หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    จิตสำนึกของสังคมไทย/4
    ด้วยเหตุที่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนา แบบพุทธ กับแบบสังคมอื่น แตกต่างกันไกลอย่างนี้ เมื่อสองระบบที่ต่างกันนั้นเข้ามาปะทะหรือครอบงำกัน จึงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแปลกๆ ใหม่ๆ ขึ้น

    ขอยกตัวอย่าง เช่น ในประเทศศรีลังกา แต่เดิมมา ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธจักรกับอาณาจักร ก็เหมือนกับที่ชาวพุทธในเมืองไทยเข้าใจกันสืบๆ มา

    ดังที่เมื่อหลายร้อยปีก่อน ในศรีลังกานั้น มีพระสงฆ์ส่วนหนึ่งไปให้ความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือแก่กษัตริย์ตกยาก แล้วต่อมาพระสงฆ์ส่วนนั้นได้รับการอุปถัมภ์นับถือจากกษัตริย์ที่ได้อำนาจกลับคืนมา ก็ถูกรังเกียจจากพระสงฆ์อื่นๆ จนเป็นเหตุให้พระสงฆ์แตกแยกกัน

    (เหมือนอย่างคนไทยในปัจจุบันยังมีความรู้สึกไม่ค่อยดี เมื่อพบเห็นหรือได้ยินข่าวพระสงฆ์ไปชุมนุมต่อต้านหรือสนับสนุนเหตุการณ์ต่างๆ ทางบ้านเมือง แม้แต่ที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับพระศาสนาเอง)

    แต่เมื่อศรีลังกาตกเป็นอาณานิคมและฝรั่งเข้ามาปกครอง พร้อมทั้งนำระบบที่ศาสนจักรในศาสนาคริสต์มีอำนาจในกิจการของรัฐเข้ามาด้วย ทำให้พระสงฆ์และวัดวาอารามถูกบีบคั้นเบียดเบียนข่มเหงต่างๆ

    จากการถูกกดดันนั้น ความเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้น ทำให้ชาวพุทธและพระสงฆ์ต้องดิ้นรนต่อสู้กับอำนาจของรัฐเป็นต้น ตลอดจนท่าทีของประชาชนก็เปลี่ยนแปลงไป จนกลายเป็นอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันว่า พระสงฆ์ในศรีลังกาชุมนุมประท้วงต่างๆ บ้าง หาเสียงช่วยนักการเมืองบ้าง ตลอดจนเป็นส.ส.เองก็มี

    (ในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ก็มีความเปลี่ยนแปลงที่คล้ายกันนี้)

    เรื่องอย่างนี้ ควรศึกษากันให้เข้าใจชัดเจน แต่ในที่นี้ขอปิดท้ายสั้นๆ ว่า

    ถ้าพูดว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" สำหรับชาวพุทธไทย ที่เข้าใจกันมาแบบเดิม ก็จะหมายถึงการที่บ้านเมืองยอมรับเป็นทางการและเอาจริงเอาจังในการส่งเสริมสนับสนุนให้พระสงฆ์ปฏิบัติศาสนกิจแบบบรรพชิตของท่าน โดยไม่ต้องมาวุ่นวายกับกิจการบ้านเมือง

    รัฐจัดการอุปถัมภ์บำรุงส่งเสริมให้พระสงฆ์มีโอกาสเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติและเผยแผ่สั่งสอนธรรมอย่างเต็มที่ เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน สังคม ประเทศชาติ ไปตามหลักพระธรรมวินัย ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีที่สืบๆ กันมา

    ทำให้สังคมมีสภาพเอื้อต่อการอยู่ร่วมกันและปฏิบัติกิจของศาสนิกชนทุกศาสนาโดยสงบสุข

    แต่ถ้ารัฐหรือสังคมไทยหลงลืมเพี้ยนไปไม่เข้าใจความหมายอย่างนี้ ก็จะเกิดการกีดกั้น บีบคั้น ซึ่งจะทำให้พระสงฆ์ โดยความสนับสนุนของชาวพุทธเองนั่นแหละ จำนวนมากขึ้นๆ หันมาดิ้นรนเพื่อรักษาสถาบัน กิจการและหลักการของตนในรูปแบบต่างๆ อย่างที่ได้เริ่มปรากฏให้เห็นขึ้นมาบ้างแล้ว ในช่วง ๓-๔ ปีนี้

    มองดูให้ดีจะเห็นว่า เรื่องนี้เหมือนจะกลับทางกับความเข้าใจของคนสมัยนี้ คือ ถ้าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ชาวพุทธก็ได้โอกาสที่จะปฏิบัติศาสนธรรมของตนไปโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง แต่ถ้าพุทธศาสนาถูกกั้นออกไปจากความเป็นศาสนาประจำชาติ พระสงฆ์และชาวพุทธก็จะถูกบีบคั้นให้มีบทบาทในทางดิ้นรนต่อสู้เพื่อต่อรองกับอำนาจรัฐมากยิ่งขึ้น

    ทั้งหมดนี้ จะเป็นจริงอย่างที่ว่าหรือหาไม่ ก็ลองไปศึกษาดูบนฐานแห่งข้อมูลความรู้ของจริง ซึ่งคิดว่ามีให้เห็นแล้วอย่างเพียงพอ

    ในด้านชาวพุทธเอง เมื่อรู้เข้าใจเรื่องศาสนาไปตามหลักการแห่งพระศาสนาของตน และตามวัฒนธรรมไทยที่สอดคล้องกับหลักการนั้น จึงมองเรื่องศาสนาเหมือนกับแยกต่างหากออกไปจากสังคมและกิจการบ้านเมือง

    แต่ขณะเดียวกันนั้น พวกชนชาติที่ต่อสู้กันมาในสังคมอื่น ที่ถือศาสนาแบบอื่น เขามองกิจการบ้านเมือง การปกครอง การทหาร เศรษฐกิจ เป็นต้น โดยรวมอยู่ในกิจการของศาสนาด้วย

    เมื่อเกิดมีเหตุการณ์ทางศาสนาแบบอื่น ที่นอกวัฒนธรรมและนอกสังคมของตน ชาวพุทธไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจ จึงมักมองสถานการณ์ไม่ออก และวางท่าทีไม่ถูก กลายเป็นคนไม่ทันเขา ทั้งรักษาตัวเองก็ไม่ได้ และไม่รู้ว่าจะสัมพันธ์กับคนอื่นอย่างไร

    อย่างน้อยชาวพุทธก็แตกแยกกระจัดกระจายกันเอง ชาวพุทธแบบชาวบ้านก็ไม่ไหวทันตระหนักไว้ ว่าท่านผู้สมัยใหม่มิได้มองความหมายและมิได้คิดเข้าใจอะไรๆ อย่างตน


    หาความรู้กันก่อนให้ชัดเจน
    อย่าเพิ่งใส่ความคิดเห็นเข้าไป


    ในการที่จะคิดเห็นพิจารณาเรื่องต่างๆ ให้ได้ผลดีนั้น ขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คือการหาข้อมูลความรู้ ให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนและเพียงพอ

    ในขั้นตอนที่ว่านี้ จุดเน้นที่สำคัญยิ่งตอนหนึ่งก็คือ การรวบรวมและแสดงข้อมูลความรู้ให้ดูตามที่มันเป็น โดยไม่ใส่ความคิดเห็นหรือข้อวิจารณ์ใดๆ

    เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในบ้านเมือง หน้าที่อย่างหนึ่งของรัฐ ตลอดจนสื่อทั้งหลาย ก็คือ การเผยแพร่ข้อมูลความรู้ตามที่มันเป็น อันไม่เจือปนความคิดเห็นอย่างที่ว่านี้
    เรื่องศาสนาประจำชาตินี้ก็เช่นกัน มีขั้นตอนสำคัญขั้นหนึ่ง คือ การแสวง และแสดงข้อมูลความรู้ ให้ผู้คนจะแจ้งถ่องแท้ชัดเจนตามที่มันเป็น เท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อประชาชนรู้แล้ว เขาจะคิดเห็นอย่างไร ก็ให้โอกาส และจะได้เป็นการเคารพต่อสติปัญญาของเขา

    ในที่นี้ จะพูดถึงข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องศาสนาประจำชาติ ไว้เป็นฐาน และเป็นทุน ที่จะใช้ในการคิดเห็นพิจารณาต่อไป

    คำว่า "ศาสนาประจำชาติ" เราต้องเข้าใจตามที่สังคมภายนอกเขารู้และเข้าใจด้วย แล้วจะเทียบดูกับความรู้ความเข้าใจของตัวเราเองอย่างไร ก็พิจารณาเอา

    พอพูดว่า "ศาสนาประจำชาติ" คนปัจจุบันก็มักนึกไปตามความหมายของฝรั่ง แต่มักนึกไปตามที่คิดเอาเอง โดยไม่รู้ว่าที่จริงนั้นฝรั่งหมายเอาความอย่างไร

    ฝรั่งเรียกศาสนาประจำชาติโดยใช้คำว่า state relegion บ้าง official religion บ้าง

    นอกจากนั้นยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงอีก ได้แก่คำว่า national religion บ้าง national church บ้าง established church บ้าง

    ประเทศที่มีศาสนาประจำชาตินั้นมีมากมาย ทั้งคริสต์ และอิสลาม ตลอดมาถึงพุทธศาสนา และศาสนาฮินดู

    แต่ที่เหนือกว่าการเป็นศาสนาประจำชาติก็คือ เป็นประเทศของศาสนานั้นโดยตรง

    ประเทศที่สถาปนาขึ้นเป็นดินแดนแห่งศาสนาโดยตรง เท่าที่พบ ก็มี

    ๑. รัฐอิสลามอัฟกานิสถาน (ประชากรมุสลิม ๙๙% = สุหนี่ ๘๔% ชีอะฮ์ ๑๕%)

    [Islamic State of Afghanistan]

    ๒. สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (มุสลิม ๙๒% = สุหนี่ ๗๗% ชีอะฮ์ ๒๐%)

    [Islamic Republic of Pakistan]

    ๓. สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (มุสลิม ๙๙% = สุหนี่ ๖% ชีอะฮ์ ๙๓%)

    [Islamic Republic of Iran]

    ๔. สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย (มุสลิม = สุหนี่ ๙๙%)

    [Islamic Republic of Mauritania]

    ๕. สหพันธ์สาธารณรัฐอิสลามคอโมโรส (มุสลิม = สุหนี่ ๙๘%)

    [Federal Islamic Republic of the Comoros]

    ถัดลงมาคือประเทศที่มีศาสนาประจำชาติ ซึ่งก็เป็นประเทศมุสลิมมากที่สุด ได้แก่

    ๑. ซาอุดีอาระเบีย/Saudi Arabia (มุสลิม ๑๐๐% = สุหนี่ ๘๕% ชีอะฮ์ ๑๕%)

    ๒. โซมาเลีย/Somalia (มุสลิม ๙๙% แทบทั้งหมด = สุหนี่)

    ๓. ตูนิเซีย/Tunisia (มุสลิม ๙๙% ส่วนมาก = สุหนี่)

    ๔. โมร็อกโก/Morocco (มุสลิม ๙๘%)

    ๕. แอลจีเรีย/Algeria (มุสลิม ๙๖%)

    ๖. ลิเบีย/Libya (มุสลิม ๙๖% = สุหนี่)

    ๗. อียิปต์/Egypt (มุสลิม ๙๔% ส่วนมาก = สุหนี่)

    ๘. จอร์แดน/Jordan (มุสลิม ๙๓% แทบทั้งหมด = สุหนี่)

    ๙. คูเวต/Kuwait (มุสลิม ๘๕% = สุหนี่ ๔๕% ชีอะฮ์ ๔๐%)

    ๑๐. บาห์เรน/Bahrain (มุสลิม ๘๕% = สุหนี่ ๒๕% ชีอะฮ์ ๖๐%)

    ๑๑. มัลดีฟส์/Maldives (มุสลิม ๙๙% ส่วนมาก = สุหนี่)

    ๑๒. บังกลาเทศ/Bangladesh (มุสลิม ๘๖% ฮินดู ๔๖%)

    ๑๓. บรูไน/Brunei (มุสลิม ๖๔-๖๗% พุทธ ๙-๑๔% คริสต์ ๘-๑๐% อื่นๆ ๙-๑๙%)

    ๑๔. มาเลเซีย/Malaysia (มุสลิม ๔๘% คริสต์ ๘% พุทธ ๗% ฮินดู ๗% อื่น ๓๐%)

    สำหรับประเทศซาอุดีอาระเบีย มีข้อที่ควรทำความเข้าใจพิเศษว่า แม้จะจัดเข้าในกลุ่มประเทศที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ แม้ว่าจะไม่ได้เรียกชื่อประเทศว่าเป็นรัฐอิสลาม หรือสาธารณรัฐอิสลาม (ชื่อทางการเรียกว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย/Kingdom of Saudi Arabia) แต่รัฐประกาศิตได้ตราไว้ว่า ซาอุดีอาระเบีย เป็น Islamic State คือเป็นรัฐอิสลาม และบัญญัติให้พระคัมภีร์อัลกุรอ่าน พร้อมทั้งซุนนะฮ์ (Sunnah) เป็นรัฐธรรมนูญ โดยให้ประเทศใช้กฎหมายอิสลาม

    ถัดลงมาคือประเทศที่มีศาสนาประจำชาติ ซึ่งก็เป็นประเทศมุสลิมมากที่สุด ได้แก่

    ๑. ซาอุดีอาระเบีย/Saudi Arabia (มุสลิม ๑๐๐% = สุหนี่ ๘๕% ชีอะฮ์ ๑๕%)

    ๒. โซมาเลีย/Somalia (มุสลิม ๙๙% แทบทั้งหมด = สุหนี่)

    ๓. ตูนิเซีย/Tunisia (มุสลิม ๙๙% ส่วนมาก = สุหนี่)

    ๔. โมร็อกโก/Morocco (มุสลิม ๙๘%)

    ๕. แอลจีเรีย/Algeria (มุสลิม ๙๖%)

    ๖. ลิเบีย/Libya (มุสลิม ๙๖% = สุหนี่)

    ๗. อียิปต์/Egypt (มุสลิม ๙๔% ส่วนมาก = สุหนี่)

    ๘. จอร์แดน/Jordan (มุสลิม ๙๓% แทบทั้งหมด = สุหนี่)

    ๙. คูเวต/Kuwait (มุสลิม ๘๕% = สุหนี่ ๔๕% ชีอะฮ์ ๔๐%)

    ๑๐. บาห์เรน/Bahrain (มุสลิม ๘๕% = สุหนี่ ๒๕% ชีอะฮ์ ๖๐%)

    ๑๑. มัลดีฟส์/Maldives (มุสลิม ๙๙% ส่วนมาก = สุหนี่)

    ๑๒. บังกลาเทศ/Bangladesh (มุสลิม ๘๖% ฮินดู ๔๖%)

    ๑๓. บรูไน/Brunei (มุสลิม ๖๔-๖๗% พุทธ ๙-๑๔% คริสต์ ๘-๑๐% อื่นๆ ๙-๑๙%)

    ๑๔. มาเลเซีย/Malaysia (มุสลิม ๔๘% คริสต์ ๘% พุทธ ๗% ฮินดู ๗% อื่น ๓๐%)

    สำหรับประเทศซาอุดีอาระเบีย มีข้อที่ควรทำความเข้าใจพิเศษว่า แม้จะจัดเข้าในกลุ่มประเทศที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ แม้ว่าจะไม่ได้เรียกชื่อประเทศว่าเป็นรัฐอิสลาม หรือสาธารณรัฐอิสลาม (ชื่อทางการเรียกว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย/Kingdom of Saudi Arabia) แต่รัฐประกาศิตได้ตราไว้ว่า ซาอุดีอาระเบีย เป็น Islamic State คือเป็นรัฐอิสลาม และบัญญัติให้พระคัมภีร์อัลกุรอ่าน พร้อมทั้งซุนนะฮ์ (Sunnah) เป็นรัฐธรรมนูญ โดยให้ประเทศใช้กฎหมายอิสลาม

    ชาวซาอุดีอาระเบียส่วนใหญ่ถือปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่อันเคร่งครัด ที่เรียกว่าลัทธิวาฮ์หะบี (Wahhabism) มีตำรวจศาสนาที่เรียกว่า "มุตอวีน" (mutawwiin) คอยตรวจตรากำกับให้ประชาชนปฏิบัติตามข้อบัญญัติ เช่นให้ร้านค้าปิดในเวลาละหมาด เป็นต้น ประชากรที่มีสัญชาติซาอุดีอาระเบียเป็นมุสลิมทั้งหมดทั้งสิ้น คนที่มิใช่เป็นมุสลิมเป็นคนต่างชาติเท่านั้น

    มีขบวนการมุสลิมที่เคร่งครัดในหลายประเทศต่อสู้เพื่อให้ประเทศของตนเป็นรัฐอิสลาม และใช้กฎหมายอิสลาม ตัวอย่างในระยะใกล้ๆ นี้ ก็เช่น อียิปต์ แอลจีเรีย และอินโดนีเซีย

    (โดยเปรียบเทียบ กล่าวกันว่า ในอินโดนีเซีย ที่มีประชากรมุสลิม ๘๕% ชาวมุสลิมที่นั่นมีความเคร่งครัดหย่อนกว่าในที่อื่นๆ และมีขบวนการที่เรียกว่ากบฏ ในรัฐอาเจะฮ์/Acheh/Aceh ซึ่งได้ต่อสู้กับรัฐบาลมาหลายสิบปีแล้ว เพื่อให้อินโดนีเซียเป็นรัฐอิสลาม หรือไม่ก็แบ่งแยกตัวออกไป)

    กฎหมายอิสลาม คือชาริอะ (Sharia) มีบทบัญญัติที่เคร่งครัด เช่น ในทางอาญา ใช้การลงโทษแบบที่เรียกว่าตาต่อตา ฟันต่อฟัน มีโทษที่กำหนดแน่ว่า ถ้าลักของเขา ให้ตัดมือเสีย ถ้าปล้นตามหนทาง ให้ประหารชีวิต ถ้าละทิ้งศาสนา ให้ประหารชีวิต ถ้าสตรีมีชู้ ให้มัดไว้กลางที่ชุมชน และให้คนที่ผ่านไปมา เอาก้อนหินขว้างปาจนกว่าจะตาย ถ้าถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิดทางเพศ ก็ดี ดื่มสุรายาเมา ก็ดี ให้เฆี่ยน ๘๐ ที (รายละเอียดและการใช้ถ้อยคำที่ชัดเจน ต้องขอตรวจสอบกับเอกสารของวงการศาสนาอิสลามอีกที)

    ประเทศที่มีศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติก็มีไม่น้อย แต่มักจะระบุชื่อนิกายใดนิกายหนึ่ง เป็นศาสนาประจำชาติ

    มากกว่าจะออกชื่อศาสนาคริสต์



    • Update : 15/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch