หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระไภษัชยคุรุ ศิลปะลพบุรี-เนื้อสำริด
    คอลัมน์ เดินสายไหว้พระพุทธ




    ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นที่ประดิษฐาน 'พระไภษัชยคุรุ' อันศักดิ์สิทธิ์

    ศิลปะลพบุรี สมัยพุทธศตวรรษที่ 17-18 เนื้อสำริด ขนาดหน‰าตักกว้าง 26 เซน ติเมตร สูง 62 เซนติเมตร ประดิษฐานและเก็บรักษาไว‰ที่ห้องศิลปะลพบุรี ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

    พระไภษัชยคุรุ เป็นหนึ่งในพระพุทธเจ้าในมหายาน นิกายวัชรยานหรือพุทธตันตระ ซึ่งมีผู้นิยมนับถือกันมากในประเทศจีนและทิเบต โดยนับถือกันว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ช่วยสัตว์โลกทั้งปวงพ้นทุกข์อันเกิดจากโรคทางกายและโรคทางใจ ตลอดจนช่วยให้มีชีวิตยืนยาว

    ในวัฒนธรรมขอม มีการนับถือพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุมาก ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1742-1760) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระไภษัชยคุรุขึ้นเป็นพระปฏิมาประธานในศาสนสถาน ซึ่งเป็นสถานที่อภิบาลผู้เจ็บป่วยที่เรียกว่า "อโรคยาศาล"

    ดังปรากฏความ ในศิลาจารึกพบที่ศาสนสถานหลายแห่งว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างอโร คยาศาล อุทิศแด่พระไภ ษัชยคุรุไวฑูรยประภา เพื่อบำบัดทุกข์แก่ประชาชนทั่วราชอาณาจักร จำนวน 102 แห่ง

    เชื่อกันว่าผู้ปฏิบัติบูชา สามารถหายจากอาการเจ็บป่วยทางกายและใจ ด้วยการสวดบูชาออกพระนาม และสัมผัสรูปพระปฏิมา

    พระปฏิมาไภษัชยคุรุพระองค์นี้ ทำเป็นพระ พุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง สวมศิราภรณ์มีกระบังหน้า ยอดทรงกรวยแหลม ประทับนั่งขัดสมาธิราบเหนือขนดนาค 3 ชั้น พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย พระหัตถ์วางซ้อนกันบนพระเพลา ในพระหัตถ์มีผอบบรรจุโอสถ เป็นสัญลักษณ์ของพระไภษัชยคุรุ นาคทำ 7 เศียรแผ่พังพานปรกรูปพระปฏิมา

    การทำพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุเป็นพระพุทธรูปนาคปรก เนื่องตามความนิยมของขอมซึ่งนับถือนาคเป็นบรรพบุรุษ

    • Update : 2/4/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch