หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ในหลวงกับการพัฒนา

    ในหลวงกับการพัฒนา

    วันที่ 9 มิถุนายน  2554 นี้ เป็นวันมหามงคล ด้วยพระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นระยะเวลาถึง 65 ปี และเป็น 65 ปีที่ทรงอุทิศพระวรกายพระสติปัญญาด้วยพระวิริยะอุตสาหะ มิทรงย่อท้อต่อความเหน็ดเหนื่อย ทรงให้เวลาส่วนใหญ่กับการเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ต่าง ๆทั่วผืนแผ่นดินไทย ทำให้ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎร ดังนั้นพระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติโดยได้ทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง เพื่อหาแนวทางแก้ไขอันที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนและชาติบ้านเมือง
       
    หลังจากที่เสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวร ได้ทรงเรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรด้วยการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง  ทรงพบว่าสภาพบ้านเมืองตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรส่วนใหญ่ยังประสบกับความลำบาก ในระยะแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 เป็นการพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในเรื่องสุขภาพอนามัยของพสกนิกร และเมื่อปี พ.ศ. 2495 ได้เสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรอย่างเป็นทางการ ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้พระราชทานพระราชดำริให้ช่วยเหลือราษฎรด้วยการสร้างถนนเข้าบ้านห้วยมงคล  เนื่องด้วยราษฎรมีความยากลำบากในการคมนาคม การเดินทางเพื่อจำหน่ายผลผลิตและเข้าไปในตัวเมืองเพื่อรับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เป็นไปด้วยความยากลำบาก
       
    นับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกแห่งการพัฒนา ด้วยราษฎรมีความยากลำบากในการคมนาคม การเดินทางเพื่อจำหน่ายผลผลิตและเข้าไปในตัวเมืองเพื่อรับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆเป็นไปด้วยความยากลำบาก ปัจจุบันราษฎรได้รับความเจริญเพิ่มขึ้นมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกมีสาธารณูปโภคครบถ้วน ชีวิตและครอบครัวมีความสุขโดยทั่วกัน ซึ่งในปัจจุบันคือ ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และที่แห่งนี้ได้เป็นต้นแบบของการพัฒนาอีกมากมายกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
       
    หลังจากนั้นโครงการพระราชดำริทางด้านชลประทานแห่งแรกได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2496 ที่อำเภอหัวหิน ได้แก่ การสร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรจากภาวะแห้งแล้ง และในปีเดียวกันนั้น โครงการช่วยเหลือทางด้านประมงก็ถือกำเนิดขึ้นคือ การพระราชทานพันธุ์ปลาหมอเทศ ให้กับกำนันผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศนำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ให้แก่ราษฎรในหมู่บ้านของตนจะได้มีอาหารโปรตีนเพิ่มขึ้น
       
    นอกจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังเสด็จฯไปทรง เยี่ยมเยียนราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศอย่างทั่วถึง ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน ซึ่งในขณะนั้นได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่ที่แห้งแล้งกันดารและยากจนที่สุด มีราษฎรมาเฝ้าฯ รับเสด็จเป็นจำนวนมาก พื้นที่ภาคเหนือได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมในปีถัดมา ปี พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎร โดยขบวนรถไฟพระที่นั่ง และในปี พ.ศ. 2501 ได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรภาคใต้  และหลังจากนั้นเป็นต้นมาได้เสด็จพระราชดำเนินทุกภาคของประเทศเป็นประจำทุกปีเพื่อทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรและพระราชทานความช่วยเหลือตามความต้องการของราษฎรและช่วยในการบรรเทาแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง การประกอบอาชีพ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีแต่ให้ประโยชน์ให้กลับมามีสภาพที่สมบูรณ์ขึ้น ขณะเดียวกันปัญหายาเสพติดและปัญหาภัยคุกคามตามแนวชายแดนได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาได้อย่างแยบยล
       
    การเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทุกภูมิภาคของประเทศ ทำให้พระองค์มีข้อมูลที่ได้ศึกษาไว้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพบ้านเมือง ภูมิ ประเทศ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ การดำรงชีพ มาวิเคราะห์ คิดค้น หาทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ  ที่เป็นข้อเดือดร้อนของราษฎร ในการพระราชทานโครงการพระราชดำรินั้น  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ความรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง ทรงมีการศึกษาค้นคว้า เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนให้ราษฎรสามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต ดังที่ได้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่งขึ้นในทุกภาคของประเทศ 
       
    จากคำกล่าวของ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ถึงการทรงงานด้านการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานปาฐกถาพิเศษ “84 พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา” ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน  กปร.) ร่วมกับ สำนักราชเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา และสำนักงบประมาณ เมื่อวันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2554 ได้กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระวรกายในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดาร และพระราชทานโครงการพัฒนาด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือราษฎรของพระองค์ทั่วทุกภูมิภาคมากกว่า 60 ปี
       
    ไม่ว่าจะอยู่ไกลใกล้ต่างได้รับประโยชน์และความสุขโดยทั่วกัน ตลอดระยะเวลาที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ พระองค์ทรงเล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น และทรงตระหนักถึงแนวทางการดำเนินงานที่ควรปรับปรุง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ต่าง ๆ ตามความหลากหลายของสภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคมในพื้นที่ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนานั้น ๆ ตั้งอยู่
       
    “โครงการที่ดำเนินการ ได้รับความร่วมมือจากหลายส่วน หลายหน่วยงาน ไม่ว่ากรม กอง รวมทั้งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ครอบคลุมหลากหลายประเด็น นับตั้งแต่ อาหาร การผลิตด้านการเกษตร และสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นการหาวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของผลผลิต ควบคู่กับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังจะเห็นได้จากลักษณะงานที่ได้ดำเนินการตามสถานีทดลอง ศูนย์วิจัย ทั้งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบและที่สูง ในเขตน้ำจืดหรือน้ำเค็มทั่วประเทศในทุกวันนี้ที่ต่างได้เอื้อต่อการประกอบอาชีพและการมีชีวิตที่มีคุณภาพของราษฎรทั่วทั้งประเทศ” องคมนตรี กล่าว
           
    การดำเนินงานตามแนวพระราชดำริที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ ภายใต้การสนับสนุนและการประสานงานของสำนักงาน กปร. กว่า 30 ปี ได้อำนวยประโยชน์และสร้างความสุขให้แก่ราษฎรชาวไทยมากมายมหาศาล  ซึ่งทุกคนต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและควรอย่างยิ่งที่คนไทยทุกคนควรช่วยกันและร่วมกันสานต่อพระราชดำริเพื่อประโยชน์ต่อประชาชน สังคมและประเทศชาติสืบต่อไป.


    • Update : 28/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch