หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์กลมแบบง่ายๆ
    การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์กลมแบบง่ายๆ

         การเลี้ยงปลาดุกในท่อปูนซีเมนต์เป็นวิธีการเลี้ยงปลาอีกวิธีหนึ่งที่ สามารถเลี้ยงกันได้ง่าย สำหรับสถานที่ก็ใช้พื้นที่ไม่เยอะ และสามารถเคลื่อน ย้ายท่อปูนซีเมนต์ได้ง่ายด้วย ค่าลงทุนในการการเลี้ยงก็ไม่มากสามารถนำไป ประกอบเป็นอาชีพเสริมได้และผลตอบแทนก็เป็นที่น่าภูมิใจ จากการลงพื้นที่ของ เจ้าหน้าที่ร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.สงขลา ได้พบกับคุณชา ลี สุวรรณชาตรี อยู่บ้านเลขที่ 319 ม.18 ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ. สงขลา เกษตรกรผู้ที่เลี้ยงปลาดุกในท่อปูนซีเมนต์ ได้บอกถึงวิธีการเลี้ยงปลา ดุกด้วยระบบชีวภาพซึ่งมีขั้นตอนการเลี้ยงดังนี้


    ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมอุปกรณ์
    1.ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 100*50 เซนติเมตร
    2.ท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ว ยาว 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น และยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น
    3.ข้องอพีวีซีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน
    4.ยางนอกรถสิบล้อจำนวน 1 เส้น
    5.ยางนอกรถจักรยานยนต์จำนวน 1 เส้น
    6.ตาข่าย
    7.น้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
    8.ปูน ทราย หิน
    9.อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก
    10.พืชผักที่ปลากิน เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ฯลฯ
    11.ลูกปลาดุก 70-80 ตัว

    ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลาดุก
    1.จะต้องทำการฆ่ากรดฆ่าด่างในบ่อปูน โดยให้นำหัวกล้วยหรือโคนกล้วยมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำมูลวัวมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำใส่ไปในบ่อใส่น้ำให้เต็ม แล้วหมักไว้ 5 วัน จากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งแล้วเอาโคนกล้วยออกทิ้งด้วย
    2.นำน้ำสะอาดใส่ไปในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากนั้นก็ให้เปิดน้ำทิ้ง
    3.นำผักบุ้งมาถูให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ตากบ่อให้แห้ง

    ขั้นตอนที่ 3 การทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
    1.ถังพลาสติกที่มีฝาปิดจำนวน 1 ถัง
    2.น้ำตาลทรายแดง 3 กิโลกรัม
    3.ฟักทองแก่ 3 กิโลกรัม
    4.มะละกอสุก 3 กิโลกรัม
    5.กล้วยน้ำหว้าสุก 3 กิโลกรัม

    วิธีทำ
    หั่นมะละกอ, กล้วยน้ำหว้า, ฟักทองทั้งเปลือกและเมล็ดใส่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด ผสมน้ำตาลทรายแดง แล้วคนให้เข้ากันและปิดฝาให้แน่นหมักทิ้งไว้ 7 วัน แล้วเติมน้ำสะอาด 9 ลิตร ปิดฝาให้แน่นแล้วหมักต่ออีก 15 วัน

    ประโยชน์
    -เป็นฮอร์โมนพืช เร่งดอก เร่งผล รสชาติหวานอร่อย
    -ปลาไม่เป็นโรค
    -ปลาไม่มีกลิ่นสาบ
    -ปลาไม่มีมันในท้อง
    -ปลาจะมีเนื้อหวานรสชาติอร่อย

    ขั้นตอนที่ 4 การเลี้ยง
    1.นำท่อปูนที่มีรอยคราบผักบุ้ง หรือบ่อปูนที่ไม่มีกรดไม่มีด่าง ใส่น้ำให้มีความสูง 10 เซนติเมตร (ช่วงปลาขนาดเล็ก เพิ่งนำมาปล่อย) แล้วเติมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ
    2.นำปลาดุกมาแช่น้ำในบ่อปูนทั้งถุง แล้วค่อยๆเปิดปากถุงให้ปลาว่ายออกมาเอง
    3.วันแรกที่นำปลามาปล่อยไม่ต้องให้กินอาหาร
    4.นำพืชผักที่ปลากิน เช่นผักบุ้ง ผักตบชวาและอื่นๆมาใส่ในบ่อ
    5.การให้อาหาร ปลา 1 ตัวให้อาหาร 5 เม็ด/เมื้อ ในช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้า-เย็น ปลาอายุ 1 เดือนครึ่งให้อาหารปลาขนาดกลาง โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น
    หมายเหตุ ก่อนให้อาหารต้องนำอาหารมาแช่น้ำก่อนเสมอประมาณ 10-15 นาที
    เหตุผลเพื่อ
    1.ปลาจะได้กินอาหารทุกตัว
    2.ปลาตัวที่แข็งแรงจะทำให้ท้องไม่อืด
    3.ปลาไม่ป่วย
    4.การเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน
    5.อาหารไม่เหลือในบ่อและน้ำก็ไม่เสีย
    6.ถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน หรือ 10 วัน/ครั้ง ทุกครั้งที่ถ่ายน้ำจะต้องใส่น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะเสมอ

    ขั้นตอนที่ 5 การจำหน่าย
    1.ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี
    2.ปลาดุก 3 เดือนครึ่ง จำนวน 70 ตัว จะมีน้ำหนัก 14-15 กิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 ตัว/กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท
    3.ต้นทุนอาหารกิโลกรัมละ 19-20 บาท หมายเหตุ ต้นทุนครั้งแรก 1 ชุด 430 บาท น้ำที่ถ่ายทิ้งจากบ่อปลาสามารถนำมารดต้นไม้ พืชผักสวนครัว เป็นปุ๋ยอย่างดี


    หมายเหตุ : ราคาปลาที่ขายและต้นทุนการผลิตอาจมีการผันแปรตามสภาพแต่ละพื้นที่

    ข้อมูลจาก : คุณชาลี สุวรรณชาตรี เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุก จ. สงขลา
    ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร * 1677
    สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.สงขลา


    • Update : 1/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch