หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    รักษาป่าสัก 100 ปี ป่าสักนวมินทรราชินี

    รักษาป่าสัก 100 ปี "ป่าสักนวมินทรราชินี"

    ย้อนหลังกลับไปเมื่อราวกลางปี 2552 คนไทยทั้งประเทศโดยเฉพาะกลุ่มคนรักป่าต่างตกอยู่ในอาการตื่นเต้นดีใจกับข่าวใหญ่ เมื่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกมาประกาศข่าวการค้นพบป่าสักธรรมชาติผืนใหญ่อายุกว่า 100 ปี บนเนื้อที่มากกว่า 30,000 ไร่ ในเขตลุ่มน้ำปาย ครอบคลุมพื้นที่ อ.ปางมะผ้า อ.ปาย และ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน โดยบางจุดที่พบเป็นพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,200 เมตร ซึ่งถือเป็นความน่าอัศจรรย์อย่างหนึ่ง เพราะปกติต้นสักจะเติบโตอยู่ที่ระดับ 100-700 เมตร หรือสูงสุดเพียง 1,000 เมตรเท่านั้น
       
    แต่ท่ามกลางความรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่เกิดขึ้น หลายคนคงอดรู้สึกเป็นห่วงไม่ได้ว่า อนาคตของป่าสักผืนนี้ จะต้องตกไปอยู่ในชะตากรรมเดียวกันกับป่าไม้หลายแห่งที่บุกรุกทำลายด้วยหรือไม่ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าป่าอนุรักษ์แต่ละแห่ง ล้วนยังต้องเผชิญกับการบุกรุกทำลายทั้งจากการลักลอบตัดไม้จากกลุ่มผลประโยชน์ และการบุกรุกแผ้วถางของชาวบ้าน ซึ่งบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปายก็อยู่ในภาวะความเสี่ยงไม่แพ้กัน
       
    นายสุนันต์ อรุณนพรัตน์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า ความโชคดีของป่าสักผืนนี้ คือ มีภูมิประเทศโดยรอบเป็นภูเขาสูงและสลับซับซ้อน ทำให้เป็นเรื่องยากหากจะมีการเข้ามาลักลอบตัดไม้แล้วชักลากออกไปโดยตรง ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การตัดไม้แล้วปล่อยท่อนซุงลอยไปตามลำน้ำ แล้วไปดักรอนำท่อนซุงขึ้นบริเวณปลายน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติฯ จึงได้วางแนวทางป้องกันด้วยการตั้งด่านสกัดและจัดเรือออกลาดตระเวนตลอดลำน้ำ รวมทั้งจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการคอยลาดตระเวนตรวจสอบในพื้นที่ เพื่อมิให้มีการบุกรุกทำลายอย่างเข้มงวด
       
    นอกจากนี้ ยังมีงานสำคัญอีกอย่าง คือ การทำงานกับชุมชนที่ อยู่ในเขตกันชนรอบ ๆ ป่า เพื่อดึง
    เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผืนป่าแห่งนี้ไม่ให้ถูกทำลาย ทั้งจากธรรมชาติ คือ ไฟป่า ขบวนการลักลอบตัดไม้ และโดยน้ำ มือของชาวบ้านที่เข้าไปแผ้วถางรุกป่าเสียเอง
       
    ถือเป็นความโชคดีอย่างยิ่งของคนไทยและป่าสักผืนนี้ เนื่องจากเมื่อความทราบถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงรับป่าสักแห่งนี้ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 โดยใช้ชื่อว่า “โครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สัก และพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณลุ่มน้ำของ-ลุ่มน้ำปายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” และต่อมาวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 พระราชทานชื่อป่าสักแห่งนี้ว่า “ป่าสักนวมินทรราชินี”
       
    “ตั้งแต่นั้นมา เราก็ใช้โครงการพระราชดำริออกนำหน้า โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาดำเนินงานร่วมกัน ขณะที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ก็เป็นตัวกลางในการประสานและอำนวยความสะดวก เช่น กรมชลประทานต้องเข้าไปวางระบบส่งน้ำ แต่ติดเงื่อนไขเรื่องกฎหมายเนื่องจากเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เราก็เข้าไปดูแลเรื่องการออกคำสั่งอนุญาตต่าง ๆ ให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ขณะที่ชาวบ้านเองเมื่อทราบว่าเป็นโครงการในพระราชดำริ ทุกคนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะพวกเขาเชื่อว่าจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น” นายสุนันต์ กล่าว
       
    นายสว่าง กองอินทร์ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสนองพระราชดำริ กรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระยะยาว จะมีการเตรียมพัฒนาพื้นที่รอบนอกป่าสักให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้ คุณค่าของไม้สักและทรัพยากรอื่น ๆ ในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในการรักษาป่า และสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายว่า หากการบริหารจัดการพื้นที่เป็นไปตามแผนและเกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งการสำรวจและเก็บข้อมูลต่าง ๆ มีความครบถ้วนรอบด้าน “ป่าสักนวมินทรราชินี” ผืนนี้ จะถูกนำเสนอต่อองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เพื่อให้ประกาศเป็น “มรดกโลกทางธรรมชาติ” อีกแห่งหนึ่งของคนไทย.
     

    [email protected]


    • Update : 28/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch