หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    วิธีปลูกมะละกอ
    ตอนที่ 1
    พันธุ์มะละกอ
    เรื่องที่ 1 ประโยชน์และความสำคัญ

    มะละกอเป็นพืชที่เป็นได้ทั้งผักและผลไม้ โดยผล ดิบส่วนใหญ่จะใช้ เป็นผัก ที่ทำ ประโยชน์หรือ ทำอาหาร ได้มากมาย ส่วนผลสุกใช้เป็น ผลไม้ มีรสชาติอร่อย และยังมีวิตามินสูงอีกด้วย

    เรื่องที่ 2 พันธุ์ที่นิยมปลูก

    ถึงแม้ว่ามะละกอจะมีมากมายหลายพันธุ์ แต่เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มีความ ไว่ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จึงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์เท่านั้นที่เหมาะกับสภาพดินฟ้า อากาศของบ้านเรา คือ พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์แขกดำ พันธุ์โกโก้ และพันธุ์สายน้ำผึ้ง

    เรื่องที่ 3 การคัดเลือกและการขยายพันธุ์

    มะละกอขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การปักชำ การติดตา การตอนกิ่ง แต่ส่วนมากจะนิยมการขยายพันธุ์แบบเพาะเมล็ดมากกว่า เพราะทำได้ง่าย สะดวก และได้ต้นที่แข็งแรง ไม่โค่นล้มง่าย ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาเพาะ ผู้ปลูกจะต้องคัดเลือก มาเป็นอย่างดี เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่ากับการลงทุน

    การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

    เมล็ดที่จะนำมาใช้ทำพันธุ์จะต้องได้จากผลที่สุกเต็มที่ และควรเป็นผลที่ได้จากต้นกะเทย เพราะจะได้ผลผลิตที่สูงกว่า เมล็ดที่ได้มาจากผลสุกสามารถนำไปเพาะได้ทันทีโดย ไม่ต้องนำไปตากแดดก็ได้ แต่ควรล้างเนื้อเยื่อออกให้สะอาด แต่ถ้าหากต้องการเก็บ เมล็ดไว้นาน ควรตากเมล็ดให้แห้งเสียก่อน โดยการหมักเมล็ดสด ๆ ไว้ในถุงพลาสติก เก็บไว้ในร่ม 2-5 วัน จากนั้นจึงนำเมล็ดมาล้างให้สะอาด แล้วนำไปผึ่งแดดประมาณ 2-3 แดด ก็จะให้เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ได้นานถึง 6 ปี

    ตอนที่ 2
    วิธีการปลูก

    เรื่องที่ 1 การเตรียมพื้นที่

    มะละกอสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ที่สำคัญจะต้องเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ ขัง แฉะ เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่มีความ ทนทาน ต่อการถูกน้ำท่วม ถ้ามีน้ำท่วมโคนต้น เพียง 1-2 วัน จะชะงักการเจริญเติบโตและ อาจตายได้ แต่อย่างไรก็ตามจะขาด น้ำไม่ได้ดังนั้น พื้นที่ที่ จะปลูก มะละกอ ควรเป็นที่น้ำท่วมไม่ถึงและควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกด้วย ถ้าหากเป็นที่ลุ่มควรทำแปลง ปลูกแบบยกร่องสำหรับการเตรียมดินปลูก ก่อนอื่นต้องกำจัดวัชพืชออกให้หมดแล้ว ทำการพรวนดิน อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกให้ไถดินก้อนโต ๆ ทิ้งให้ตากแดดจนแห้งดีแล้ว จึงไถพรวนย่อยดินอีกครั้ง ถ้าดินปลูกไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ควรใส่ปุ๋ยให้แก่ดิน โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วก่อน แล้วไถกลบลง ดินให้เน่าเปื่อยผุพังอยู่ในดิ

    เรื่องที่ 2 การเตรียมหลุมปลูก

    หลุมที่ใช้ปลูกมะละกอควรขุดให้มีขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณด้านละ 50 เซนติเมตร ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมให้ปล่อยตากแดด ทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วจึงย่อยให้ละเอียด ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก ใบไม้ผุ แล้วจึงกลบดินลงหลุม จากนั้นจึงนำต้นกล้าหรือเมล็ดมะละกอลงปลูกระยะห่าง 3ด3 เมตร
    สำหรับพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ควรทำการปลูกแบบยกร่อง โดยทำเป็นร่องขนาดกว้าง 3-4 เมตร คูน้ำระหว่างร่องกว้างประมาณ 1 เมตร แล้วทำการเตรียมดินและหลุมต่อไป

    เรื่องที่ 3 วิธีการปลูก

    มะละกอสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ที่นิยมกันคือปลูกในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน การนำต้นกล้าลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ดินแตกออกจากราก และไม่ให้รากขาด เมื่อวางต้นกล้าลงหลุมปลูกแล้ว ให้กลบดินรอบโคนต้น กดให้แน่นให้ระดับดินในหลุมปลูกเสมอกับระดับดินเดิมที่ติดมากับต้นกล้า อย่ากลบโคนต้นสูงกว่ารอยดินเดิม จะทำให้เป็นโรคโคนเน่า เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอย่างอื่นคลุมบังแดดประมาณ 7-10 วัน รดน้ำทุกเช้า อย่าให้ขาดน้ำ ถ้าขาดน้ำในระยะนี้ต้นจะแคระแกร็น โตช้า และให้ผลช้าด้วย

    ตอนที่ 3
    การปฏิบัติดูแลรักษาหลังปลูก
    การปฏิบัติดูแลรักษามะละกอหลังปลูก

    ในการปลูกมะละกอนั้นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติดูแลเพื่อให้มะละกอเจริญ เติบโต ให้ผลผลิตสูง ดังนั้น ผู้ปลูกจะต้อง รู้จักวิธีการปฏิบัติ นับตั้งแต่การให้น้ำการ ใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช การตัดแต่งกิ่ง และการตัดแต่งผลอ่อน

    ตอนที่ 4
    ศัตรูและการป้องกันกำจัด
    ศัตรูและการป้องกันกำจัด

    มะละกอเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว ไม่ค่อยมีศัตรูรบกวนมากนัก แต่ก็มีศัตรูบางประเภทที่คอยรบกวนทำลายและแพร่ระบาดได้รวดเร็ว ศัตรูมะละกอที่พบและทำความเสียหายมีทั้งโรคและแมลง สำหรับโรคที่พบมาก คือ โรคใบเน่าและรากเน่า โรคแอนแทรกโนส โรคเน่าของต้นกล้า ส่วนแมลงที่พบมาก คือ ไรแดง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ

    ตอนที่ 5
    การจัดการและการตลาด
    เรื่องที่ 1 การเก็บเกี่ยวผลผลิต

    การเก็บผลมะละกอนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย เพราะความแก่อ่อนของผลที่จะเก็บเกี่ยวมีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพของมะละกอและอายุการเก็บรักษาด้วย ดังนั้น จึงต้องเก็บผลมะละกอในระยะที่เหมาะสม คือ ถ้าจะเก็บเพื่อบริโภคผลดิบ ควรให้มะละกอแก่จัด แต่อย่าให้ห่าม ถ้าจะเก็บเพื่อกินผลสุก ควรปล่อยให้ผลสุกเต็มที่
    สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้จัดแบ่งระยะแก่ของผลมะละกอไว้ 6 ระยะ ดังนี้

    1. ระยะแก่จัดสีเขียว ผลจะมีสีเขียวเข้ม เนื้อผลแน่น
    2. ระยะเริ่มเปลี่ยนสีผล จะมีพื้นผิวสีเขียวเข้มและจะมี สีเหลืองอ่อน ๆ บริเวณเนินสันทางด้านปลายผล
    3. ระยะสุกหนึ่งในสี่ผล จะมีพื้นผิวสีเขียว และเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มชัดเจนบริเวณเนิน สันด้านปลายผล
    4. ระยะสุกสองในสี่ ผิวของผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ประมาณครึ่งผล
    5. ระยะสุกสามในสี่ ผิวของผลจะมีสีเหลืองมากกว่าสีเขียว เนื้อผลนิ่ม เมื่อใช้มือกดจะยุบตัวลง
    6. ระยะสุกเต็มที่ ผิวจะมีสีเหลืองเกือบเต็มผล จะมีสีเขียว ปะปน บ้างเล็กน้อย

    เรื่องที่ 2 การหีบห่อและการขนส่ง

    ในการหีบห่อเพื่อส่งขายนั้น จะต้องระมัดระวังอย่าให้มะละกอกระทบกระเทือนมาก และจะต้องมีการระบายอากาศที่ดี ที่นิยมทำกันส่วนใหญ่แล้วจะบรรจุใส่เข่ง ภายในเข่งจะห่อหุ้มด้วยใบตองหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ พรมน้ำภายในเข่งให้ชุ่ม แล้วมัดให้แน่น ในขณะที่ขนส่งต้องระมัดระวังอย่าวางเข่งซ้อนทับกัน ถ้าจำเป็นต้องวางซ้อนกัน ควรใช้ไม้คั่นระหว่างเข่ง

    เรื่องที่ 3 ตลาดมะละกอ

    การตลาดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการปลูกมะละกอ แต่ผู้ปลูกจะต้องวางแผนการตลาดตั้งแต่ตอนปลูก จึงจะทำให้ผู้ปลูกได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า โดยผู้ปลูกจะต้องศึกษาสภาพการจำหน่ายมะละกอของตลาดก่อนปลูก ว่าตลาดมีความต้องการมะละกอพันธุ์ใด ผลดิบหรือผลสุก ราคาที่จำหน่ายจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่


    • Update : 30/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch