หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สารานุกรมไทยฉบับย่อ/67
     ๒๖๖๙. ธนิษฐา  เป็นชื่อกลุ่มดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง ที่มีกล่าวถึงในวรรณคดีสันสกฤตของอินเดีย มาตั้งแต่สมัยโบราณ มีอยู่ด้วยกันสี่หรือห้าดวง แต่บางทีก็ว่ามีอยู่เพียงสามดวงเท่านั้น เรียงกันอยู่ มีรูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ไทยเรียกดาวกลุ่มนี้ว่า ดาวกาหรือดาวไซ ดาวกลุ่มนี้จะปรากฎอยู่กลางท้องฟ้าในเวลาเที่ยงคืน ประมาณกลางเดือนกันยายนทุกปี
                        กลุ่มดาวที่อยู่ประจำในท้องฟ้านี้ชาวอินเดียเรียกว่า นักษัตร ในคัมภีร์ปัจจุบันมีอยู่ ๒๗ กลุ่ม กลุ่มแรกได้แก่ กลุ่มดาวกฤติกา (ดาวลูกไก่) และลงท้ายด้วยกลุ่มดาวภรณี (ดาวก้อนเส้า) กลุ่มดาวธนิษฐา เป็นกลุ่มที่ ๒๒
                        ในตำราดาราศาสตร์ของไทย กลุ่มดาวในท้องฟ้ามีอยู่ ๒๗ กลุ่มเหมือนของอินเดีย แต่ขึ้นต้นด้วยกลุ่มดาวอัศรินี (ดาวม้า) และลงท้ายด้วยดาวเรววดี (ดาวปลาตะเพียน) ดาวธนิษฐาเป็นกลุ่มที่ ๒๓
                        ในทางโหราศาสตร์ของไทย ดาวธนิษฐาเป็นดาวที่มักให้โทษ เมื่อพระจันทร์เข้าเกาะกลุ่มดาวธนิษฐาแล้ว โหรมักจะห้ามมิให้ประกอบการมงคล           ๑๔/ ๙๐๖๐
                ๒๖๗๐. ธนุรเวท  มีบทนิยามว่า "วิชายิงธนู มาจากภาษาสันสกฤต"
                        คัมภีร์ธนุรเวท ถ้ากล่าวโดยเนื้อหาแล้วจึงหมายถึงตำราว่าด้วยการสงครามอย่างมีแบบแผน และรวมทั้งการต่อสู้ระหว่างบุคคล นับว่าเป็นคัมภีร์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์พอใช้ ถือว่าเป็นคัมภีร์อุปเวทหรือพระเวทรอง ซึ่งมีอยู่สี่คัมภีร์ด้วยกันคือ อายุรเวท คันธรรพเวท ธนุรเวท และสถาปัตยเวท         ๑๔/ ๙๐๖๓
                ๒๖๗๑. ธรณินทรวรมัน - พระเจ้า ในอาณาจักรขอมมีอยู่สององค์คือ
                        ๑. พระเจ้าธรณินทรวรมันที่หนึ่ง ทรงเป็นพระเชษฐาพระเจ้าชัยวรมันที่หก ได้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าชัยวรมันที่หก ในปี พ.ศ.๑๖๕๐
                        ๒. พระเจ้าธรณินทรวรมันที่สอง ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าสุริยวรมันที่สอง ที่เมืองพระนคร ราวปี พ.ศ.๑๖๙๕ ทรงนับถือพระพุทธศาสนา           ๑๔/ ๙๐๖๘
                ๒๖๗๒. ธรณี - นาง  เป็นเจ้าแม่ประจำแผ่นดินหรือรักษาแผ่นดิน ตามคติที่เชื่อกันมาแต่โบราณก่อนพุทธกาล  น่าจะเป็นคติความเชื่อถือมาจากศาสนาพราหมณ์         ๑๔/ ๙๐๖๙
                ๒๖๗๓. ธรณีวิทยา  เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก จึงเป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางมาก ในปัจจุบันจึงนิยมแบ่งออกเป็นสองสาขาใหญ่คือ
                        ๑. ธรณีกายภาพ  ศึกษากระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโลกทางด้านกายภาพ ตลอดจนผลที่เกิดจากกระบวนการนั้น ๆ
                        ๒. ธรณีประวัติ  ศึกษากำเนิดและประวัติของโลกว่า มีวิวิฒนาการอย่างไรจนถึงยุคปัจจุบัน
                        ทั้งสองสาขาใหญ่นี้ ยังจำแนกออกเป็นสาขาย่อยอีกมากมาย เช่น วิชาแร่ วิชาหิน ธรณีอุทกวิทยา ธรณีเคมี ธรณีกาลวิทยา วิทยาว่าด้วยธารน้ำแข็ง วิชาธรณีถ่ายภาพ บรรพชีวินวิทยา             ๑๔/ ๙๐๗๒
                ๒๖๗๔. ธรณีสงฆ์  ได้แก่ ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัดคือ ที่ซึ่งให้เป็นของสงฆ์ และที่ดังกล่าวกฎหมายถือว่าเป็นสมบัติสำหรับพระศาสนา ที่ธรณีสงฆ์มีลักษณะแตกต่างจากที่วัด และที่กัลปนา กล่าวคือ ที่วัด หมายถึง ที่ตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น ๆ  ที่กัลปนา หมายถึง ที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้แก่วัด หรือพระศาสนา เช่น ค่าเช่า ค่าประกอบการ หรือดอกผลที่เกิดจากที่นั้น  โดยกรรมสิทธิ์ยังเป็นของเจ้าของผู้อุทิศเป็นที่กัลปนาอยู่ ส่วนที่ธรณีสงฆ์คือ ที่ดินที่ไม่ใช่เป็นที่ตั้งวัด แต่เป็นสมบัติของวัดซึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ และห้ามบุคคลยกอายุความขึ้นต่อสู้คดี เพราะกฎหมายถือว่า เป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เช่นเดียวกับที่วัด           ๑๔/ ๙๐๘๑
                ๒๖๗๕. ธรณีสาร  ตามรูปคำ แปลว่า เสนียดจัญไร โดยความหมายถึงอุบาทว์ คือ ความอัปรีย์ จัญไร หรืออันตราย ซึ่งเกิดขึ้นเป็นลางบอกเหตุร้ายดี ที่จะให้ได้รับวิบัติและสมบัติ มีประการต่าง ๆ ตามความเชื่อถือมาแต่โบราณ ในคติของศาสนาพราหมณ์เชื่อกันมาว่า อุบาทว์ทั้งปวงที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพราะเทพยดาแปดตน ซึ่งอยู่ประจำทิศแปดทิศ บันดาลเป็นสังหรณ์ หรือลางร้ายให้รู้ล่วงหน้าคือ
                        พระอินทร์ อยู่ประจำทิศบูรพา พระเพลิง - ทิศอาคเณย์ พระยม - ทิศทักษิณ  พระนารายณ์ - ทิศหรดี  พระพิรุณ - ทิศประจิม  พระพาย - ทิศพายัพ  พระโสม - ทิศอุดร พระไพรสพ - ทิศอีสาน           ๑๔/ ๙๐๘๔
                ๒๖๗๖. ธรรม  ตำแหน่งพระราชาคณะ ฐานันดรพระภิกษุ เป็นสมณศักดิ์ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่พระภิกษุ ผู้เป็นหัวหน้าหมู่คณะในคณะสงฆ์
                        คำว่า ธรรม แต่เดิมไม่ได้เป็นเครื่องกำหนดชั้นของพระราชาคณะ เป็นชื่อมีราชทินนามประกอบ เช่น พระธรรมโกษา พระธรรมเจดีย์ พระธรรมไตรโลก คำว่าธรรมไตรโลก แต่เดิมเป็นพระครู ตำแหน่งรองสังฆนายกชั้นสูงสุด ต่อมาจึงเป็นพระราชาคณะชั้นที่สาม ในจำนวนพระราชาคณะหกชั้น จัดเข้าเป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่           ๑๔/ ๙๐๘๘
                ๒๖๗๗. ธรรมการย  ตามรูปคำแปลว่า กาย คือ ธรรม หรือ ธรรม คือ กาย ตามความหมายที่มุ่งเข้าหาตัวบุคคลได้แก่ พุทธภาวะ คือ ภาวะแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า
                        คำว่า "ธรรมกาย" ปรากฎในคัมภีร์ฝ่ายเถรวาท และในคัมภีร์ฝ่ายอาอริยวาท (มหายาน)  พระอรรถกถาจารย์ทั้งสองฝ่าย อธิบายความเป็นคนละอย่าง แต่โดยความคล้ายคลึงกัน และมีจุดสุดยอดอันเดียวกัน
                        ใน อัคคัญญสูตร สุตตนิบาต ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค สุตตันตปิฏก มีความตอนหนึ่งว่า "เพราะคำว่า ธรรมกาย ก็ดี คำว่า พรหมกาย ก็ดี คำว่า ธรรมภูต ก็ดี คำว่า พรหมภูติ ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต"
                        ข้างคติของฝ่ายอาจริยวาท (มหายาน)  ตามตำนานกำหนดได้ว่า ทิฐิเรื่องธรรมกายเริ่มเกิดขึ้นหลังพุทธปรินิพพานประมาณ ๑๐๐ - ๑๔๐ ปี  พระสงฆ์แตกแยกออกเป็นสองพวกใหญ่ เพราะมีการละเมิดพระธรรมวินัยขึ้นในหมู่ภิกษุชาวเมืองวัชชี หนึ่ง และเพราะมีคณาจารย์รูปหนึ่งชื่อ มหาเทวะ แสดงคติใหม่ในเรื่องพระอรหันต์ขาดคุณธรรม หนึ่ง  พวกถือพระธรรมวินัยวินัยดั้งเดิมเรียกว่า สถวีระ พวกตั้งคติในธรรมและวินัยใหม่ เป็นพวกมหาสังฆิกะ
                        ทิฐิ ตรีกาย ของฝ่ายอาจริยวาท (ธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมานกาย) ท่านแสดงว่า พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ที่เกิดจากฌานของพระอาทิพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นอรูปธาตุ หรือพุทธเกษตร ห้าพระองค์ เรียกว่า ธยานีพุทธ เป็นธรรมกาย คือ พระโวโรจนพุทธ พระอักโษภยพุทธ พระรัตนสัมภวพุทธ พระอมิตาพุทธ และพระอโมฆสิทธิพุทธ           ๑๔/ ๙๐๙๒
                ๒๖๗๘. ธรรมขันธ์  โดยรูปคำ แปลว่า หมวดธรรม หรือกองธรรม หมายถึง หมวดธรรมอย่างหนึ่ง บทธรรมหรือข้อธรรมอย่างหนึ่ง ในคัมภีร์ปัญจกนิบาต อังคุตรนิกาย สุตตันตปิฎก เรียกกุศลธรรมหมวดหนึ่งว่า ธรรมขันธ์ มีห้าขันธ์คือ
                        ๑. สีลขันธ์  หมวดศีล  ๒. สมาธิขันธ์ หมวดสมาธิ   ๓. ปัญญาขันธ์ หมวดปัญญา  ๔. วิมุตติขันธ์ หมวดวิมุติ  ๕. วิมุตติญาณทัสมขันธ์ หมวดวิมุตติญาณทัศนะ
                        อีกนัยหนึ่ง ที่หมายถึง บทธรรมหรือข้อธรรมนั้น ในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา  อรรถกถาวินัยปิฎก หรืออรรถกถาแห่งปิฎกอื่น ท่านกำหนดเอาข้อธรรม ข้อวินัย ที่พระพุทธเจ้า และพระสาวกแสดงตั้งแต่เวลาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ตราบเท่าถึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานว่า ธรรมขันธ์ มีจำนวนถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์  ดังที่ พระอานนท์กล่าวตอบพราหมณ์โคปกโมคคัลลานะว่า พระธรรม ที่ท่านจำได้ขึ้นใจนั้นได้ฟังจากพระพุทธเจ้ามีจำนวน ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ได้ฟังจากพระเถรานุเถระ เช่น พระสารีบุตร มีจำนวน ๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ (คัมภีร์เถรคาถา ขุทกนิกาย สุตตันตปิฎก)
                        รวมพระธรรมขันธ์ในพระวินัยปิฎกเป็น ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ในพระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ในพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์           ๑๔/ ๙๐๙๖
                ๒๖๗๙. ธรรมจักร  โดยรูปคำแปลว่า จักร คือ ธรรม โดยความ หมายถึง การเผยแพร่ขยายของธรรม มีบทนิยามว่า "ชื่อปฐมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ แดนธรรม"  เป็นชื่อพระสูตร สูตรหนึ่งชื่อ ธัมมจักกัปวัตนสูตร  มีใจความสำคัญทีกำหนดได้เป็นห้าประการคือ
                        ๑. ตอนต้น  ทรงแสดงว่า ลัทธิสุดยอดสองอย่างคือ กามสุขัลลิกานุโยค การทำตนให้ติดอยู่ในกามคุณ ซึ่งเป็นของชาวบ้านคับแคบไม่ดี ไม่มีประโยชน์ อัตกิลมกานุโยค  การทำตนให้เหนื่อยเปล่า ก็ไม่ดี ไม่มีประโยชน์ ทั้งสองอย่างนี้เป็นลัทธิผิด ไม่สมควรดำเนินตาม
                        ๒. ทรงแสดงหลักที่ถูกต้องที่พอเหมาะพอควร (ทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฎิปทา - เพิ่มเติม) ได้แก่ อริยมรรค มีองค์แปด มีสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบคือ ความรู้ความเห็นที่ถูกต้อง เป็นต้น ซึ่งไม่เอนเอียงเข้าหาลัทธิสุดยอดทั้งสองนั้น
                        ๓. ทรงแสดงสัจธรรม ที่พระองค์ได้ตรัสรู้ ได้แก่ อริยสัจสี่ คือ ทุกข์  ทุกขสมุทัย  เหตุให้เกิดทุกข์ ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ ทุกขนิโรธาคามินีปฎิปทา ข้อปฎิบัติที่ทำให้ถึงความดับทุกข์
                        ๔. อริยสัจสี่ นี้คือ ธรรมจักร และเป็นธรรมจักรที่หาตัวเปรียบไม่ได้ พระองค์ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน พระองค์ได้ดวงตาปรีชาญาณ หยั่งรู้ได้ด้วยพระองค์เอง ทรงหยั่งรู้ตามเป็นจริง กำหนดด้วยปริวัตรสาม อาการสิบสองอันบริสุทธิ์ หมดจด ทรงหลุดพ้นแล้ว ทรงได้ญาณทัศนะว่า วิมุติ คือ ความหลุดพ้นนี้ไม่กำเริบแล้ว ชาตินี้เป็นชาติที่สุดแล้ว ภพใหม่ไม่มี ไม่ค้องเกิดอีกต่อไป ทรงตรัสย้ำว่า พระองค์ได้ทรงปฎิวัติธรรมจักร ซึ่งยังไม่มีสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม ได้เคยปฏิวัติมาก่อน
                        ๕. เมื่อทรงแสดงธรรมจักรจบแล้ว พระโกณทัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทุกสิ่งมีความดับเป็นธรรมดา ดังนั้น (ยัง กิญจิ สมุทย ธัมมัง สัพพันตัง นิโรธ ธัมมัน ติ - เพิ่มเติม)" ชื่อว่า ตั้งอยู่ในอริยภูมิเบื้องต้น
                        เมื่อจบพระสูตรนี้ ข่าวการปฎิวัตินี้ก็แพร่กระจายไปตลอด หมื่นโลกธาตุ ฝ่ายพระโกญทัญญะ หยั่งทราบธรรมทั่วถึง หมดความสงสัยในธรรม โดยมิต้องเชื่อตามคำบอกเล่าแล้ว กราบทูลขอบรรพชา อุปสมบท พระพุทธองค์ทรงอนุญาตด้วย เอหิภิกขุวิธี ท่านเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก พระรัตนครบสามในวันนั้นด้วย           ๑๔/ ๙๑๐๐
                ๒๖๘๐. ธรรมชาติวิทยา  คือ วิชาวิทยาศาสตร์ สาขาธรรมชาติ หมายถึง เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา ฯลฯ
                        ธรรมชาติวิทยาแบ่งออกเป็นสองหมวดย่อยคือ
                        ๑. วิทยาศาสตร์กายภาพ  เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ เคมี ฟิสิกส์ ฯลฯ
                        ๒. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ  ได้แก่ พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา ฯลฯ           ๑๔/ ๙๑๐๔
                ๒๖๘๑. ธรรมเถึยร  เป็นข้าหลวงเดิมของเจ้าฟ้าอภัยทศ พระอนุชาต่างพระชนนีของสมเด็จพระนารายณ์ ฯ ธรรมเถียร คิดแค้นพยาบาทที่เจ้าฟ้าอภัยทศ ถูกพระเพทราชา และขุนหลวงสรศักดิ์ ลวงไปสำเร็จโทษที่เมืองลพบุรี จึงได้ก่อการขบถขึ้น ตอนต้นแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา ในปี พ.ศ.๒๒๓๒ โดยอ้างตนเป็นเจ้าฟ้าอภัยทศ รวมรวมกำลังคนจากเมืองนครนายก สระบุรี ลพบุรี ยกมาตีกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกปราบปรามได้ ธรรมเถียรถูกจับได้ และถูกประหารชีวิต           ๑๔/ ๙๑๐๔
                ๒๖๘๒. ธรรมนูญ  เป็นกฎหมายซึ่งว่าด้วยระเบียบ และข้อบังคับ ใช้ในความหมายที่เป็นกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ เช่น รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมาย ที่จัดวางระเบียบการปกครองประเทศ
                        ในความหมายที่เป็นกฎหมาย ธรรมนูญก็ต่างกับกฎหมายทั่ว ๆ ไป เพราะเป็นกฎหมาย หรือข้อบัญญัติที่เป็นแม่บท หรือหลัก จึงไม่อาจใช้คำนี้ในความหมายที่เป็นกฎหมายทั่ว ๆ ไป           ๑๔/ ๙๑๑๒
                ๒๖๘๓. ธรรมเนียม  (ดู คำประเพณี - ลำดับที่ ....)           ๑๔/ ๙๑๑๒
                ๒๖๘๔. ธรรมบท  โดยรูปคำแปลว่า บทธรรม หรือข้อธรรม เป็นชื่อหมวดคัมภีร์หนึ่ง ในขุทกนิกาย สุตตันตปิฎฏ ธรรมบทเป็นพระพุทธพจน์ทั้งคัมภีร์ ประพันธ์เป็นสำนวนร้อยกรองคือ เป็นคาถาล้วน           ๑๔/ ๙๑๑๒
                ๒๖๘๕. ธรรมบาล  ๑. เป็นชื่อพระเถระรูปหนึ่ง เรียกกันว่า อาจารย์ธรรมบาลเถระ เป็นผู้แต่งคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา เป็นภาษาบาลีไว้เป็นจำนวนหลายเล่ม คัมภีร์เหล่านี้ได้ตกทอดมาสู่ประเทศไทย และใช้ศึกษากันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
                        ท่านมีชีวิตอยู่ประมาณ พ.ศ.๙๕๐ - ๑๐๐๐ หลังพระพุทธโฆษาจารย์ เล็กน้อย อยู่ในเกาะสิงหล ได้เคยไปศึกษาอยู่ใน สำนักมหาวิหาร ในลังกาทวีป
                        ๒. เป็นชาวลังกาคนหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่สุดในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในอินเดีย และได้รับการยกย่องว่า เป็นนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง รู้จักกันทั่วไปในนาม "อนาคาริกธรรมบาล" ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๗ ในกรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา
                        ขณะที่ท่านธรรมบาลกำลังเรียนอยยู่ที่โรงเรียนเซนต์โทมัส ได้มีเหตุการณ์ที่เป็นต้นเหตุให้ท่านเปลี่ยนวิถึชีวิตในกาลต่อมาคือการชุมนุมของชาวพุทธ เพื่อต่อต้านนักเผยแพร่ศาสนาฝ่ายตรงข้าม เพราะทนต่อการถูกกดขี่และเหยียดหยามทำลายต่อไปไม่ไหว ผู้ที่เป็นศูนย์รวมพลังของชาวพุทธครั้งนั้นก็คือพระเถระผู้ใหญ่ของศรีลังการูปหนึ่ง ท่านแสดงปาฐกถาเป็นประจำในวัดของท่าน ยังผลให้สะท้อนสะเทือนไปถึงศาสนฝ่ายตรงข้ามอย่างรุนแรง จนฝ่านนั้นจัดให้มีการชุมนุมโต้วาทีกันขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๖ ผลปรากฎว่าท่านได้รับชัยชนะเด็ดขาด ข่าวนี้ได้เผยแพร่ไปทั่วศรีลังกาและปประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ธรรมบาลซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียงเก้าขวบเป็นผู้หนึ่งที่ตื่นเต้นและดีใจมากในชัยชนะนี้
                        ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๒๗ ธรรมบาลได้ติดตามพันเอก เฮนรี่ สเตล ออลคอตต์ ชาวอเมริกา และนางปลาวัตสกี ชาวรัสเซีย ผู้ตั้งสมาคมเทวญาณปรัชญาทางพุทธศาสนา ไปอยู่ที่สำนักงานสาขาของสมาคมในอินเดีย เพื่อฝึกหัดงานพระศาสนาและท่านได้ตัดสินใจเปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นแบบอนาคาริกและใช้ชื่อว่า ธรรมบาล
                        เมื่อได้ช่วยงานพอสมควรแล้วท่านก็ได้เดินทางกลับลังกาและได้ร่วมกันจัดตั้งพุทธสมาคมขึ้น งานของสมาคมได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ต่อมาได้ตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้นหลายแห่ง เพื่อดึงเยาวชนของชาติให้รักาาศาสนาและวัฒนธรรมของตนไว้
                        ต่อมาท่านได้จาริกไปตามชนบทจนทั่วประเทศ พยายามชักชวนเพื่อร่วมชาติให้ร่วมกันรักษาศาสนาและวัฒนธรรมของตนไว้ ปรากฎว่าได้รับผลสำเร็จมาก
                        ท่านกับพระภิกษุชาวญี่ปุ่นผู้หนึ่งได้ออกเดินทางไปพุทธคยา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๔ พบว่า พระวิหารพุทธคยาอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม พระพุทธรูปและภาพแกะสลักถูกทำลาย ทอดทิ้งอยู่เกลื่อนกลาด ดังที่เซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ กล่าวไว้ก่อนหน้านั้น ท่านธรรมบาลจึงได้ปฏิญาณตนว่าจะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นในอินเดียให้ได้ หลังจากนั้นท่านได้เดินทางกลับศรีลังกาและร่วมกันจัดตั้งสมาคมศรีมหาโพธิ์ขึ้นที่กรุงโคลัมโบ ตัวท่านเองเป็นเลขาธิการ ได้เชิญผู้แทนจากประเทศไทย ญี่ปุ่น พม่า ศรีลังกา กัลกัตตา จิตตะกอง และยะไข่ ให้เข้าร่วมในการก่อตั้งสมาคมด้วย
                        ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖ และถึงแก่มรณะภาพในปีเดียวกัน หลังจากที่ทำงานหนักเพื่อพระพุทธศาสนา ๔๐ ปี
                       ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ รัฐบาลอินเดียมีมติให้ตรากฎหมายฉบับหนึ่ง ให้พระพุทธศาสน่าอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการจัดการพระวิหารพุทธคยา ประกอบด้วยชาวพุทธสี่คน ชาวฮินดูสี่คน มีผู้ว่าราชการจังหวัดคยาเป็นประธานกรรมการ             ๑๔/ ๙๑๑๔
                ๒๖๘๖. ธรรมบาลกุมาร  เป็นชื่อบุตรเศรษฐีคนหนึ่ง เป็นเทวบุตรลงมาเกิด เป็นผู้รู้ภาษานก และได้ศึกษาไตรเพทจนจบเมื่ออายุเจ็ดขวบ ต่อจากนั้นได้เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่าง ๆ แก่ประชาชน กบิลพรหมจึงลงมาถามปัญหาสามข้อ ซึ่งเรียกกันว่า "มนุษย์สามราศรี"  ให้ธรรมกุมารแก้ ถ้าแก้ไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย แต่ถ้าแก้ได้ก็จะตัดศีรษะตนเองบูชา
                       ในที่สุด ธรรมบาลแก้ปัญหาได้ กบิลพรหมจึงทำตามสัญญา โดยให้ธิดาทั้งเจ็ดตนของท่านเอาพานมารับศีรษะของท่านไว้ แล้วเชิญไปประดิษฐานไว้ที่มณฑป ถ้าคันธชุลี เขาไกรลาส ครั้นถึงกำหนด ๓๖๕ วัน คือ หนึ่งปี ซึ่งถือเป็นสงกรานต์ครั้งหนึ่ง นางเทพธิดาทั้งเจ็ดตน ก็ผลัดเวรกันมาอัญเชิญเศียรท้าวกบิลพรหม ออกไปแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุครั้งหนึ่ง แล้วกลับไปเทวโลก          ๑๔/๙๑๒๔
                ๒๖๘๗. ธรรมยุติ  เป็นชื่อเรียกย่อนิกายสงฆ์นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนา ชื่อเต็มว่าธรรมยุตินิกาย คณะสงฆ์นี้เกิดขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๙ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ครั้งทรงผนวชทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารเป็นผู้ทรงสถาปนาขึ้น แต่ในรัชกาลที่สามนั้นยังเป็นแต่สำนักเรียกว่า สำนักวัดบน รวมขึ้นอยู่ในคณะกลาง ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมประปรมานุชิตชิโนรส มาแยกเป็นคณะอิสระปกครองตนเองในคณะของตนต่อในรัชกาลที่สี่ ทรงลาผนวชออกมาครองราชย์          ๑๔/ ๙๑๒๗
                ๒๖๘๘. ธรรมยุทธิ์.แปลว่า การทำสงครามกันด้วยสติปัญญา หมายความว่า ไม่ต้องใช้ศัตราวุธ ตามหนังสืออรรถกถาชาดก มหานิบาตภาคเก้า ตอนว่าด้วยมโหสถชาดก ให้บทนิยามว่า รบด้วยเลศคือชั้นเชิงเรียกว่า ธรรมยุทธ์ มีอนุสนธิของเรื่องคือ พระเจ้าจุฬนีพรหมทัต แห่งกรุงอุตรปัญจาละ แคว้นกัปบิลรัฐ พระเจ้าจุฬนีพรหมทัตเสด็จกรีฑาทัพไปเที่ยวรบนครต่าง ๆ เอาพระราชาร้อยเอ็ดนครไว้ในอำนาจ เหลืออยู่เมืองเดียวคือกรุงมิถิลา แคว้นวิเทหรัฐ มีมโหสถบัณฑิต กับอาจารย์อีกสี่คนเป็นราชปุโรหิต กองทัพพระเจ้าจุฬนีพรหมทัต ล้อมเมืองมิถิลาอยู่สี่เดือน ก็หักเอาไม่ได้ เพราะมโหสถเตรียมการป้องกันไว้ทุกวิถีทาง อาจารย์เกวัฎคิดอุบาย ให้พระเจ้าจุฬนีพรหมทัตทำเลศอย่างหนึ่งเรียกว่า ธรรมยุทธ์ แต่แพ้อุบายมโหสถ ต้องล่าทัพกลับพระนคร            ๑๔/ ๙๑๓๐
                ๒๖๘๙. ธรรมราชาตามรูปคำท่านแปลไว้สี่นัยคือ นัยหนึ่งว่า เพราะประพฤติตนอยู่ในธรรม นัยสองว่า เพราะชาวโลกพร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์ยอมรับนับถือยกย่องโดยธรรม นัยสามว่า เพราะรุ่งเรืองโดยธรรม นัยสี่ว่า เพราะปกครองพศกนิกรโดยธรรม มีบทนิยามว่า ไว้สามนัยคือ  ๑.พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า  ๒. พญาโดยธรรม  ๓. พญายม
                    นอกจากที่กล่าวมาแล้วคำว่าธรรมราชา ยังเป็นชื่อสมณศักดิ์พระราชาคณะอีก
                    เฉพาะที่เป็นพระนามสำหรับเรียกพระเจ้าแผ่นดินมีมาแต่สมัยสุโขทัย และเรียกเฉพาะเป็นองค์ ๆ ไปเช่น พระธรรมราชาที่ ๑  พระธรรมราชาที่ ๒  พระธรรมราชาที่ ๓ และลงยศเรียกเต็มว่า "มหาธรรมราชา"

    • Update : 27/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch