หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒/5
    จากรายงานของผู้บังคับการเรือพาลลาส
                รายงานของนาวาเอก แองกัส  แมคเคลาด์ (Angus Maciead) ผู้บังคับการเรือพาลลาสถึง พลเรือตรีฟรีแมนเติล ผู้บัญชาการกองเรืออังกฤษภาคทะเลจีน ลง ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ มีความว่า
                วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ เวลาเช้าตรู่ ได้รับจดหมายจากพลเรือจัตวา เดอ ริชลิเออ แห่งราชนาวีไทย มีใจความว่า "เรือแองคองสตังค์ จะมาถึงวันนี้ แต่ ม.ปาวี ตกลงยินยอมจะส่งเรือกลไฟลำหนึ่งให้นายทหารประจำเรือลูแตงไปด้วย เพื่อไปบอกให้อยู่เพียงนอกสันดอน หวังว่าจะไม่มีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงเกิดขึ้น"
                เวลา ๑๕.๓๐ น. ได้รับจดหมายจากกัปตันโยนส์ มีใจความว่า
                "มีเหตุผลพอเชื่อถือได้ว่าเย็นวันนี้ที่ปากน้ำเจ้าพระยา จะพยายามให้เขาเชื่อไม่ให้เดินทางเข้ามาคงให้ทอดสมออยู่ที่นอกสันดอน"
    ฯลฯ
                ภายนอกแม่น้ำเจ้าพระยามีเรือนำร่องกับเรือจักรข้างเก่าลำหนึ่ง เป็นเรือที่กัปตันวิล (Captain J.R. Vil) เจ้าพนักงานเจ้าท่าประอยู่ ก่อนเกิดเหตุกัปตันวิลได้รับคำสั่งให้ขึ้นไปบนเรือฝรั่งเศสทุกลำ ที่เข้ามาเพื่อขอร้องมิให้ข้ามสันดอนเข้ามา กัปตันวิลมีประมวลสัญญาณติดตัวไปด้วย เพื่อส่งไปยังประภาคารที่สันดอน แล้วส่งต่อไปยังปากน้ำ เพื่อให้ทราบเหตุการณ์ภายนอกแม่น้ำได้
                เวลา ๑๕.๐๐ น. วานนี้ เห็นเรือสองลำแล่นมาทางทิศตะวันออก แสดงว่าเป็นเรือแองคองสตังค์ และเรือโคแมต กับมีเรือกลไฟขนาดย่อมอีกลำหนึ่ง ไม่ติดธงหรือเครื่องหมายทางราชการอย่างใด แต่เชื่อว่าเป็นเรือฝรั่งเศส เรือลำนี้นำหน้าและเดินทางร่วมกันมา เรือเหล่านี้แล่นมาอย่างเร็วตรงมายังเรือนำร่อง และ ณ ที่ใกล้ ๆ นี้ เรือบริษัทก็ได้ทอดสมอมีนำร่องคนหนึ่งขึ้นไปบนเรือนี้ เขาคงถูกกักตัว เพราะไม่ได้กลับมายังเรือนำร่องอีก
                ข้าพเจ้าได้ส่งเรือเอก เอดเวดส์ (Edwards) ไปกับเรือกลเล็กลำหนึ่งให้นำจดหมายไปแจ้งแก่ผู้บังคับการเรือแองคองสตังค์ ว่าได้ข่าวว่า ม.ปาวี กำลังเดินทางมาจากแม่น้ำเพื่อจะมาพบที่สันดอน เพราะคิดว่าอาจขจัดอันตรายที่จะเกิดปะทะกับป้อมได้ ถ้าหากผู้บังคับการเรือจะนำเรือเข้าไป
    ฯลฯ
                ต่อจากนั้น กัปตันวิลก์ขึ้นไปบนเรือแองคองสตังค์ ได้แสดงคำสั่งและคำขอร้อง แต่ได้รับคำตอบว่า เรือฝรั่งเศสเจ้าไปกรุงเทพ ฯ กัปตันวิลจึงกลับไปเรือจักรข้าง และส่งสัญญาณไปว่า ให้ระวังตัว (Keep prepare)
                เรือแองคองสตังค์ และเรือโคแมตไม่ได้ทอดสมอแต่เตรียมพร้อมที่จะออกเดินทางต่อไป.....
                เวลา ๑๗.๑๐ น. ราชฑูตหรือผู้ช่วยของเขาคนใดคนหนึ่ง ได้ขึ้นไปบนเรือแองคองสตังค์ อยู่บนเรือประมาณ ๑๐ นาที ก็ลงจากเรือเดินทางกลับเข้าแม่น้ำ เขามากับเรือกลไฟไทยลำหนึ่ง ทันทีที่เรือลำนั้นเข้าแม่น้ำ เรือบริษัทก็ถอนสมออกเดินทางเข้าแม่น้ำ เรือแองคองสตังค์ กับเรือโคแมตก็เดินตามไป ดูเหมือนใช้ฝีจักรเต็มที่ ระดับน้ำที่สันดอนสูง ๑๔ ฟุต เมื่อเรือฝรั่งเศสเข้าไปใกล้ทุ่นเลี้ยว (Turningbuoy) เป็นเวลา ๑๘.๓๐ น. อยู่ห่างจากป้อมแหลมตะวันตก ๑.๕ - ๒ ไมล์ ก็มีกระสุนปืนยิงมาเรือฝรั่งเศสจึงส่งประจำสถานีรบ และชักธงชาติฝรั่งเศสที่ยอดเสาทุกเสา การยิงมายังเรือฝรั่งเศสทวีความเร็วยิ่งขึ้น แต่เรือฝรั่งเศสยังไม่ยิงตอบจนกระทั่ง ๑๘.๔๕ น. จึงได้ทำการยิงไปยังป้อม นับจำนวนกระสุนที่ป้อมยิงมา ประมาณ ๑๘ นัด ก่อนที่ฝ่ายฝรั่งเศสจะเริ่มยิง จนเวลา ๑๙.๐๕ น. การยิงจึงยุติลง เวลา ๑๙.๑๔ น. เริ่มยิงอีก จนเวลา ๑๙.๒๔ น.ทุกอย่างก็เงียบเป็นปกติ
                มีเรือกลไฟอังกฤษสามลำแล่นออกจากแม่น้ำในตอนเย็นวันนั้น (ก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้าไปสักครู่) ได้มารายงานว่า ไทยได้ปิดช่องทางเดินเรือเสียสิ้นแล้ว และมีเรือไทยสี่ลำออกมาเรียงกันอยู่ภายในแนวเรือที่จมขวางไว้..... เมื่อเวลา ๒๒.๐๐ น. ได้ทราบจากเรือกลไฟลำหนึ่งว่า เรือฝรั่งเศสได้ผ่านป้อมไปได้ในเวลาฝนตก และท่ามกลางความมืด
                โดยที่รู้สึกหวาดเกรงถึงความปลอดภัยของชาวยุโรป..... จึงถือโอกาสส่งทหารหมวดหนึ่งอาวุธพร้อม ในบังคับบัญชาของเรือเอก มัวร์ (Moore) ไปสมทบกับกำลังรักษาการณ์ของนาวาโทกีรบีย์ (Girby) ผู้บังคับการเรือสวิฟท์ที่สถานฑูตอังกฤษ และบริเวณใกล้เคียง
                เวลา ๒๓.๐๐ น. เรือลินเนตมาถึง จึงสั่งให้รับเข้าไปในแม่น้ำ เรือสามารถผ่านสันดอนได้พอดี และได้จอดทอดสมออยู่เลยสันดอนเข้าไปหน่อย รุ่งขึ้นเรือนี้ได้ไปถึงสถานฑูต เวลา ๑๐.๐๐ น.
                ได้รับข่าวว่าเรือลาดตระเวนฝรั่งเศสชื่อ ฟอร์แฟต์ จะเข้ามาในวันนี้..... ประหลาดใจว่าเขาเข้ามาทำไม
                เวลา ๐๘.๓๐ น. เห็นเรือฟอร์แฟต์ แล่นมาทางเกาะสีชังด้วยความเร็วเต็มที่ ๐๙.๓๐ น.ก็ได้ทอดสมอ
    ฯลฯ
                นาวาเอก เรอ กูลูซ์ ผู้บังคับการเรือฟอร์แฟต์ ได้มาเยี่ยม เมื่อเวลา ๑๑.๓๐ น. ..... ได้อธิบายถึงข่าวสาร และเหตุการณ์ในวันที่แล้วมาและได้ให้ความเห็นว่า นาวาโทโบรี ทำผิดในการที่ได้ตีฝ่าแม่น้ำเข้าไป เป็นการขัดคำสั่งของราชฑูตที่ได้สั่งออกมาให้ทราบแล้ว และได้เตือนให้มีความอดทน และมีความระวังให้มาก..... และเชื่อว่าทางการฑูตจะสามารถตกลงปรองดองกัน ในปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ได้.....
                เวลา ๑๓.๓๐ น. นาวาเอก เรอ กูลูซ์  ลากลับ..... เวลา ๑๕.๐๐ น. ได้ไปเยี่ยมตอบ..... นาวาเอกเรอกุลูซ์ แจ้งว่าเขาอยากเข้าไปในแม่น้ำ..... เวลานี้ยังไม่ห้ามเรือค้าขายเข้าออก..... นาวาเอก เรอกุลุซ์บอกว่า มีเรือปืนสี่ลำ เรือตอร์ปิโดสองลำเตรียมพร้อมที่จะเดินทางจากไซ่ง่อน เพื่อมารวมกำลังกันที่นี่ ถ้าหากไม่ได้รับความพอใจอย่างเต็มที่จากฝ่ายไทยเกี่ยวกับข้อเรียกร้องต่าง ๆ และเรือรบที่อยู่ข้างในสามลำก็จะไม่เคลื่อนย้ายไปไหน จนกว่าจะได้ตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
                .....ตามสภาพที่เป็นอยู่นี้เรือของเราและเรือปืนฮอลแลนด์ซุมบาวา อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องได้รับอันตราย.....
                วันที่ ๑๔ กรกฎาคม เวลา ๑๖๐๐ ได้เดินทางเข้าไปในแม่น้ำโดยเรือกลไฟฮอลแลนด์ ชื่อมหาวชิรุณหิศ ได้สังเกตดูผลการยิงของฝรั่งเศส ปรากฏว่าไม่เห็นผลจริงจัง ตามป้อมมีคนประจำอยู่อย่างระมัดระวัง เผื่อว่าฝรั่งเศสจะเข้ามาอีก เรือปืนทุกลำเตรียมพร้อม เรือได้ทอดสมอห่างจากกรุงเทพ ฯ ๘ ไมล์ แล้วลงเรือเล็กไปขึ้นที่สถานฑูตอังกฤษ ผ่านเรือปืนไทยสี่ลำ ทอดสมออยู่ไม่เป็นระเบียบ..... เมื่อเรือไทยแล่นขึ้นมาจะโจมตีนั้น ไม่ปรากฏมีการสู้รบอีก เนื่องด้วยพระเจ้าแผ่นดินไทยสั่งห้ามไว้ มีการประชุมเสนาบดีเมื่อเวลา ๒๓.๐๐ น. โดยมีราชฑูตฝรั่งเศสเข้าร่วมด้วย ได้ตกลงยุติการรบโดยหวังว่าจะตกลงกันได้ทางการฑูต เหตุการณ์ในนครหลวงเป็นปกติดี ฝ่ายไทยได้จัดการรักษาการณ์อย่างแข็งแรง ประตูเมืองปิด แม่น้ำเรียงรายไปด้วยกองทหารเรือฝ่ายไทย และเรือแองคองสตังค์ กำลังซ่อมที่ชำรุด มีการฝังศพทหารฝรั่งเศสสองคนในตอนเย็น ทหารไทยตาย ๑๕ คน บาดเจ็บ ๒๐ คน โดยมากเป็นทหารประจำเรือมกุฏราชกุมาร เรือมกุฏราชกุมารเข้าปิดทาง จึงได้รับความเสียหายมาก เรือบริษัท คือ เรือ ยี.เบ.เซย์ ได้แล่นเกยตื้นเพื่อมิให้จม ได้ชักธงไทยแทนธงฝรั่งเศส กะลาสีของเรือนี้ตกเป็นเชลย
    จากบันทึกของมิสเตอร์ วาริงตันสไมร์
                ในตอนบ่ายวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ได้ไปที่ปากน้ำโดยเรือใบเพื่อดูสถานการณ์ทางทหาร ได้ขึ้นไปบนเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ มิได้จัดการเตรียมพร้อมอย่างใด ต่างพูดถึงการรบโดยคิดว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทหารประจำเรือไม่เคยเห็นการยิงปืนใหญ่เลยเว้นแต่ผู้บังคับการเรือคนเดียว ทหารประจำเรือเป็นคนเกณฑ์ใหม่มาจากท้องนา กระสุนดินปืนก็ไม่เคยรู้จัก ทหารประจำเรือลำอื่น ๆ และประจำป้อมก็คงมีสภาพอย่างเดียวกัน อาวุธประจำเรือมูรธา ฯ มีปืนใหญ่บรรจุปากกระบอก ขนาด ๗๐ ปอนด์ หนึ่งกระบอก ติดอยู่ทางหัวเรือ ปืนทองเหลือง สำหรับยิงสลุตสี่กระบอก และปืนกลฮอทชกีส ห้าลำกล้อง หนึ่งกระบอก ติดอยู่ที่ดาดฟ้าชั้นบนตอนหัวเรือ ได้มีคำสั่งมาว่าให้ทางเรือเตรียมกำลังไอน้ำให้พร้อม เพราะได้ข่าวมาว่าเรือรบฝรั่งเศสจะเข้ามาปรากฏตัว ทุกคนต่างนึกว่าเป็นเรื่องตลกไม่จริง
                จากนั้นได้ไปที่ป้อมผีเสื้อสมุทร ได้พบกับผู้บังคับการป้อม ซึ่งไม่ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นที่สันดอน และทหารไม่เคยยิงปืนใหญ่เลย หลังจากนั้นได้ขึ้นรถไฟกลับกรุงเทพ ฯ ตอนบ่ายคิดว่าการป้องกันที่ปากน้ำจะไม่แข็งแรงพอดังที่พระเจ้าแผ่นดินทรงมั่นพระทัย
    ฯลฯ
                เมื่อเดินทางกลับจากปากน้ำแล้ว ปรากฏว่าเรือมูรธาและเรือมกุฏราชกุมาร ได้เข้าประจำที่ภายในแนวกีดขวาง จอดอยู่ลำละช่องทางผ่าน..... มีเรือปืนแบบเก่าอีกสองลำ และเรือฝึกอีกหนึ่งลำจอดอยู่ในบริเวณนั้น แต่ละลำมีปืนทองเหลืองสำหรับยิงสลุตลำละ หกกระบอก
    ฯลฯ
                ประมาณเวลา ๑๗.๐๐ น. หนังสือของ ม.ปาวี ที่เรือกลไฟไทยนำมาส่งให้ก็ได้ส่งไปให้เรือแองคองสตังค์ กัปตันเรือเซย์ได้ขึ้นไปบนเรือแองคองสตังค์ ทำหน้าที่นำร่อง.....
                กระแสน้ำไหลเชี่ยวมาก และฝนทำท่าจะตก ทำให้มืดค่ำเร็วกว่าธรรมดา เรือเซย์ออกนำหน้า มีเรือแองคองสตังค์ และเรือโคแมตตามมา เวลา ๑๘.๓๐ น. พลเรือจัตวา ริชลิเออ สั่งให้ป้อมยิงโดยไม่บรรจุกระสุนสองนัดเป็นการเตือน แล้วต่อมายิงอีก หกหรือแปดนัด กระสุนตกข้ามหัวเรือฝรั่งเศส เรือฝรั่งเศสจึงเตรียมเรือเข้ารบ เรือฝรั่งเศสยิงตอบ เมื่อเวลา ๑๘.๔๕ น. นัดแรก ๆ ตกต่ำลงบนเลน นัดต่อไปตกสูงข้ามป้อมลงไปในป่า..... กระสุนนัดที่ ๖ และนัดที่ ๑๑ ของไทยถูกที่หมาย นัดที่ ๑๙ ตกที่ดาดฟ้าทะลุหัวเรือกราบขวาของเรือแองคองสตังค์ .....
                เมื่อเรือแล่นเข้ามาใกล้แนวกีดขวาง เรือแองคองสตังค์ ออกนำหน้า แล่นเป็นวงกว้าง ๆ ไปทางทิศเหนือ..... ต่อมาได้แล่นเฉียดเข้าไปใกล้เรือทุ่นไฟ ซึ่ง ณ จุดนี้ ป้อมทำการยิงไม่ได้
                เรือมูรธา ฯ ได้ยิงด้วยปืนใหญ่บรรจุปากลำกล้อง ขนาด ๗๐ ปอนด์ ๑ นัด แล้วถอนสมอ โดยที่ไม่มีเวลากลับลำ จึงต้องเดินถอยหลังเต็มตัว เมื่อได้ยิงนัดที่สองออกไปรางปืนก็แตกทำให้หันปืนไม่ได้
                เรือมกุฏ และเรือมูรธา ฯ ต่างมีผู้บังคับการเรือ และต้นกลเรือเป็นชาวยุโรป โดยที่ทหารประจำเรือไม่มีความชำนาญพอ นายทหารดังกล่าวจึงต้องทำการเล็งปืนเอง แล้วก็วิ่งขึ้นไปบนสะพานเดินเรือ เพื่อทำการนำเรืออีก ในขณะที่เรือมูรธา ฯ และเรือแองคองสตังค์ แล่นเข้าหากัน เรือแองคองสตังค์ ได้สั่งหางเสือขวาหมด เพื่อมิให้เรือชนฝั่งแม่น้ำ เรือมูรธา ฯ ก็ได้สั่งเดินหน้าเต็มตัวและสั่งหางเสือขวาหมดเพื่อหลบการถูกชน เรือทั้งสองเบียดกันจนกระทั่งเสาธงท้ายของเรือมูรธา ฯ หัก เรือโบตซึ่งได้หย่อนลงไว้เพื่อมิให้กีดขวางทางปืนขนาด ๗๐ ปอนด์ ก็ต้องดึงเข้ามาในเรือ ทหารในเรือมูรธา ฯ ได้ยินเสียงสั่งการยิงจากเรือแองคองสตังค์ ได้ชัดเจน เนื่องจากมีดาดฟ้าชั้นบนกำบังไว้ จึงรอดจากการถูกยิงด้วยปืนเล็ก เรือมูรธา ฯ ถูกยิงด้วยกระสุนปืนเล็กที่ตัวเรือ ๒๑๖ นัด ถูกยิงด้วยกระสุนปืนใหญ่ดินเมลิไนท์ ระเบิดเข้าไปภายในเรือ เมื่อตอนที่ผ่านท้ายเรือแองคองสตังค์ ทำให้เกิดรูข้างเรือทางกราบซ้ายโตหลายฟุต และต่ำกว่าแนวน้ำ ประมาณ สามนิ้ว เรือมูรธา ฯ ได้เดินหน้าแล้วทอดสมอ จัดการเลื่อนปืนใหญ่ไปไว้ทางกราบขวา รวมทั้งเอาน้ำหนักอื่น ๆ มารวมอยู่ด้วย เพื่อถ่วงให้รูทางกราบซ้ายพ้นน้ำจะได้ซ่อมแซมได้สะดวก
                พลประจำเรือมกุฏ ฯ ก็ใช้การไม่ได้เช่นกัน ผู้บังคับการเรือกัปตันกลเรือต้องช่วยปฏิบัติงานอีกด้วย เรือมกุฏ ฯ ถูกยิงมากพอสมควร แต่ยังสามารถแล่นตามเรือฝรั่งเศส เข้ามาจนถึงบางคอแหลม เพื่อฟังคำสั่งต่อมาเรือมูรธา ฯ ได้แล่นขึ้นมาสมทบ
                ป้อมผีเสื้อสมุทรมองอะไรไม่ใคร่เห็น เพราะเมื่อเรือฝรั่งเศสแล่นขึ้นมาถึงสมุทรปราการ ก็เป็นเวลาค่ำมืดได้มีการยิงกันเพียง ๕ นาที ต่อจากนั้นเรือฝรั่งเศสก็แล่นเข้ากรุงเทพ ฯ
                ในระหว่างยิงต่อสู้กันเรือเซย์ ถูกกระสุนปืนของเรือมูรธา ฯ หนึ่งนัดที่ใต้แนวน้ำ จึงได้แล่นไปเกยฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ.....
                มีคนในเรือมูรธา ฯ สามคน ปฏิบัติหน้าที่ได้ดีมาก เป็นพลประจำปืนกล ได้ใช้อาวุธของเขาอย่างเต็มความสามารถ.....
                ความเสียหายของทั้งสองฝ่าย..... ฝ่ายฝรั่งเศสมีทหารตาย ๓ คน บาดเจ็บ ๓ คน ฝ่ายไทยมีทหารตาย ๑๕ คน บาดเจ็บ ๒๐ คน ทั้งหมดถูกยิงจากปืนกลบนหอรบของเสา และจากปืนเล็กยาวในขณะที่เรือเข้ามาใกล้กัน
                พลเรือจัตวา ริชลิเออ ผู้มีหน้าที่อำนวยการป้องกันไม่ใคร่มีโอกาสได้ทำอะไรมาก เขาเคยเสนอให้จมเรือขวางช่องทางเดินเรือเพิ่มขึ้นอีก แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะเสนาบดี ถึงแม้จะเข้าอำนวยการรบด้วยตนเอง แต่ทหารในบังคับบัญชาทั้งหมดเป็นคนเข้าเวรใหม่ และไม่ได้รับการฝึกเพียงพอ การร้องขอให้จัดเตรียมทุ่นระเบิด และสิ่งอื่น ๆ ก็ประสบแต่ความโอ้เอ้ล่าช้า
                ป้อมที่ปากน้ำเพิ่งสร้างเสร็จ นายทหารชาวยุโรปที่ป้อมอีกสามคน พูดภาษาได้คนเดียว อีกสองคนยืมตัวมาจากกรมแผนที่ ซึ่งเพิ่งเดินทางเข้ามาเมืองไทย และสมัครใจจะมาปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างทำการรบครั้งนี้ นายทหารดังกล่าวนี้ได้สั่งการต่าง ๆ ที่คนไทยยากจะเข้าใจ นอกจากนี้ก็ปืนใหญ่สนามหมู่หนึ่งร่วมทำการยิงด้วย แต่กระสุนตกน้ำหมดไม่ถูกเป้าหมายเลย
                ทหารที่มีส่วนเข้ารบนั้นมิได้รับการฝึกเพียงพอ..... ผู้บังคับการป้อมผีเสื้อสมุทรถูกไล่ให้ออกไปจากป้อมในเย็นวันที่มีการสู้รบกันนั้นเอง ทหารประจำป้อมพระจุลจอมเกล้า ก็แสดงความขัดขืนไม่พอใจ นอกจากนี้ทางกรุงเทพ ฯ ก็ไม่ได้แจ้งเหตุการณ์ให้ทราบว่าจะทำอย่างไรกัน การบังคับบัญชาจึงหย่อนรวนเร ไม่มีคำสั่งเพิ่มเติม ต่างเกรงจะถูกโจมตีด้านหลังโดยปล่อยให้ต่อสู้โดดเดี่ยว ความวุ่นวายดังกล่าวเกือบถึงขั้นจลาจล.....
                ฯลฯ
                พระเจ้าแผ่นดินทรงมีพระสติสุขุมคัมภีรภาพ ไม่ยอมฟังเสียงหมู่อำมาตย์ จึงได้สั่งให้งดการสู้รบ และในวันรุ่งขึ้นก็ได้มีการตกลงให้ทั้งสองฝ่ายยุติการรบ
    จากการแถลงข่าวของหนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ ออกวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖
                เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ร.ศ.๑๑๒ เวลาเช้า เรือรบสามลำคือเรือมกุฏราชกุมาร เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ เรือนฤเบนทร์บุตรี และเรือหาญหักศัตรู ได้จอดอยู่ที่สันดอนเพื่อคอยรับ อาร์ชดุก ฟรานซ์เฟอร์ดินันด์ รัชทายาท แห่งออสเตรีย แต่เรือรบทั้งสี่ลำนี้ต้องกระทำการหนักมาก ด้วยเมื่อเวลาบ่ายห้าโมงสิบห้านาทีเกิดฝนตกหนัก คนในเรือรบและคนบนฝั่งแทบไม่แลเห็นกัน ขณะนั้นเรืออรรคราชวรเดชอยู่นอกสันดอน ส่งสัญญาณเข้ามาว่า มีเรือรบฝรั่งเศสสองลำแล่นเข้ามา ภายหลังก็ลดสัญญาณลง คนข้างในก็เข้าใจว่า เรืออรรคราชวรเดชส่งสัญญาณผิด ที่จริงนั้นต่างเข้าใจว่า เรือรบสองลำนี้เป็นเรือรบอังกฤษชื่อลินเนต และเรือรบเยอรมันชือโวล์ฟ เพราะเรือทั้งสองลำกำหนดจะมาถึงในวันนั้น เมื่อแรกจึงไม่สงสัยว่าเป็นเรือรบฝรั่งเศสด้วย ม.ปาวี ได้สัญญาไว้ว่ายังจะไม่มา..... ลำแรกคือเรือแองคองสตังค์ มีเรือเมล์ฝรั่งเศสชื่อ ยี.เบ.เซย์ ซึ่งเดินทางไปมาระหว่างกรุงเทพ ฯ และไซ่ง่อนนำทางเข้ามาในปากอ่าว..... ทหารที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าจึงได้ยิงปืนใหญ่ไม่ใส่ลูกกระสุน สามนัด บอกสัญญาณให้เรือรบฝรั่งเศสทั้งสองลำแล่นกลับออกไปเสีย..... ขณะนั้นพระยาชลยุทธโยธิน (A.de Richelier ) กับกัปตัน ซี.ฟอนโฮลด์ (C.von Holck) เป็นผู้บังคับทหารอยู่ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า เรือรบฝรั่งเศสได้ยินเสียงปืนสัญญาณก็หาฟังไม่..... ทหารป้อมพระจุลจอมเกล้าได้ยิงปืนทุกกระบอก เรือรบไทยก็เข้ามาช่วยกัน.....
                ขณะนั้นเกิดโกลาหลวุ่นวายมาก..... ครั้นเรือแองคองสตังค์ และเรือโคแมตได้รีบแล่นเข้ามาโดยเร็ว..... ครั้นเรือแองคองสตังค์ แล่นเลยเรือทุ่นไฟเข้ามาแล้ว ทหารไทยจึงได้จุดตอร์ปิโดระเบิดขึ้น แต่ไม่ถูกเรือแองคองสตังค์.....
                ทันใดนั้น เรือมกุฏราชกุมารกับเรือมูรธา ฯ ก็แล่นติดตามขึ้นมายิงโต้ตอบกับเรือรบฝรั่งเศสทั้งสองลำ คอมมานเดอร์ กุลด์ แบร์ก (Guldberg) นายเรือมกุฏราชกุมาร เข้ามายิงกับเรือรบฝรั่งเศสเป็นสามารถ.....
                ในการยิงต่อสู้กันนี้ ปืนในเรือรบฝรั่งเศสยิงเร็วกว่าปืนในเรือรบของไทย ด้วยเป็นปืนทำขึ้นอย่างใหม่..... ฝ่ายเรือมูรธา ฯ ซึ่งกัปตันคริสตมาส (Chrismas) คุมมานั้นได้แล่นติดตามเรือแองคองสตังค์ มาเรือแองคองสตังค์ ก็ตัดท้ายหันเข้าต่อสู้กับเรือมูรธา ฯ ยิงโต้ตอบกัน.....
                เวลาหนึ่งทุ่มก็สงบการยิงกันด้วยความมืดมากแล้ว ที่ป้อมผืเสื้อสมุทรนั้นกัปตันเกิตส์เช (Goltsche) รักษาอยู่แต่เป็นเวลามืดมากแล้ว ไม่รู้ว่าปืนที่ป้อมผีเสื้อสมุทรยิงออกไปนั้นถูกเรือรบฝรั่งเศสบ้างหรือไม่..... กัปตันสมิเกโล (Smiegelow) เป็นผู้บังคับการเรือหาญหักศัตรูได้ยิงสองนัด
                หลังจากเรือฝรั่งเศสเข้าปากน้ำมาได้แล้ว พระยาชลยุทธโยธิน มีคำสั่งให้เรือไทยแล่นไล่รบตามเข้ามาในลำแม่น้ำ และให้แล่นชนให้ล่มลงจนได้ แล้วพระยาชลยุทธโยธินก็ขึ้นรถไฟเข้ากรุงเทพ ฯ เพื่อจะเอาเรือพระที่นั่งมหาจักรีไปช่วยรบด้วย แต่กระทรวงการต่างประเทศห้ามไว้เสีย.....
                คอมมานเดอร์โบรี นายเรือฝรั่งเศสควรได้รับความสรรเสริญที่มีใจองอาจกล้าหาญ..... มีความเสียใจด้วยมิสเตอร์แจคสันคนนำร่องนี้เป็นชาติอังกฤษ นำร่องเรือเมล์ ยี.เบ.เซย์ เข้ามาในแม่น้ำควรจะต้องมีโทษตามหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี และทางเจ้าพนักงานไทยจะต้องเรียกเอาหนังสือสำคัญสำหรับคนนำร่องคืน รุ่งขึ้นเวลาเช้า เรือ  ยี.เบ.เซย์ ได้ไปจอดเกยชายฝั่งแม่น้ำอยู่ กัปตันฟอนโฮลด์ จึงให้ทหารลงเรือกลไฟเล็กไปบอก ม.แดสเตอแลง นายเรือเมล์ ยี.เบ.เซย์ ให้ยอมแพ้โดยดี..... ม.เดสเตอแลงก็ยอมให้ทหารจับมาโดยดี..... กัปตันฟอนโฮลด์จึงเรียกเอาหนังสือสำหรับเรือมาไว้ แล้วให้ทหารไปจับเอาพวกกะลาสี กับมิสเตอร์แจคสันคนนำร่อง อินยิเนียกับคนที่มาจากเรือลูแตงสองคนทั้งคนโดยสารด้วย รวมทั้งสิ้น ๓๒ คน แล้วส่งคนเหล่นนี้เข้ากรุงเทพ ฯ กรมทหารเรือให้ปล่อยตัวเมื่อวันเสาร์ (วันที่ ๑๕ กรกฎาคม)
    ฯลฯ
                รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับคอมมานเดอร์โบรี ซึ่งเป็นผู้บังคับกองเรือรบฝรั่งเศสสามลำที่จอดอยู่ในลำแม่น้ำเจ้าพระยา ได้สัญญาตกลงกันว่า ไทยกับฝรั่งเศสยอมสงบหยุดการรบกันไว้ทั้งสองฝ่าย ฝ่ายฝรั่งเศสสัญญาว่าจะไม่รบและไม่ทำอันตรายแก่บ้านเมืองและอาณาประชาราษฎร์ ฝ่ายไทยสัญญาว่า จะไม่ทำอันตรายแก่เรือรบฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาใหม่นี้ จะถือว่าเป็นเหมือนอย่างเรือรบของประเทศอื่น ซึ่งบัดนี้จอดอยู่ในลำน้ำเจ้าพระยา

    • Update : 28/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch