หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เทคนิคการเลี้ยงกบ

    เทคนิคการให้อาหารกบ
    1. แนะนำให้เปลี่ยนถ่ายน้ำ ให้เสร็จก่อนให้อาหาร เพื่อป้องกันกบกระโดดจนจุกและตาย นอกจากนี้ยังช่วยให้กบสดชื่นและกินอาหารในสภาพที่สะอาดมากขึ้น ลดอาการของโรคท้องอืดได้ด้วย
    2. ควรให้อาหารในช่วงเช้าและเย็นที่มีอากาศอบอุ่น หรือมีแสงแดดส่งค่อนข้างร้อนๆ เพราะกบจะกินอาหารดี และย่อยอาหารได้ดีมาก ป้องกันโรคท้องอืดได้
    3. ถ้าวันใดมีฝนตกหนักๆและอากาศเย็นกว่าปกติ ไม่ควรให้อาหารกบ หรือให้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
    4. ในการเปลี่ยนเบอร์อาหาร อย่าเปลี่ยนทันที ให้ผสมระหว่างอาหารเบอร์เก่ากับเบอร์ถัดไป



    เทคนิคการเลี้ยงกบทั่วๆไป
    1. ถ้าใช้เป็นน้ำคลองที่มีการไหลและหมุนเวียนตลอด จะนำมาเลี้ยงกบได้ดีที่สุด กบแข็งแรง ไม่ค่อยมีโรค อัตรารอดสูงกว่า
    2. การใช้น้ำบาดาล บางที่นำมาใช้เลี้ยงได้เลย แต่หลายๆที่ยังคงต้องนำมาใส่บ่อพักไว้ก่อน เพื่อตรวจวัดให้ได้คุณภาพที่ดีพอก่อนนำไปใช้
    3. น้ำประปา ที่มีคลอลีนไม่มากนัก สามารถนำมาเลี้ยงกบได้ แต่อาจไม่คุ้มค่ามากนัก
    4. การใส่กบอย่างหนาแน่น และถ้าน้ำหมุนเวียนดีๆ จะดีกว่าใส่กบจำนวนน้อย เพราะการใส่ให้หนาแน่นกบจะกินอาหารดีและทั่วถึงกว่า(เห็นตัวอื่นๆกิน ก็จะวิ่งมากินตามๆกัน)
    5. ผู้ที่เพิ่มเริ่มเลี้ยง แนะนำให้ซื้อลูกพันธุ์กบที่มีตัวโตๆไปทดลองเลี้ยงก่อน เพราะโอกาสรอดจะสูง และแข็งแรงกว่าลูกกบเล็ก
    6. ถ้าจะเลี้ยงจริงจัง ในปริมาณมาก แนะนำให้เลี้ยงในบ่อดิน หรือในบ่อปูน หรือในกระชัง จะสะดวกที่สุด
    7. ช่วงต้นฤดูฝนใหม่ๆ กบจะเป็นโรคต่างๆได้ง่าย เช่น โรคตาขาว โรคกระแตเวียน โรคปากแดง โรคเป็นแผลพุพอง จึงต้องระวังในการเลี้ยงเป็นพิเศษ และให้ยาตามความเหมาะสม


    เทคนิคการตลาดและการขาย
    1. ต้องเลี้ยงกบในปริมาณน้อยๆในช่วงต้นๆฤดูฝน เพราะกบจะมีราคาถูกที่สุด หรือให้พักบ่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคในช่วงนี้ไปเลยครับ
    2. ควรผลิตกบในแต่ละเดือนตามความต้องการของตลาดเป็นหลัก ไม่จำเป็นต้องเลี้ยงให้มากหรือแน่นเต็มพื้นที่
    3. ถ้าเป็นช่วงที่กบมีราคาถูกมากๆ ควรแบ่งกบจำนวน 30 – 50% ออกไปขายปลีกตามท้องตลาด หรือตลาดนัดเพราะจะได้ราคาสูงเฉลี่ยที่ 70 บาท/กก. ที่เหลือขายส่งให้พ่อค้าคนกลางจะได้เฉลี่ย 25 – 35 บาท/กก. นั่นหมายความว่าโดยรวมแล้วเรายังขายได้เฉลี่ย 40 – 45 บาท/กก. ซึ่งยังเป็นราคาที่รับได้ ก็ยังมีกำไรเพียงเล็กน้อย แต่จะยังไม่ถึงกับขาดทุน
    4. ผู้ที่เลี้ยงน้อยๆควรเข้าร่วมโครงการตรวจโรคฟรี กับฟาร์มกบใหญ่ ในพื้นที่ หรือขอขายร่วมเมื่อมีพ่อค้ามาจับที่ฟาร์มนั้นๆ


    แนะนำ หลักการเลือกซื้อลูกกบ อย่างคุ้มค่าการลงทุน
    1. อย่าเสียดายน้ำมัน จะเลี้ยงกบทั้งที ก็ต้องไปดูขนาดลูกกบที่ฟาร์มนั้นๆก่อนว่าท่านพอใจหรือไม่ ดีกว่าถูกหลอก หรือได้ของไม่ดีครับ
    2. อย่าใช้แค่วิธีโทรคุย แล้วสั่งลูกกบทันที หรือจ่ายเงินมัดจำโดยการโอนเงินล่วงหน้า เพราะอาจถูกหลอกได้ง่ายๆ เรียกกันว่า “เก็บเงินท่านไปก่อน แล้วค่อยวิ่งหาลูกกบจากแหล่งต่างๆมาส่งให้ท่าน ประมาณนี้” จริงๆแล้วเขาอาจไม่ได้เพาะเองครับ ถ้าหาไม่ได้จริงๆค่อยคืนเงินก็มีครับ
    3. จงระวังผู้ขายที่ไม่มีที่อยู่ ไม่มีแผนที่เพื่อให้ท่านไปดูลูกกบที่ฟาร์ม ไม่มีเบอร์โทรติดต่อ อะไรประมาณนี้ หรือมีแต่อีเมล เพื่อใช้ติดต่อเท่านั้น จะซื้อลูกพันธุ์ ต้องดูผู้ขายที่มีหลักแหล่งที่แน่นอนนะครับ
    4. ผู้ขายบางราย ใช้วิธีทิ้งแค่อีเมล หรือเบอร์โทรเอาไว้ ให้ท่านหลงติดต่อสั่งซื้อ แต่ไม่มีบ่อเพาะพันธุ์จริงๆ แบบนี้เรียกว่า “การวิ่งลูกกบตามที่ลูกค้าสั่ง” โดยจะวิ่งหาจากฟาร์มต่างๆแล้วนัดส่งตามจุดที่ลูกค้าต้องการ แบบนี้อันตรายมากๆ เพราะท่านมักจะได้ลูกกบที่เป็นโรคจากที่ใดบ้างก็ไม่รู้ไปเลี้ยง ท่านอาจะขาดทุนได้ ถ้าเจอผู้ขายแบบนี้
    5. ถ้าท่านเลือกได้ อย่าไปซื้อลูกกบจากผู้ที่เน้นเพาะลูกกบขายเท่านั้น แต่ว่าเขาไม่ได้เลี้ยงเอง เพราะกบมักจะโตช้า หรือเป็นโรค เนื่องจากมักจะใช้พ่อแม่พันธุ์กบที่มีสายเลือดชิดกันมาเพาะครับ แต่ก็ไม่ทุกที่นะครับ อันนี้ต้องดูให้ดีๆด้วยตัวท่านเองครับ
    6. เลือกฟาร์มที่ใกล้ๆบ้าน เดินทางสะดวก มีแผนที่ เพราะยิ่งขนย้ายง่าย รวดเร็ว กบจะไม่อ่อนแอ ไม่เพลีย ตายน้อยกว่า 5%
    7. ควรไปเจอผู้ที่เลี้ยงตัวจริง จะได้คุยเรื่องวิธีการเลี้ยงอย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทาง ลดความเสี่ยง
    8. เลือกผู้ขายที่คัดขนาดลูกกบไว้แล้ว ไม่ใหญ่หรือเล็กกว่ากัน นำมาเลี้ยงได้ทันที

    ** ถ้าท่านใดคิดว่าไม่สะดวก หรือทำไม่ได้ ตามข้อ 1 – 5 ด้านบน อาจจะขาดทุนได้ง่ายๆเลยครับ


    มีการรับซื้อกบคืนจริงๆ หรือกลลวงกันแน่?
    มีบางที่ ที่อาจจะบอกหรือรับปากกับท่านว่าเขารับซื้อคืนแน่นอน โดยให้ราคาเท่าโน้นเท่านี้ ถ้าซื้อลูกพันธุ์จากเขาไป ท่านจงคิดใตร่ตรองให้มากๆ ว่าท่านเลี้ยงมากน้อยเพียงใด และอยู่ไกลจากฟาร์มนั้นๆเท่าใด แล้วเขาจะยอมเสียเวลา เสียน้ำมันวิ่งมารับซื้อกบจำนวนเพียงไม่กี่กิโลกรัมกลับไปอย่างที่ว่าไว้หรือไม่ เพราะส่วนใหญ่เขาจะรู้ว่าถ้าขายให้ท่านไปแล้ว(ขาจร หรือ คนเลี้ยงหน้าใหม่ๆ) ท่านมักจะมาซื้อซ้ำอีกไม่เกิน 2 ครั้ง (บางทีอาจถูกยัดกบที่มีปัญหาปนมาให้ท่านอีกด้วย) บางแห่งก็แค่พูดๆไปเพื่อให้ขายได้เท่านั้นก็มี ท่านต้องระวังและคิดทบทวนอย่างรอบคอบก่อนซื้อนะ เพราะมีหลายท่านถามมาและบ่นให้ผมฟังประจำว่ามีเจอผู้ขายแนวนี้เยอะ จึงเตือนไว้ล่วงหน้า สังเกตง่ายๆ ถ้าเป็นผู้ที่ผลิตลูกอ๊อดเองจะต้องมีพ่อแม่พันธุ์ และบ่ออนุบาลลูกอ๊อด ไม่ใช่มีแค่บ่อพักลูกกบเล็กไว้รอขายต่ออย่างเดียว

    • Update : 1/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch