หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สารานุกรมไทยฉบับย่อ/68

    เล่ม ๑๕ ธรรมวัตร - นิลเอก       ลำดับที่ ๒๖๙๐ - ๒๙๔๑      ๑๕/ ๙๑๗๗ - ๙๘๓๖

                ๒๖๙๐. ธรรมวัตร มีบทนิยามว่า "ลักษณะเทศน์ทำนองธรรมดาอย่างหนึ่งที่แสดงอยู่ทั่วไป ไม่ใช่ทำนองแบบเทศน์มหาชาติ
                    การเทศน์ของพระมีทำนองเทศน์อยู่สองแบบด้วยกันคือ เทศน์ทำนองอย่างหนึ่ง และเทศน์ธรรมวัตรอีกอย่างหนึ่ง
                    อีกสำนวนหนึ่งเรียกกันว่า สำนวนกลอนเทศน์ เป็นคำร้อยกรองประเภทร่ายยาว        ๑๕/ ๙๑๗๗
                ๒๖๙๑. ธรรมศักดิ์มนตรี - เจ้าพระยา  (ดูครูเทพ - ลำดับที่ ๙๑๙)         ๑๕/ ๙๑๘๑
                ๒๖๙๒. ธรรมศาสตร์
                        ๑. เป็นชื่อคัมภีร์  เรียกว่า คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ เป็นกฎหมายที่นักปราชญ์ พราหมณ์ผู้หนึ่งในชมพูทวีปเป็นผู้แต่งไว้หลายพันปีมาแล้ว ผู้แต่งมีนามว่า "มนู" ในทางสากลเรียกกฎหมายนี้ว่ากฎหมายมนู หรือธรรมศาสตร์ฮินดู
                        เนื้อหาของคัมภีร์ธรรมศาสตร์ของท่านมนูนั้นกล่าวกันว่า เกี่ยวกับการสร้างโลก และสภาพของวิญญาณเมื่อมนุษย์ตายไปแล้ว และเรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับจารีตประเพณีและสังคมอินเดียสมัยนั้น เช่นหน้าที่ของวรรณะหรือชนชั้นต่าง ๆ การศาสนาและอื่น ๆ ซึ่งถือกันว่าเป็นกฎหมายที่ดีและมีอิทธิพลยิ่งในสมัยนั้น และสมัยต่อมา
                        คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ฉบับฮินดู คาดว่ามีขึ้นในระหว่างปี พ.ศ.๑๔๓ - ๓๔๓
                        ในประเทศไทยได้ใช้กฎหมายคัมภีร์พระธรรมศาสตร์สืบมาแต่โบราณ หลักกฎหมายนี้สันนิษฐานว่า เข้ามาสู่ประเทศไทยพร้อมกับพระพุทธศาสนา สมัยเมื่อชาวอินเดียได้พากันอพยพเข้ามายังสุวรรณภูมิ ระหว่างปี พ.ศ.๒๗๐ - ๓๐๐ ชาวอินเดียได้นำศิลปวิทยาการต่าง ๆ ตลอดจนศาสนาพราหมณ์ และหลักพระธรรมศาสตร์เข้ามาด้วย ดังจะเห็นว่าศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ก็มีร่องรอยวัฒนธรรมฮินดูอยู่ ในสมัยอยุธยาไทยได้ใช้กฎหมายนี้อย่างบริบูรณ์ ครั้นกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ต้นฉบับคัมภีร์พระธรรมศาสตร์สำหรับศาลหลวงก็สาบสูญไปหมด ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้รวบรวมกฎหมายขึ้นไว้เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง พระธรรมศาสตร์เป็นลักษณะหนึ่งปรากฎอยู่ในกฎหมายดังกล่าว
                        ๒. เป็นชื่อมหาวิทยาลัย  เดิมชื่อว่ามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เรียกชื่อว่า ม.ธ.ก. ก่อตั้งโดย พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ.๒๔๗๖
                ๒๖๙๓. ธรรมาธิกรณาธิบดี - เจ้าพระยา  เป็นตำแหน่งบรรดาศักดิ์ ซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงวัง ตั้งขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๓๑)         ๑๕/ ๙๑๙๔
                ๒๖๙๔. ธรรมาภิมณฑ์ - หลวง  นามเดิมถึก จิตรตถึก เป็นครูกวีและนักแต่งตำราการประพันธ์ที่มีชื่อเสียงมากในรัชกาลที่ห้า และรัชกาลที่หก ท่านเกิดในรัชกาลที่สี่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๑ ที่ อ.ขลุง จ.จันทบุรี เดิมเป็นครู ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๖ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นที่ หลวงธรรมาภิมณฑ์ มีตำแหน่งในกรมราชบัญฑิต ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๗ ได้ย้ายมาเป็นพนักงานฝ่ายหนังสือไทย ในหอพระสมุดวชิรญาณ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๐ จึงลาออกจากราชการและถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๑
                ท่านได้แต่งบทประพันธ์ร้อยกรองไว้เป็นจำนวนมาก เช่น โคลงนิราศวัดรวก (พ.ศ.๒๔๒๘) สิทธิศิลปคำฉันท์ (พ.ศ.๒๔๓๔)  เพชรมงกุฎคำฉันท์ (พ.ศ.๒๔๔๕)  กฎาหกคำฉันท์ (พ.ศ.๒๔๕๖)  ประชุมลำนำเป็นตำราสำหรับแต่งกลอน - กานต์           ๑๕/ ๙๑๙๗
                ๒๖๙๕. ธวัชบุรี  อำเภอขึ้น จ.ร้อยเอ็ด ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง มีป่าโปร่งและป่าละเมาะ ทางตอนใต้
                    อ.ธวัชบุรี เปลี่ยนชื่อเป็น ต.ธวัชบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ คงเรียกชื่อว่า อ.ธวัชบุรี ถึง พ.ศ.๒๔๕๗ ย้ายไปตั้งที่ว่าการอำเภอที่ ต.มะอี แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า อ.แซงบาดาล แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น อ.ธวัชบุรี ตามเดิมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒           ๑๕/ ๙๒๐๐
                ๒๖๙๖. ธัญชาติ  มีบทนิยามว่า "เป็นคำรวมเรียกข้าวต่างๆ เช่น ข้าวเปลือก และข้าวสาลี ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา พร้อมทั้งสูจิ ว่ามีเจ็ดอย่างคือ  ๑.ข้าวไม่มีแกลบ   ๒.ข้าวเปลือก  ๓.หญ้ากับแก้  ๔.ข้าวละมาน  ๕.ลูกเดือย  ๖.ข้าวแดง  ๗. ข้าวฟ่าง"
                    คำ ธัญชาติ มักรู้จักกันในความหมายว่า ธัญพืชมากกว่า            ๑๕/ ๙๒๐๐
                ๒๖๙๗. ธัญบุรี   อำเภอขึ้น จ.ปทุมธานี ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ทำนาได้ทั่วไป           ๑๕/ ๙๒๐๓
                ๒๖๙๘. ธาตุ ๑ - ยา  เป็นยาผสมด้วยตัวยาหลายอย่างเข้าด้วยกัน ใช้บริโภคเพื่อบำรุงธาตุให้ดีขึ้น เพื่อเจริญอาหาร จัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน           ๑๕/ ๙๒๐๔
                ๒๖๙๙. ธาตุ ๒  ในทางปรมัตถธรรม หมายถึง ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมเรียกว่า ธาตุสี่ประการ ธาตุแต่ละอย่างมีสมบัติเฉพาะตัวแต่อาศัยกันเป็นอยู่และเป็นไปคือธาตุดินมึความกระด้างและแข้นแข็ง ธาตุน้ำมีการหลั่งไหลหรือซึมซาบ ธาตุไฟมีความอบอุ่นและเผาผลาญ ธาตุลมมีการกระพือพัดหรือเคลื่อนไหว  เมื่อกล่าวในแง่ขันธ์ห้า ธาตุสี่อย่างดังกล่าวที่เรียกมหาภูตนี้จัดเป็นรูปขันธ์ กล่าวในแง่ที่เกี่ยวกับคนนอกจากธาตุสี่แล้ว ยังมีอากาศธาตุ (ช่องว่าง) แบละวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้) ซึ่งในที่บางแห่งเรียกว่าจิต  กล่าวในแง่กรรมฐานที่เรียกว่ากรรมฐานหรือธาตุววัฎฐานคือการพิจารณากำหนดความเป็นธาตุ โดยพิจารณาแยกกายออกเป็น ๓๔อาการ ๓๑หรือ ๓๒           ๑๕/ ๙๒๐๕
                ๒๗๐๐. ธาตุ ๓  ในวิชาเคมี กำหนดว่า ธาตุ คือ สารเนื้อเดียวซึ่งประกอบด้วยอะตอม ที่เหมือนกันทุกประการ
                    บรรดาธาตุเท่าที่ค้นพบแล้ว มี ๑๐๕ ธาตุ ธาตุสุดท้ายที่ค้นพบคือ ธาตุฮาห์เนียม
                    ธาตุหนึ่ง ๆ เมื่อเกิดปฎิกิริยาทางเคมี เข้ารวมตัวกับธาตุอื่นแล้ว ผลที่ได้จะเป็นสารประกอบ
                    ธาตุที่ค้นพบแล้วทั้งสิ้นนั้น มีปรากฎอยู่ทั้งสามภาวะคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าช
                    ในบรรดาธาตุทั้งหมดนั้น จัดแบ่งออกกเป็นสองพวกใหญ่ คือ พวกโลหะ และพวกอโลหะ
                    ธาตุออกซิเจน มีมากที่สุดในโลกคือ มีอยู่ถึงร้อยละ ๔๙.๘๕ และธาตุซิลิคอน มีมากเป็นที่สองคือ ร้อยละ ๒๖.๐๓           ๑๕/ ๙๒๑๑
                ๒๗๐๑. ธาตุพนม ๑ - พระ  ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม บนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง อันเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทย กับประเทศลาว
                    องค์พระธาตุเป็นพระเจดีย์สี่เหลี่ยม วัดโดยรอบ ๔๙.๓๖ เมตร สูงจากพื้นดิน ๕๓ เมตร (พ.ศ.๒๔๘๒) มีฉัตรปักอยู่บนยอดอีก ๔ เมตร
                    สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุพนมสมัยโบราณเรียกว่า ภูกำพร้า หรือดอยกำพร้า เป็นเขตแขวงของเมืองศรีนครโคตรบูร เมืองนี้อยู่ใต้ปากเซบั้งไฟ ในประเทศลาว ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงเข้าไปประมาณ ๕ - ๖ กม. ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า เมืองขามแท้
                    พระธาตุพนมเป็นพระเจดีย์เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เชื่อว่าสร้างในปี พ.ศ.๑๐๐๗  ลักษณะลวดลายและรูปภาพอิฐจำหลัก เป็นศิลปทวารวดีตอนต้น                    ๑๕/ ๙๒๓๓
                ๒๗๐๒. ธาตุพนม ๒  อำเภอขึ้น จ.นครพนม มีอาณาเขตทิศตะวันออก ตกแม่น้ำโขง ภูมิประเทศส่วนมากเป็นที่ราบ ตอนใต้มีป่าบ้างเล็กน้อย
                    อ.ธาตุพนม ตั้งอยู่ใกล้วัดธาตุพนม จึงมีนามตามนั้น           ๑๕/ ๙๒๔๑
                ๒๗๐๓. ธิเบต  (ดู ทิเบต - ลำดับที่ ๒๕๖๘)           ๑๕/ ๙๒๔๒
                ๒๗๐๔. ธีบอ หรือสีปอ  เป็นชื่อเจ้าชายในราชวงศ์อลองพญา เป็นพระราชโอรส พระเจ้ามินดง และเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายที่ครองประเทศพม่า เมื่อเสียเอกราชแก่อังกฤษ ในปี พ.ศ.๒๔๒๘ ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๑   นับแต่พระองค์ขึ้นครองราชย์สภาพของประเทศพม่าเลวลงไปตามลำดับ โจรผู้ร้ายชุกชุม พวกกะชินในภาคเหนือก่อการขบถ กองโจรจีนยกเข้าปล้น และเผาเมืองบาโม (บ้านหม้อ) เจ้าผู้ครองไทยใหญ่หลายองค์เลิกสวามิภักดิ์ ภายในกรุงมัณฑเลเองพระนางสุปยาลัต ผู้เป็นพระมเหสีทรงใช้จ่ายเงินทองสุรุ่ยสุร่ายจนกระทั่งเงินหลวงไม่มีเหลือในท้องพระคลัง พระเจ้าธิบอทรงใช้วิธีหาเงินเข้าท้องพระคลังด้วยการออกหวยเบอร์หรือลอตเตอรี่ ปรากฏว่าราษฎรพากันซื้อหวยเบอร์จนไม่เป็นอันทำมาหากินและยากจนลงมาก จึงได้ยกเลิกเสียหลังออกมาได้สามปี    พระเจ้าธีบอทรงดำเนินพระราโชบายต่างประเทศผิดพลาด เพราะทรงผูกไมตรีกับฝรั่งเศส ซึ่งอังกฤษถือว่าเป็นการแทรกแซงในพม่าอันขัดต่อผลประโยชน์ของตน  เนื่องจากฝรั่งเศสกำลังแสวงหาผลประโยชน์ในพม่าหลายเรื่องด้วยกัน ข้าหลวงใหญ่อังกฤษจึงเปลี่ยนใจจากเดิมที่จะไม่ผนวกพม่าและให้ความเห็นว่า ถ้าฝรั่งเศสยังไม่สละสัมปทานตามที่เสนอไว้ อังกฤษไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากรวมพม่าเหนือของพระเจ้าธีบอเข้ากับพม่าใต้  พระเจ้าธีบอได้โอนสัมปทานป่าไม้ของบริษัทปมอเบย์ ฯ ของอังกฤษ อังกฤษจึงตกลงดำเนินการกับพม่าเด็ดขาด ส่งเรือกลไฟลำหนึ่งไปยังกรุงมัณฑเลพร้อมกับให้พระเจ้าธีบอรับคำขาดของตน คำขาดนี้ต้องการให้พระเจ้าแผ่นดินพม่ามีฐานะเป็นมหาราชาองค์หนึ่งของอินเดียเท่านั้น  เมื่อพม่าปฏิเสธคำขาดของอังกฤษกองทัพอังกฤษก็ได้เปิดฉากการรบ ตีหัวเมืองรายทางไปยังมัณฑเลและยึดกรุงมัณฑเลได้ พระเจ้าธีบอต้องยอมแพ้ตกเป็นเชลยของอังกฤษ อังกฤษได้ปกครองประเทศพม่าทั้งหมดในปลายปี พ.ศ.๒๔๒๘          ๑๕/ ๙๒๔๒
                ๒๗๐๕. ธุดงค์  มีบทนิยามว่า "องคคุณเครื่องกำจัดกิเลส ชื่อ วัตรปฎิบัติของภิกษุ ๑๓ อย่าง เช่น การถือบริโภคอาหารหนเดียว การอยู่ป่า การอยู่โคนไม้ "


    • Update : 27/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch