หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การรบที่เกาะช้าง/1
    ในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศส พ.ศ.๒๔๘๓ - ๒๔๘๔


    เรือรบหลวงธนบุรี
    เหตุการณ์ก่อนการรบ
    เมื่ออากาศยานฝ่ายข้าศึกได้เข้ามาทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนมเมื่อ ๒๘ พ.ย.๘๓ กองทัพเรือได้เริ่มดำเนินการส่งกำลังไปป้องกัน ตำบลคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนสุดทางด้านตะวันออกของไทยที่อยู่ริมฝั่งทะเล ติดต่อกับอินโดจีน ฝรั่งเศส และได้เริ่มลำเลียงกำลังพล พรรคนาวิกโยธินอันเป็นกำลังส่วนใหญ่ของกองพลผสมจันทบุรี ไปยังจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราดเพื่อป้องกันการยกพลขึ้นบกของข้าศึกทางฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย อันเป็นการป้องกันปีก และการตีโอบหลังกำลังทางบกของฝ่ายเรา
    ก่อนการรบที่เกาะช้าง กองทัพเรือได้ส่งกำลังทางเรือ ๑ หมวด ประกอบด้วย เรือรบหลวง ๖ ลำ คือ
    - เรือรบหลวงศรีอยุธยา มี นายนาวาตรีหลวงชำนาญ อรรถยุทธ เป็นผู้บังคับการเรือ
    - ร.ล.ภูเก็ต มี น.ต.หลวงมงคลยุทธนาวี เป็นผู้บังคับการเรือ
    - ร.ล.ปัตตานี มี น.ต.อำพัน ภมรบุตร เป็นผู้บังคับการเรือ
    - ร.ล.สุราษฏร์ มี นายเรือเอก ชวน แสงต่าย เป็นผู้บังคับการเรือ
    - ร.ล.คราม มี ร.ท.เจตน์ จุลชาติ เป็นผู้บังคับการเรือ
    - ร.ล.ตระเวนวารี
    ทั้งหมดอยู่ในบังคับบัญชาของ น.ต.หลวงมงคลยุทธนาวี ไปรักษาการณ์อยู่บริเวณเกาะช้าง ต่อมาเมื่อ ๑๔ ม.ค.๓๔ กองทัพเรือได้จัดกำลังทางเรืออีก ๑ หมวดไปผลัดเปลี่ยน ประกอบด้วย
    - ร.ล.ธนบุรี มี น.ท.หลวงพร้อม วีรพันธ์ เป็นผู้บังคับการเรือ
    - ร.ล.ระยอง มี น.ต.ใบ เทศนะสดับ เป็นผู้บังคับการเรือ
    - ร.ล.สงขลา มี น.ต.ชั้น สิงหชาญ เป็นผู้บังคับการเรือ
    - ร.ล.ชลบุรี มี ร.อ.ประทิน ไชยปัญญา เป็นผู้บังคับการเรือ
    - ร.ล.หนองสาหร่าย มี ร.อ.ดาวเรือง เพชรชาติ เป็นผู้บังคับการเรือ
    - ร.ล.เทียวอุทก
    ทั้งหมดอยู่ในบังคับบัญชาของ น.ท.หลวงพร้อม วีรพันธ์

    กำลังเรือฝ่ายข้าศึก

    เรือลาดตระเวน ลามอตตฺปิเกตฺ

    กำลังเรือข้าศึก ในบังคับบัญฃาของ นายนาวาเอก เบรังเยรฺ (Be"ranger) จำนวน ๙ ลำ ประกอบด้วย
    - เรือลาดตระเวน ลามอตตฺปิเกตตฺ เป็นเรือธง
    - เรือสลุปแบบเรือ อามิราล ชารฺเนรฺ ๒ ลำ
    - เรือปืน ๔ ลำ
    - เรือสินค้าขนาดใหญ่ติดอาวุธ ๑ ลำ
    - เรือดำน้ำ ๑ ลำ

    เรือลาดตระเวน ลามอตตฺปิเกตฺ
    การรบ

    ร.ล.สงขลา
    เช้าวันที่ ๑๗ ม.ค.๘๓ เวลา ๐๖๐๐ ข้าศึกได้ส่งเรือบินทะเล ๑ ลำ มาลาดตระเวนบริเวณเกาะช้างและได้ทิ้งระเบิด จำนวน ๒ ลูก แต่ไม่ถูกที่หมาย ร.ล.สงขลา และ ร.ล.ชลบุรี ได้ใช้ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด ๗๕ มม. และปืนกล ขนาด ๒๐ มม. ยิงถูกเครื่องบนข้าศึกดังกล่าวตกทะเล ทางด้านใต้เกาะหวาย
    ในขณะเดียวกันนั้นกำลังทางเรือข้าศึก จำนวน ๗ ลำ ได้เข้าโจมตี ร.ล.สงขลา และ ร.ล.ชลบุรี รวมทั้งอาคารบนเกาะง่าม ร.ล.สงขลา ได้ระดมยิงเรือลาดตระเวนลามตตฺปิเกตฺ แต่ลำเดียว ส่วน ร.ล.ชลบุรี ได้ทำการยิงไปหมู่เรือที่ ๒ และ ๓ ของข้าศึก

    เรือสลุป อามิราล ชารฺเนรฺ
    ร.ล.สงขลา ยิงถูกเรือลาดตระเวนข้าศึกบริเวณท้ายเรือ เรือทั้งสองฝ่ายร่นระยะใกล้เข้ามาตามลำดับ เมื่อสายมากขึ้นทัศนวิสัยดีขึ้น ร.ล.สงขลาจึงเริ่มถูกยิง จากเรือข้าศึกหลายทิศทาง ทำให้พลประจำปืนเสียชีวิตและบาดเจ็บ เรือเสียหายจนน้ำเข้าเรือ เกิดเพลิงไหม้ตอนกลางลำและท้ายเรือ ลูกปืนหมด ผู้บังคับการเรือจึงสั่งให้สละเรือใหญ่ เมื่อเวลาประมาณ ๐๖๔๕
    ร.ล.ชลบุรี ยิงถูกเรือสลุปในหมู่เรือที่ ๒ ของข้าศึกจนต้องหนีออกไปจากแนวรบ และยิงรบเรือข้าศึกหมู่ที่ ๓ อีก ๒ ลำ จนไฟไหม้อย่างหนัก และตามทางสืบสวนอันเชื่อถือได้ มีว่าเรือดังกล่าวได้อับปางลงในทะเลลึก ร.ล.ชลบุรี เองก็ถูกเรือข้าศึกยิงได้รับความเสียหายมาก เกิดไฟไหม้ตอนกลางลำและตอนท้ายเรือและเรือได้เริ่มจมลง ผู้บังคับการเรือจึงส่งให้ทำการสละเรือใหญ่ เมื่อเวลาประมาณ ๐๖๕๐
    ในขณะที่ปืนของเรือตอร์ปิโด ทั้งสองลำของฝ่ายเราเงียบเสียง และทหารประจำเรือ กำลังสละเรือใหญ่อยู่ ฝ่ายข้าศึกก็ยังคนระดมยิงอยู่อย่างไม่ลดละ นอกจากนั้นเมื่อเรือรบฝ่ายเราจมมิดน้ำหายไป แทนที่ข้าศึกจะเข้ามาช่วยเหลือชีวิตทหารที่ลอยคออยู่ในทะเล ฝ่ายข้าศึกกลับใช้ปืนใหญ่ ปืนกลยิงกราดมายังทหาร ซึ่งอยู่ในเรือเล็กและว่ายเข้าหาฝั่ง และสันนิษฐานได้ว่าข้าศึกได้ใช้กระสุนกาซพิษ นับว่าผิดอารยธรรมและประเพณีการรบทางเรืออย่างที่สุด


    • Update : 27/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch