หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงปลายี่สกเทศ

    ปลายี่สกเทศ

    ปลายี่สกมีเผ่าพันธุ์เชื้อสายเดียวกับปลาตะเพียน เช่นเดียวกับปลาตะโกก ปลากะโห้ ปลานวลจันทร์น้ำจืด และปลาสร้อยในภาคกลางพบปลายี่สกอาศัยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำราชบุรี แม่น้ำป่าสัก แควน้อย แควใหญ่ ภาคเหนือพบมากที่แม่น้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบในแม่น้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย จังหวัดอุบลราชธานี มีมากในจังหวัดหนองคาย และจังหวัดนครพนมเมื่อ 50 ปีก่อน ดร.สมิท ที่ปรึกษาราชการกรมรักษาสัตว์น้ำแห่งรัฐบาลสยาม รายงานว่าปลายี่สกเป็นปลาดีที่นิยมของชาวราชบุรีพอ ๆ กับปลาจาดหรือปลาเวียนอันมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรีในต่างประเทศ เคยพบในประเทศมาเลเซีย และคาดว่าคงจะพบในประเทศลาว เขมร และเวียดนามด้วยตามธรรมชาติ ปลายี่สกกินพืชในน้ำเป็นอาหารหลัก และอาจกินสัตว์หน้าดิน ลูกกุ้ง ลูกปู และไรน้ำด้ว
    อุปนิสัย
    ปลายี่สกชอบอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ที่พื้นท้องน้ำมีลักษณะเป็นกรวดทราย ระดับน้ำลึก 5-10 เมตร น้ำเย็นในสะอาด จืดสนิทและเป็นบริเวณที่มีน้ำไหล วังน้ำกว้างและมีกระแสน้ำไหลวน ลูกปลาจะไปรวมกันอยู่เป็นฝูงตามบริเวณที่เป็นอ่าว และพื้นเป็นโคลนหนาประมาณ 10-20 พอถึงเดือนตุลาคม ปลาจะเริ่มว่ายทวนขึ้นไปเหนือน้ำเพื่อวางไข่และจะกลับถิ่นเดิมในเดือนพฤษภาคมหรือพอน้ำเริ่มมีระดับสูงขึ้น ปลายี่สกจะพากันไปอาศัยตามห้วยวังที่มีน้ำลึก กระแสน้ำไหลคดเคี้ยว พื้นดินเป็นดินทรายและกรวดหิน เป็นท้องทุ่ง (คุ้ง) หรือวังนัที่กว้างใหญ่ใกล้เขาสงบ น้ำใสสะอาด ลึกตั้งแต่ 5-10 เมตร หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ตลอดมา เซนติเมตร
    ลักษณะรูปร่าง
    ปลายี่สกมีลักษณะเด่นคือ สีของลำตัวเป็นสีเหลืองนวล ลำตัวค่อนข้างกลมและยาว บริเวรด้านข้างมีแถบสีดำข้างละ 7 แถบ พาดไปตามความยาวของลำตัว ลายตามตัวเหล่านี้จะปรากฏในลูกปลาที่มีขนาด 3-50 นิ้ว บริเวณหัวมีสีเหลืองแกมเขียว ริมปากบนมีหนวดสั้น ๆ 1 คู่ มีฟันที่คอหอยเพียงแถวเดียว จำนวน 4 ซี่ เวลากินอาหารทำปากยืดหดได้ เยื่อม่านตามเป็นสีแดงเรื่อ ๆ ครีบหลัง ครีบหู ครีบท้อง ครีบก้น มีสีชมพูแทรกอยู่กับพื้นครีบ ซึ่งเป็นสีเทาอ่อน หางค่อนข้างใหญ่และเว้าลึก ปลายี่สกเป็นปลาขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในจำนวนปลาน้ำจืดด้วยกันพบในจังหวัดกาญจบุรี ขนาดใหญ่ที่สุดยาว 1.35 เมตร น้ำหนัก 40 กิโลกรัม
    ลักษณะของปลาตัวผู้
    1. ลำตัวเรียวยาว
    2. ขนาดเล็กกว่าปลาตัวเมีย
    3. ลักษณะเพศเป็นวงรีเล็ก มีสีชมพูเรื่อ ๆ ในฤดูผสมพันธุ์จะมีน้ำเชื้อสีขาวไหลออกมาเป็นจำนวนมาก
    4. มีตุ่มสิว (Pearl spot) ที่บริเวณแก้มและข้างตัวมากกว่าตัวเมีย เมื่อเอามือลูบจะสากมือ
    ลักษณะของปลาตัวเมีย
    1. ลำตัวอ้วนป้อม ช่องท่องขยายกว้าง
    2. ขนาดใหญ่กว่าปลาตัวผู้
    3. ช่องเพศกลมใหญ่ มีสีชมพูปนแดง และแผ่นไขมัน (papillae plate) ขยายเป็นวงล้อมรอบช่องเพศ
    4. มีตุ่มสิวเช่นกัน แต่น้อยกว่าปลาตัวผู้

    ลักษณะของปลาตัวเมียที่สมบูรณ์เพศ
    ฤดูวางไข่
    ปลายี่สกเป็นปลาที่วางไข่ในฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ปลาเพศผู้มีน้ำเชื้อดีตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ระยะที่ปลาวางไข่มากที่สุด คือ ประมาณปลายเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ หรือถ้านับทางจันทรคติ ประมาณกลางเดือนสาม ในต้นฤดูวางไข่ ปลาจะว่ายน้ำเหนือน้ำไปยังแหล่งวางไข่ในลักษณะคู่ใครคู่มัน เมื่อถึงแหล่งวางไข่ จะรวมกันอยู่เป็นฝูงจับเป็นคู่ ๆ เล่นน้ำตามริมตลิ่งในตอนบ่าย จับคู่เคล้าเคลีย และโดดขึ้นเหนือน้ำ ส่งเสียงดังสนั่น พอพลบค่ำก็ว่ายออกไปวางไข่กลางแม่น้ำในขณะที่ปลาวางไข่ปลาจะเชื่องมาก ไม่ยอมหนีจากกัน ทำให้ถูกจับได้ง่าย ปลาตัวเมียที่ถูกจับได้ จะมีไข่ไหลออกมา บางครั้งต้องใช้ผ้าอุดไว้ไม่ให้ไข่ไหล ไข่ที่ได้ถ้าไปผสมกับน้ำเชื้อตัวผู้จะได้รับการผสมดีมาก เพราะไข่แก่จัดเป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง คือ ปลายี่สกมักจะวางไข่ในวันพระขึ้นหรือแรม 15 ค่ำ ชาวประมงจะคอยสังเกตก่อนถึงวันพระ 3 วัน ถ้าเห็นปลาเริ่มจับคู่เล่นน้ำริมตลิ่งหลายคู่ แสดงว่าปลาจะต้องวางไข่ในวันพระที่จะถึงแน่นอน
    แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติอย่างกะทันหันเช่น ฝนตกหนัก หรือระดับน้ำเปลี่ยนแปลง ปลาจะเลื่อนการวางไข่ต่อไปอีก
    ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่ง คือ ก่อนที่ปลาจะวางไข่ ชาวประมงจะจับปลาสร้อยได้เป็นจำวนมาก พร้อมทั้งปลาเทโพและปลากินเนื้อ บางชนิดเข้าใจว่าปลาสร้อยจะคอยกินไข่ปลายี่สก และปลาเทโพจะกินปลาสร้อยอีกต่อหนึ่ง เข้าลักษณะสมดุลกันตามหลักธรรมชาติ
     
    แหล่งวางไข่
    แหล่งวางไข่ของปลายี่สกตามธรรมชาติ จะต้องมีเกาะหรือแก่งอยู่กลางน้ำ พื้นเป็นกรวดทราย มีกระแสน้ำไหลวินาทีละ 1.3 เมตร ความโปร่งแสงของน้ำ 10 เซนติเมตร ที่ระดับน้ำลึก 0.5-2 เมตร มีสัตว์หน้าดินชุกชุมมาก บริเวณท้ายเกาะจะต้องมีบุ่งหรือแอ่ง ซึ่งเป็นที่สะสมอาหารเมื่อปลาพร้อมที่จะวางไข่ ก็ว่ายน้ำออกไปท้ายเกาะตรงบริเวณที่กระแสน้ำไหลมาบรรจบกัน
     
    ลักษณะไข่ของปลายี่สก
    ไข่ปลายี่สกเป็นไข่ครึ่งจมครึ่งลอย จะฟักออกเป็นตัวในเวลาประมาณ 70 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 21.5-24.0 องศาเซลเซียส ไข่มีสีเหลืองเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร เมื่อถูกน้ำจะพองออกเป็น 3 มิลลิเมตร ลูกปลาที่ฟักเป็นตัวใหม่ ๆ มีความยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร
     
    การหาพันธุ์ปลายี่สกเพื่อเลี้ยง
    อาจหาลูกปลาได้จาก 2 ทางคือ
    ก. จากแหล่งน้ำธรรมชาติ
    ข. ซื้อพันธุ์ปลาจากหน่วยราชการของกรมประมง ซึ่งได้จากการผสมเทียมปีหนึ่ง ๆ หลายล้านตัว
     
    การผสมเทียม
    สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดหนองคาย ประสบผลสำเร็จการผสมเทียมปลายี่สกไทย เมื่อปี พ.ศ.2517 โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ธรรมชาติที่รวบรวมจากแม่น้ำโขง และเมื่อเดือนมกราคม 2533 สถานีฯ สามารถใช้พ่อแม่พันธุ์ปลายี่สกไทยที่เลี้ยงในบ่อดินมาทำการเพาะพันธุ์ประสบผลสำเร็จเป็นครั้งแรก โดยแม่พันธุ์ขนาด 7.4 กิโลกรัม ซึ่งมีความสมบูรณ์เพศและฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ (suprefact) ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ (motilium) บริเวณที่ฉีดฮอร์โมนคือ ทางช่องท้อง ส่วนปลาเพศผู้ขนาด 5.0 กิโลกรัมมีเชื้อดี ไม่ต้องฉีดฮอร์โมน

    วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมเทียมปลายี่สก
    การผสมไข่กับน้ำเชื้อ
    การผสมไข่กับน้ำเชื้อใช้วิธีผสมแห้ง เนื่องจากไข่ปลายี่สกไทยเปลือกไข่มีสารเหนียวจะทำให้ไข่ติดกันเป็นก้อน ต้องล้างไข่ด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง

    การผสมไข่กับน้ำเชื้อปลายี่สกไทย
    การอนุบาล
    เมื่อลูกปลาวัยอ่อนมีอายุครบ 2 วัน เริ่มให้อาหารโดยใช้ไข่แดงต้มบดละเอียดกับอาหารผง (artificial plankton) ละลายน้ำสาดให้ลูกปลากินวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและเย็น ลูกปลาอายุครบ 5 วัน จึงย้ายลูกปลาไปอนุบาลในบ่อดิน และให้อาหารผสมคือ รำละเอียด:ปลาป่น:กากถั่วป่น = 9:6:5 หลังจากอนุบาลครบ 1 เดือน ลูกปลายี่สกไทยมีขนาด 2-3 เซนติเมตร  
    การลำเลียงลูกปลา
    ลูกปลาเหมือนเด็กวัยอ่อน ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ขนาดลูกปลาที่เหมาะสมในการลำเลียงเพื่อนำไปเลี้ยงคือ 1-1 1/2 นิ้ว หรือ 3-5 เซนติเมตร ไม่ควรโตกว่านี้ เพราะปลายี่สกเป็นปลาแม่น้ำ ตกใจง่าย ถ้าขนาดโตกว่านี้จะกระโดดได้แรง ทำให้ปลาบอบช้ำ อัตราการรอดตายต่ำ
    การบรรจุลูกปลา ให้บรรจุในน้ำสะอาด ถ้าบรรจุด้วยถุงพลาสติกที่ใช้ในการลำเลียง ถุงหนึ่ง ๆ บรรจุลูกปลาได้ประมาณ 100-500 ตัว แล้วแต่ขนาดของปลา ถึงที่บรรจุและระยะทาง โดยอัดออกซิเจนแล้วมัดปากถุงให้แน่น เวลาที่เหมาะสมในการลำเลียงนั้น ๆ ตอนกลางคืนเหมาะที่สุด เพราะอากาศไม่ร้อน อัตราการรอดตายจะมากกว่าการลำเลียงตอนกลางวันนซึ่งอากาศร้อนเป็นเหตุให้ปลาอ่อนเพลียและอาจตายได้ แต่ถ้าจำเป็นต้องลำเลียงกลางวัน ให้ใส่น้ำแข็งข้างถุงที่บรรจุปลาด้วย
     
    การเตรียมบ่อเลี้ยง
    บ่อที่ขุดเสร็จแล้ว สูบน้ำออกให้หมด ใส่ปุ๋ยคอกแห้งอัตรา 200 กก./ไร่ ผสมปูนขาว 10 เปอร์เซนต์ คลุกเคล้าให้เข้ากัน เพื่อเป็นการฆ่าไข่แมลงบางชนิดที่วางไข่ไว้ในปุ๋ยคอก แล้วโรยให้รอบบ่อ จึงเอาน้ำเข้า การระบายน้ำเข้าบ่อควรกรองให้ดี และควรเอาน้ำเข้าบ่อก่อนปล่อยปลา 1 วัน หรือทำวันเดียวกับที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยง ทั้งนี้เพื่อป้องกันตัวแมลงที่จะคอยกินลูกปลา พยายามให้ลูกปลาคุ้นเคยกับบ่อดิน รู้จักหลบหลีกก่อนที่แมลงจะลงไปอาศัยอยู่ในบ่อ ลูกปลาจะได้แพลงก์ตอนในน้ำ และรำข้าวที่โรยให้กินเป็นอาหาร วิธีนี้ลูกปลาจะมีอัตรารอดตายสูงขึ้น
    อีกวิธีหนึ่ง เมื่อเตรียมบ่อตากบ่อแห้งดีแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยคอกลงไประบายน้ำเข้าประมาณ 50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 7-10 วัน เมื่อไรน้ำเกิดจึงเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น แล้วปล่อยลูกปลาลงไป วิธนี้ลูกปลาจะมีอาหารธรรมชาติสมบูรณ์ แต่จะมีมวนกรรเชียงอยู่มากมายคอยจับลูกปลากิน ดังนั้น ก่อนปล่อยลูกปลา ต้องฆ่าแมลงเสียก่อนโดยใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะพร้าวผสมกับสบู่กรดหรือสบู่ซัลไลท์ โรยให้ทั่วบ่อ เพื่อฆ่าแมลง อัตราส่วนน้ำมันพืช 5 ลิตร สบู่กรด 2 ก้อน ต่อเนื้อที่บ่อ 80 ตารางเมตร แมลงจะตายภายใน 5 นาที ควรทำในวันที่มีแดดจัด การสาดน้ำมันผสมสบู่ควรทำเหนือลม เพื่อให้น้ำมันกระจายได้ทั่วบ่อเร็วยิ่งขึ้น น้ำมันพืชไม่เป็นอันตรายต่อลูกปลา
    บ่อเลี้ยงลูกปลายี่สก
    ขนาดบ่อควรมีเนื้อที่ตั้งแต่ 800 ตารางเมตร ขึ้นไป ลึกตั้งแต่ 80 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร เลี้ยงลูกปลาขนาด 1 - 1 1/2 นิ้ว
    อัตราการปล่อย ลูกปลาขนาด 1-1 1/2 นิ้ว ปล่อยประมาณ 100,000 ตัว ต่อเนื้อที่บ่อ 800 เมตร หรือ 200,000 ตัว ต่อเนื้อที่บ่อ 1 ไร่
    ถ้าจะให้ได้ผลดี เนื้อที่บ่อ 800 ตารางเมตร ปล่อยลูกปลาน้อยกว่า 100,000 ตัว ลูกปลาจะเจริญเติบโตเร็วขึ้น

     
    บ่อเลี้ยงปลายี่สกใหญ่
    ขนาดบ่อควรมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 1 ไร่ ระดับน้ำลึก 1.20-2.0 เมตร ใช้เลี้ยงปลายี่สกขนาด 10 เซนติเมตรขึ้นไป จนถึงขนาดที่ตลาดต้องการ คือ น้ำหนัก 4 กิโลกรัมขึ้นไป
    อัตราการปล่อย ขนาด 10 เซนติเมตร จำนวน 200 ตัว ต่อเนื้อที่ 1 ไร่ หากปลาได้รับอาหารอุดมสมบูรณ์ ปลาจะเจริญเติบโตเร็วยิ่งขึ้นภายในระยะเวลา 2 ปี จะได้น้ำหนัก 4 กิโลกรัมเป็นอย่างน้อย
    บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ เป็นบ่อดินขนาด 1 ไร่ น้ำลึกประมาณ 1.0 เมตร ปล่อยปลาขนาด 1.0-7.0 กิโลกรัม จำนวน 30 ตัว (น้ำหนักรวมประมาณ 100 กิโลกรัม) เลี้ยงแบบรวมเพศ
     
    การเลี้ยงปลายี่สก
    ผู้ที่เลี้ยงเป็นอุตสาหกรรรมต้องลงทุนมาก เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่ เวลาเลี้ยงหลายปีจึงจะได้ขนาดที่ตลาดต้องการ ผู้ที่มีทุนน้อยควรจะเลี้ยงปลายี่สกเป็นปลาสมทบ คือเลี้ยงรวมกับปลากินพืชชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาไน ปลาสวาย ปลาจีน ปลาเหล่านี้จะกินอาหารผิวน้ำและกลางน้ำ ส่วนปลายี่สกจะกินอาหารพื้นบ่อ อาหารที่เหลือจากผิวน้ำ กลางน้ำ จะตกไปเป็นอาหารปลายี่สก
    การเลี้ยงเป็นปลาสมทบ อัตราการปล่อยปลากินพืช 3,000-4,000 ตัว ต่อปลายี่สก 100 ตัว สำหรับผู้ที่มีทุนเพียงพอและมีบ่อขนาดใหญ่อาจเลี้ยงปลายี่สกชนิดเดียวได้
    ทั้งนี้ก่อนจะปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อ เมื่อรับพันธุ์ปลามาแล้ว ควรนำถุงไปวางแช่น้ำในบ่อ จึงเปิดปากถุง เติมน้ำในบ่อเข้าถุงทีละน้อยก่อนปล่อยลูกปลาลงเลี้ยง
    อาหารปลายี่สก
    อาหารลูกปลา
    การเลี้ยงปลายี่สกต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ การให้อาหารก็มีความสำคัญเช่นกัน ในธรรมชาติ หอยเป็นอาหารที่ปลายี่สกชอบมากที่สุด ส่วนผสมของอาหารที่ให้ควรมี รำ 1 ส่วน ปลาป่น 2 ส่วน กากถั่ว 2 ส่วน ใส่น้ำพอคลุกเข้ากันเป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเท่าลูกตะกร้อ วางไว้ที่กระบะไม้ ซึ่งแขวนอยู่มุมบ่อใต้ผิวน้ำ ประมาณ 30 เซนติเมตร
    วิธีที่จะให้มีอาหารธรรมชาติในบ่อปลาก็คือ ใส่ปุ๋ยมูลสัตว์แห้ง เช่น มูลโค-กระบือ มูลเป็ด-ไก่ตากแห้ง ฯลฯ ส่วยการใส่มูลสัตว์สด ๆ ไม่ควรทำ จะทำให้เกิดแก๊สแอมโมเนียละลายอยู่ในน้ำมากขึ้น เป็นอันตรายต่อลูกปลา อัตราการใส่ปุ๋ยคอก 1 ไร่ต่อ 200 กิโลกรัม จะทำให้เกิดอาหารตามธรรมชาติ พวก กุ้ง หอย เป็นต้น ซึ่งปลายี่สกชอบกิน การใส่ปุ๋ยควรใส่เหนือลม เพื่อปุ๋ยจะได้กระจายไปทั่วบ่อ
    การสังเกตว่าในบ่อมีอาหารธรรมชาติเพียงพอหรือไม่ ใช้มือจุ่มลงไปในบ่อให้ลึกถึงข้อศอก ถ้ามองไม่เห็นฝ่ามือ แสดงว่าน้ำนั้นมีอาหารธรรมชาติมากหากเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ โดยให้อาหารผสม (รำ:เศษแผ่นยอ:ปลาป่นxกากถั่ว = 3:2:1) วันละ 3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลาทั้งหมด
    การให้อาหาร
    การให้อาหารเป็นเรื่องสำคัญ วันแรก ๆ ให้ทีละน้อย เพื่อเป็นการหัดให้ลูกปลารู้จักกินอาหารและให้สังเกตดูปริมาณอาหารที่ปลากินวันหนึ่ง ๆ ด้วย และค่อย ๆ เพิ่มอาหารให้ทีละน้อย ๆ ถ้าให้มากเกินไปอาหารเหลือจะบูดเสีย ทำให้น้ำเสีย เป็นอันตรายแก่ปลาในบ่อ
    เวลาให้อาหาร ให้วันละ 2 เวลา คือ 3 โมงเช้า และ 2 โมงเย็น เวลาจะให้อาหารควรมีสัญญาณ เช่น ใช้มือตีน้ำ เป็นต้น ประมาณ 7 วัน ปลาได้ยินสัญญาณ จะว่ายน้ำมากินอาหารเป็นฝูง ทั้งนี้ ควรสังเกตปริมาณและชนิดของอาหารที่ให้ ถ้ามีโปรตีนสูง ปลาจะเจริญเติบโตเร็ว การให้อาหารเช่นนี้มีผลดี คือ
    1. ทำให้รู้จำนวนปลา
    2. รู้ว่าปลาเป็นโรคหรือไม่ เพื่อคัดตัวที่ไม่ต้องการออก
    3. สังเกตได้ว่าปลาหายไปหรือไม่
    4. ทำให้ปลาโตเร็วยิ่งขึ้น และเลี้ยงได้หนาแน่นกว่าการให้กินอาหารจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว
    การให้อาหารปลายี่สกขนาดโต ควรเพิ่มกากถั่วแผ่น ปลาป่น สาหร่าย ผักบุ้ง รำ ปลายข้าวต้ม บดผสมกัน คลุกกับข้าวสุก หรืองาคั่วอย่างละเอียด 10 เปอร์เซ็นต์
    การเจริญเติบโต
    การเจริญเติบโตของปลายี่สก นอกจากเรื่องอาหารแล้ว การระบายน้ำ การเปลี่ยนน้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ อย่าปล่อยปลาในอัตราที่หนาแน่นเกินไป เมื่อเลี้ยงได้ 1 ปี จะมีน้ำหนัก 1-2 กิโลกรัมเป็นอย่างน้อย แต่การซื้อขายในตลาด มักนิยมปลาซึ่งมีขนาดหนักกว่า 4 กิโลกรัมขึ้นไป
    การแบ่งเลี้ยงและการคัดขนาด เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก ถ้าหนาแน่นเกินไป ปลาจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ปลาโตขึ้น ต้องการเนื้อที่มาก ปลาใหญ่จะแย่งอาหารปลาเล็ก การคัดขนาดควรกระทำทุก 6 เดือนต่อครั้ง
     
    ศัตรู
    ศัตรูลูกปลายี่สก ได้แก่ คางคก กบ แมลงวัยอ่อน นอกจากนี้มีเห็บ หนอนสมอ งูกินปลา ปลาช่อน และนกกินปลา สำหรับนกกินปลาจะมากินปลาขณะที่ฝูงปลาขึ้นมากินอาหาร บางครั้งอาจจะมีนกมาคอยจ้องจับกินปลาในขณะที่น้ำในบ่อเสีย ปลาลอยหัว ซึ่งจะเป็นข้อสังเกตว่า มีเหตุผิดปกติได้เกิดขึ้นในบ่อแล้วอีกประการหนึ่งด้วย
     
    ผลผลิตต่อไร่
    ปลายี่สกไทยที่เลี้ยงด้วยความหนาแน่น 1 ตัว/ต่อตารางเมตร มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงกว่าการเลี้ยงด้วยความหนาแน่น 2 ตัว/ตารางเมตร ประมาณ 42 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อใกล้เคียงกัน และมีแนวโน้มว่าน่าจะเลี้ยงเป็นการค้าได้
    ต้นทุนการผลิต
     
    ต้นทุนการผลิตเนื้อปลายี่สกไทย โดยเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.04 บาท
    1 ตัว/ตารางเมตร เท่ากับ 54.50 บาท
    1 ตัว/ 2 ตารางเมตร เท่ากับ 63.00 บาท
    หมายเหตุ ราคาอาหาร (12.50 บาท/อาหารปลา 1 กก.) อัตราการรอด ประมาณ 90%
     
    แนวโน้มการเลี้ยงปลายี่สกในอนาคต
    ปลายี่สกเป็นปลาที่ค่อนข้างจะหายากในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับปลาน้ำจืดด้วยกันแล้ว นับได้ว่ามีราคาสูงที่สุด ทั้งนี้สามารถนำส่วนประกอบต่าง ๆ ของปลามาใช้ประโยชน์ อาทิ เนื้อ หนัง เกล็ด มีรสชาติอร่อย ดังนั้น หากการเลี้ยงปลายี่สก ได้รับความสนใจอย่างจริงจัง ก็จะทำให้มีเนื้อปลายี่สกรับประทานโดยไม่ต้องรอฤดูกาลอีกต่อไป

    • Update : 1/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch