หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สารานุกรมไทยฉบับย่อ/127
     ๔๓๒๕. มังชัยสิงห์  เป็นพระนามเดิมของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง (ดูนันทบุเรง - ลำดับที่ ๒๗๙๖ ประกอบ)          ๒๓/๑๔๗๐๔
                ๔๓๒๖. มังระ  เป็นโอรสองค์ที่สองพระเจ้าอลองพญาแห่งพม่า และเป็นกษัตริย์องค์ที่สามแห่งราชวงศ์อลองพญา ครองราชย์อยู่ ๑๓ ปี (พ.ศ.๒๓๐๖ - ๒๓๑๙) พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากเมืองรัตนสิงห์ มาตั้งที่กรุงอังวะเหมือนแต่ก่อน พระองค์ทรงดำเนินพระราโชบายเจริญรอยตามพระเจ้าบุเรงนอง และพระเจ้าอลองพญาที่จะสร้างจักรพรรดิ์พม่า โดยเฉพาะพยามจะตีกรุงศรีอยุธยาให้ได้ โดยกำหนดยกทัพมาตีหัวเมืองไทยทีละขั้น ขั้นแรกให้มังมหานรธาคุมทัพมาตีเมืองทวาย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๗ แล้วยกทัพไปตีเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี เมืองระนอง และเมืองอื่นจนถึงเมืองปราณ แต่กองทัพพญาพิพัฒน์ และพระยาตาก (สิน) สามารถสะกัดกั้นข้าศึกไว้ได้ ก่อนที่จะรุดไปถึงเมืองเพชรบุรี กองทัพพม่าต้องถอยกลับไปเมืองตะนาวศรี
                    ในขั้นต่อมา พระเจ้ามังระตั้งเนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพคุมกำลังพลพม่าล้านนาและล้านช้างประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน เคลื่อนจากเมืองเชียงใหม่ลงมาทางใต้ ตีหัวเมืองรายทางได้ตามลำดับ ฝ่ายมังมหานรธายกทัพประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน เข้าตีไทยทางเมืองสุพรรณบุรี ผ่านเมืองธนบุรีไปบรรจบกองทัพเนเมียวสีหบดี ที่เขตกรุงศรีอยุธยา ใช้เวลาประมาณปีเศษ แล้วตั้งค่ายล้อมพระนครทางด้านทิศเหนือ และทิศใต้ ต่อมาได้ขยายออกไปล้อมไว้หมดทุกด้าน ในระหว่างนั้นมังมหานรธาถึงแก่กรรมเนเมียวสีหบดี ได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้ามังระให้เป็นแม่ทัพใหญ่แต่ผู้เดียว ในที่สุดก็ตีกรุงศรีอยุธยาได้ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๑๐ หลังจากล้อมอยู่ ๑ ปี ๒ เดือน
                    ในระหว่างนั้นพม่าต้องเผชิญการสงครามกับจีนทางด้านยูนนาน กองทัพจีนบุกรุกพม่าสี่ครั้งแตกพ่ายแพ้กลับไปทุกครั้ง พระเจ้ามังระทรงพระพิโรธที่แม่ทัพพม่าปล่อยให้กองทัพจีนล่าถอยกลับไป แม่ทัพเหล่านั้จึงคุมทัพไปตีแคว้นมณีปุระได้ และได้กวาดต้อนชาวมณีปุระหลายพันคนไปยังพม่า
                    ในปีพ.ศ.๒๓๑๘ พระเจ้ามังระมีพระบัญชาให้ยกทัพมาตีเมืองไทยอีกครั้ง อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพ ก่อนปีนั้นไทยได้รบพม่ามา ๘ ครั้งแล้วในสมัยธนบุรี
                    ในการตีหัวเมืองของไทยอะแซหวุ่นกี้ได้ยกทัพเข้าล้อมเมืองพิษณุโลก เมื่อพระเจ้ามังระสิ้นพระชนม์จิงกูจาพระโอรสได้ครองราชย์ และมีรับสั่งให้อะแซหวุ่นกี้ยกทัพกลับไป          หน้า ๑๔๗๐๔
                ๔๓๒๗. มัชฌิมนิกาย  เป็นชื่อนิกายที่สองแห่งพระสุตตันตปิฎก เป็นหมวดที่รวมพระสูตรที่มีเนื้อความปานกลาง แบ่งย่อยออกไปเป็นสามปัฌณาส (หมวดห้าสิบ) พระสูตรตอนต้นเรียกว่า มูลปัฌณาส พระสูตรตอนกลางเรียกว่า มัชฌิมปัฌณาส พระสูตรตอนท้ายเรียกว่า อุปุริปัฌณาส
                    ในปัฌณาสนั้น ๆ แบ่งเป็นตอน ๆ เรียกว่า วรรค วรรคหนึ่งปรกติมีสิบพระสูตรมีอยู่เพียงวรรคเดียวเท่านั้น คือ อุปริปัฌณาสที่มีสิบสองพระสูตร รวมเป็น ๑๕๒ พระสูตร          ๒๓/๑๔๗๐๘
                ๔๓๒๘. มัชฌิมประเทศ  มีบทนิยามว่า "ประเทศอินเดียตามแบบหมายถึงอินเดียตอนกลาง" ชมพูทวีปนั้น แบ่งออกเป็นสองจังหวัด คือมัชฌิมชนบทหรือมัชฌิมประเทศแปลว่า ประเทศกลาง ภายนอกเรียกว่าปัจจันตชนบท หรือปัจจันตประเทศ แปลว่าประเทศปลายแดน        ๒๓/๑๔๗๑๑
                ๔๓๒๙. มัชฌิมาปฏิปทา  แปลตามรูปคำว่า ทางสายกลาง ในทางพระพุทธศาสนาหมายถึงทางปฏิบัติหรือทางดำเนินไปเพื่อถึงความดับทุกข์ หรือทางปฏิบัติหรือดำเนินไปเพื่อบรรลุถึงโลกุตรธรรม คือ มรรคผล นิพพาน  (ดู มรรค ลำดับที่ ๔๑๗๙...ประกอบด้วย)          ๒๓/๑๔๗๑๒
                ๔๓๓๐. มัชปาหิต  เป็นชื่ออาณาจักรหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอำนาจอยู่ระหว่างปี พ.ศ.๑๘๓๖ - ๒๐๖๓ มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ชวาภาคตะวันออก (ใกล้เมืองสุราบายาในปัจจุบัน) แผ่อิทธิพลไปครอบครองดินแดนที่เป็นหมู่เกาะอินเดียตะวันออกทั้งหมดยกเว้นเกาะซิลิเบสภาคเหนือ และข้ามฟากมาครอบงำรัฐต่าง ๆ ในแหลมและคาบสมุทรมลายู รวมทั้งปัตตานี ซึ่งขณะนั้นเรียกว่าลังกาสุกะ และกลันตัน
                    มีหลักฐานหลายแห่งกล่าวถึงความเป็นมาของอาณาจักรมัชฌปาหติ คือ ก่อนเกิดอาณาจักรนี้ในชวาตะวันออก มีรัฐหรืออาณาจักรเล็ก ๆ หลายอาณาจักร แต่อาณาจัรที่มีอานุภาพมากที่สุดได้แก่ อาณาจักรสิงหัตส่าหรี ซึ่งพระเจ้าเกนอังรกทรงตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๑๗๖๓ สามารถปราบอาณาจักรจงคละและอาณาจักรกะฑิริได้สำเร็จ ต่อมาในสมัยพระเจ้ากฤตนคร (พ.ศ.๑๘๑๑ - ๑๘๓๕) ร่วมสมัยกับพ่อขุนรามคำแหง ฯ แห่งกรุงสุโขทัยเป็นกษัตริย์ชวาองค์แรก ที่ยกกองทัพไปปราบอาณาจักรศรีวิชัยที่สุมาตราได้ และได้ยึดครองบางส่วนของเกาะสุมาตราตีได้เกาะบาหลี มะทุราส่วนหนึ่งของเกาะบอร์เนียว และเกาะใกล้เคียงอื่น ๆ และเริ่มมีสงครามกับไทยเรื่องอำนาจอธิปไตยเหนือช่องแคบมะละกาด้วย
                    ในปีสุดท้ายแห่งรัชกาลนี้ คณะทูตจีนจากราชสำนักจีน (จักรพรรดิ์กุบไล่ข่าน) ได้มาทวงเครื่องบรรณาการ (จิ้มก้อง) พระเจ้ากฤตนครทรงพิโรธให้จับตัวราชทูตมาตัดหู และกรีดหน้าแล้วปล่อยตัวไป หลังจากนั้นไม่นานเจ้าชายชัยขัตวงศ์แห่งกะฑิริได้ก่อการขบถยึดอำนาจไว้ได้ พระเจ้ากฤตนครสิ้นพระชนม์ในที่รบ ระเด่นวิชัยราชบุตรเขยของพระองค์ หนีภัยไปซ่องสุมผู้คนอยู่ที่มัชปาหิต
                    ในปี พ.ศ.๑๘๓๖ จักรพรรดิ์กุบไล่ข่ายได้ส่งกองเรือมาแก้แค้น ระเด่นวิชัยได้เข้าร่วมกับกองทัพจีน ยกกำลังเข้าล้อมอาณาจักรสิงหัตสาหรีปราบเจ้าชายชัยขัตวงศ์ได้แล้วระเด่นวิชัยได้ระดมกำลังขับไล่ทหารจีนออกไปจากชวาได้ แล้วขึ้นครองราชย์สืบแทน แต่ได้ย้ายราชธานีไปสร้างราชธานีใหม่ ณ ที่ตั้งค่ายมัชปาหิตเรียกอาณาจักรใหม่ว่าอาณาจักรมัชปาหิต ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๓๖
                    ไทยห็นมัชปาหิตแผ่อำนาจเข้ามาแย่งเมืองอาเจ ซึ่งเป็นของไทยในเกาะสุมาตราจึงส่งกองทัพไปรบมัชปาหิต เมื่อปี พ.ศ.๑๘๓๘ สงครามได้ยุติลงเพราะพระเจ้ากรุงจีนขอไว้
                    ต่อมามัชปาหิตได้ยกกองทัพไปสุมาตรา และเข้าตีเมืองอาเจอีก กองทัพเรือไทยจึงยกลงไปตีเกาะชวา เมื่อปี พ.ศ.๑๘๔๙ ในการสงครามครั้งนั้นไทยได้ทิ้งปืนใหญ่ไว้สองกระบอก
                    อาณาจักรมัชปาหิตมีกษัตริย์ปกครองเจ็ดองค์ ต่อมาได้มีการก่อการขบถจนกลายเป็นสงครามกลางเมืองยืดเยื้อ ทำให้อำนาจของอาณาจักรมัชปาหิต อ่อนกำลังลงรัฐต่าง ๆ ที่เคยอยู่ในอำนาจต่างก็ตั้งตัวเป็นอิสระ เจ้าชายปรเมศวรได้อพยพลี้ภัยไปสร้างเมืองมะละกาขึ้นที่แหลมมลายู การขบถสงบลงโดยพระเจ้ายูโล แห่งราชวงศ์เหม็ง ส่งแม่ทัพเช็งโหยกกองทัพเรือไปปราบจับหัวหน้าขบถประหารชีวิต
                    อาณาจักรมัชปาหิตเสื่อมสลายไปเพราะอาณาจักรมะละกา ซึ่งเข้ารีตศาสนาอิสลามแล้วยกกองทัพไปรุกรานมัชปาหิต เมื่อปี พ.ศ.๒๐๒๑ โอรสของกษัตริย์โบนัง ผู้เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของมัชปาหิต พร้อมด้วยเจ้านาย และบริหารได้ลี้ภัยไปอาศัยอยู่ในเกาะบาหลี และได้สกัดกั้นไม่ให้ศาสนาอิสลาม แผ่เข้าไปในเกาะนั้นได้สำเร็จ          ๒๓/๑๔๗๑๒
                ๔๓๓๑. มัญจาคีรี  อำเภอขึ้น จ.ขอนแก่น ภูมิประเทศเป็นที่ราบต่ำ อ.มัญจาคีรีเดิมตั้งที่ว่าการอยู่ที่ บ.หัวนา จ.จระเข้ อ.เมือง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๑๙ ได้ย้ายไปตั้งที่ บ.สวนหม่อน ในปี พ.ศ.๒๔๓๐ ย้ายไปตั้งที่ ต.กุดเค้า แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น อ.กุดเค้า มาเปลี่ยนชื่อเป็น อ.มัญจาคีรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑          ๒๓/๑๔๗๑๖
                ๔๓๓๒. มัญชูคีรี  เป็นพระโพธิสัตว์ผู้เป็นเจ้าแห่งปัญญา ทรงมีหน้าที่พาผู้ที่โง่เขลาเบาความรู้ให้เข้าถึงความเห็นแจ้ง และความหลุดพ้น ตามความในพระสูตรสำคัญของมหายานสองพระสูตรคือ สัทธรรมปุณทริกสูตร และไภสัชคุรุไวทูรย์ประภาตภาคตสูตร เมื่อกล่าวถึงเรื่องพระพุทธเจ้าขณะจะแสดงธรรมข้อใด มักตรัสผ่านพระปัญชุคศรี (แทนที่จะตรัสผ่านพระอานนท์ตามทฤษฎีของฝ่ายเถรวาท)
                พระโพธิสัตว์มัญชูศรี ปรากฎอยู่ในจำนวนพระโพธิสัตว์องค์สำคัญของมหายานอีกหกองค์คือ กวนอิม (อวโลกิเตศวร) มหาสถามปราปต์ ศรีอาริยเมตไตรย สมันตภัทร กษิติครรภ และวชิรปาณี
                ภายในพุทธสถานของมหายาน มีรูปวาดและปฎิมากร ของพระมัญชูศรี ซึ่งนิยมวาดและสร้างส่วนใหญ่ เป็นรูปพระศากยมุนีประทับเป็นประธาน ข้างซ้ายมีพระมัญชูศรี ซึ่งหมายถึง พระปัญญาบารมี หรือพระปัญญาคุณ ข้างขวามีพระโพธิสัตว์ สมันตภัทร ซึ่งหมายถึง ตัวพระเมตตาบารมี หรือพระเมตตาคุณ เมื่อรวมพระศากยมุนี ซึ่งหมายถึง พระบริสุทธิคุณ ด้วย จึงรวมเป็นพระคุณสาม ให้เห็นพร้อมในคราวเดียวกัน         ๒๓/๑๔๗๑๗
                ๔๓๓๓. มัณฑเล  เป็นเมืองใหญ่ลำดับสองของประเทศพม่าเป็นเมืองหลวงเมืองสุดท้าย ของราชวงศ์อลองพญาอันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศ และเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม พระเจ้ามินดงสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๐ เมืองนี้ตั้งอยู่ตอนกลางของลุ่มแม่น้ำอิรวดีอยู่เหนือกรุงย่างกุ้งประมาณ ๖๐๐ กม. เมื่อพม่าเสียเอกราชให้แก่อังกฤษ ในปี พ.ศ.๒๔๒๙ ย่างกุ้งก็ได้เป็นนครหลวงแทน          ๒๓/๑๔๗๒๑
                ๔๓๓๔. มัตสยปุราณะ  (ดูปุราณะ - ลำดับที่ ๓๕๗๘)          ๒๓/๑๔๗๒๖
                ๔๓๓๕. มัตสยาวตาร  (ดูนารายณ์สิบปาง   ลำดับที่ ๓๘๖๒,๓๘๖๓)         ๒๓/๑๔๗๒๖
                ๔๓๓๖. มัทนพาธา - เรื่อง  เป็นชื่อวรรณคดีเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ มัทนพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์เรื่องแรก และเรื่องเดียวของไทย ที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ให้เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗
                    เนื้อเรื่องของมัทนพาธาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงวางรูปเรื่องขึ้นโดยอัตโนมัติมิได้ทรงนำมาจากเรื่องใด ๆ ทั้งสิ้นเป็นต้นตำนานดอกกุหลาบ ทรงวางเรื่องให้นางเอกเป็นนางฟ้า ที่ถูกสาปลงมาเป็นดอกกุหลาบในโลกมนุษย์ผู้สาปนางคือ สุเทษณ์เทพบุตร เนื่องจากหลงรักนางมาแต่ชาติปางก่อน ครั้นมาเกิดเป็นเทพบุตรก็ยังรักนางอีกแต่นางไม่รักตอบ          ๒๓/๑๔๗๒๖
                ๔๓๓๗. มัทรี ๑ - พระนาง  เป็นพระมเหสีของพระเวสสันดรเป็นพระราชธิดาแห่งราชวงศ์มาตุละ พระนางมีพระโอรสหนึ่งองค์พระนามว่าพระชาลี มีพระธิดาหนึ่งองค์พระนามว่าพระกัณหา
                    เมื่อพระเวสสันดรถูกเนรเทศไปอยู่เขาวงกต พระนางมัทรีพร้อมด้วยพระชาลี และพระกัณหาได้ติดตามไปอยู่ด้วย เวลาจริงไปเจ็ดเดือนพราหมณ์ชูชก ได้ติดตามขอพระราชทานพระชาลี และพระกัณหาจากพระเวสสันดรไปเป็นทาสรับใช้ พระเวสสันดรก็ได้พระราชทานสองกุมารให้ไป
                    ท้าวสักเทวราชทรงดำริว่า เมื่อพระเวสสันดรพระราชทานสองกุมารแก่ชูชกไปแล้ว ถ้ามีใครมาทูลของพระนางมัทรีอีก พระองค์ก็จะทรงพระราชทานให้ ท้าวสักเทวราชจึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ ไปทูลพระนางมัทรีเสียก่อน เมื่อพระเวสสันดรพระราชทานให้แล้ว เพื่อมิให้พระองค์พระราชทานแก่ใครอีก
                    ภายหลังพระเวสสันดร พระนางมัทรีพร้อมด้วยพระชาลี พระกัณหาก็ได้กลับไปอยู่ร่วมกันในนครสีพีอย่างสุขสำราณในพระชาติสุดท้าย พระนางมัทรีได้กลับชาติมาเกิดเป็นพระนางยโสธราพิมพา (ดูยโสธรา - ลำดับที่... ประกอบ)           ๒๓/๑๔๗๒๗
                ๔๓๓๘. มัทรี ๒  เป็นชื่อกัณฑ์ที่เก้าของเรื่องมหาชาติว่าด้วย เรื่องพระนางมัทรีเข้าป่าหาผลไม้ขณะเดินทางกลับ เทพบุตรสามองค์จำแลงกายเป็นสัตว์ร้าย มาขวางทางไว้ไม่ให้กลับทันขณะที่พราหมณ์ชูชกพาสองกุมารไป          ๒๓/๑๔๗๓๐
                ๔๓๓๙. มัธยมประเทศ  (ดูปัจจันตประเทศ  ลำดับที่ ๓๔๕๘))          ๒๓/๑๔๗๓๓
                ๔๓๔๐. มัธยมศึกษา  เป็นการศึกษาหลังระดับประถมศึกษา หรือระหว่างประถมศึกษากับอุดมศึกษา กำหนดเวลาเรียนหกปี มีจุดมุ่งหมาย ให้ผู้เรียนมีความรู้ทางวิชาการ และวิชาชีพที่เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจและความถนัด เพื่อให้แต่ละบุคคลเข้าใจ และรู้จักเลือกวิชาชีพที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง และสังคม แบ่งการศึกษาออกเป็นสองตอน คือ มัธยมตอนต้นกับมัธยมศึกษาตอนปลายใช้เวลาเรียนตอนละสามปี ผู้เรียนในระดับนี้ ต้องเป็นโสดแต่ไม่กำหนดอายุผู้เรียน
                การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาคุณภาพชีวิต และการศึกษาต่อให้สามารถเลือกแนวทาง ที่จะทำประโยชน์ให้กับสังคม ตามบทบาทและหน้าที่ของตน ในฐานะพลเมืองดี โดยให้ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะเพียงพอที่จะเลือก และตัดสินใจประกอบสัมมาชีพ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และครองชีวิตโดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อสังคม
                การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการเพิ่มเติมจากตอนต้นโดยให้ผู้เรียนได้พัฒนาเชาวน์ปัญญา มีความรู้และทักษะเฉพาะด้านตามศักยภาพ เป็นช่องทางในการประกอบอาชีพ รวมพัฒนาสังคมด้วยแนวทาง และวิธีการใหม่ ๆ และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
                คำว่า มัธยมศึกษาเริ่มปรากฎเป็นครั้งแรก ในประวัติการศึกษาไทยในร่างโครงการศึกษา พ.ศ.๒๔๔๑ ซึ่งพระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ ร่างขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ และได้มีวิวัฒนาการดังนี้
                พ.ศ.๒๔๔๑ เป็นการศึกษาประเภทสามัญเรียกว่า การเล่าเรียนเบื้องกลาง กำหนดเวลาเรียนสี่ปี อายุผู้เรียนตั้งแต่ ๑๔ - ๑๗ ปี
                พ.ศ.๒๔๔๕  ใช้เวลาเรียนแปดปี ผู้เรียนจะต้องมีอายุไม่เกิน ๑๕ ปี
                พ.ศ.๒๔๕๖  ใช้เวลาเรียนแปดปี แบ่งเป็นมัธยมศึกษาตอนต้นสามปี ตอนกลางสามปี และตอนปลายสองปี
                พ.ศ.๒๔๖๔  แบ่งเป็นมัธยมศึกษาสามัญ และมัธยมศึกษาวิสามัญ มัธยมศึกษาสามัญแบ่งออกเป็นตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย รวมแปดปี ส่วนมัธยมศึกษาวิสามัญจัดเป็นสามชั้น ถึงชั้นต่ำ ชั้นกลาง และชั้นสูง
                พ.ศ.๒๔๗๑  ปรับปรุงหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาเรียนสองปี โดยแยกเป็นสามแผนก ถึงแผนกกลาง สอนวิชาทั่วไป แผนกภาษาสอนหนักไปทางภาษาต่างประเทศคือ ให้เรียนภาษาอังกฤษ และเลือกเรียนภาษาฝรั่งเศส หรือภาษาเยอรมัน หรือภาษาจีน และแผนกวิทยาศาสตร์ สอนหนักไปทางวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
                พ.ศ.๒๔๗๕ ชั้นมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองตอนคือ ตอนต้นสี่ปี (ม.๑ - ม.๔) ตอนปลายสี่ปี (ม.๕ - ม.๘)  ในตอนปลายแบ่งเป็นสี่แผนก เป็นสายสามัญสองแผนกคือ แผนกอักษรศาสตร์ และแผนกวิทยาศาสตร์ สายวิสามัญสองแผนกคือ แผนกกสิกรรม พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และแผนกวิชาช่างฝีมือ
                พ.ศ.๒๔๗๙  ลดการศึกษาระดับมัธยมเหลือหกปี แบ่งเป็นสองตอนคือ ตอนต้นสามปี (ม.๑ - ม.๓) ตอนปลาย (ม.๔ - ม.๖)  ส่วนมัธยมศึกษาปีที่ ๗ - ๘ เรียกใหม่ว่า ชั้นเตรียมอุดมศึกษา มีจุดมุ่งหมายว่าเมื่อจบแล้ว จะไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
                พ.ศ.๒๔๙๑  แบ่งหลักสูตรระดับเตรียมอุดมศึกษาออกเป็นสองแผนกคือ แผนกอักษรศาสตร์ และแผนกวิทยาศาสตร์
                พ.ศ.๒๔๙๔  ชั้นมัธยมศึกษาแบ่งเป็นสามสายคือ มัธยมสามัญศึกษา มัธยมวิสามัญศึกษา และมัธยมอาชีวะศึกษา ทั้งสามสายมีตอนต้นและตอนปลาย ตอนละสามปึ
                พ.ศ.๒๕๐๓  แบ่งเป็นสองตอนคือ ตอนต้นแบ่งเป็นสายสามัญสามชั้น (ม.ศ.๑ - ม.ศ.๓) และสายอาชีพ ๑ - ๓ ชั้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งแบ่งเป็นสองสายคือ สายสามัญสองชั้น  (ม.ศ.๔ - ฒ.ศ.๕) และสายอาชีพ ๑ - ๓ ชั้น
                พ.ศ.๒๕๑๐  ใช้หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธบมแบบประสม กำหนดเวลาเรียนสามปี (ม.ศ.๑ - ม.ศ.๓)  หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายสองปี (ม.ศ.๔ - ม.ศ.๕)
                พ.ศ.๒๕๑๘  หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายสองปี (ม.ศ.๔ - ม.ศ.๕) มีวิชาบังคับและวิชาเลือก เพื่อให้ผู้เรียนศึกษาต่อในชั้นอุดมศึกษา หรือออกไปประกอบอาชีพ
                พ.ศ.๒๕๒๑  แบ่งหลักสูตรออกเป็นสองตอนคือ ตอนต้นสามปี (ม.๑ - ม.๓) และตอนปลายสามปี (ม.๔ - ม.๖)
                พ.ศ.๒๕๒๔ ประกาศใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาเรียนสามปี (ม.๔ - ม.๖) วิชาที่เรียนแบ่งเป็นวิชาบังคับ และวิชาเลือก  หน้า ๑๔๙๓๓
                ๔๓๔๑. มัน ๑  เป็นชื่อที่ใช้เรียกไม้เถา หรือไม้ต้นหลายสกุล และหลายวงศ์ที่หัวใช้เป็นอาหารได้ และยังใช้เรียกหัว หรือผลผลิตของหัวที่นำมาบริโภค
                    มันเป็นพืชทีส่วนของราก หรือเหง้า หรือลำตัน ขยายตัวเป็นที่สะสมอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ที่พืชสังเคราะห์ขึ้น โดยอาศัยคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ แสงแดด และอาหารพวกแร่ธาตุต่าง ๆ มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตมากน้อยแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด การขยายพันธุ์ทำได้หลายวิธี คือใช้ตาที่หัวซึ่งมีราก เช่น มันเสา มันมือเสือ ใช้หัวขยายพันธุ์ เช่น มันฝรั่ง มันสำปะหลังใช้ลำต้น ซึ่งมีตาออกรากขยายพันธุ์ มันเทศใช้เถา หรือหัว หรือเมล็ดขยายพันธุ์ได้
                    มันที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ มันสำปะหลังซึ่งจัดเป็นอาหารที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ทั่วโลกใช้เป็นทั้งอาหารหลักโดยตรงของมนุษย์ เลี้ยงสัตว์และในกิจการอุตสาหกรรม
                      มันสำปะหลัง  เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ ๑ - ๕ เมตร มีอายุหลายปี ใบเดี่ยว เวียนสลับรอบลำต้น ดอกเป็นดอกตัวผู้และตัวเมียร่วมต้น แต่แยกอยู่คนละดอกในช่อเดียวกัน ช่อดอกเป็นแบบช่อรวม ออกที่จุดแตกกิ่งที่ยอดของต้น ผลเป็นแบบผลตะแบก
                        ระบบรากมีสองชนิดคือ รากจริงเจริญเติบโตไปทางด้านลึกใช้ยึดเหนียว และหาอาหารให้แก่ต้น ส่วนรากสะสมเจริญเติบโตไปทางด้านข้างรอบ ๆ ต้น เมื่อต้นอายุได้ ๒ - ๓ เดือน รากสะสมจะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรียกว่า หัว
                        ทุกส่วนของมันสำปะหลังมียางเป็นของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนม เป็นพิษอย่างร้ายแรง จึงไม่ควรกินมันสำปะหลังดิบ
                      มันเทศ  เป็นไม้เถา ลำต้นทอดไปตามพื้นดินตามลำต้น และใบมียางสีขาว มีเหง้าใต้ดิน ใบมีรูปร่างหลายแบบ ดอกออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อมี ๒ - ๓ ดอก ผลรูปไข่เกลี้ยง ๆ เมล็ดค่อนข้างกลมเกลี้ยง
                        เหง้าเป็นหัวใต้ดินมีสีขาวผองหรือสีม่วง กินเป็นอาหาร และทำเป็นแป้งได้หัวมันเทศตำให้ละเอียดพอกแผลเริม งูสวัดและถอนพิษได้
                      มันฝรั่ง เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นกิ่งตั้งตรงสูง ๔๕ - ๗๕ ซม. ใบประกอบรูปรีปลายแหลม ๒ - ๔ คู่ ดอกมีห้ากลีบ สีของดอกขึ้นอยู่กับพันมีทั้งขาว ชมพู หรือชมพูอมม่วง หัวมีลักษณะกลม หรือรีแบบทรงกระบอก ผิวสีขาว สีแดง หรือม่วง เนื้อสีขาวออกเหลือง หัวมันฝรั่งเป็นอาหารหลัก ที่มีความสำคัญของประเทศในยุโรป มีคุณค่าทางอาหารสูง มีทั้งโปรตีน วิตามินซี และวิตามินบี
                      มันแกว  เป็นไม้เถามีใบย่อยสามใบ ดอกเหมือนพืชตระกูลถั่ว ใบมีสารเป็นพิษ ใช้ทำปุ๋ยพืชสดได้ ดอกสีม่วง หรือสีขาว ระบบรากของมันแกวลึก รากส่วนที่ขยายโป่งออกเป็นหัว มีรสหวานกินได้ ต้นหรือเถาใช้ทำเส้นใยได้ ในต้นมียางเป็นพิษ เมื่อถูกมือทำให้มือเปื่อย และคันใช้เบื่อปลาได้ เมล็ดมีพิษมาก แต่ใช้เป็นสารกำจัดแมลงได้
                      มันกลอย  เป็นไม้เถามีหนาม ใบประกอบมีสามใบย่อย ช่อดอกมีขนาดใหญ่ดอกเล็กสีเหลืองอ่อน มีหัวกลมใหญ่อยู่ใต้ดิน หัวเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุหนึ่งปี เปลือกสีครีม เนื้อในหรือแป้งสีขาวถึงสีเหลืองอ่อน หัวค่อนข้างใหญ่หนัก ๕ - ๑๖ กก. หัวดิบมีพิษ เมื่อเมาต้องนำหัวมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แช่น้ำปูน แล้วชะล้างในน้ำที่ไหลประมาณ ๓ - ๔ วัน เพื่อล้างสารพิษออกจึงกินได้ แป้งมีสมบัติพิเศษตรงที่คงความเหนียวหนืดได้ เมื่อให้ความร้อนนาน ๆ
                      มันมือเสือ  เป็นไม้เถาที่ลำต้นพันไปทางซ้าย มีหนามมากบริเวณโคนต้น บริเวณข้อและข้างโคนก้านใบ ใบออกแบบสลับรูปหัวใจ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย แยกอยู่ต่างต้นกัน ผลเป็นแบบผลตะแบกมีสามแฉก เมล็ดขนาดเล็กเกรน มีปีกโดยรอบ หัวมักมีสี่หัว หรือมากกว่า รูปร่างกลมยาว หรือค่อนข้างแบนเล็กน้อย ขอบหยักเว้าเป็นแว่ง คล้ายมือเสือ เปลือกนอกบางสีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลเทา มีรากแข็งคล้ายเสี้ยน เนื้อในสีขาวกินได้          ๒๓/๑๔๗๔๖

    • Update : 27/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch