หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สารานุกรมไทยฉบับย่อ/121
    ๔๒๐๔. มหาชนะชัย - อำเภอ  ขึ้น จ.ยโสธร ภูมิประเทศเป็นทุ่งนากับป่าดอนปนคละกันเป็นตอน ๆ มีแม่น้ำชีไหลผ่านท้องที่
                        อ.มหาชนะชัย เป็นเมืองเก่า เดิมเป็นเพียงหมู่บ้านเรียกว่า บ้านเสินชัย  ในรัชกาลที่สี่โปรดให้ยกบ้านเสินชัย เป็นเมืองมหาชนะชัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๖ แล้วยุบเป็น อ.มหาชนะชัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ เปลี่ยนชื่อเป็น อ.ฟ้าหยาดอยู่คราวหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ และเปลี่ยนชื่อเป็น อ.มหาชนะชัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑        ๒๒/ ๑๔๒๘๗
                ๔๒๐๕. มหาชมพู  (ดูชมพู - ท้าวมหา  ลำดับที่ ๑๖๓๒)       ๒๒/ ๑๔๒๘๘
                ๔๒๐๖. มหาชาติ  เป็นคำที่ใช้เรียกเรื่องเวสสันดรชาดก และเรียกการเทศน์เวสสันดรชาดกว่า เทศน์มหาชาติ มหาชาติ หมายถึง พระชาติ (การเกิด) อันยิ่งใหญ่  เพราะว่าพระโพธิสัตว์ซึ่งได้เสวยพระชาติในกำเนิดของพระเวสสันดร อันเป็นพระชาติสุดท้าย ก่อนที่จะกลับชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้านั้น ได้ทรงบำเพ็ญทานอันเป็นบารมี
    สูงสุด ทรงบำเพ็ญบารมีสิบครบบริบูรณ์ในพระชาตินี้
                         เรื่องมหาชาติเดิมแต่งเป็นคาถาภาษาบาลีมีจำนวนหนึ่งพันคาถา ในสมัยก่อนพุทธศาสนิกชนชาวไทย ก็คงจะใช้คัมภีร์ชาดกภาษาบาลีเทศน์ และสวดกันเรียกว่า เทศน์คาถาพัน  ต่อมาจึงมีผู้แปลออกเป็นภาษาไทย และมีการแต่งเป็นร้อยกรองจนเกิดมีมหาชาติในพากย์ภาษาไทยสำนวนต่าง ๆ หลายสำนวน และแบ่งเป็นหลายตอน แต่ละตอนเรียกว่ากัณฑ์มีทั้งหมดสิบสามกัณฑ์ คือทศพร หิมพานต์ ทานกัณฑ์ วนปเวสน์ ชูชก จุลพน มหาพน กุมาร มัทรี สักบรรพ มหาราช ฉกษัตริย์ และนครกัณฑ์
                        หนังสือมหาชาติฉบับแปลเป็นภาษาไทยที่จัดว่าเก่าแก่ที่สุดคือ มหาชาติคำหลวง แต่งโดยนำคาถาภาษาบาลีบาทหนึ่งมาเป็นบท ตั้งแล้วแปลเป็นคำร้อยกรองภาษาไทยวรรคหนึ่ง สลับกันไป แต่งขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ.๒๐๒๕ ส่วนมหาชาติที่ใช้เทศน์กันอยู่ทุกวันนี้เป็นมหาชาติกลอนเทศน์ แต่งโดยวิธีนำทั้งคาถา และอรรถกถาภาษาบาลีมาตั้งไว้แล้ว แต่งความภาษาไทยเป็นแบบร่ายยาวต่อ
                        การเทศน์มหาชาติแต่เดิมไม่ปรากฎหลักฐานว่า นิยมมีเทศน์ในฤดูกาลใด แต่ถือเป็นประเพณีสำคัญที่จำเป็นต้องมีทุกปีจะขาดเสียมิได้ ปัจจุบันในกรุงเทพ ฯ นิยมมีเทศน์มหาชาติ เมื่อเทศกาลจะออกพรรษา ส่วนตามหัวเมืองมีเทศน์เมื่อออกพรรษาแล้ว การเทศน์มหาชาติที่ครบพิธีจะต้องเทศน์คาถาพันก่อนแล้วจึงเทศน์มหาชาติจบแล้ว จึงมีเทศน์อริยสัจ ดังนั้นการมีเทศน์มหาชาติ จึงมักใช้เวลาอย่างน้อยสามวัน       ๒๒/ ๑๔๒๘๘
                ๔๒๐๗. มหาดไทย - กระทรวง  เป็นกระทรวงที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
                        ในการปฏิรูปการปกครองประเทศใหม่ให้เป็นแบบอย่างอารยประเทศ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๕ ได้มีการจัดตั้งกระทรวงขึ้นสิบสองกระทรวง กระทรวงมหาดไทย เป็นกระทรวงหนึ่งที่สถาปนาขึ้นมีหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน และยังต้องสนองงานของกระทรวงอื่น ๆ อีกทุกกระทรวง      ๒๒/ ๑๔๒๙๔
                ๔๒๐๘. มหาดเล็ก  มีบทนิยามว่า "ข้าราชการในพระราชสำนัก มีหน้าที่รับใช้พระเจ้าแผ่นดินผู้รับใช้ประจำเจ้านาย หรือผู้ที่ถวายตัวเป็นผู้รับใช้เจ้านาย
                        มหาดเล็กมีมาตั้งแต่โบราณกาล พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน  ซึ่งได้ตราขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๓๑) ได้กำหนดศักดินามหาดเล็กไว้ เช่น นายศักดิ์ นายฤทธิ์ นายสิทและนายเดชศักดินา ๘๐๐ นายจ่าเรศ นายจ่ายง นายจ่ารง และนายจ่ายวดศักดินา ๖๐๐
                        ใน พ.ร.บ.กรมมหาดเล็ก ร.ศ.๑๑๒ ได้แบ่งมหาดเล็กเป็นสี่จำพวกคือ
                            ๑. มหาดเล็กบรรดาศักดิ์ ได้แก่ บรรดามหาดเล็กที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร
                            ๒. มหาดเล็กวิเศษ ได้แก่ บรรดาบุตรข้าราชการที่ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก
                            ๓. มหาดเล็กคงกรมได้แก่ บรรดามหาดเล็กจำพวกต่าง ๆ และคนจำพวกที่จางวางหัวหมื่น และนายเวรจัดขึ้นรับราชการ และบรรดาคนที่ไม่ได้ถวายตัว
                            ๔. มหาดเล็กยาม ได้แก่ บรรดามหาดเล็กที่จางวางคัดเลือกจากมหาดเล็กวิเศษ หรือมหาดเล็กคงกรม ที่มีคุณวุฒิสมควรรับราชการได้ยกขึ้นเป็นมหาดเล็ก ประจำการเข้าเวรรับราชการที่ได้รับพระราชทานเงินเดือน
                            นอกจากมหาดเล็กดังกล่าวแล้ว ยังมีมหาดเล็กอีกพวกหนึ่งเรียกว่า มหาดเล็กไล่กา เป็นพนักงานคอยช่วยไล่กา ณ ที่ทรงบาตร
                            ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.๒๔๗๕ กรมมหาดเล็กถูกลดฐานะลงมาเป็นกองมหาดเล็ก สังกัดสำนักพระราชวัง ข้าราชการมหาดเล็ก มีฐานะเป็นข้าราชการพลเรือน       ๒๒/ ๑๔๒๙๘
                ๔๒๐๙. มหาดเล็กรายงาน  มีบทนิยามว่า "มหาดเล็กซึ่งมีหน้าที่รายงานการสร้างวัดหรือคนเจ็บป่วย, ชื่อตำแหน่งข้าราชการชั้นฝึกหัดในหัวเมือง"
                       มหาดเล็กรายงาน เป็นข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งมาแต่สมัยอยุธยา  ต่อมาในรัชกาลที่ห้าได้มีการจัดตั้ง สำนักฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือนขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๔๒ นักเรียนที่สอบไล่ได้เลื่อนชั้นไปเรียนชั้นปีที่สอง และทางราชการได้นำขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็ก เมื่อเปิดสอนจนสิ้นปีที่สองแล้ว ก็ได้ส่งนักเรียนออกไปเป็น ผู้ตรวจการครั้งแรกหกคน สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  โปรดให้เรียกผู้ตรวจการณ์ เหล่านี้ตามแบบโบราณว่า มหาดเล็กรายงาน ให้สมุหเทศาภิบาล มอบให้ไปทำการในหน้าที่ปลัดอำเภอ เมื่อทำงานอยู่ประมาณไม่เกินหนึ่งปี ก็มีความชำนาญ พอจะรับราชการในตำแหน่งข้าราชการชั้นสัญญาบัตร เช่น เป็นนายอำเภอได้ ก็ให้ออกจากรมมหาดเล็ก ไปเป็นข้าราชการกระทรวงมหาดไทย แต่ยังไม่ได้รับสัญญาบัตรชั้นขุนนาง อยู่อีกราวสองปี จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรชั้น "ขุน"       ๒๒/๑๔๓๐๕
                ๔๒๑๐. มหาตมคานธี  เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๒ ในรัฐราชโกฏ ประเทศอินเดียด้านตะวันตก เมื่ออายุ ๑๓ ปีได้แต่งงาน อายุ ๑๘ เดินทางไปศึกษาวิชากฎหมาย ณ ประเทศอังกฤษ
                        ระหว่างอยู่ประเทศอังกฤษคานธีได้มีโอกาสอ่านหนังสือภควัทคีตา คัมภีร์ของชาวฮินดู ได้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิล หนังประทีปแห่งทวีปอาเชียเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ และหนังสืออีกเล่มหนึ่งในบทที่ว่า ด้วยศาสดาพยากรณ์แห่งศาสนาอิสลาม คานธีพยายามศึกษาคำสอนในศาสนาฮินดู คริสต์ พุทธ และอิสลาม เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจ  ในคำสอนของศาสนา เหล่านี้อย่างถ่องแท้
                        เมื่อกลับประเทศอินเดียในปี พ.ศ.๒๔๓๕ หลังจากสอบได้เป็นเนติบัณฑิตอังกฤษแล้ว ต่อมาได้มีโอกาสไปประเทศแอฟริกาใต้ได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้น ซึ่งได้เปลี่ยนชีวิตของคานธีโดยสิ้นเชิง อนุสนธิแห่งเหตุการณ์นี้เกิดจากอำนาจแห่งความรู้สึกเหยียดผิว และนับจากนั้นมา คานธีก็ได้อุทิศตนเข้าต่อสู้ เพื่อสิทธิในฐานะเป็นมนุษย์ของชาวอินเดียในแอฟริการใต้
                        ในปี พ.ศ.๒๔๕๘ คานธีเดินทางกลับประเทศอินเดีย  เมื่อถึงเมืองบอมเบย์คานธีได้เปลี่ยนไป เป็นอีกคนหนึ่งโดยสิ้นเชิง คานธีได้หันมาใช้เสื้อผ้าแบบพื้นเมือง ของชาวคชราต (คุชราฐ - ลำดับที่ ๑๐๘๐ เพิ่มเติม) อันเป็นถิ่นกำเนิดของคานธี หลังจากนั้นได้ออกเดินทางไปยังภาคต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อศึกษาและรู้เห็นอินเดียอย่างแท้จริง เป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม
                        กฎหมายโรว์ แลตค์ พ.ศ.๒๔๖๒ ซึ่งไม่ยอมให้สิทธิเสรีภาพในฐานะพลเมืองแก่ชาวอินเดีย เป็นต้นเหตุผลักดันคานธี ให้เข้าร่วมขบวนการต่อสู้ เพื่ออิสรภาพของอินเดีย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๒ จนถึงมรณกรรมในปี พ.ศ.๒๔๙๑
                        ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๗ - ๒๔๗๒  ดูเหมือนว่าคานธีจะได้วางมือจากปฏิบัติการทางการเมือง แบบเร่าร้อนและหันไปอุทิศเวลาให้แก่ปัญหาสำคัญ ๆ ของประเทศชาติ เช่น ปัญหาระหว่างฮินดู - มุสลิม ปัญหาการถือชั้นวรรณะ ความเสมอภาคของสตรี และการฟื้นฟูเศรษฐกิจในชนบททั่วไป
                        ในวัน ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๓ คานธีได้ประกาศปฏิญญาอิสรภาพสมบูรณ์ มีประชาชนจำนวนล้าน ๆ ได้สมาทานรับข้อปฏิบัติ ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ คานธีได้กล่าวในที่ประชุมแห่งหนึ่งในเมืองโลซานน์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ว่า เราควรจะพูดว่า "ความจริงคือพระเจ้า" ดีกว่าจะพูดว่า "พระเจ้าคือความจริง"
                        คาธีถูกจับกุมตัวอีกครั้งในปีเดียวกันนี้ และได้อดอาหารประท้วงรัฐบาลอังกฤษ  ในการที่รัฐบาลอังกฤษพยายาม สร้างความแตกแยกให้เกิดแก่มวลชน ด้วยการให้มุสลิม และชนวรรณะต่ำต้อยมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยแยกออกไปเป็นกลุ่มชนต่างหาก การประท้วงครั้งนี้ทำให้อังกฤษต้องเลิกล้มแผนการดังกล่าว
                        เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ คานธีได้กลับมาสู่วงการเมืองอีกครั้ง ในปี พ.ศ.๒๔๘๘ นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ให้คำมั่นสัญญาว่า จะให้อินเดียปกครองตนเองในไม่ช้า คณะผู้แทนของรัฐบาลอังกฤษ ได้เดินทางไปเจรจาการเมืองในอินเดีย แต่ไม่สามารถจะหาทางตกลงกันได้ ระหว่างพรรคคองเกรสกับสันนิบาตมุสลิม
                        ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ รัฐบาลอังกฤษได้เชิญให้นายยวาหะ ระลาล เนห์รู จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว สันนิบาตมุสลิมได้ประกาศ "วันลงมือปฏิบัติการโดยตรง" ยังผลให้เกิดการนองเลือดขนานใหญ่ในเบงกอล  ซึ่งได้ระบาดไประหว่างชุมชนมุสลิม กับฮินดูในหลายจังหวัดในเบงกอลตะวันออก และในแคว้นพิหาร คานธีได้เดินทางไปตามชนบทซึ่งเต็มไปด้วยกลิ่นไอของคาวเลือด และความเคียดแค้น เพื่อให้ชุมชนทั้งสองกลุ่มศาสนายุติการประหัดประหารกัน และหันมาปรองดองกัน
                        ในปี พ.ศ.๒๔๙๐ อุปราชคนใหม่ของอินเดียคือ ลอร์ด เมาแบตแตน  ได้มาเจรจาหาลู่ทางให้ประชาชน ในอนุทวีปได้รับอิสรภาพ ก่อนหน้านี้ได้มีการประชุมกันระหว่างรัฐบาลอังกฤษ กับผู้นำของพรรคคองเกรส และนายจินนาห์ผู้นำสันนิบาตมุสลิม แต่นายจินนาห์ยืนยันให้มีการแบ่งแยกประเทศ คานธีไม่เห็นด้วยโดยประการทั้งปวงที่จะให้มีการแบ่งแยกประเทศ
                        อินเดียถูกแบ่งแยก และเป็นอิสระในวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๐  คานธีปฏิเสธไม่ยอมเข้าร่วม การฉลองอิสรภาพในกรุงเดลี หากได้เดินทางไปยังนครกัลกัตตา ซึ่งเป็นสถานที่ชาวฮินดูกับชาวมุสลิมรบราฆ่าฟันกันอยู่ และประกาศอดอาหารจนกว่าการต่อสู้จะยุติลงซึ่งก็ได้ผล
                        คานธีถูกมาตกรรมในวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๑ ที่กรุงนิวเดลี       ๒๒/ ๑๔๓๐๙
                ๔๒๑๑. พระมหาธรรมราชา ๑  เป็นพระนามของกษัตริย์สี่องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์สุโขทัย หรือราชวงศ์พระร่วง
                         พระมหาธรรมราชาที่หนึ่ง  คือ พญาสิไท หรือพระเจ้าสิไทเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเลอไท มักเรียกกันว่า พระมหาธรรมราชาลิไท เริ่มรัชกาลเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๘๙๐ และสิ้นสุดลงประมาณปี พ.ศ.๑๙๑๗
                        พระมหาธรรมราชาที่หนึ่ง ทรงเป็นนักปราชญ์ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่คราวหนึ่ง ทรงศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉาน และทรงแต่งหนังสือไตรภูมิพระร่วง หรือเตภูมิกถา ซึ่งเป็นหนังสือไทยที่แต่งเก่าก่อนหรืออื่น ๆ นอกจากศิลาจารึกครั้งพระเจ้ารามคำแหง ฯ พระองค์โปรดให้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นหลายองค์ ในกรุงสุโขทัยนับว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงาม ซึ่งในปัจจุบันเรียกกันว่า พระพุทธรูปแบบสุโขทัย ทรงอาราธนาพระเถระชาวลังกาเข้ามาเป็นสังฆราช ณ กรุงสุโขทัย และทรงแบ่งพระสงฆ์ออกเป็นสองฝ่าย คือ คามวาสี คือ พวกที่เล่าเรียนพุทธวจนะ และอรัญวาสีคือ พวกที่เล่าเรียนทางสมถหรือวิปัสนา
                        ทางด้านการปกครอง พระองค์ทรงสร้างถนนพระร่วง ตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัย ผ่านเมืองสุโขทัยจนถึงเมืองกำแพงเพชร สร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) ขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง และบูรณะเมืองนครชุม (กำแพงเพชรฝากตะวันออก) อีกเมืองหนึ่ง
                         พระมหาธรรมราชาที่สอง  มีอีกพระนามว่า ไสลือไท เริ่มรัชกาลเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๙๑๗ สิ้นรัชกาลเมื่อใดไม่ปรากฎ ประมาณกันว่าในปี พ.ศ.๑๙๔๒ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่หนึ่ง (พะงั่ว) ยกกองทัพกรุงศรีอยุธยาไปตีเมืองชากังราว (ตรงข้ามเมืองกำแพงเพชร) ในอาณาเขตกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาที่สองสู้ไม่ได้ออกมายอมแพ้ กรุงสุโขทัยจึงกลายเป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรสุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองอาณาเขต คือ อาณาเขตเหนือและอาณาเขตใต้ อาณาเขตเหนือทางลำแม่น้ำน่าน และแม่น้ำยมมีเมืองสุโขทัย สวรรคโลก พิษณุโลกและพิจิตร พระมหาธรรมราชาที่สองทรงย้ายราชธานีไปอยู่ที่เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัยยังคงมีเจ้าเมืองปกครองตลอดสมัยอยุธยา ส่วนอาณาเขตใต้ตามลำแม่น้ำพิง (ลำน้ำปิง) มีเมืองตาก กำแพงเพชร และนครสรรค์ พระยายุธิษฐิระราชบุตรบุญธรรมของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่หนึ่ง (พะงั่ว) ปกครอง
                         พระมหาธรรมราชาที่สาม  เป็นพระราชโอรสพระมหาธรรมราชาที่สองขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๔๒ - ๑๙๔๖
                         พระมหาธรรมราชาที่สี่  เป็นพระราชโอรสพระมหาธรรมราชาที่สามพระนามเดิมพระยาบาลเมือง ครองเมืองพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๒ - ๑๙๘๑ เมื่อพระองค์สวรรคตในปี พ.ศ.๑๙๘๑ พระราเมศวรราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่สอง (เจ้าสามพระยา) ได้เสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก ในฐานะพระมหาอุปราชเป็นการผนวกอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอาณาจักรอยุธยาครั้งแรก       ๒๒/ ๑๔๓๑๙
                ๔๒๑๒. พระมหาธรรมราชา ๒ - สมเด็จ  พระนามเดิมว่า ขุนพิเรนทรเทพ เป็นผู้ทูลเชิญพระเทียรราชาขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ขุนพิเรนทรเทพ มีเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง และเป็นพระญาติกับสมเด็จพระไชยราชา ได้รับสถาปนาเป็นพระมหาธรรมราช ได้ไปครองเมืองพิษณุโลกบังคับบัญชาหัวเมืองเหนือทั้งปวง และได้รับพระราชทานพระวิสุทธิกษัตริย์ราชธิดาองค์ใหญ่ ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เป็นพระมเหสี
                        เมื่อคราวสงครามกับพระเจ้าตะเบงชเวตี้ในปี พ.ศ.๒๐๙๑ เมื่อทัพพม่ายกกลับไปทางเมืองตาก พระราเมศวรกับพระมหาธรรมราชา คุมทัพติดตามโจมตีกองทัพพม่าล้มตายลงมากมาย แต่ไปเสียที่กลอุบายของพระเจ้าบุเรงนอง เมื่อตามตีไปใกล้กับกองทัพหลวงพม่าที่เมืองกำแพงเพชร กองทัพพม่าจับพระราเมศวร และพระมหาธรรมราชาได้ ฝ่ายไทยต้องขอทำไมตรีกับพม่า โดยมอบช้างชนะงาสองเชือกแลกทั้งสองพระองค์กลับมา
                        ในปี พ.ศ.๒๑๐๖ เมื่อสงครามคราวพม่าขอช้างเผือกอุบัติขึ้นแล้ว พระเจ้าบุเรงนองยกทัพพม่าผ่านเมืองตาก และตีเมืองกำแพงเพชรได้ แล้วมุ่งหน้าเข้าตีเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาถูกล้อมอยู่ในเมืองพิษณุโลก จนหมดเสบียงอาหารต้องยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนอง ผลของสงครามสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ต้องยอมทำไมตรีกับพม่า แต่พระเจ้าบุเรงนอง มีนโยบายที่จะขยายอาณาเขต จึงได้พยายามยุยงให้ชาวไทยแตกสามัคคีกัน ในขั้นแรกยุให้พระมหาธรรมราชาแข็งข้อต่อกรุงศรีอยุธยาอยู่เนือง ๆ และหันไปแจ้งข่าวให้ทราบ ทำให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์รู้สึกอัปยศ และเสียพระทัยเป็นอันมาก จึงเสด็จออกทรงผนวช และมอบราชการบ้านเมืองให้พระมหินทร์ พระราชโอรสองค์ที่สองของพระองค์
                        พระเจ้าบุเรงนองได้สถาปนาพระมหาธรรมราชาเป็นเจ้าฟ้าสองแคว ตามหลักฐานของไทยพระมหาธรรมราชาได้รับการอภิเษกเป็นพระศรีสรรเพชญ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าประเทศราชของพม่า ซึ่งบางที่เรียกกันว่า เจ้าฟ้าพิษณุโลก
                        พระเจ้าบุเรงนองได้เกณฑ์ให้พระมหาธรรมราชา คุมทัพไปเมืองเชียงใหม่ และสมทบกับทัพพม่า เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ.๒๑๑๒ แล้วพระองค์ได้ทำการปราบดาภิเษก เป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ครองราชย์กรุงศรีอยุธยา
                        พระองค์ครองราชย์อยู่ได้ ๒๑ ปี (พ.ศ.๒๑๑๒ - ๒๑๓๓) สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงประกาศอิสระภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๒๗         ๒๒/ ๑๔๓๒๓
                ๔๒๑๓. มหาธาต ๑ - วัด  เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรวิหารมีชื่อเต็มว่า วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ตั้งอยู่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพ ฯ คนทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดมหาธาตุ เป็นวัดโบราณสร้างมาแต่สมัยอยุธยาเดิมเรียกกันว่า วัดสลัก ในปี พ.ศ.๒๓๒๖ ได้รับพระราชทานนามว่า วัดนิพพานาราม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงโปรดให้ทำสังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๑ แต่ก่อนถึงกำหนดการทำสังคายนา ได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วัดพระศรีสรรเพชญ์ดาราม ในปี พ.ศ.๒๓๔๖ ได้เปลี่ยนนามวัดใหม่เป็นวัดมหาธาตุ และเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันในปี พ.ศ.๒๔๓๗           ๒๒/ ๑๔๓๒๙
                ๔๒๑๔. มหาธาตุ ๒ - วัด  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหารตั้งอยู่ที่ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี เป็นวัดที่สร้างมาแต่โบราณ เรียกกันว่า วัดหน้าพระธาตุ แต่ในเอกสารบางแห่งใช้ว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ โดยถือพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือพระพุทธปรางค์ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยขอมเป็นสัญลักษณ์         ๒๒/๑๔๓๓๙
                ๔๒๑๕. มหาธาตุ ๓ - วัด  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหารตั้งอยู่ที่ ต.คลองกระแชง อ.เมือง จ.เพชรบุรี สันนิษฐานว่า คงสร้างมาแต่สมัยสุโขทัย ชาวบ้านเรียกกันมาแต่เดิมว่า วัดหน้าพระธาตุ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง และเปลี่ยนนามวัดเป็นวัดมหาธาตุวรวิหาร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๖       ๒๒/ ๑๔๓๔๐
                ๔๒๑๖. มหาธาตุ ๔ - วัด  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์  สันนิษฐานว่า สร้างเมื่อราวปี พ.ศ.๑๙๒๖ โดยพระเจ้าเพชรบูรณ์ เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ต่อมามีสภาพเป็นวัดร้าง ในช่วงที่เป็นวัดร้างนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เมื่อทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าพระยาจักรี กับสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เมื่อทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ ทรงยกทัพไปรบกับพม่าที่เมืองพิษณุโลก ราวปี พ.ศ.๒๓๑๘ ได้นำไพร่พลมาทางเมืองเพชรบูรณ์ และกระทำพิธีบวงสรวง เพื่อชัยชนะที่วัดมหาธาตุ
                        เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗ สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รับสั่งให้เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ เกณฑ์ผู้คนบูรณวัดมหาธาตุครั้งใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง       ๒๒/ ๑๔๓๔๒
                ๔๒๑๗. มหานามะ - พระเถระ  เป็นชื่อพระเถระองค์หนึ่ง ซึ่งสำเร็จเป็นพระอรหันต์ รุ่นแรกของพระพุทธศาสนา นับเป็นพระสาวกองค์ที่สี่ ในจำนวนพระเบญจวัคคีย์ และนับเป็นพระมหาสาวกองค์ที่สิบเอ็ด ในจำนวนพระมหาสาวกแปดสิบองค์ด้วยกัน
                        พระมหานาม เป็นชาวกรุงกบิลพัสดุ เป็นบุตรของพราหมณ์คนหนึ่งในแปดคน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการทำนายลักษณะของคน ที่พระเจ้าสุทโธทนะเชิญ
    มารับภัตตาหาร เพื่อประกอบพิธีทำนายพระลักษณะพระราชกุมารที่ประสูติใหม่ และได้รวมขนานพระราชกุมารว่า สิทธัตถราชกุมาร        ๒๒/ ๑๔๓๔๔
                ๔๒๑๘. มหานิกาย  มีบทนิยามว่า "ชื่อคณะสงฆ์นิกายหนึ่งคู่กับธรรมยุติกนิกาย" มหานิกายเป็นนิกายสงบอันเป็นพื้นมาแต่เดิมคือ มีมาก่อนคณะสงฆ์ จะแตกกันเป็นสองฝ่ายได้แก่ฝ่ายทักษิณนิกายกับฝ่ายอุตรนิกาย
                        เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานล่วงไปประมาณร้อยปี พระสงฆ์สาวกแตกกันเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมีพระยสกากัณฑกบุตรเป็นหัวหน้า อีกฝ่ายหนึ่งเป็นพวกวัชชีบุตร ฝ่ายแรกเป็นพวกเดิมอยู่ในชมพูทวีปฝ่ายใต้ได้ชื่อว่า ทักษิณนิกาย หรือเถรวาท หรือหินยาน ฝ่ายหลังอยู่ในชมพูทวีปฝ่ายเหนือได้ชื่อว่า อุตรนิกาย หรืออาจริยวาท หรือมหายาน
                        กล่าวเฉพาะประเทศไทยชั้นแรกมีสองนิกายคือ นิกายอันเป็นพื้นมาแต่เดิม และรามัญนิกายคือ นิกายอันมีมาแต่สมัยอยุธยา ครั้นมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้มีธรรมยุติกนิกายเกิดขึ้น โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ครั้งแรกดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ และทรงผนวชอยู่ได้ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๓๗๙ เป็นแต่สำนักเรียกว่าสำนักวัดบนคือ วัดบวรนิเวศวิหาร รวมขึ้นอยู่ในคณะกลาง ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส มาแยกเป็นคณะอิสระปกครองตนเอง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าขึ้นครองราชย์       ๒๒/ ๑๔๓๔๐
                ๔๒๑๙. มหาบัณฑิต  ผู้ได้รับปริญญาโทคือปริญญามหาบัณฑิต การแบ่งปริญญาออกเป็นสามชั้นได้แบบอย่างมาจากมหาวิทยาลัยในประเทศยุโรป และอเมริกา
                        ปริญญาโทสำหรับสาขาวิชาต่าง ๆ กำหนดเวลาเรียนอย่างน้อยหนึ่งปีและสองปี ภายหลังปริญญาตรี นอกจานี้ยังแบ่งหลักสูตรออกเป็นสองแบบคือ แบบเขียนวิทยานิพนธ์ และแบบไม่เขียนวิทยานิพนธ์ (ดูปริญญา - ลำดับที่ ๓๓๖๒)         ๒๒/๑๔๓๔๙
                ๔๒๒๐. มหาปชาบดี  (ดูโคตมี - ลำดับที่ ๑๑๗๖ และภิกษุณี - ลำดับที่ ๔๑๒๒)       ๒๒/ ๑๔๓๔๙
                ๔๒๒๑. มหาประยุรวงศ์  เป็นราชทินนามชั้สูงสุดของเจ้าพระยาในรัชกาลที่สี่คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ซึ่งมักเรียกว่า สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ท่านมีนามเดิมว่า ดิศ บุนนาค เป็นบุตรเจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค ต้นสกุลบุนนาค) มารดาชื่อ เจ้าคุณนวล สกุล ณ บางช้าง
                        สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ เกิด เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๑ แรกเข้ารับราชการเป็นนายสุจินดา  หุ้มแพรมหาดเล็ก แล้วเป็นหลวงศักดิ์นายเวรมหาดเล็ก เป็นจมื่นไวยวรนารถ หัวหมื่นมหาดเล็ก เป็นพระยาสุริยวงศ์มนตรี จางวางมหาดเล็ก เป็นเจ้าพระยาพระคลัง เป็นเจ้าพระยามหาเสนาแต่ท่านไม่รับ โดยอ้างว่าเป็นแล้วอายุสั้นจึงเรียกว่า เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม
                        ต่อมาในรัชกาลที่สี่โปรด ฯ ให้ยกขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาคือ ศักดินา ๓๐,๐๐๐ พระราชทานกลด เสลี่ยงงา พระแสงประดับพลอยลงยาราชาวดี เป็นเครื่องสำหรับอิสริยยศอย่างพระองค์เจ้าต่างกรม ให้สำเร็จราชการตลอดทั่วทั้งพระราชอาณาจักร ท่านถึงแก่พิราลัย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘       ๒๒/ ๑๔๓๔๙
                ๔๒๒๒. มหาพน  เป็นชื่อกัณฑ์ที่เจ็ดของเรื่องมหาชาติว่าด้วยป่า หมายถึง ป่าที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี พระชาลีและพระกัณหา เสด็จไปผนวชเป็นฤษีที่เขาวงกต เพราะเป็นป่าใหญ่จีงเรียกว่ามหาพน
                        ป่ามหาพนอยู่ในเขตเมืองมาตุลนคร แคว้นเจตรัฐ ห่างจากเมืองเชตุดร ประมาณ ๓๐ โยชน์ (๔๘๐ กม.)          ๒๒/๑๔๓๕๑
                ๔๒๒๓. มหาพิชัยญาติ  เป็นราชทินนามชั้นสูงสุดของเจ้าพระยาในรัชกาลที่สี่คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ซึ่งมักเรียกกันว่า สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย เพราะเป็นน้องร่วมบิดามารดาของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๔ เดิมชื่อ ทัต บุนนาค แรกเข้ารับราชการเป็นายสนิท หุ้มแพร ต่อมาในรัชกาลที่สอง ขึ้นไปรับราชการในวังหน้า เป็นจมื่นเด็กชา แล้วกลับมารับราชการในวังหลวงเป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็ก เป็นพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี
                        ในรัชกาลที่สี่โปรด ฯ ให้เป็นสมเด็จพระเจ้าพระยาเรียกกันว่า สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ถือศักดินา ๓๐,๐๐๐ พระราชทานกลด  เสลี่ยงงา พระแสงลงยาราชาวดี เป็นเครื่องสำหรับพระองค์เจ้าต่างกรม ถือดวงตราจันทรมณฑลเทพบุตรชักรถ ให้สำเร็จราชการในพระนครทุกสิ่งทุกพนักงาน ท่านถึงแก่พิราลัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๐
                    ในจดหมายเหตุของชาวต่างชาติ ท่านเคยปฏิบัติราชการปราบปรามเมืองกลันตัน ซึ่งพระยากลันตัน และพระยาบาโงยวิวาทกันให้สงบเรียบร้อย เป็นผู้สร้างวัดพิชัยญาติการาม เป็นผู้สร้างเจดีย์บนยอดเขาเมืองสงขลา       ๒๒/ ๑๔๓๕๓
                ๔๒๒๔. มหาภารตะ  เป็นชื่อของมหากาพย์สำคัญเรื่องหนึ่งที่แต่งในประเทศอินเดียสมัยโบราณ แต่งด้วยคำประพันธ์ร้อยกรองที่เรียกว่า โศลกและฉันท์ หลายชนิดรวมกันประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาท และมีคำประพันธ์ร้อยแก้วแทรกบางตอน ผู้แต่งคือฤาษีชื่อ วยาส อย่างไรก็ดี มหากาพย์ภาษาสันสกฤตเรื่องยาวที่สุดในโลก เรื่องนี้มีประวัติความเป็นมาที่คลุมเครือ และเป็นปัญหาหลายอย่างที่ยังหาข้อยุติไม่ได้
                        คำว่า ภารตะ แปลว่า ผู้สืบเชื้อสายมาจากพระภรต ผู้เป็นจักรพรรดิ์โบราณของอินเดีย เป็นโอรสของพระราชาทุษยันต์ แห่งนครหัสตินาปุระ กับนางศกุนตลา พระภรตเป็นยอดวีระกษัตริย์แห่งราชสกุลจันทรวงศ์ ครอบครองดินแดนลุ่มแม่น้ำยมุนาและแผ่อาณาเขตไปทั้งทางตะวันออกและตะวันตกเป็นดินแดนกว้างใหญ่ บรรดาลูกหลานของพระภรต ในกาลต่อมาได้นามว่าเป็นพวกภารตะ และอาณาจักรอันกว้างใหญ่ ที่ชนภารตะเหล่านี้อาศัยอยู่ก็ได้นามว่า ภรตวรรษ ในกาลต่อมาเกิดสงครามในหมู่ภารตะด้วยกันเองคือ พวกภารตะ ตระกูลเการพ กับพวกภารตะตระกูลปราณฑพได้ทำสงครามกัน ณ ทุ่งกรุเกษตร ใกล้แม่น้ำยมุนาเป็นเวลาสิบแปดวัน ต่างฝ่ายก็มีพรรคพวกเป็นกษัตริย์แว่นแคว้นต่าง ๆ การสงครามครั้งนี้ ได้ล้างผลาญชีวิตผู้คนทั้งสองฝ่ายลงเป็นอันมาก ในที่สุดฝ่ายปาณฑพชนะ
                        การรบครั้งนี้ถือกันว่าเป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียที่เคยมีมา และเชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริง แต่ไม่มีหลักฐานบันทึกแน่นอนทางประวัติศาสตร์ หากปรากฎในรูปแบบของอิติหาส (ตำนาน) ซึ่งกลายเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิในปัจจุบัน
    มหากาพย์เรื่องมหาภารตะมีกำเนิดมาจากบทเพลง  หรือลำนำที่ใช้ขับร้องสรรเสริญวีรบุรุษในสมัยโบราณ ตั้งแต่ปลายสมัยพระเวท หรือราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เรื่องมหาภารตะแต่งด้วยคำประพันธ์รวมห้าประเภท คือ
                            ๑. แต่งเป็นฉันท์โบราณหรือฉันท์ หมวด แบบที่ใช้แต่งคัมภีร์พระเวท
                            ๒. แต่งเป็นโศลก (คำประพันธ์แบบหนึ่งมีวรรคละแปดพยางค์ รวมสี่วรรคเป็นหนึ่งบทดัดแปลงมาจากฉันท์โบราณที่ใช้แต่งพระเวท)
                            ๓. แต่งเป็นฉันท์ประเภทวรรคพฤตตะ
                            ๔. แต่งเป็นฉันท์ประเภทมาตราพฤตตะ
                            ๕. แต่งเป็นร้อยแก้วเพื่อเชื่อมข้อความบางตอนในเรื่อง
                        คัมภีร์มหาภารตะมีความสัมพันธ์ต่อวัฒนธรรมไทยหลายด้านด้วยกัน ตั้งแต่สมัยโบราณเรื่อยมา ในด้านวรรณคดีมหาภาระมีเรื่องแทรก (อุปาขยาน) หลายเรื่อง ซึ่งกวีไทยเอาเนื้อเรื่องมาแต่งวรรณกรรมไทย เช่น เรื่องอนิรุทธ์คำฉันท์ อุณรุทคำกลอน กฤษณาสอนน้อง คำฉันท์บทละครเรื่องศกุนตลา บทละครเรื่องสาวิตรี พระนลคำหลวง ลิลิตนาราย์สิบปาง ที่ย่อเรื่องทั้งหมดมาแต่งเป็นคำกลอนก็คือ สงครามมหาภารตะคำกลอน ฯลฯ ที่เป็นวรรณกรรมเชิงปรัชญาก็มีเรื่องภควัทคีตา ในด้านราชทินนามก็ปรากฎว่าไทยได้นำชื่อต่าง ๆ ในมหาภารตะมาเป็นราชทินนามขุนนางข้าราชการและเจ้านายเป็นอันมาก       ๒๒/ ๑๔๓๕๔
                ๔๒๒๕. มหามงกุฎราชวิทยาลัย  เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์อีกแห่งหนึ่งเป็นของคณะสงฆ์ในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เรียกว่า สภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ ตามพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
                        วัตถุประสงค์แห่งการตั้งมหามงกุฎราชวิทยาลัยนั้น ในระยะแรกได้วางวัตถุประสงค์ไว้สามประการ คือ
                            ๑. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
                            ๒. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาวิทยาซึ่งเป็นของชาติภูมิและต่างประเทศแห่งกุลบุตร
                            ๓. เพื่อเป็นสถานที่จัดการสั่งสอนพระพุทธศาสนา
                        ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๘ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์องค์สกลมหาสังฆปรินายก ในฐานะนายกกรรมการมหามงกุฎราชวิทยาลัย ได้ทรงมีคำสั่งตั้งสภาการศึกษาของมหามงกุฎราชวิทยาลัยขึ้น เป็นสถาบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย
                        ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๓๓) มหามงกุฎราชวิทยาลัยได้จัดการศึกษาระดับต่าง ๅ รวมสามระดับด้วยกัน คือ
                            ๑. บุรพศึกษา
                            ๒. เตรียมอุดมศึกษา
                            ๓. มหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็นสี่คณะคือ คณะศิลปศาสตร์ คณะศาสนาและปรัชญา คณะสังคมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์         ๒๒/ ๑๔๓๗๐

    • Update : 27/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch