ่งเป็นระยะที่แม่โคจะแสดงอารมณ์ทางเพศและพร้อมที่จะยอมให้ผสม แม่โคที่เป็นสัดจะมีอาการกระวนกระวายกว่าปกติ ไล่ขึ้นทับตัวอื่นหรือยอมให้ตัวอื่นขึ้นทับอวัยวะเพศจะบวมกว่าเดิม ผนังด้านในช่องคลอดเมื่อใช้มือเปิดออกดูจะมีสีชมพูออกแดง ในช่วงต้นของอาการเป็นสัดอาจจะมีเมือกใส ๆ ไหลออกมา ในช่วงหลัง ๆ น้ำเมือกจะข้นและเหนียวขึ้น แม่โคจะเป็นสัดอยู่นานประมาณ 20 ถึง 22 วัน (เฉลี่ย 21 วัน)จะกลับเป็นสัดใหม่อีก
    ......... ช่วงการเป็นสัดได้แก่ระยะการเป็นสัดจากครั้งก่อนถึงครั้งหลัง ช่วงการเป็นสัดของโคเฉลี่ย 21 วันแต่แม่โคในฝูงประมาณ 84% จะมีช่วงการเป็นสัดในระยะ 18-24 วันอีก 5 % เป็นสัดก่อน 18 วัน และ11 % เป็นหลัง 24 วันการเก็บประวัติการเป็นสัดของแม่โคจึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยสังเกตการเป็นสัดของแม่โคที่ใช้การผสมเทียมและการจูงผสม
    ......... ระยะการเป็นสัดที่ไม่แน่นอนอาจเกิดจากสาเหตุอื่นอีก เช่น โรคแท้งติดต่อ โรควิบริโอซีส การขาดอาหาร พยาธิ ฯลฯ นอกจากนั้นแม่โคบางตัวแสดงอาการเป็นสัดชัดเจนหรือเป็น " สัดเงียบ" และบางตัวจะแสดงอาการเป็นสัดในเวลากลางคืน ดังนั้นถ้าใช้วิธีจูงผสมหรือผสมเทียมแล้วผู้เลี้ยงต้องคอยสนใจสังเกตให้ดีมิฉะนั้นแม่โคจะพลาดการผสม
    วิธีการผสมพันธุ์
    ......... การผสมพันธุ์โคพื้นเมืองในปัจจุบันมีอยู่ 2 วิธีคือ
    1. การปล่อยให้พ่อพันธุ์คุมฝูง
    ......... การผสมพันธุ์โคพื้นเมืองจะผสมตลอดปี โดยปล่อยพ่อพันธุ์ให้คุมฝูงแม่โคและให้มีการผสมพันธุ์
    ตามธรรมชาติ ซึ่งมีข้อดีคือผู้เลี้ยงไม่ต้องคอยสังเกตการเป็นสัดของแม่พันธุ์ พ่อพันธุ์จะทราบและผสมกับแม่พันธุ์เอง แต่มีข้อเสียคือถ้าแม่พันธุ์เป็นสัดพ่อพันธุ์จะคอยไล่ตามจนไม่สนใจกินหญ้ากินอาหารถ้ามีแม่พันธุ์เป็นสัดหลายตัวในเวลาใกล้เคียงกันจะทำให้พ่อพันธุ์มีร่างกายทรุดโทรม วิธีแก้ไขโดยขังพ่อพันธุ์ไว้เมื่อปล่อยแม่พันธุ์ออกไปเลี้ยงในแปลงหญ้าแล้วนำพ่อพันธุ์เข้าผสมเมื่อฝูงแม่พันธุ์กลับเข้าคอก
    ......... ในพ่อโคอายุ 3 ปี ขึ้นไปควรใช้คุมฝูงแม่โคประมาณ 20 ถึง 30 แม่ต่อพ่อโค 1 ตัว แต่ในพ่อโคอายุ2ปีถึง 2ปีครึ่ง ควรใช้คุมฝูงแม่โคประมาณ 12 ถึง 25ตัวต่อพ่อโค 1 ตัว
    ......... ในทุก ฯ วันที่ปล่อยแม่โคออกไปเลี้ยงในทุ่งหญ้า ควรจะขังพ่อโคไว้ในคอกพร้อมทั้งมีหญ้าและน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ มีร่มเงาให้พ่อโค พ่อโคจะมีเวลาอยู่กับแม่โคและผสมกับแม่โคที่เป็นสัดในช่วงเช้า เย็น และกลางคืน แต่ทั้งนี้จะต้องไม่มีพ่อโคตัวอื่นอยู่ในทุ่งหญ้านั้นด้วย มิฉะนั้นจะถูกแอบผสมก่อนการขังพ่อโคไว้ดังกล่าวเพื่อให้พ่อโคมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแร็งซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพการผสมพันธุ์สูงขึ้น พร้อมที่จะผสมกับแม่โคได้เสมอ และอายุการใช้งานของพ่อโคจะยาวนานขึ้น
    2. การจูงผสม
    ......... เป็นการผสมโดยจูงพ่อพันธุ์มาผสมกับแม่พันธุ์หรือจูงแม่พันธุ์มาผสมกับพ่อพันธุ์ การผสมโดยวิธีนี้ควรแยกพ่อพันธุ์ออกเลี้ยงต่างหากเพราะจะทำให้พ่อพันธุ์มีสุขภาพสมบูรณ์ดี และพ่อพันธุ์สามารถผสมกับแม่พันธุ์ได้จำนวนมากกว่าการใช้คุมฝูง แต่มีข้อเสียคือผู้เลี้ยงต้องคอยสังเกตการเป็นสัดเองปกติพ่อโคสามารถใช้ผสมได้สัปดาห์ละ 5 ครั้งหากมีการเลี้ยงดูที่ดี
    ......... เกษตรกรรายย่อยเลี้ยงแม่โครายละประมาณ 5 ถึง 10 แม่ การที่จะเลี้ยงพ่อพันธุ์ไว้ใช้คุมฝูง
    เองอาจไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะพ่อโค 1 ตัวสามารถใช้คุมฝูงได้ 25 ถึง 50 ตัวดังที่กล่าวมาแล้ว หากอยู่นอก
    เขตบริการผสมเทียมจึงควรรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วจัดซื้อหรือจัดหาพ่อพันธุ์มาประจำกลุ่ม เมื่อแม่โคเป็นสัดจึงนำแม่โคมารับการผสมจากพ่อโค เจ้าของแม่โคอาจต้องเสียค่าบริการในการผสมบ้างเพราะผู้เลี้ยงพ่อพันธุ์ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูพ่อพันธุ์แม่โคที่จะผสมกับพ่อโคจะต้องปราศจากโรคแท้งติดต่อ (หรือโรคบรูเซลโลซิส)
    ดังนั้นพ่อโคและแม่โคของสมาชิกกลุ่มทุกตัวจะต้องได้รับการตรวจโรคและปลอดโรคแท้งติดต่อ เพราะหากพ่อพันธุ์เป็นโรคแล้วจะแพร่โรคให้แม่โคทุกตัวที่ได้รับการผสมด้วย
    การตั้งท้องและการกลับเป็นสัด
    ......... หลังจากแม่โคได้รับการผสมพันธุ์จนติดแล้วจะตั้งท้องเฉลี่ยนานประมาณ 272 วัน (270 ถึง 275 วัน )
    ผู้เลี้ยงควรจดบันทึกวันที่ผสม แล้วอีกประมาณ 21 วันต่อไปต้องคอยสังเกตดูว่าแม่โคกลับเป็นสัดอีกหรือไม่หากกลับเป็นสัดแสดงว่าผสมไม่ติดต้องผสมใหม่ หากไม่กลับเป็นสัดแสดงว่าผสมติดแล้ว แต่อีกทุก ๆ 21 วันต่อไปควรคอยสังเกตอีกเพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น
    ......... ระยะ 1-2 เดือนหลังจากผสมติด แม่โคมีโอกาสแท้งลูกได้ง่าย จึงไม่ควรให้แม่โคมีโอกาสกระทับกระแทกกัน การทำงานทั่วไปเกี่ยวกับโคควรทำในช่วงอากาศเย็น เช่น ช่วงเช้า หรือบ่าย ควรค่อย ๆ ไล่ต้อน หลีกเลี่ยงการเฆี่ยนตีโค
    ......... การตรวจท้องเพื่อดูว่าแม่โคได้รับการผสมติดจนตั้งท้องจริงหรือไม่นั้นสามารถทำได้โดยการคลำตรวจดูมดลุกและรังไข่ผ่านทางทวารหนักตั้งแต่แม่โคตั้งท้องได้ 2 ถึง 3 เดือนขึ้นไป ต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์ เป็นผู้ตรวจให้เท่านั้น
    ......... เป็นระยะที่ลูกโคโตแล้วและเตรียมตัวหย่านม หากลูกโคกินหญ้าและอาหารได้เก่งแล้วแม่โคก็ต้องการอาหารเพียงเพื่อบำรุงร่างกายเท่านั้น
    ......... ระย่ะนี้ความต้องการอาหารเพื่อเลี้ยงลูกในท้องยังน้อยอยู่ แม่โคจึงต้องการอาหารน้อยกว่าระยะอื่น สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงโดยให้อาหารคุณภาพต่ำได้ ถ้าให้อาหารคุณภาพดีอาจทำให้แม่โคอ้วนเกินไป แต่ก็ควรระวังอย่าให้แม่โคผอม ควรมีไขมันสะสมอยู่บ้าง
    ......... โดยในฤดูฝนให้แทะเล็มในแปลงหญ้าเป็นหลัก ให้อาหารข้นเสริมบ้างตามสภาพของแม่โค ฤดูแล้วให้หญ้าหมักเป็นหลักเสริมด้วยอาหารข้นตัวละประมาณ 0.3-0.5 กก. นอกจากมีหญ้าหมักไม่เพียงพอก็ใช้ฟางข้าวเสริมด้วยอาหารข้น อาหารข้นที่เสริมอาจปรับใช้ตามวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นและให้มีราคาถูกที่สุดเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

    ตัวอย่างปริมาณการให้อาหารแม่โคอุ้มท้องโดยให้อาหารหยาบเป็นหลัก
    ฤดูฝน
    ปลายฤดูหนาวและฤดูแล้ง
    ปล่อยแทะเล็มในแปลงหญ้า หญ้าหมัก 12 กก./ตัว
    การให้อาหารข้นขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย หรือ ฟางข้าว 5 กก./ตัว
    ถ้าร่างกายสมบูรณ์ดีก็ไม่ต้องให้ เสริมอาหารข้น 0.3-0.5 กก/ตัว
    ใช้กระดูกป่นผสมเกลือทะเลป่น ในอัตราส่วน 3 : 1 ตั้งไว้ให้โคเลียกินตลอดปี
    หมายเหตุ : อาหารข้นโปรตีนไม่ต่ำกว่า 14%

    ......... เป็นระยะที่สำคัญอีกระยะหนึ่งของแม่โคเพราะเป็นระยะที่ลูกในท้องเจริญเติบตาถึง 70-80 % และแม่โคเตรียมตัวให้นมด้วย ถ้าให้อาหารคุณภาพไม่ดีแม่โคจะสูญเสียน้ำหนัก ซึ่งจะทำให้การกลับเป็นสัดหลังคลอดช้าลง มีผลทำให้ไม่ได้ลูกปีละตัว ระยะนี้ควรให้แม่โคมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยน้ำหนักที่จะสูญเสียเมื่อคลอด โดยเฉพาะโคสาวเป็นสิ่งจำเป็นมาก
    การให้อาหาร
    .........ระยะนี้ถ้าให้อาหารพลังงาน ไม่เพียงพอจะมีผลทำให้อัตราการผสมติดต่ำอัตราการตายของลูกโคเมื่อคลอดและหย่านมสูง น้ำหนักลูกโคเมื่อคลอดและหย่านมต่ำ อัตราการผสมติดต่ำ ดั้งนั้นควรแยกเลี้ยงดูต่างหาก ให้โคได้กินอาหารคุณภาพดีจะทำให้แม่โคฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็ว
    การคลอด
    .........ก่อนคลอด 1 สัปดาห์ควรแยกแม่โคให้อยู่ในคอกที่สะอาด มีฟางหรือหญ้าแห้งรอง หรือ ให้อยู่ในแปลงหญ้าที่สะอาดสามารถดูแลได้ง่าย
    .........ปกติแม่โคจะตั้งท้องเฉลี่ย 270 วัน (270-275วัน) ถ้าเลยกำหนดคลอดแล้ว 10 วัน และแม่โคยังไม่คลอดต้องสังเกตและดูแลอย่างใกล้ชิด
    .........ลูกโคที่คลอดปกติจะเอาเท้าหน้าโผล่หลุดออกมาก่อน แล้วตามด้วยจมูก ปาก หัว ซึ่งอยู่ระหว่างขาหน้า 2 ขา ที่โผล่ออกมาในท่าพุ่งหลาว การคลอดท่าอื่นนอกเหนือจากนี้เป็นการคลอดที่ผิดปกติอาจต้องให้การช่วยเหลือควรให้สัตว์แพทย์เป็นผู้ดำเนินการ

    .........แม่โคส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องช่วยในการคลอด ควรอยู่ห่างๆไม่ควรรบกวนแม่โค แม่โคควรคลอดลูกออกมาภายใน2 ชั่วโมงหลังจากที่ถุงน้ำคร่ำปรากฏออกมา หากช้ากว่านี้ควรให้การช่วยเหลือ หากไม่คลอดภายใน 4 ชั่วโมงลูกจะตาย หลังจากคลอดลูก 8 ถึง 12 ชั่วโมงถ้ารกยังไม่หลุดออกมาแสดงว่ารกค้าง ต้องให้สัตว์แพทย์มาล้วงออกและรักษาต่อไป

    การเลี้ยงลูกโคเล็ก(จากแรกเกิด ถึงหย่านม)

    การจัดการเลี้ยงดู
    .........เมื่อลูกโคคลอดควรให้ความช่วยเหลือโดยเช็ดตัวให้แห้ง จัดการเอาน้ำเมือกบริเวณปากและจมูกออกให้หมด จับขาหลังยกให้ลูกโคห้อยหัวลงตบลำตัวเบาๆจนลูกโคร้อง หากลูกโคหายใจไม่สะดวกอาจต้องช่วยหายใจด้วยการเป่าปาก เมื่อลูกโคยืนได้ ให้ใช้ด้วยผูกสายสะดือให้ห่างจากพื้นท้องประมาณ 3 ถึง 6 ซม. ให้ใช้กรรไกรที่สะอาดตัดแล้วใช้ยาทิงเจอร์ไอโอดีนชุบสายสะดือ
    .........คอยดูให้ลูกโคได้กินน้ำนมแม่ให้เร็วที่สุดเพราะนมโคระยะแรกที่เรียกว่านมน้ำเหลืองจะมีคุณคาทางอาหารสูงและมีภูมิคุ้มกันโรคจากแม่ถ่ายทอดมาสู่ลูก หากลูกโคไม่สามารถดูดนมกินเองได้ควรรีดนมจากแม่มาป้อนให้ลูกกินจนแข็งแร็ง
    ไม่ควรปล่อยแม่และลูกโคไปตามฝูงควรจัดหาอาหารและน้ำดื่มกักไว้แยกต่างหากจากฝูงจนกว่าลูกโคจะแข็งแร็งดีแล้วจึงปล่อยตามฝูง
    การปฏิบัติเลี้ยงดูลูกโคอื่น ๆควรทำดังนี้
    ........1. ฝูงทีมีโคจำนวนมากคนเลี้ยงอาจจำโคได้ไม่หมดจึงควรติดบอร์ดหูหรือทำเครื่องหมายลูกโคโดยเร็วที่สุด ซึ่งจะมีประโยชน์ในการจัดทำประวัติโคในฝูงปรับปรุงพันธุ์ควรชั่งน้ำหนักแรกเกิดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
    ................การติดเบอร์หูลูกโคนิยมใช้เบอร์หูพลาสติกขนาดเล็ก ประกอบด้วยตัวเมียเป็นแผ่นกว้างประมาณ 4 ซม. แผ่นตัวผู้เป็นแผ่นกลมมีเดือยสำหรับล็อคให้ติดกับตัวเมีย ตัวเมียมี 2 แบบคือ แบบที่พิมพ์หมายเลขสำเร็จมาจากโรงงานกับแผ่นเปล่าที่ต้องมาเขียนหมายเลขที่เราต้องการได้เองโดยมีปากกาสำหรับเขียนโดยเฉพาะ การใช้แบบแผ่นเปล่ามีข้อดีคือสามารถเขียนหมายเลขเองได้ตามที่ต้องการ มีคีมสำหรับบีบให้เดือยของแผ่นตัวผู้ทะลุใบหูไปล็อคติดกับแผ่นตัวเมียพยายามติดบริเวณโคนหู ติดให้ห่างจากขอบใบหูให้มาก ๆ ระวังอย่าให้ถูกเส้นเลือดใหญ่ โดยใช้นิ้วลูบคลำดูก่อนเบอร์หูแบบนี้สามารถอ่านได้ในระยะห่างประมาณ 1 เมตร หากติดไม่ดีอาจหลุดได้แต่หากติดได้ดีและใช้เบอร์คุณภาพดีโอกาสหลุดมีน้อยมาก
    ........การทำเครื่องหมายลูกโคอีกอย่างหนึ่งคือการสักหูให้เป็นหมายเลขมีคีมสักโดยเฉพาะ การสักโดยหนีบหมายเลขที่ใบหูด้านในบริเวณที่ไม่มีขนหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีขนและเส้นเลือด หากมีเส้นเลือดออกหนึกจะไม่ติด เสร็จแล้วใช้หมึกอินเดียนอิงค์หรือหมึกจีนถูบริเวณที่สัก หมึกจะแทรกเข้าไปตามรูติดเป็นหมายเลขตามที่สัก การสักมีข้อดีคือจะติดแน่นตลอดชีวิตโค แต่มีข้อเสียคือ อ่านได้ยากว่าเบอร์พลาสติค เวลาอ่านต้องจับบังคับโคเพื่ออ่านดูใกล้ๆ บางครั้งเบอร์ที่สักไว้อาจไม่ชัดเจน
    ........2. เมื่อลูกโคอายุ 3 สัปดาห์ควรถ่ายพยาธิตัวกลม และถ่ายซ้ำอีกเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ ทั้งนี้อาจสุ่มหาไข่พยาธิดูก่อนก็ได้
    ........3. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแท้งติดต่อ (หรือบูรเซลโลซีส) แก่ลูกโคเพศเมียอายุ 3 ถึง 8 เดือน แล้วเจาะรูที่หูข้างขวาของโค 2 รู
    ........................ เมื่อลูกโคอายุ 3-8 เดือน ทำการฉีดวัคซีนโรคแท้งให้กับลูกโคเพศเมียทุกตัว
    ........................ เมื่อลูกโคอายุ 4 เดือนทำการฉีดวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย

    การให้อาหารข้นเสริมแก่ลูกโคเล็ก
    ........ลูกโคจะเริ่มหัดกินหญ้าและอาหาร เมื่ออายุประมาณ 2 ถึง 3 เดือนเนื่องจากแม่โคจะให้นมได้สูงสุดในระยะนี้ หลังจากนี้จะเริ่มผลิตน้ำนมเพื่อเลี้ยงลูกโคลดลงเรื่อยๆในขณะที่ลูกโคเติบโตขึ้นทุกวัน ลูกโคที่กินหญ้าและอาหารอื่นทดแทน ลูกโคจึงจำเป็นต้องกินอาหารอื่นทดแทน ลูกโคที่กินหญ้าและอาหารได้เร็วก็จะเติบโตได้เต็มที่การให้อาหารข้นเสริมจะทำให้ลูกโคโตเร็วขึ้น มีน้ำหนักหย่านมสูงกว่าเมื่อไม่ได้ให้อาหาร
    ........ลูกโคอายุต่ำกว่า 3 เดือนให้กินอาหารได้เต็มที่แต่ถ้าอายุมากกว่า 3 เดือนควรเพิ่มอาหารให้ทีละน้อยและค่อยๆ เพิ่มขึ้นหลังจากที่ลูกโคทุกตัวเริ่มกินอาหาร แต่ถ้าลูกโคมีขนาดต่างกันอาจจำเป็นต้องแยกกลุ่มลูกโคตามขนาด
    ........ที่ให้อาหารลูกโคควรอยู่ใกล้กับบริเวณคอกแม่โคอยู่เพื่อที่ลูกโคจะได้เข้าไปลองกินอาหารได้สะดวก โดยทำช่องให้ลูกโคลอดเข้าไปกินอาหารได้กว้างประมาณ 400-450 มม. พื้นที่บริเวณให้อาหารประมาณ 30 ซม.ต่อ 3 ตัวให้อาหารข้นให้กินตัวละประมาณ 200-300 กรัม
    การทำลายเขาโค
    ........การมีเขาของโคไม่ได้มีผลดีทางเศรษฐกิจและอาจทำให้เกิดปัญหาหลาย ๆ อย่างเช่น
    1. เกิดอันตรายต่อผู้เลี้ยงและผู้ที่เกี่ยวข้อง
    2. โคมักขวิดกันเอง ทำให้เกิดบาดแผล เสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการรักษา
    3. โคบางตัวอาจมีเขายาวโง้งเข้ามาทิ่มแทงใบหน้าหรือตาตนเองได้
    4. อาจเกิดอุบัติเหตุเขาเข้าไปติดหรือขัดกับคอก อาจทำให้ถึงตายได้
    5. โคบางตัวเขากางออก ทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่รางอาหาร คอก และการขนส่ง
    การทำลายเขาโคยิ่งทำเมื่ออายุน้อยเท่าใดก็ยิ่งดี เพราะจะลดความเจ็บปวดการบาดแผดที่เกิดขึ้น การจับยึดก็ทำได้ง่าย การทำลายเขาลูกโคมีวิธีการต่าง ๆ เช่น
    การใช้สารเคมี
    ส่วนใหญ่ใช้โซดาไฟ อาจใช้แบบแห้งที่มีรูปแบบเหมือนชอล์คเขียนกระดาน หรือใช้แบบเหลวข้นคล้ายยาสีฟันก็ได้ ควรทำเมื่อลูกโคอายุไม่เกิน10 วัน ตัดขนบริเวณรอบๆปุ่มเขาออก ใช้ขี้ผึ้งหรือจารบีทารอบๆเพื่อป้องกันไม่ให้โซดาไฟไหลเยิ้มไปถูกบริเวณอื่น ทาเป็นวงกว้าง ๆถ้าเป็นโซดาไฟชนิดแห้งต้องทำให้ปุ่มเขาชื้นเล็กน้อยแล้ว เอาแท่งโซดาไฟถูบริเวณปุ่มเขาจนมีเลือดซึมเล็กน้อย ใช้เวลาประมาณ 15 นาที ถ้าเป็นโซดาไฟชนิดเหลวข้นต้องขูดปุ่มเขาเล็กน้อยให้เป็นรอยเพื่อเอาไขมันที่ปกคลุมอยู่ออกแล้วเอาโซดาไฟเหลวทาบนปุ่มเขาในพื้นบ้านใช้ปูนแดงกับสบู่กรดในปริมาณเท่าๆกันกวนผสมน้ำจนเหลวคล้ายยาสีฟัน ใช้แทนโซดาไฟเหลว แยกลูกโคออกจากแม่อย่างน้อยครึ่งชั่วโมงเพื่อไม่ให้แม่เลีย
    หลังจากทาแล้ว 2 ถึง 3 วัน ปุ่มเขาจะเกิดสะเก็ดหนา ภายใน 10 วันสะเก็ดจะหลุดออกไม่มีแผลเปิด แต่ถ้าใช้สารเคมีมากเกินไปหรือถูแท่งโซดาไฟแรงเกินไป หรือสะเก็ดขูดลอกออกก็อาจมีแผลได้ให้ทำการรักษาแผล
    การตอนโค
    ลูกโคตัวผู้ที่ไม่ต้องการใช้หรือขายทำพันธุ์ หรือเพื่อใช้ทำงาน ควรตอนเมื่ออายุประมาณ 5 ถึง 6 เดือน โคตัวผู้ที่ต้องการใช้ทำงานควรตอนเมื่ออายุประมาณ 3 ถึง 4 ปี เพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนหน้าของร่างกายโคได้พัฒนาตามลักษณะของโคตัวผู้อย่างเต็มที่ก่อน กล้ามเนื้อส่วนหน้าจะทำให้โคทำงานได้แข็งแรง
    การตอนสามารถทำได้โดยการทุบแบบพื้นบ้าน การผ่าเอาลูกอัณฑะออกแต่วิธีที่ปลอดภัยคือ การตอนโดยใช้คีมที่เรียกว่า "เบอร์ดิซโซ่ (Burdizzo) "โดยใช้คีมหนีบให้ท่อนำน้ำเชื้อเหนือลูกอัณฑะอุดตัน
    การหย่านมลูกโค
    เกษตรกรโดยทั่วไปมักปล่อยให้ลูกโคอยู่กับแม่จนโตจนกระทั่งแม่โคคลอดลูกตัวใหม่ ซึ่งจะมีผลเสียทำให้แม่โคขณะอุ้มท้องใกล้คลอดมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ เพราะต้องกินอาหารเพื่อเลี้ยงทั้งลูกโคที่กำลังอยู่ในท้องและลูกโคตัวเดิมอีกด้วย ดังนั้นจึงควรหย่านมลูกโคที่อายุประมาณ 6 เดือนครึ่งถึง 7 เดือน แต่ทั้งนี้ให้คำนึงถึงสุขภาพของลูกโคและแม่โคด้วย โดยปกติหากหย่านมลูกโคเร็วเท่าใดก็จะทำให้แม่โคมีโอกาสฟื้นฟูสุขภาพเร็วเท่านั้น ลูกโคที่โตเร็วก็สามารถหย่านมได้เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน จะมีผลให้แม่โคสุขภาพไม่ทรุดโทรมมากนัก
    ลูกโคที่ยังไม่สมบูรณ์แข็งแรงอาจหย่านมช้าลง โดยให้อยู่กับแม่ไปจนอายุถึง 8 เดือน แต่ก็จะทำให้แม่โคมีสุขภาพทรุดโทรมมาก มีผลทำให้เมื่อคลอดลูกตัวใหม่แล้วจะกลับเป็นสัดช้าลงระยะเวลาในการให้ลูกตัวต่อๆ ไปจะห่างขึ้น
    ก่อนหย่านมควรให้ลูกโคได้มีโอกาสกินหญ้าในแปลงที่มีคุณภาพดี ในขณะที่แม่โคได้กินหญ้าคุณภาพต่ำกว่า แต่ลูกโคสามารถมาหาแม่ได้ตามที่ต้องการ เมื่อหย่านมควรแน่ใจว่ามีอาหารให้ลูกโคกินอย่างเพียงพอ ถ้ายังไม่พร้อมก็ยังไม่ควรหย่านม ระยะหย่านมและหลังหย่านมควรมีอาหารคุณภาพดีให้ลูกโคกินอย่างเพียงพอ
    การหย่านมลูกโค โดยแยกลูกโคจากแม่ นำไปขังในคอกที่แข็งแรงควรให้แม่โคอยู่ในแปลงหญ้าหรือคอกที่มีรั้วกั้นที่มั่นคงซึ่งอยู่ใกล้กันเป็นเวลา 3-5 วันเพราะหากให้ไปอยู่ไกลแม่โคส่วนหนึ่งจะแหกรั้วหรือคอกมาหาลูกหลังจาก 3-5 วันแม่โคจะเริ่มยอมรับสภาพและค่อยๆห่างไปจนสามารถต้อนไปแปลงหรือคอกที่ห่างไกลได้
    ขังลูกไว้ในคอกประมาณ 7-10 วัน โดยให้กินอาหารข้นและอาหารหยาบอย่างเต็มที่ คอกลูกโคหย่านมจะต้องอยู่ห่างจากคอกแม่พันธุ์ ระยะนี้เป็นการฝึกให้ลูกโคคุ้นเคยกับการให้อาหาร แร่ธาตุ การเข้าคอกคัดการพ่นเห็บหรือซองต่างๆ การไล่ต้อน ซึ่งจะมีความสำคัญในการให้ประสบการณ์แก่โคไปตลอดที่สำคัญก็คือ ควรเลี้ยงในแปลงหญ้าหรือคอกที่มีความมั่นคงแข็งแรงไม่ให้ลูกโคหนีได้ หากลูกโคสามารถหนีได้จะติดนิสัยไปตลอด
    การตีเบอร์
    การติดหรือสักเบอร์หูลูกโคอาจหลุดหายหรือเลอะเลือนได้ ดังนั้นเมื่อหย่านมช่วงที่แยกขังไว้ควรทำเครื่องหมายถาวรโดยตีเบอร์โคที่ตะโพกส่วนใหญ่จะตีที่ด้านซ้ายของโค การตีเบอร์มีแบบการตีเบอร์ร้อนและเบอร์เย็นการตีเบอร์ร้อยทำได้โดยนำเหล็กตีเบอร์เผาไฟแล้วนำมาประทับบนตัวโค การตีเบอร์เย็นใช้เหล็กใช้เหล็กตีเบอร์แช่ในน้ำแข็งแห้ง (dry ice) แทน ส่วนใหญ่ใช้การตีเบอร์ร้อนเพราะทำได้ง่ายและไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
    การตีเบอร์ร้อนทำโดย จับโคบังคับให้อยู่กับที่ อาจล้มมัดขาทั้ง 4 ให้แน่น หรืออาจทำในซองบังคับโค เผาเหล็กตีเบอร์ให้ร้อนจัด ประทับเบอร์ลงบนผิวหนังโคโดยนาบไว้ประมาณ 2-3 วินาที อย่าใช้แรงกดเบอร์ลงไปเพราะความร้อนจะกระจาย ทำให้เนื้อบริเวณนั้นสุก จะเกิดการอักเสบเป็นแผลเน่าได้ เสร็จแล้วใช้ยาเหลืองทา

    การเลี้ยงโคหลังหย่านม

    ......... การจัดการหลังหย่านม คัดลูกโคที่สามารถใช้ทำพันธุ์ได้ เก็บไว้เพื่อเลี้ยงไว้เป็นพ่อพันธุ์หรือขายทำพันธุ์ ลูกโคที่คัดเก็บไว้ทำพันธุ์ควรมีน้ำหนักหย่านมเท่ากับหรือมากกว่าน้ำหนักหย่านมมาตรฐานของโคพันธุ์นั้นๆและมีอัตราส่วนของน้ำหนักหย่านมเกินค่าเฉลี่ยของฝูง ส่วนลูกโคที่เหลือควรจำหน่ายออกจากฝูง

    ......... โคสาว หมายถึง โคเพศเมียที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จนมีอายุประมาณ 18 เดือน การที่จะให้แม่โคสาวให้ลูกที่อายุ 2 ปี แม่โคจะต้องพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 13 ถึง 16 เดือน แต่ควรคำนึงถึงน้ำหนักเมื่อผสมมากกว่าซึ่งควรตั้งเป้าหมายให้ผสมพันธุ์ที่น้ำหนักประมาณ 100-150 กก.
    การคัดโคสาวเข้าผสมพันธุ์
    ......... ควรคัดโคสาวเข้าผสมพันธุ์ให้มากกว่าจำนวนแม่โคที่คัดออกมไม่ต่ำกว่า 2 เท่า เพราะหลังจากการผสมในปีแรกอาจต้องคัดแม่โคสาวที่ให้ลูกตัวแรกออกอีกมาก เช่น คัดแม่โคออกปี 10 ตัวควรคัดโคสาวเข้าผสมพันธุ์อย่างน้อยปีละ 20 ตัว การคัดโคสาวไว้มากอาจทำให้ต้องลดจำนวนโคขนาดอื่นในฟาร์มลงแต่โคสาวที่คัดออกภายหลังก็มีราคาสูงกว่าเมื่อขายที่หย่านม การเลี้ยงไว้อาจคุ้มค่า
    ......... คัดโคสาวที่มีลักษณะขาและเท้าไม่ดีออก ปล่อยให้โคเดินอย่างอิสระตรวจดูเท้าและกีบว่ามีขนาดเท่ากันหรือไม่ นอกจากนั้นควรดูตา ปาก และเต้านมด้วย
    ......... โคที่ตื่นง่ายหรือไม่เชื่องควรคัดออกเพราะจะสร้างปัญหาในการเลี้ยงดูและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้
    ......... ก่อนผสมพันธุ์ควรชั่งน้ำหนัก ตัวที่มีน้ำหนักไม่ถึงเป้าหมายควรคัดออกโคน้ำหนักน้อยมีโอกาสผสมติดอยาก หรือหากตั้งท้องอาจมีปัญหาการคลอดยากให้นมน้อย และอาจกลับเป็นสัดช้า
    ......... หากมีโคสาวที่มีน้ำหนักถึงตามเป้าหมายมากเกินความต้องการ ให้คัดตัวที่มีลักษณะเพศเมียเอาไว้ก่อนเพราะเป็นโคที่มีโอกาสผสมติดสูงและผลิตน้ำนมได้มาก ลักษณะดังกล่าวได้แก่ มีหน้ายาว คอเรียวบาง โครงสร้างช่วงไหล่บาง และหนังบาง ดูได้จากช่วงลำคอที่ราบเรียบ มีลักษณะคล้ายโคนมมากกว่าโคเจ้าเนื้อ ควรคัดโคที่มีลักษณะคล้ายโคตัวผู้ออก
    ......... การให้อาหารคุณภาพดีแก่โคสาวเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้โคผสมติดเร็วควรให้โคสาวได้กินหญ้าในแปลงที่มีคุณภาพดี แปลงหญ้าโคสาวควรอยู่ห่างจากแปลงโคพ่อพันธุ์เพื่อหลีกเลี่ยงการแอบผสมพันธุ์
    ......... การเลี้ยงโคสาวรวมกับแม่โคที่เคยให้ลูกมาแล้วโคสาวจะเสียเปรียบเพราะถูกข่ม ทำให้กินอาหารได้น้อยรกว่าทั้งๆที่โคสาวต้องการอาหารมากกว่าเพื่อการเติบโต และโคสาวเมื่อเป็นสัดจะถูกข่มไม่ให้แสดงอาการเป็นสัดออกมาชัดเจน

    • Update : 2/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch