หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    วิธีจับพระสึก

    วิธีจับพระสึก


    คอลัมน์ ศาลาวัด


    ได้อ่านบทความในหนังสือ "มุมมองใหม่ในกฎหมายอาญา" ของ ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์วิญญูชน

    หัวข้อ "วิธีจับพระสึก" เห็นว่ามีความน่าสนใจในเชิงกฎหมาย จึงได้นำมาให้อ่านกัน มีเนื้อหาดังนี้ ...

    ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยเป็นพระภิกษุ ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในข้อหามียาบ้าไว้ในครอบครอง

    ซึ่งตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 29 กำหนดให้พนักงานสอบสวน มีอำนาจจัดดำเนินการให้พระภิกษุที่ต้องข้อหาว่ากระทำความผิดอาญาสละสมณเพศ เมื่อไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว

    พนักงานสอบสวนพาจำเลยไปวัดที่จำเลยสังกัด เพื่อให้จำเลยสึก แต่จำเลยไม่ยอมสึกและเจ้าอาวาสก็ไม่ยอมสึกให้ พนักงานสอบสวนจึงพาจำเลยกลับไปสถานีตำรวจ ให้พนมมือต่อหน้าพระพุทธรูป จำเลยกล่าวว่า "ข้าพเจ้าขอลาสึกก่อน"

    พนักงานสอบสวนจึงได้ให้จำเลยถอดสบงและจีวรเอง แล้วนำเสื้อยืดคอกลมกางเกงขาสั้นมาให้จำเลยใส่

    ต่อมา เมื่อจำเลยได้ประกันตัว ก็นำผ้าเหลืองมานุ่งห่มอีก จึงถูกดำเนินคดีฐานแต่งกายที่แสดงว่าเป็นพระภิกษุโดยไม่ชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208

    ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยเข้าใจว่าการกล่าวลาสิกขาต่อหน้าพระ พุทธรูป ไม่ทำให้ตนขาดจากความเป็นพระภิกษุ เพราะเป็นการกระทำโดยพลการของเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยจึงไม่มีเจตนากระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว (คำพิพากษาฎีกาที่ 6782/2543 ฏส.12 น.96)

    ประเด็นปัญหาตามข้อเท็จจริงของคำพิพากษาฎีกานี้ จึงอยู่ที่ว่า

    1.การที่พนักงานสอบสวนให้จำเลยกล่าวลาสิกขาต่อหน้าพระ พุทธรูปที่อยู่บนสถานีตำรวจนั้นเป็นการจัดการให้จำเลยสละสมณเพศ ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ หรือไม่?

    2.การกระทำของพนักงานสอบสวนตามประเด็นปัญหาข้อแรก เป็นการกระทำโดยพลการหรือไม่?

    3.การสละสมณเพศของจำเลยสมบูรณ์หรือยัง?

    4.จำเลยรู้หรือไม่ว่าตนได้ขาดจากความเป็นพระภิกษุแล้ว?

    5.ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยขาดจากความเป็นพระภิกษุแล้วหรือไม่?

    การขาดจากความเป็นพระภิกษุ ตามพระธรรมวินัยนั้น ทางหนึ่ง ได้แก่ กรณีที่พระภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติ ไว้ 4 ประการ คือ (1) เสพเมถุน (2) เอาของที่เจ้าของไม่ให้ซึ่งพระ ราชาจะลงโทษถึงประหารชีวิต จองจำ หรือเนรเทศ (สมัยนั้นได้แก่การลักเอาของที่มีค่าตั้งแต่ 1 บาท ขึ้นไป) (3) ฆ่ามนุษย์ และ (4) อวดอ้างคุณวิเศษที่ไม่มีในตน (วินัยปิฎก เล่มที่ชื่อมหาวิภังค์)

    ภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิก เป็นอันขาดจากความเป็นภิกษุทันที โดยไม่ต้องมีพิธีรีตองใดๆ และห้ามอุปสมบทอีก

    ดังนี้ ภิกษุที่ประพฤติพรหมจรรย์อยู่จึงย่อมจะรู้อยู่แก่ใจดีว่า ตนได้ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ต้องอาบัติถึงปาราชิกหรือไม่ และตนได้พ้นจากความเป็นภิกษุหรือยัง?



    • Update : 18/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch