หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สารานุกรมไทยฉบับย่อ/164

    ๕๑๙๘. หลอดลม  เป็นท่อทางเดินหายใจ ภายในช่องอก ที่แยกออกจากท่อลม ตรงระดับกระดูกสันหลัง ส่วนอกข้อที่สี่ กับข้อที่ห้า
                    ทางเดินหายใจ แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนลำเลียงอากาศและส่วนแลกเปลี่ยนแก๊ส หรือส่วนหายใจ ทางเดินหายใจ เปรียบได้กับต้นไม้ โดยส่วนลำเลียงอากาศ ได้แก่ ท่อลมและหลอดลม ขนาดต่าง ๆ  เทียบได้จากต้น และกิ่งก้านของต้นไม้ ส่วนหายใจเปรียบเหมือนใบของต้นไม้
                    หลอดลม ก็เช่นเดียวกับกิ่งไม้ มีการแตกกิ่งก้านสาขา เมื่อออกจากท่อลม จะแยกเป็นข้างซ้ายและข้างขวา เรียกว่า หลอดลมปฐมภูมิ  หลังจากเข้าไปอยู่ในปอดซ้ายและขวา แล้วจะแตกออกเป็นหลอดลมทุติยภูมิ และหลอดลมตติยภูมิ แล้วแตกกิ่งต่อไปอีกรวม ๑๒ - ๑๕ ครั้ง จึงกลายเป็นหลอดลมฝอย ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อลม จะเล็กลงเรื่อย ๆ คือ จากประมาณ ๒ ซม.  ในหลอดลมปฐมภูมิจนถึงขนาด ๐.๓ - ๐.๕ มม.  ในหลอดลมฝอย นอกจากนั้น ความหนาของผนังของส่วนลำเลียงอากาศ ก็จะลดลงโดยลำดับด้วย ปริมาณของกระดูกอ่อน ซึ่งทำหน้าที่พยุงไม่ให้ท่อแฟบ ค่อย ๆ ลดลงจนหลอดลมส่วนปลาย ๆ ไม่มีกระดูกอ่อนเลย ตรงกันข้ามปริมาณกล้ามเนื้อเรียบ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จำนวนชั้นและความสูงของเซลล์บุผิว ของผนังด้านในจะค่อย ๆ ลดลง เซลล์ของผนังด้านในจะค่อย ๆ ลดลง เซลล์ของผนังด้านในมีอยู่สามประเภท คือ เซลล์ชนิดมีขน สำหรับพัดโบกสิ่งแปลกปลอม ออกสู่ภายนอก เซลล์สร้างเมือก และเซลล์ให้ความชื้นแก่อากาศหายใจ
                    เมื่อมีการสำลัก หรือมีสิ่งแปลกปลอมตกลงไปในท่อลม มักตกลงไปในปอดข้างขวาเป็นส่วนใหญ่ หลอดลมปฐมภูมิ แตกออกเป็นหลอดลมทุติยภูมิ โดยข้างซ้ายแตกเป็นสองหลอด ข้างขวาสามหลอด เข้าสู่ปอดซ้ายซึ่งมีสองพู และปอดขวา สามพู หลอดลมทุติยภูมิของปอดแต่ละข้าง จะแตกกิ่งออกเป็นหลอดลมทุติยภูมิ ข้างละสิบกิ่ง ติดต่อกับส่วนเนื้อปอด มีขอบเขตค่อนข้างแน่นอน            ๒๘/๑๘๑๗๐
                ๕๑๙๙.  หลักทรัพย์  ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.๒๕๓๕ ให้บทนิยามว่า "หลักทรัพย์ ได้แก่ (๑)  ตั๋วเงินคลัง  (๒) พันธบัตร  (๓)  ตั๋วเงิน  (๔) หุ้น  (๕) หุ้นกู้   (๖) หน่วยลงทุน ได้แก่ ตราสาร หรือหลักฐาน แสดงสิทธิ์ในทรัพย์สินของกองทุนร่วม  (๗) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น  (๙)  ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน  (๑๐) ตราสารอื่นใดที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์กำหนด
                    หลักทรัพย์เป็นแหล่งที่มาของทุน สำหรับผู้ประกอบกิจการเพื่อนำเงินที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ มาใช้ในการดำเนินกิจการของผู้ออกหลักทรัพย์ ดังกล่าว ส่วนกรณีที่บุคคลประสงค์จะนำเงินของตน มาสร้างผลตอบแทน ก็อาจลงทุนด้วยการลงทุนในหลักทรัพย์ การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อาจกระทำได้ในตลาดการเงิน
                    หลักทรัพย์อันเป็นตราสาร ที่นำมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้องเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน และหลักทรัพย์อนุญาต            ๒๘/๑๘๑๗๑
                ๕๒๐๐. หลาม, งู  งูหลามมีลำตัวอ้วนหนา สีน้ำตาลเหลือง ถึงสีน้ำตาลอ่อน เป็นพื้น มีลวดลายเป็นวงแต้ม ขนาดใหญ่ สีน้ำตาลเข้ม ขอบด้านนอกสีดำ ตลอดตัว ส่วนหัวมีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยม มีลวดลายด้านบนเป็นรูปหัวลูกศร สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเหลือง ส่วนท้องมีสีขาว เมื่อโตเต็มที่ยาว ๖ - ๗ เมตร ออกลูกเป็นไข่ครั้งละ ๓๐ - ๕๐ ฟอง กินสัตว์ขนาดเล็กถึงขนาดกลางเป็นอาหาร ออกหากินเวลากลางคืน            ๒๘/๑๘๑๘๑
                ๕๒๐๑. หลุมพอ  ต้น เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง ๔๐ เมตร ผลัดใบแล้วแตกใบใหม่ในเวลาอันสั้น ลำต้นเปลาตรง ใบประกอบแบบขนนก ดอกเล็กออกเป็นช่อ แยกแขนงตามปลายกิ่ง และตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเขียวอ่อน ผลเป็นฝักแบน เมล็ดแบนรูปโล่
                    เนื้อไม้หลุ่มพอแข็ง เหนียว และทนทานมาก ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ได้ดี            ๒๘/๑๘๑๘๒
                ๕๒๐๒. หวย  เป็นการพนันอย่างหนึ่งที่ออกเป็นตัวหนังสือ การพนันชนิดนี้เกิดขึ้นในประเทศจีน ความเป็นมาของการเล่นหวยในประเทศไทย เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๘ เรียกว่า หวย ก ข โรงหวยแห่งแรกตั้งอยู่ที่ประตูสามยอด ถนนเจริญกรุง
                    วิธีการเล่นหวย ก ข นั้นกำหนดให้มี ๓๖ ตัว โดยใช้ตัวอักษรเป็นสัญญลักษณ์เริ่มต้นจากอักษร ก เป็นต้นไป มียกเว้นตัวอักษรอยู่แปดตัวที่ไม่ใช้คือ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ และ ษ เวลาออกหวยเป็นช่วงเวลาเช้าของทุกวัน ต่อมาเมื่อมีผู้นิยมเล่นหวยมากขึ้น จึงมีการเปิดโรงหวยอีกแห่งหนึ่งที่บางลำพู กำหนดออกหวยเป็นช่วงค่ำของทุกวัน การออกหวยจึงมีสองครั้งต่อวัน
                    การออกหวยในครั้งนั้นทำให้รัฐได้รายได้จากอากรหวยเป็นเงินปีละ ๒๐,๐๐๐ บาท รัฐกำหนดให้มีการประมูลอากรหวยทุกปี ในต่าง
    จังหวัดก็มีการออกหวย แต่ได้ยกเลิกไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เนื่องจากทรงเห็นว่าการพนันทำให้ราษฎรยากจนลง และเล่นกันอย่างงมงาย ยกเว้นในกรุงเทพ ฯ โรงหวย ก ข  ได้ยกเลิกอย่างเด็ดขาด เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๙            ๒๘/๑๘๑๘๒
                ๕๒๐๓. หวัด ไข้  ไข้หวัดเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในประชาชนทั่วไปทุกอายุ และพบบ่อยมากในเด็กเล็ก เมื่อมีอายุมากขึ้นร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดชนิดต่าง ๆ มากขึ้น การป่วยเป็นไข้หวัดจึงห่างออกไป และมีอาการรุนแรงน้อยลงด้วย
                    ไข้หวัดเป็นโรคที่พบได้ตลอดปี แต่ในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาวพบมาก
                    เชื้อไข้หวัดเป็นไวรัส ซึ่งมีอยู่เกือบ ๒๐๐ ชนิด การเกิดโรคหวัดในแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อไวรัสเพียงชนิดเดียว เมื่อเป็นแล้วก็จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดชนิดนั้น ในการเจ็บป่วยครั้งใหม่จะเกิดจากเชื้อหวัดชนิดใหม่ ทำให้เกิดการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนต้นคือจมูกและคอ  เชื้อหวัดมีในน้ำมูก น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย ซึ่งติดต่อกันโดยการไอ จาม หายใจรดกันและการสัมผัส ระยะฟักตัวของโรคเริ่มจากได้รับเชื้อหวัดเข้าสู่ร่างกายจนเกิดอาการขึ้น กินเวลา ๑ – ๓ วัน

    อาการมีไข้ ตัวร้อนเป็นพัก ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย ปวดมึนศีรษะ คัดจมูก มีน้ำมูกใส จาม คอแห้งหรือเจ็บคอเล็กน้อย บางครั้งไอแห้ง ๆ หรือมีเสมหะ ถ้าไอมากอาจทำให้เจ็บบริเวณลิ้นปี่เวลาไอ

    ในเด็กอาการมักรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ คือมักมีไข้ทันทีทันใด ไข้อาจสูงมากจนชัก ต่อมทอมซิลโต อาจมีอาการท้องเดิน และถ่ายอุจจาระเป็นมูกร่วมด้วย

    ถ้ามีไข้เกินสี่วัน น้ำมูกอาจข้นเหนียว เสมหะข้นมีสีเขียวหรือเหลือง แสดงว่ามีการแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย บางครั้งอาจลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียง ทำให้ต่อมทอลซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ หู้ชั้นกลางอักเสบ ถ้ากล่องเสียงอักเสบเสียงจะแหบ

    เนื่องจากไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส ยาเฉพาะที่ใช้รักษาจึงไม่มี มีแต่การรักษาตามอาการเท่านั้น          ๒๘/๑๘๑๘๕
                ๕๒๐๔. หวัดใหญ่ ไข้  เป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก พบมากในฤดูฝน บางครั้งอาจพบการระบาดทั่วโลก
                    เชื้อไข้หวัดเป็นไวรัสมีอยู่สามชนิดใหญ่ ๆ คือชนิดเอ ชนิดบี และชนิดซี แต่ละชนิดยังแบ่งเป็นชนิดย่อยออกไปอีกมาก ในการเกิดโรคแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อชนิดย่อยเพียงพันธุ์เดียวเท่านั้น เมื่อเป็นแล้วร่างกายก็จะมีภูมิต้านทานต่อพันธุ์นั้น แต่จะไม่มีภูมิต้านทานต่อพันธุ์อื่น ๆ
                    การระบาดของไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก มักเรียกชื่อที่ระบาดแต่ละครั้ง ตามชื่อประเทศที่เป็นแหล่งต้นกำเนิด เช่น ไข้หวัดรัสเซีย ไข้หวัดฮ่องกง     เชื้อหวัดมีในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย ซึ่งติดต่อกันโดยการไอ จาม หายใจรดกัน และการสัมผัส ระยะฟักตัวของโรคเริ่มจากได้รับเชื้อหวัดเข้าสู่ร่างกายจนเกิดอาการขึ้น กินเวลา ๑ – ๓ วัน

    อาการมีไข้ ตัวร้อนเป็นพัก ๆ  

    การติดต่อเช่นเดียวกับไข้หวัดธรรมดา ระยะฟักตัวของโรคตั้งแต่ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนเกิดอาการขึ้นกินเวลา ๑ – ๔ วัน

    อาการมักเกิดขึ้นทันทีทันใดและรุนแรง มีไข้สูง ๓๘.๕ – ๔๐ องศาเซลเซียส หนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดเมื่อยตัวและกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะบริเวณแขนขาและกระเบนเหน็บ หน้าแดง เปลือกตาร้อน ปวดศีรษะ อ่อนเพลียมากเบื่ออาหาร ปากขม คอแห้ง คัดจมูกและมีน้ำมูก แต่ส่วนใหญ่มักไม่มีน้ำมูกหรือมีน้อย ไอ เจ็บคอ บางครั้งจุกแน่นท้อง ไข้สูง

    ไข้หวัดใหญ่มักมีไข้ไม่เกินเจ็ดวัน ถ้ามีไข้เกินเจ็ดวันมักไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่

    การป้องกันเหมือนในผู้ป่วยไข้หวัดธรรมดา    ๒๘/๑๘๑๘๗
                ๕๒๐๕. หวาย ต้น  เป็นชื่อพืชในวงศ์หมากและหวาย ซึ่งส่วนมากมีลำต้นยาวเป็นเถาเลื้อย ใบประกอบแบบขนนก กาบใบมักเป็นปลอกหุ้มลำต้นและมักมีหนาม ก้านใบและแกนใบมักมีหนาม
                    หวายที่พบในประเทศไทยมีเจ็ดสกุล ประมาณ ๗๒ ชนิด แต่ละสกุลมีลักษณะสำคัญคือ
                            ๑. สกุลหวายตะค้า มีประมาณ ๓๗๐ ชนิด ในประเทศไทยมีประมาณ ๔๐ ชนิด ลักษณะเด่นคือเป็นปาล์มที่ออกดอกเป็นผลได้หลายครั้ง
                            ๒. สกุลหวายพาลี มีประมาณหกชนิด ลักษณะเด่นคือออกดอกเป็นผลได้หลายครั้ง มีกาบหุ้มช่อดอกหรือใบประดับช่อดอกเพียงกาบเดียว ไม่มีกาบหุ้มแขนงช่อ หรือช่อดอกย่อย
                            ๓. สกุลหวายพน มีประมาณ ๑๑๕ ชนิด ในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ ๑๘ ชนิด ลักษณะเด่นคือออกดอกเป็นผลได้หลายครั้ง ดอกออกด้านข้างของกาบใบ เป็นช่อแยกแขนงสั้น ๆ
                            ๔. สกุลหวายเดา มีประมาณ ๒๕ ชนิด ในภาคใต้ของไทยมีหกชนิด ลักษณะเด่นคือตามข้อของลำหวาย มีตาขนาดใหญ่ และมักแตกกิ่งเลื้อยไปตามเรือนยอดไม้ ดอกออกบนก้านช่อแบบแยกแขนง เมื่อกิ่งใดออกดอกและเป็นผลก็จะตายไป
                            ๕. สกุลหวายช้าง มีชนิดเดียวคือหวายช้าง ลักษณะเด่นคือกาบใบมีเมล็ดสีน้ำตาลและมีหนามขนาดใหญ่เรียงเป็นวงคล้ายหวี ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงขนาดใหญ่บริเวณข้อตอนปลายล่า เมื่อออกดอกเป็นผลแล้วจะตายไป
                            ๖. สกุลหวายกำพด มีประมาณ ๑๗ ชนิด ในไทยมีสามชนิด ลักษณะเด่นคือออกดอกเป็นผลครั้งเดียวแล้วตายไป ดอกออกบนช่อแยกแขนงขนาดใหญ่
                            ๗. สกุลหวายแดง มีประมาณห้าชนิด ในไทยมีสองชนิด ลักษณะเด่นคือผิวของลำหวายเป็นสีม่วงแดง ออกดอกเป็นผลครั้งเดียวแล้วตายไป
                                ถึงแม้ว่าหวายในไทยจะมีถึงเจ็ดสกุล ๗๒ ชนิด แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดที่นำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เพราะเนื้อและผิวหวายดังกล่าวมีลักษณะสวยงาม เหนียว ทนทาน นำมาจักสานและทำเครื่องเรือน หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้ดี
                                คำว่าหวายเป็นคำเรียกพืชหลายวงศ์ หลายสกุล ในที่นี้บรรยายไว้เฉพาะวงศ์ปาล์มเท่านั้น ไม่รวมถึงหวายอยู่ในวงศ์อื่นเช่น หวายลิง วงศ์หวายลิง และวงศ์กล้วยไม้            ๒๘/๑๘๑๘๘


    • Update : 27/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch