หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโย จ.อ่างทอง

    คอลัมน์ เดินสายไหว้พระ



    "พระมหาพุทธพิมพ์" หรือ "หลวงพ่อโต" แห่งวัดไชโย เป็นพระ พุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียง ให้ความเลื่อมใสศรัทธา ประดิษฐานในวิหารวัดไชโยวรวิหาร ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง

    มีพุทธลักษณะ เป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตัก 8 วา 7 นิ้ว ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง เป็นพระ พุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหม รังสี) สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่โตสมนามของท่านมาก่อนนี้แล้วสององค์ คือ พระนอนที่วัดสะตือ จ.พระนครศรีอยุธยา และพระยืนที่วัดอินทรวิหาร เขตบางขุนพรหม

    เมื่อมาสร้างหลวงพ่อโตที่วัดไชโยนี้ แรกทีเดียวท่านสร้างเป็นพระนั่งขนาดใหญ่มาก ก่อด้วยอิฐและดินแต่ไม่นานก็ทลายลง ท่านจึงสร้างขึ้นอีกครั้ง ครั้งนี้ใช้วิธีเดิมแต่ลดขนาดให้เล็กลงก็สำเร็จเป็นพระปางสมาธิองค์ใหญ่ถือปูนขาว ไม่ปิดทอง

    ปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า "...พระใหญ่ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนี้ รูปร่างหน้าตาไม่งามเลย...ดูที่หน้าวัด ปากเหมือนท่านขรัวโตไม่มีผิด ถือปูนขาวไม่ได้ปิดทอง ทำนองท่านไม่คิดจะปิดทอง จึงได้เจาะท่อน้ำไว้ที่พระหัตถ์..."

    ต่อมา เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร) สมุหนายก มีศรัทธาสร้างพระอุโบสถและพระวิหารวัดไชโย แต่เมื่อกระทุ้งราก พระวิหาร แรงสั่นสะเทือนทำให้องค์พระพังทลายลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ นายช่างฝีมือเยี่ยมสมัยนั้นมาช่วย

    เมื่อพิจารณาแล้วทรงให้รื้อองค์พระออกทั้งองค์แล้ววางรากฐานใหม่ ใช้วิธีวางโครงเหล็กยึดไว้ภาย ในแล้วก่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิซ้อนพระหัตถ์ ตามลักษณะที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ทำไว้เดิม เมื่อแล้วเสร็จได้รับพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ซึ่งคือ หลวงพ่อโต วัดไชโยองค์ที่ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต เป็นที่ประจักษ์กันดีในหมู่ชาวเมืองอ่างทองที่เคารพนับถือ กล่าวกันว่า ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มาก จะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้ เนื่องจากเมื่อเข้าใกล้องค์พระ จะเห็นว่าหลวงพ่อโต กำลังจะล้มลงมาทับ

    น้ำมนต์ของหลวงพ่อก็กล่าวกันว่าศักดิ์สิทธิ์สามารถรักษาแก้ไขโรคเคราะห์ต่างๆ ได้ ทั้งเล่าลือกันว่าหลวงพ่อมักมาเข้าฝันผู้ที่เคารพบูชาบอกกล่าวเตือนภัยต่างๆ ชาวบ้านแถบนั้นจึงมักมีรูปท่านไว้กราบไหว้บูชาแทบทุกครัวเรือน

    วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง นอกจากเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตอันศักดิ์สิทธิ์และมีขนาดใหญ่มหึมา วัดแห่งนี้ ยังมีสถาปัตยกรรมของโบสถ์ วิหาร และภาพจิตรกรรมให้ชมอีกด้วย ที่สำคัญตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีทิวทัศน์สวยงามให้ความรู้สึกสงบร่มเย็น

    วัดไชโยวรวิหาร ไม่ปรากฏ หลักฐานว่า สร้างขึ้นเมื่อใด ชาวบ้านเรียกวัดไชโย หรือเกษวัดไชโย ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 4 และเป็นที่รู้จักเมื่อ สมเด็จพระพุฒา จารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ฝั่งธนบุรี ดำริให้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง

    ด้วยเหตุที่วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งเจ้า พระยา จึงมองเห็นองค์พระพุทธรูปขาวเด่นแต่ไกลเพราะพอกด้วยปูนขาว ต่อมาในปี พ.ศ.2430 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะจากวัดราษฎร์ ให้เป็นพระอารามหลวง พระอุโบสถวัดไชโย เป็นอาคารที่อยู่ต่อเนื่องกับวิหารหลวงพ่อโต มีทางเดินเชื่อมไปยังริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีการประดับตกแต่งอย่างเป็นระเบียบและสวยงาม

    ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระประธานปางสมาธิ ที่ผนังมีภาพจิตรกรรมสวยงาม ด้านหลังพระประธานเขียนเป็นรูปทวยเทพล่องลอยในปุยเมฆ ต่างหันหน้าสู่องค์พระประธาน ที่บานประตูหน้าต่าง เขียนเป็นภาพเครื่องตั้ง เป็นการประดับตกแต่งโต๊ะโดยนำเครื่องถ้วยชามกังไส รวมถึงผลหมากรากไม้มงคลอย่างจีน มาตกแต่งบนโต๊ะประกวดกันตามงานต่างๆ เป็นที่นิยมในหมู่เจ้านายในสมัยรัชกาลที่ 5


    • Update : 2/4/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch