หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สร้างแหล่งโปรตีนไข่ไก่ในโรงเรียน

    สร้างแหล่งโปรตีนไข่ไก่ในโรงเรียน

    จากแนวพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารในท้องถิ่น และแก้ไขปัญหาโภชนาการเพื่อเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาส ในปี 2523 เกิดเป็น “โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน” ซึ่งไม่เพียงช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารกลางวันเท่านั้น แต่เด็กนักเรียนยังได้รับความรู้ด้านโภชนาการและด้านการเกษตรแผนใหม่ ที่สามารถนำไปใช้ประกอบเป็นอาชีพได้ต่อไป
       
    ด้วยเห็นความสำคัญของเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท จึงร่วมกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ น้อมนำแนวพระราชดำริดังกล่าวสานต่อเป็น  “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” กลายเป็นกิจกรรมที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปี เพื่อร่วมเป็นอีกหนึ่งแรงพลังในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทยให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการมีภาวะโภชนาการที่ดี จากการรับประทานอาหารคุณภาพดี อย่างเช่นไข่ไก่ ที่ตั้งเป้าหมายการบริโภคเฉลี่ยคนละ 2-3 ฟองต่อสัปดาห์ ทว่าการจะมีอาหารทานอย่างยั่งยืน จะต้องให้พวกเขาได้เป็นผู้ผลิตอาหารด้วยตนเอง ดังนั้นการเลี้ยงไก่ไข่จึงเปรียบเหมือนหนทางสู่ความยั่งยืนนั้น
       
    สุปรี เบ้าสิงห์สวย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบทฯ อธิบายให้เห็นถึงรูปแบบของโครงการว่า “มูลนิธิฯ ร่วมกับซีพีเอฟ ให้การส่งเสริมโดยเน้นไปที่การให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารจัดการในการเลี้ยงไก่ไข่ รวมทั้งสนับสนุนพันธุ์ไก่ และอาหารสัตว์ในการเลี้ยงรุ่นแรก และยังให้สัตวบาลของซีพีเอฟเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาการเลี้ยงในแต่ละรุ่นประมาณ 14 เดือน เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถสร้างผลผลิตไข่ไก่ในโรงเรียน สำหรับนำไปทำเป็นอาหารกลางวันได้สำเร็จ และหากมีไข่ไก่เหลือมากกว่าการบริโภคก็จะจำหน่าย กลายเป็นรายได้นำมาจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการ เพื่อให้สามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องสำหรับนักเรียนในรุ่นต่อ ๆ ไป โดยทำการบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดด้วยการ “พึ่งพาตนเอง” โดยมีมูลนิธิฯและซีพีเอฟทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษา นอกจากนี้แต่ละโรงเรียนจะต้องจัดทำ “หลักสูตรท้องถิ่นว่าด้วยการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรียน” เพื่อใช้เป็นคู่มือการเลี้ยงของตนเอง ซึ่งเด็ก ๆ จะได้มีกระบวนการเรียนรู้อย่างมีแบบแผนมาก
    ยิ่งขึ้น”
       
    ขณะที่ วินัย จิตรัว ผู้แทนซีพีเอฟ เล่าว่า  จากการสุ่มตัวอย่างเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น โดยสามารถลดปัญหาภาวะทุพโภชนา การของนักเรียนมาอยู่ในช่วงเฉลี่ย 4-9% จากเดิมเฉลี่ยที่ 20-25% (สอดคล้องกับมาตรฐานทุพโภชนาการที่ไม่ควรเกิน 10 %)
       
    “น่าดีใจที่โรงเรียนในโครงการฯ กว่า 90% สามารถจัดสรรรายได้เป็นค่าอาหารกลางวันนักเรียนได้ และยังมีรายได้สะสมจากการเลี้ยงไก่ในแต่ละรุ่น เป็นกองทุนสำหรับดำเนินการโครงการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และเยาวชนเหล่านั้นยังสามารถบริหารจัดการการเลี้ยงไก่ในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลผลิตที่ดีใกล้เคียงกับมาตรฐานของบริษัท โครงการนี้จึงไม่เพียงทำให้เด็ก ๆ มีร่างกายที่แข็งแรง และมีผลพลอยได้เป็นรายได้จากการเลี้ยงรุ่นแรกเท่านั้น  ที่สำคัญยังเป็นการบูรณาการสู่การเรียนรู้ที่แท้จริง จากการที่เด็กนักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเกษตร ทำให้เกิดทักษะเพราะได้ลงมือปฏิบัติจริง ๆ ซึ่งจะช่วยหล่อหลอมพวกเขาให้มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกร ว่าไม่ได้เป็นอาชีพที่ต่ำต้อย แต่กลับมีคุณค่าและสามารถใช้เลี้ยงชีพได้อย่างมั่นคง ถ้ามีวิชาการและการจัดการที่ดี” วินัย กล่าวถึงผลที่ได้รับจากโครงการ
       
    แม้ว่าปัจจุบันโครงการนี้จะสามารถช่วยแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเยาวชนไทยได้กว่า 65,000 คน ในโรงเรียน 351 แห่งทั่วประเทศก็ตาม แต่ยังคงมีนักเรียนในอีกหลายโรงเรียนที่ยังต้องเผชิญหน้ากับการขาดแคลนอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ โครงการนี้จึงเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของความห่วงใย ที่มุ่งหวังให้ปัญหาภาวะโภชนาการของเด็กไทย ค่อย ๆ ทุเลาเบาบางลงและหมดไปในที่สุด.


    • Update : 28/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch