หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนกินอยู่เป็น /2
    กินเป็น บริโภคเป็น

    ในการฝึกเบื้องต้น พอพระเณรบวชเข้ามา ก็เริ่มฝึกการบริโภคปัจจัย ๔ ทันที สำหรับพระเณรนั้นมีหลักอยู่แล้วว่า ให้เป็นอยู่ง่าย อาศัยปัจจัย ๔ พอเลี้ยงชีพ ต้องให้บริโภคคือฉันด้วยปัญญา เพราะฉะนั้นจึงมีบทพิจารณาให้ท่อง ก่อนจะบวชก็ให้ท่อง บทตังขณิกปัจจเวกขณะ คือ พิจารณาในขณะนั้นๆ

    เช่น เวลาจะฉัน ก็พิจารณาอาหาร เพื่อให้มีสติ คือ ฉันโดยรู้ตัวว่า ที่ฉันนี้ เพื่อสนองความต้องการที่แท้จริงของชีวิตนะ ไม่ใช่เพียงเพื่อเอร็ดอร่อย โก้เก๋

    อนึ่ง เพื่อเตือนสติไว้เสมอๆ ท่านนิยมทำให้รู้สึกว่าเอาจริงเอาจัง โดยสวดบทพิจารณานั้นในเวลาจะเริ่มฉัน

    ในบรรดาบทสวดมนต์ทั้งหลายนั้น มีบทหนึ่งที่ถือว่าสำคัญสำหรับพระเณร เรียกกันว่า บทปฏิสังขาโย คือเรียกตามคำเริ่มต้นของบทสวดนั้น บทปฏิสังขาโยนี่แหละภาษาทางการเรียกว่า ตังขณิกปัจจเวกขณะ คือบทที่พูดถึงเมื่อกี้

    ปัจจเวกขณ์ แปลว่าการพิจารณา ตังขณิกะ แปลว่า ในขณะนั้นๆ พิจารณาในขณะนั้นๆ หมายถึง พิจารณาปัจจัย ๔ ในขณะที่บริโภคนั่นเอง

    ถ้าพิจารณาตอนที่ฉัน ก็เป็นการพิจารณาในขณะนั้นๆ จึงเรียกว่า ตังขณิกปัจจเวกขณะ แต่ในกรณีที่บางทีเผลอไป ก็พิจารณาย้อนหลังเป็นการทบทวนและเตือนตนเอง เรียกว่า อตีตปัจจเวกขณะ คือเปลี่ยนตังขณิกะ เป็นอตีตะ แปลว่าการพิจารณาส่วนอดีต คือส่วนที่ล่วงไปแล้ว

    การพิจารณาตอนเป็นอดีตนี่ ก็นิยมเอามาจัดเป็นบทสวดมนต์เช่นเดียวกัน บางวัดเวลาค่ำก็สวดบทอตีตปัจจเวกขณะนี้ด้วย การพิจารณาปัจจัย ๔ ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนต้องเกี่ยวเนื่องด้วยปัจจัย ๔ ท่านจึงสอนให้บริโภคใช้สอยปัจจัย ๔ ด้วยพิจารณา คือด้วยปัญญา ไม่บริโภคด้วยตัณหา

    บริโภคด้วยปัญญา ต่างกับบริโภคด้วยตัณหาอย่างไร บริโภคด้วยตัณหาก็คือ บริโภคเพื่อเสพรส เพื่อมุ่งเอร็ดอร่อย คือสนองความรู้สึกชอบใจไม่ชอบใจให้เกิดสุขทุกข์ ในที่นี้ก็คือไม่เอาทุกข์ จะเอาแต่สุข ที่ว่าสุขในกรณีของอาหารก็คืออร่อย เป็นการสนองตัณหาซึ่งอยากบำรุงบำเรอตา หู จมูก ลิ้น กาย

    ถ้าเป็นเครื่องนุ่งห่มก็มุ่งความสวยงาม ความโก้เก๋ ตลอดจนประกวดประขันแข่งฐานะกัน เอาอาหาร เอาเครื่องนุ่งห่ม เอาที่อยู่อาศัยเป็นเครื่องอวดแสดงฐานะ การทำอย่างนี้ท่านว่าไม่เป็นการสนองความต้องการที่แท้จริงของชีวิต พูดภาษาสมัยใหม่ว่ามันไม่ได้เป็นเครื่องแสดงการมีคุณภาพชีวิต

    บางทีคนที่มีฐานะเศรษฐกิจดี มีอาหารการกินอย่างดี ที่เรียกว่ามีมาตรฐานการครองชีพสูง แต่กินอาหารแล้วไม่ได้คุณภาพชีวิต เลยกลายเป็นว่า มาตรฐานการครองชีพสูง แต่คุณภาพชีวิตเสีย เป็นการกินที่ไม่ฉลาด

    สมัยก่อนนั้น คนมุ่งเน้นเรื่องมาตรฐานการครองชีพมาก อย่างที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า standard of living คนพากันอยากมีมาตรฐานการครองชีพสูง แต่ต่อมายุคหลังเกิดมีคำใหม่เรียกว่า quality of life แปลว่าคุณภาพชีวิต

    การมีมาตรฐานการครองชีพสูงไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะมีชีวิตที่ดี เพราะฉะนั้นจึงต้องมาวัดกันใหม่ว่าชีวิตดีอยู่ที่อะไร ก็เลยได้ศัพท์ใหม่ว่าคุณภาพชีวิต แล้วหันมาเน้นกันที่นี่

    บางคนกินอาหารแพงๆ เป็นอยู่อย่างดี มีมาตรฐานการครองชีพสูง แต่เป็นโรคภัยไข้เจ็บเยอะ เพราะดำเนินชีวิตผิด เป็นอยู่ผิดธรรมชาติ เกิดเป็นโรค อย่างที่บางทีเรียกว่าโรคอารยธรรม ดังปรากฏว่าประเทศที่เจริญแล้วมักจะมีโรคเหล่านี้มาก เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งประเทศที่ยากจนกลับไม่ค่อยเป็น เพราะฉะนั้น การที่ประเทศเจริญจึงไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะทำให้คนมีสุขภาพดี ซึ่งเป็นด้านหนึ่งของคุณภาพชีวิต

    หันมาดูตัวอย่างจากชีวิตของพระสงฆ์ ที่ท่านนำหลักธรรมมาปฏิบัติ พระเก่าๆ ก่อนฉันจะว่าบทพิจารณาอาหารก่อน ความจริงนั้นสติต้องเป็นไปในเวลาฉันตลอดเวลา ไม่ใช่มีแต่ตอนเริ่ม แต่ที่เราว่าหรือสวดออกมาก่อน ก็เพื่อจะเตือนตัวเอง เป็นการตั้งใจพิจารณาตั้งแต่ตอนเริ่มฉัน โดยเอาคำบาลีที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ มาว่าตอนนั้นเลย คือว่าคำพิจารณาอาหารดังนี้

    ปฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ ข้าพเจ้าพิจารณาแล้วโดยแยบคาย คือพิจารณาโดยใช้ปัญญาไตร่ตรองอย่างดีแล้ว คำนึงถึงเหตุผลแล้ว จึงฉันอาหารบิณฑบาต

    เนวะ ทะวายะ นะ มะทายะ นะ มัณฑะนายะ นะ วิภูสะนายะ (โดยรู้ตระหนักว่า) มิใช่เพื่อจะสนุกสนาน เห็นแก่เอร็ดอร่อยหลงมัวเมา สวยงามโอ่อ่าโก้เก๋

    ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา ยาปะนายะ ที่ฉันนี้ก็เพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ ให้ชีวิตดำเนินไปได้

    วิหิงสุปะระติยา เพื่อระงับความหิวกระหาย หรือการขาดอาหาร ซึ่งเป็นภาวะที่บีบคั้นเบียดเบียนร่างกาย

    พรหมจริยานุคคหายะ เพื่ออนุเคราะห์พรหมจริยะ คือเพื่อเกื้อหนุนชีวิตที่ประเสริฐ

    ตรงนี้มาถึงจุดสำคัญ เพราะชีวิตของพระก็เพื่อประพฤติพรหมจริยะ คือดำเนินตามอริยมรรค พรหมจริยะ หรือพรหมจรรย์ในที่นี้มีความหมายกว้าง ถ้าจะป้องกันความสับสนก็พูดว่า เพื่อเกื้อหนุนการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘ รวมทั้งการบำเพ็ญไตรสิกขา คือเพื่อเราจะได้มีกำลังทำกิจหน้าที่ ฝึกฝนพัฒนาชีวิตที่ดีงามของเรา

    สาระสำคัญก็คือ ให้การรับประทานอาหารเป็นเครื่องเกื้อหนุน ช่วยให้เรามีเรี่ยวแรงกำลัง เพื่อเราจะได้ทำกิจ ทำหน้าที่ ศึกษาเล่าเรียน ทำงานทำการ บำเพ็ญสมณธรรม บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ให้ได้ผล พูดสั้นๆ ว่า บริโภคอาหารเพื่อเป็นปัจจัย คือเป็นเครื่องเกื้อหนุน ให้เราดำเนินชีวิตที่ดี พัฒนาตนเอง และทำสิ่งที่ดีงามได้ยิ่งขึ้นไป

    อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะติหังขามิ นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ ด้วยการรับประทานด้วยปัญญาอย่างนี้ เราจะระงับเวทนาเก่า คือแก้ความทุกข์ร้อนกระวนกระวายเนื่องจากความหิวได้ กับทั้งจะไม่ให้เกิดเวทนาใหม่ เช่น ไม่อึดอัด แน่น จุกเสียด ท้องเสีย เป็นต้น เนื่องจากรับประทานมากเกินไป หรือกินของไม่ดีมีพิษ

    ยาตรา จะ เม ภะวิสสะติ และเราก็จะมีชีวิตดำเนินไปได้

    อะนะวัชชะตา จะ พร้อมทั้งจะเป็นการบริโภคที่บริสุทธิ์ ไม่มีโทษ ปราศจากข้อเสียหาย หมายความว่า ไม่มีโทษภัย ไร้ข้อบกพร่องเสียหายที่จะพึงตำหนิติเตียนได้ เช่น ไม่ต้องทำการแสวงหาโดยทางทุจริตผิดธรรม ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสังคม ไม่เบียดเบียนธรรมชาติแวดล้อม ไม่เบียดเบียนทั้งภายในและภายนอก

    ผาสุวิหาโร จาติ แล้วก็เป็นอยู่ผาสุกด้วย

    นี่เป็นวัตถุประสงค์ของการรับประทานอาหาร ซึ่งพระจะต้องพิจารณาทุกครั้งในเวลาฉัน เพื่อให้เข้าใจและรักษาวัตถุประสงค์ของการฉันให้ถูกต้อง ตรงตามคุณค่าที่แท้ของอาหาร

    นี่แหละเป็นศีลเบื้องต้นของพระ ซึ่งท่านให้ฝึกกันตั้งแต่มาอยู่วัด โดยให้ท่องบทพิจารณาไว้ แล้วเวลาฉันก็พิจารณาอย่างนี้

    ถ้าเรากินด้วยปัญญาแล้ว ความรู้เข้าใจจุดมุ่งหมายในการกินก็จะมา

    ๑. จำกัดปริมาณอาหารให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย

    ๒. จำกัดประเภทอาหารให้พอดีที่จะได้สิ่งที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์ และได้สัดส่วน

    พอถึงตอนนี้ การกินพอดีก็เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการกินด้วยปัญญาจึงมีชื่อว่าการกินพอดี เรียกเป็นภาษาพระว่าความรู้จักประมาณในการบริโภค ภาษาบาลีว่า “โภชเนมัตตัญญุตา”

    หลักนี้สำคัญมาก ผู้ที่บวชเข้ามาเบื้องต้นจะต้องฝึกในเรื่องโภชเนมัตตัญญุตา ให้มีความรู้จักประมาณในการบริโภค ซึ่งจะมีผลดีต่อชีวิตของตนเอง เป็นการฝึกในขั้นศีล คือเป็นการฝึกพฤติกรรมในการฉัน ในการรับประทาน หรือในการบริโภค แล้วก็ขยายไปถึงสิ่งอื่นๆ ที่เรากินใช้บริโภคทั้งหมด เช่น เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ก็พิจารณาทำนองเดียวกัน

    พระสมัยก่อนนั้น เวลาจะฉันข้าว ก็ตักข้าวขึ้นมาช้อนหนึ่งเป็นตัวอย่างเพื่อเริ่มพิจารณา แล้วก็ฉันข้าวเปล่าๆ ไปช้อนหนึ่งก่อน เดี๋ยวนี้ก็ยังมีการปฏิบัติกัน เพราะท่านที่ทำมาตั้งแต่เป็นเณรก็เคยชิน

    ส่วนจีวร จะหยิบมาห่มก็พิจารณา ปฏิสังขา โยนิโส จีวรัง ปฏิเสวามิ ข้าพเจ้าพิจารณาแล้วโดยแยบคาย คือพิจารณาเหตุผลมองเห็นคุณค่าที่แท้และเข้าใจความมุ่งหมายดีแล้ว จึงใช้สอยห่มจีวรนี้ เพื่อจะได้กันหนาว กันร้อน กันเหลือบยุง ริ้นไร เป็นต้น ตลอดจนป้องกันความละอาย

    นี่ก็คือให้เข้าใจความมุ่งหมายของการใช้เครื่องนุ่มห่ม ว่าจะเอาคุณค่าที่แท้จริงของมัน ทำให้ต้องฝึกปัญญา หัดนึกคิดพิจารณาว่า เอ...เราห่มจีวรนี้ เพื่ออะไรกันแน่ อ้อ...จุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือเพื่ออย่างนี้ๆ แต่เวลาเราใช้มัน เราได้ผลตามวัตถุประสงค์นี้หรือเปล่า

    หรือใช้เสื้อผ้าเป็นเพียงเครื่องประดับตกแต่งมุ่งจะเอาสวยงาม โก้เก๋ อวดฐานะกัน ทำให้ใช้ของราคาแพงเกินไปฟุ่มเฟือยสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ โดยไม่ได้คุณค่าที่แท้จริง เพราะบางทีของที่ราคาแพงกลับไม่มีคุณค่าที่แท้จริงเลย เป็นการใช้มันอย่างลุ่มหลงไม่มีปัญญา

    ต้องยอมรับว่าคนสมัยนี้เป็นกันมาก แสดงว่าเราพูดกันไปเรื่อยๆ เปื่อยๆ ว่าเรามีการศึกษา แต่เราไม่ได้ใช้ปัญญา แม้แต่ในการปฏิบัติต่อปัจจัยสี่ เราบริโภคด้วยความหลง ด้วยตัณหา ด้วยอวิชชา กินใช้ด้วยความไม่รู้ไม่คิด แล้วลองคิดดูซิว่าการศึกษาจะดำเนินไปได้อย่างไร เพราะแม้แต่การศึกษาขั้นพื้นฐานก็ยังไม่ได้เริ่มต้นเลย


    • Update : 10/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch