หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ชุดตรวจสอบสารพิษที่...

    ชุดตรวจสอบสารพิษที่...

    'ตกค้างในพืชผัก' แบบพกพา

    เมื่อการทำเกษตรกรรมของเกษตรกรไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่าง 100% ดังนั้น สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือการใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะพืชผักที่ส่งออกไปยังต่างประเทศยิ่งต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสารพิษตกค้าง เนื่องจากสินค้าพืชผักสดของไทยกำลังประสบปัญหาในการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าที่ตั้งเงื่อนไขด้านสุขอนามัยพืชไว้สูงมาก ซึ่งถ้าเราไม่สามารถปฏิบัติตามกติกาของประเทศคู่ค้าก็จะส่งผลเสียต่อภาพรวมของภาคเกษตรไทยได้ในอนาคต กรมวิชาการเกษตร ในฐานะหน่วยงานหลักที่กำกับดูแล ควบคุมระบบการผลิตสินค้าเกษตรให้มีความปลอดภัย ได้มาตรฐานในระดับสากล และให้เป็นไปตามเงื่อนไขของประเทศคู่ค้า จึงได้คิดค้นชุดตรวจสอบสารพิษตกค้างเบื้องต้น ที่สามารถตรวจสอบสารพิษตกค้างได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
       
    นางอุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษ สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ผู้ประดิษฐ์ เครื่องตรวจสอบสารไซเปอร์เมทริน กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการคิดค้นเครื่องมือตรวจสอบสารพิษตกค้างเบื้องต้นเริ่มตั้งแต่ปี 2546 เนื่องจากช่วงนั้นพบสารพิษตกค้างในกลุ่มไซเปอร์เมทรินในพืชผักจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากการที่เกษตรกรใช้สารไซเปอร์เมทรินในการกำจัดศัตรูพืช จำพวกแมลงปากกัด ได้แก่ หนอนชนิดต่าง ๆ   โดยพบสารพิษตกค้างในผักกินใบทุกชนิด พริกขี้หนู  ถั่วฝักยาว และคะน้า ปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลต่อการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ
       
    ทั้งนี้ ทางองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก ได้กำหนดค่าความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล  สำหรับสารพิษตกค้างในพืชผัก ผลไม้ ต้องไม่เกิน 0.5 ppm. แต่มีบางประเทศเช่น ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ตั้งค่าความปลอดภัยไว้ที่ 0.1 ppm. ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากล
       
    ชุดตรวจสอบสารไซเปอร์เมทริน ได้รับรางวัลชมเชยจากสภาวิจัยแห่งชาติ หรือ วช.ในฐานะนวัตกรรมใหม่ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงตั้งแต่ปี 2552 ทั้งนี้ ได้จดสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบแปลงของกรมวิชาการเกษตร นำไปใช้ตรวจสอบสารพิษตกค้างในแปลงเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ แปลง GAP ของเกษตรกรก่อนออกสู่ผู้บริโภค รวมถึงตรวจสอบในแหล่งจำหน่าย พร้อมกับได้ขยายผลให้กรมส่งเสริมการเกษตรนำไปใช้ในการรับรองแปลง GAP และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช.นำไปตรวจผักและผลไม้ที่แหล่งผลิต แหล่งจำหน่ายในพื้นที่ต่าง ๆ ด้วย
       
    นางอุดมลักษณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ชุดตรวจสอบสารไซเปอร์เมทรินมีจุดเด่นคือ ใช้ง่าย สะดวก เห็นผลเร็วภายใน 15 นาที ซึ่งเกษตรกรหรือผู้ปฏิบัติงานสามารถนำไปใช้ตรวจสอบในแปลงได้ทุกที่ จึงช่วยให้ประหยัดเงินและเวลาในการส่งตัวอย่างเข้าตรวจสอบในห้องปฏิบัติการที่ต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่นำตัวอย่างพืชผักที่ต้องการตรวจสอบมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ และใส่ในขวดสกัดตัวอย่างที่มีน้ำยาสกัดบรรจุอยู่ ปิดฝาขวดเขย่าให้เข้ากัน จากนั้นหยดตัวอย่างบนแผ่นตรวจ แล้วนำแผ่นตรวจจุ่มลงในขวดแยกสารที่มีของเหลวผสมอยู่ ทิ้งไว้สักครู่จึงนำแผ่นตรวจไปตากแดดประมาณ 10 นาที เสร็จแล้วนำมาแปรผลโดยเปรียบเทียบกับคู่มือที่อยู่ในชุดตรวจ ถ้าพบสารตกค้างไซเปอร์เมทริน จะพบจุดสีน้ำเงินบนแผ่นตรวจ ซึ่งชุดตรวจดังกล่าวสามารถตรวจสารพิษตกค้างเบื้องต้นได้ระดับต่ำสุดที่ 0.4 ppm.
       
    หากเกษตรกรหรือหน่วยงานใดที่สนใจชุดตรวจสอบสารไซเปอร์เมทริน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร หมายเลขโทรศัพท์ 0-2579-6123.


    • Update : 28/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch