หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
    การเลี้ยงปลาในนาข้าว หรือการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่นสุกร เป็ด ไก่ และการเลี้ยงปลาร่วมกับปลานั้น เกษตรกรในประเทศไทยและต่างประเทศได้ปฏิบัติกันมานานแล้วเช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น รวมทั้งบางประเทศในยุโรปตะวันออก เช่นฮังการีประเทศเหล่านี้ต่างยอมรับว่า ระบบการผลิตสัตว์น้ำและสัตว์บกที่ผสมผสานกันนี้เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่กันเป็นอย่างดี นับเป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพสูงมากระบบหนึ่ง
    ข้อดีของการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
    สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้เต็มที่ ที่ดินรอบ ๆ บ่อใช้ปลูกพืชผัก และสร้างคอกเลี้ยงสัตว์ส่วนน้ำในบ่อนอกจากใช้เลี้ยงปลาแล้วยังปลูกพืชอื่น ๆ ได้อีก เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด
    เศษเหลือของพืชและสัตว์สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกเช่น มูลสัตว์ เศษอาหาร เศษผักหญ้าต่างๆ ซึ่งตกลงไปในบ่อก็จะกลายเป็นอาหารปลาและเป็นปุ๋ยสำหรับเติมบ่อปลา ขณะเดียวกันโคลนเลนก้นบ่อก็สามารถนำมาปลูกพืชต่างๆ ได้ดีการนำเศษเหลือ ของเสียต่าง ๆ กลับมาใช้อีกเป็นการกำจัดของเสีย และช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าอาหารปลา ค่าอาหารสัตว์ ค่าปุ๋ย
    เป็นการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ สามารถใช้บริโภคภายในครอบครัวถ้าเหลือก็สามารถนำออกจำหน่ายเกิดเป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อดำเนินการต่อไป และเป็นการใช้แรงงานภายในครอบครัวให้เป็นประโยชน์
    ลดอัตราการเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ดีกว่า การเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกพืชเพียงอย่างเดียวและเป็นการลดต้นทุนเพราะกิจกรรมแต่ละอย่างต้องพึ่งพากัน
    ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียน ในการจำหน่ายผลผลิตจากฟาร์มตลอดปี

    การสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้เหนือบ่อเลี้ยงปลา
    ลักษณะการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์
    การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานหากจำแนกตามที่ตั้งของโรงเรือนเลี้ยงสัตว์จะพบว่ามีสองลักษณะคือ
    แบบสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้เหนือบ่อเลี้ยงปลาเป็นแบบที่นิยมกันมากที่สุดเพราะสะดวกและสามารถระบายมูลสัตว์จากโรงเรือนลงสู่บ่อปลาโดยตรงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในโรงเรือนบนบ่อปลาจะได้ประโยชน์จากบ่อปลาในการช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้ต่ำลงสัตว์จึงไม่เครียด ทำให้กินอาหารได้มากขึ้นโตเร็วและต้านทานโรคได้ดีทั้งยังดูแลรักษาความสะอาดได้ง่ายประหยัดแรงงาน ข้อเสียคือ ต้นทุนค่าสร้างโรงเรือนสูงขึ้น เนื่องจากต้องใช้ไม้ทำเสาและวัสดุปูพื้นเพิ่มขึ้นโรงเรือนลักษณะนี้เหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์เล็กเช่น เป็ดหรือไก่เท่านั้น
    แบบสร้างโรงเรือนแยกออกไปจากบ่อปลาโดยมีรางระบายมูลสัตว์จากโรงเลี้ยงมาสู่บ่อปลาแบบนี้จะพบมากในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น สุกร ที่สร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อยู่ก่อนแล้วจึงขยายเนื้อที่เลี้ยงปลาโดยการขุดบ่อในภายหลัง
    เกษตรกรที่จะลงทุนเลี้ยงปลาผสมผสานโดยการสร้างโรงเรือนและขุดบ่อเลี้ยงปลานั้นขอแนะนำให้สร้างตามแบบแรก ถึงแม้ว่าต้องลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ผลตอบแทนในระยะยาวจะคุ้มค่าเพราะประหยัดพื้นที่และประหยัดแรงงานมากกว่าสำหรับเกษตรกรที่มีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว หากต้องการเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นควรใช้แบบที่สอง
    การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่
    การเลี้ยงผสมผสานแบบนี้ มีจุดประสงค์คล้ายคลึงกับการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ดคือใช้มูลไก่เป็นอาหารของปลาที่เลี้ยง หรือใช้เป็นปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโตของอาหารธรรมชาติและเป็นอาหารของปลาอีกทอดหนึ่ง
    ลักษณะบ่อปลาและเล้าไก่
    บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่นั้นใช้บ่อดินที่มีลักษณะเดียวกับบ่อเลี้ยงปลาโดยทั่วไปควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความลึกประมาณ 1.50 - 2.00 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้โดยเฉลี่ย 1-1.50 เมตรในช่วงที่มีการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่
    เล้าไก่ ซึ่งเป็นอาคารและโรงเรือนควรสร้างคร่อมบ่อที่เลี้ยงปลา เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่เดียวกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นการเหมาะสมเมื่อไก่ที่เลี้ยงถ่ายมูลหรือเศษอาหารตกลงในบ่อเป็นประโยชน์ต่อปลาโดยตรงโดยมิต้องเสียเวลาในการทำความสะอาดเป็นการตัดภาระในด้านค่าใช้จ่าย สำหรับรูปร่างของเล้าไก่นั้นก็ควรสร้างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเช่นเดียวกันพื้นเล้าไก่สูงกว่าระดับผิวน้ำในบ่อเฉลี่ย 1.20 เมตร
    แบบตั้งบนบ่อปลา ปลาจะได้รับอาหารที่ไก่เขี่ยกระเด็นออกมาเป็นอาหารโดยตรง และได้รับอาหารจากมูลไก่ที่ย่อยไม่หมดส่วนที่เหลือจะกลายเป็นปุ๋ยให้เกิดแพลงก์ตอนในบ่อต่อไป ปลาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยสามารถลดปริมาณอาหารสมทบหรือไม่ต้องลงทุนลดแรงงานและเวลาในการหาอาหารให้ปลา ไม่ต้องทำความสะอาดในเล้า
    ส่วนเล้าไก่ที่สร้างบนพื้นดินนั้น มูลไก่และเศษอาหาร จะตกลงที่พื้นดินใต้เล้าหากทิ้งไว้นานคุณค่าอาหารจะเปลี่ยนไปเพิ่มงานและเสียเวลาเพื่อขนถ่ายมูลไก่ไปลงบ่อปลา สัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อยทั้งยังสามารถควบคุมให้ปริมาณปุ๋ยในบ่อไม่มากเกินไปได้โดยการทยอยใส่ปุ๋ยลงในบ่อในกรณีพื้นที่นั้นมีปริมาณน้ำที่จะใช้น้อย เช่น ปีหนึ่งมีน้ำเพียง 8 เดือนอย่าสร้างเล้าไว้บนบ่อ
    ทิศทางและตำแหน่งที่ตั้งเล้าไก่
    การสร้างเล้าไก่ควรหันให้ด้านยาวของเล้าหันในทิศทางตะวันออก-ตะวันตก เพื่อไม่ให้แสงแดดส่องเข้าในเล้าโดยตรงนานเกินไปในช่วงสายๆ และบ่าย ๆ แต่ถ้าไม่สามารถหันได้ตามทิศทางดังกล่าวและด้านยาวจำเป็นต้องหันไปทิศเหนือ-ใต้ก็จะต้องทำชายคาให้ต่ำลงมาบังแสงได้เพียงพอ
    ขนาดและลักษณะเล้าไก่
    เล้าไก่ควรเป็นแบบเปิดและอยู่กลางแจ้ง เพื่อจะได้รับแสงสว่างและการถ่ายเทอากาศจากธรรมชาติปกติแล้วเล้าจะปลูกสร้างเป็นแถวเดียว มีหลังคาเป็นแบบจั่ว มีความยาว 6-8 เมตรและมีความสูง 3.0 เมตร แต่ละห้องแบ่งขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 40 ตารางเซนติเมตรเลี้ยงไก่ได้จำนวน 800 ตัว ส่วนความกว้างของเล้าจะขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่เพิ่มขึ้นเล้าไก่ควรมีอัตราส่วนช่องหน้าต่างต่อเนื้อที่พื้นเล้าเท่ากับ 1:8 - 1:10 เพื่อช่วยให้เกิดการถ่ายเทอากาศได้ดีพื้นเล้าสูงจากระดับน้ำบ่อปลาประมาณ 1.0 - 1.50 เมตร
    วิธีการเลี้ยงไก่ร่วมกับการเลี้ยงปลาแบบการค้า
    สำหรับเกษตรกรที่มีความสนใจจะเลี้ยงไก่ผสมผสานกับเลี้ยงปลาให้เป็นการค้าควรจะเตรียมการและวางแผนการเลี้ยงล่วงหน้าไว้ดังนี้
    วางแผนการเก็บเกี่ยวผลผลิตปลาให้พอดีกับฤดูแล้งซึ่งปลาจะมีราคาดี
    หลีกเลี่ยงการเลี้ยงปลาและไก่ในฤดูหนาว เนื่องจากเป็นฤดูที่มีโรคระบาด
    ตรวจดูความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเลี้ยงไก่และชนิดปลาที่จะเลี้ยง
    1
    รูปแบบผสมผสานที่ 1 เลี้ยงไก่เนื้อกับปลานิล ปลาสวาย ปลาจีน
    2
    รูปแบบผสมผสานที่ 2 เลี้ยงไก่เนื้อ 2 รุ่นกับปลาดุกบิ๊กอุย
    3
    รูปแบบผสมผสานที่ 3 เลี้ยงไก่ไข่กับปลานิล
    ผู้เลี้ยงควรจัดเตรียมบ่อดินและโรงเรือนไก่ให้เสร็จเรียบร้อยในฤดูแล้งเพื่อความสะดวกใน
    การทำงาน มีขั้นตอนดังนี้
    บ่อเก่า ให้ล้างบ่อโดยสูบน้ำจับปลาเก่าออกให้หมด และขุดลอกเลนบางส่วนออกโดยให้คงเหลือไว้ 10-20 เซนติเมตร โรยปูนขาวอัตรา 40-60 กิโลกรัม/ไร่ ตากบ่อให้แห้ง
    ขุดบ่อใหม่ ควรเปิดน้ำลงบ่อให้พอแฉะ ๆ โรยปูนขาว อัตรา 100-200 กิโลกรัม/ไร่ตากบ่อให้แห้ง
    เปิดน้ำลงบ่อให้ผ่านมุ้งไนลอนตาถี่ เพื่อป้องกันปลากินเนื้อที่อาจหลุดเข้ามาได้
    บริเวณท่อน้ำเข้าให้กองปุ๋ยคอกไว้ในอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่
    เปิดน้ำเข้าบ่อให้มีระดับ 30 เซนติเมตรแล้วปิดน้ำ พักบ่อไว้จนน้ำในบ่อกลายเป็นสีเขียว
    เปิดน้ำเข้าบ่ออีกครั้งให้ได้ระดับลึก 1.0 - 1.20 เมตร ควรปักไม้ไว้วัดระดับน้ำ
    เมื่อน้ำในบ่อเป็นสีเขียวดีแล้ว ก็สามารถจัดหาพันธุ์ลูกไก่มาเริ่มเลี้ยงบนเล้าได้
    อัตราส่วนจำนวนไก่และขนาดบ่อปลา
    อัตราส่วนจำนวนไก่ประเภทต่าง ๆ ต่อพื้นที่บ่อทุก ๆ 1 ไร่ โดยตั้งเล้าไว้บนบ่อปลา
    ลักษณะการจ่ายน้ำเข้าฟาร์ม
    ไก่พันธุ์เนื้อ (ตัว/ไร่)
    ไก่พันธุ์พื้นเมือง (ตัว/ไร่)
    ไก่พันธุ์ไข่ (ตัว/ไร่)
    ฟาร์มที่รับน้ำได้ตลอดเวลา
    350
    350
    200
    ฟาร์มที่รับน้ำได้เป็นเวลา
    260
    260
    150
    ฟาร์มที่มีน้ำบาดาลหรือน้ำฝนตลอดทั้งปี
    175
    175
    100
    ฟาร์มที่มีน้ำบาดาลหรือน้ำฝนน้อยกว่า 8เดือน/ปี**
    **
    **
    **

    ขั้นตอนการเลี้ยงไก่ควบคู่กับการปล่อยปลา
    การนำลูกไก่มาเลี้ยงควรเริ่มหลังจากเตรียมบ่อปลาและน้ำมีสีเขียวดีแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อให้มูลไก่ตกลงสู่บ่อปลาซึ่งลูกปลาที่เพิ่งปล่อยและอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ลูกปลาจะได้กินเป็นอาหารอย่างต่อเนื่อง
    การเลี้ยงไก่ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้อัตราการรอดตายสูงที่สุดหากไก่มีอัตรารอดสูงนอกจากผู้เลี้ยงจะไดรับกำไรจากไก่สูงแล้วผลผลิตปลาก็จะสูงตามไปด้วย
    อาหารและมูลไก่ในช่วง 5 สัปดาห์แรกนี้ จะเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูงต่อลูกปลาลูกปลาจะสามารถกินมูลไก่ได้โดยตรง
    การเลี้ยงปลาสามารถเริ่มเลี้ยงไปพร้อม ๆ กันกับการเลี้ยงไก่
    ควรเลือกลูกปลาที่มีลักษณะแข็งแรง ขนาดไล่เลี่ยกัน ขนาดปลาที่จะใช้เลี้ยงเริ่มต้นควรเป็นลูกปลาตัวโตเพื่อให้ได้อัตรารอดตายที่สูงขนาดของลูกปลากินพืชและปลาที่กินอาหารไม่เลือก ควรเป็น 2 นิ้ว และขนาดลูกปลาดุกควรเป็น 1 นิ้ว
    แสดงอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาผสมผสานกับเลี้ยงไก่
    ชนิดของไก่
    จำนวนตัวต่อบ่อ 1 ไร่
    หมายเหตุ
    ไก่พันธุ์เนื้อ (ไก่กระทง)
    1,000
    เลี้ยงตั้งแต่อายุ 1 วัน รุ่นละ 50 วัน ปีละ 5 ครั้งเลี้ยงในกรงตับ
    ไก่พันธุ์ไข่
    200
     
    ชนิดของปลา
    ขนาด (เซนติเมตร)่
    จำนวนตัวต่อไร่
    นิล
    3
    3,000
    นิลสวาย
    3-5
    3,000 จำนวนเท่ากัน
    (นิลสวาย ตะเพียน ยี่สกเทศ นวลจันทน์เทศ จีน)
    3-5
    3,000

    อัตราการเลี้ยงสัตว์ร่วมกับการเลี้ยงปลา
    ขนาดบ่อ (ไร่)
    พันธุ์ปลา (ตัว)
    ขนาดเล้า
    (
    ตารางเมตร)
    พันธุ์ไก่ (ตัว)
    อาหารหลัก
    อาหารสมทบ
    15
    นิล 60,000 - 67,500
    สวาย 30,000 - 67,500
    จีน 15,000
    400
    เนื้อ 10,000
    สุกร 220
    มูลไก่
    รำ ปลายข้าว
    เศษอาหาร
    10
    นิล 50,000
    400
    ไก่เนื้อ 10,000
    เลี้ยง 2 รุ่น
    มูลไก่
    รำปลายข้าว
    เศษอาหาร
    5
    ดุกบิ๊กอุย 200,000
    200
    ไก่เนื้อ 5,000
    เลี้ยง 2 รุ่น
    มูลไก่
    เศษอาหาร
    เศษอาหารจากร้าน
    อาหารเม็ด
    5 -10
    ดุกบิ๊กอุย 300,000
    400
    ไก่เนื้อ 10,000
    เลี้ยง 2 รุ่น
    มูลไก่
    เศษอาหาร
    เศษอาหารจากร้าน
    อาหารเม็ด
    1
    นิล 500
    สวาย 500
    จีน 200
    40
    ไก่ไข่ 200
    สุกร 3-5
    มูลไก่
    มูลสุกร
    รำปลายข้าว
    เศษอาหาร

    ผลผลิตและผลตอบแทนของการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่
    ผลผลิตปลาจากการเลี้ยงแบบผสมผสาน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณสัตว์ที่นำมาเลี้ยงกับชนิดและขนาดของปลาที่นำมาปล่อยและระยะเวลาที่เลี้ยงด้วย
    รูปแบบการเลี้ยงสัตว์และปลาชนิดต่าง
    รูปแบบการเลี้ยง
    ขนาดบ่อ (ไร่)
    ผลผลิตปลาทั้งบ่อ (ตัน)

    • Update : 1/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch