หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ฝายนํ้ากอนบริหารจัดการนํ้าโดยประชาชน

    ฝายนํ้ากอนบริหารจัดการนํ้าโดยประชาชน

    ลุ่มน้ำน่าน มีพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งสิ้น34,331 ตารางกิโลเมตร ครอบ คลุม 5 จังหวัดในตอนเหนือของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์  พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์ ซึ่งมีแม่น้ำน่านเป็นแม่น้ำสายหลัก ต้นกำเนิดอยู่ที่ ดอยภูแว อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดน่าน มีความยาวตลอดลำน้ำ 615 กิโลเมตรยาวที่สุด ในบรรดาแควต้น น้ำเจ้าพระยาด้วยกัน
       
    ลุ่มน้ำน่านถือเป็นอีกลุ่มน้ำหนึ่ง ที่มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเกิดขึ้นหลายโครงการ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำน่านที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์   ทำให้เกิดคุณประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติมากมายมหาศาล สามารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วม แก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำน่านตอนล่าง และลุ่มเจ้าพระยาอย่างเป็นรูปธรรม  นอกจากนี้ในลุ่มน้ำน่านยังมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กอีกหลายแห่งที่เกิดขึ้น
       
    ในพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางโครงการหนึ่งที่อยู่ห่างไกลความเจริญแต่ถือว่าเป็นแบบอย่างของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำขนาด
    กลางโครงการหนึ่ง ที่มีระบบบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิ ภาพและที่สำคัญบริหารโดยภาคประชาชนเกือบ 100% เจ้าหน้าที่กรมชลประทานเป็นเพียงที่ปรึกษาเท่านั้น 
       
    นั่นก็คือ โครงการฝายน้ำกอน ฝายน้ำกอนสร้างกั้นลำน้ำกอน ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำน่าน  อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางที่ก่อสร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2514 และระบบส่งน้ำสร้างแล้วเสร็จในปี 2522 ซึ่งแรก ๆ การบริหารจัดการน้ำ กรมชลประทานจะเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด  ต่อมาก็ให้ประชาชนเข้ามาร่วมบริหารบ้าง แต่ยังไม่เป็นระบบ ปัญหาการใช้น้ำจึงสะสมเรื่อยมา โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งจะเกิดสงครามแย่งน้ำให้เห็นเสมอ
       
    นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรม ชลประทาน เปิดเผยว่า โครงการฝายน้ำกอน แม้จะเป็นแค่ฝายน้ำล้นแต่สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรได้ถึงมากกว่า 3,000 ไร่ในฤดูฝน และในฤดูแล้งไม่ต่ำกว่า 1,000 ไร่ ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี  เศรษฐกิจในชุมชนค่อนข้างดี
       
    สำหรับระบบส่งน้ำของฝายน้ำกอนนั้นมีคลองส่งน้ำสายใหญ่ 1 สาย ระยะทาง 6,500เมตร และมีคลองซอยส่งน้ำเข้าพื้นที่เกษตร กรรมอีกจำนวน 11 สาย มีกลุ่มผู้ใช้น้ำที่เป็นกลุ่มพื้นฐานทั้งหมด 11 กลุ่มซึ่งแบ่งตามคลองซอยทั้ง 11 สาย และกลุ่มบริหาร 1 กลุ่ม โดยหัวหน้าของกลุ่มพื้นฐาน จะเป็นตัวแทนของกลุ่มอยู่ในคณะกรรมการของกลุ่มบริหารด้วย เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบของฝายน้ำกอน โดยมีเจ้าหน้าที่กรมชลประทานเป็นที่ปรึกษา
       
    อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า หลังจากมีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ โดยให้ผู้ใช้น้ำทั้งหมดมาบริหารจัดการน้ำกันเอง  กรมชลประทานก็จะแจ้งว่าในแต่ละปีนั้นจะสามารถส่งน้ำได้ในปริมาณมากน้อยแค่ไหน  กลุ่มผู้ใช้น้ำก็จะวางแผนการใช้น้ำกันเอง  ทำให้ปัญหาการแย่งน้ำไม่เกิดขึ้นอีกเลย  แม้บางปีในช่วงฤดูแล้งจะมีน้ำไม่มากก็ตาม ชาวบ้านที่อยู่ต้นน้ำกับชาวบ้านที่อยู่ปลายน้ำได้ใช้น้ำเท่า ๆ กันทุกครอบครัว 
       
    “การบริหารจัดการน้ำของฝายน้ำกอนในปัจจุบัน ดำเนินการโดยกลุ่มผู้ใช้น้ำเกือบ 100% นอกจากจะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตได้แล้ว ยังทำให้ชาวบ้านรู้คุณค่าน้ำ ช่วยกันบำรุงรักษาทั้งฝายกั้นน้ำ  คลองส่งน้ำ  อาคารชลประทานต่าง ๆ ทำให้ฝายน้ำกอนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ในขณะนี้” อธิบดีกรมชลประทานกล่าว.


    • Update : 28/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch