หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สารานุกรมไทยฉบับย่อ/47

    เล่มที่ ๑๒ ดีดีที - ตั๋วแลกเงิน      ลำดับที่ ๒๐๓๔ - ๒๒๔๘       ๑๒/ ๗๑๘๕ - ๗๘๔๘

                   ๒๐๓๔. ดี.ดี.ที. เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง เมื่อบริสุทธิ์เป็นผลึกเล็ก ๆ รูปเข็มสีขาว สังเคราะห์ได้เป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๑๗ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๒ มีผู้พบว่ามีคุณสมบัติในการฆ่าแมลงได้ และเริ่มมีการผลิตใช้เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๘๖        ๑๒/ ๗๑๘๕
                       ดี.ดี.ที.เป็นพิษภัยแรงต่อสัตว์จำพวกแมลงเนื่องจากไปทำลายระบบประสาท ดี.ดี.ที.เป็นพิษแก่คนและสัตว์อยู่บ้างกรณีที่กินเข้าไป หรือถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายเป็นจำนวนมาก ๆ        ๑๒/ ๗๑๘๕
                ๒๐๓๕. ดีเดือด - บ้า  เป็นอาการแสดงของคนเสียจริต มีอาการคลุ้มคลั่งมาก เอะอะตึงตัง ทุบตีข้าวของ อาการเช่นนี้ อาจเกิดได้เป็นครั้งคราวมีระยะเวลาที่เป็นไม่นาน
                        คำนี้บางทีใช้เรียกการกระทำของบุคคลที่ทำอะไรปัจจุบันทันด่วน ไม่ยั้งคิดโดยโทสะจริต มุทะลุไม่ฟังคำผู้อื่น ก่อให้เกิดความเสียหาย          ๑๒/ ๗๑๘๖
                ๒๐๓๖. ดีนาคราช - ต้น  เป็นใบต้นชนิดหนึ่ง เป็นเถา มีเกร็ดคล้ายเกร็ดงู สำหรับใช้ทายา ต้นไม่สกุลนี้บางครั้งใช้ปูพื้นที่มีน้ำแฉะ เพื่อช่วยซับน้ำให้แห้ง และเนื่องจากบางชนิดต้องแผ่ตัวเองออกได้ จึงกลายเป็นยารักษาโรค         ๑๒/ ๗๑๘๗
                ๒๐๓๗. ดีบุก  เป็นธาตุโลหะชนิดหนึ่งมีสีขาวขาว คล้ายเงิน และมีสีเหลือง สีน้ำเงินปนนิด ๆ ตีแผ่หรือรีดเป็นแผ่นบาง ๆ ได้ ทนต่อการเป็นสนิม หรือการผุผังสลายตัวโดยดิน ฟ้า อากาศ กรด และน้ำยาอื่น ๆ ได้ดีเป็นพิเศษ ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย มีคุณสมบัติเกาะจับผิวโลหะ สามารถผสมกับโลหะอื่น ๆ ได้แทบทุกชนิด
                        ดีบุกที่เกิดในธรรมชาติ  ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบออกไซด์ แหล่งแร่ดีบุกของไทยส่วนมากอยู่ทางภาคใต้ และเป็นแหล่งสายแร่ ที่เป็นทางแร่มันคือ ได้มีการขุดแร่ดีบุกขึ้นมาใช้กว่า ๔๐๐ ปีแล้ว แร่ดีบุกบางแห่งเรียกเป็นตะกั่วป่าหรือตะกั่วทุ่ง เพราะลักษณะคล้ายตะกั่ว
                        ในสมัยโบราณมนุษย์บังเอิญนำแร่ทองแดง ซึ่งมีดีบุกปนอยู่ในธรรมชาติมากถลุง เลขได้พบโลหะผสมเรียก บรอนซ์ เมื่อประมาณกว่า ๕๔๐๐ ปีมาแล้ว โดยได้ส่วนผสมเป็นทองแดง ๙ ส่วน ดีบุก ๑ ส่วน นิยมทำโลหะผสมชนิดนี้ ใช้ทำอาวุธ เครื่องใช้สอย เครื่องใช้ไม้สอย อนุสาวรีย์ รูปศิลปะต่าง ๆ พบว่าดีบุกบริสุทธิ์ ในลักษณะเป็นแผ่นใช้ในการห่อมัมมี่ เมื่อประมาณ ๕๐ ปี ก่อน พ.ศ.
                        ปัจจุบันประโยชน์ส่วนใหญ่ของดีบุกคือ ใช้เคลือบโลหะอื่น เกิดอุตสาหกรรมแผ่นเหล็กชนิดดีบุกขึ้น นอกจากนี้ยังใช้ทำโลหะขัดกรี (ตะกั่วขัดกรี) ซึ่งหลอมละลายได้ง่าย         ๑๒/ ๗๑๘๘
                ๒๐๓๘. ดีปลี - ต้น  เป็นไม้ล้มลุก อาศัยรากที่เกิดตามด้านล่างของลำต้น เกาะพยุงลำต้นขึ้นไปตามต้นไม้อื่น ใบเดี่ยว รูปลักษณะคล้ายใบพลู เมื่อขยี่ดมดูจะมีกลิ่นฉุน ดอกมีขนาดเล็กมาก ออกเป็นช่อแน่นทึบ ตามง่ามใบ ผลมีรสเผ็ดร้อนใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหารและเป็นสมุนไพรขับรก เวลาคลอด แล้วแก้โลหิตตกในการคลอด แก้ลม แก้หืดไอ และแก้เสมหะ รากมีรสเผ็ดร้อนใช้แก้พิษคุดทะราด ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รรูปรีกว้างทางปล่ายใบ        ๑๒/ ๗๑๙๔
                ๒๐๓๙. ดีฝ่อ  เป็นกิริยาแสดงอาการกลัวของผู้ใดผู้หนึ่งที่แสดงว่ากลัวอย่างมากมายจนหมดสติ มักเรียกร่วมกับคำอื่น เป็นวลีว่า ขวัญหนีดีฝ่อ         ๑๒/ ๗๑๘๔
                ๒๐๔๐. ดีหมี - ต้น  เป็นไม้ต้นใบผลัด ใบขนาดกลาง สูงประมาณ ๑๕ เมตร เรียบยอด เป็นพุ่มทึบ ดอกเพศผู้สีขาวขนาดเล็ก ออกเป็นเรียวตามยาว ตามง่ามใบ เพศเมียจำนวน ๑ - ๒ ดอก มีความยาว ออกตามง่ามใบ ๒ พู หยักเว้าตามปลายผล เวลาแก่จัด ผลจะแตกตามรอบประสานสองซึก แต่ละซีกมีเมล็ดหนึ่งเมล็ด  ใบเดี่ยวเรียงสลับกันรูปรีกว้างทางปลายใบ       ๑๒/ ๗๑๙๖
                ๒๐๔๑. ดึกดำบรรพ์ ๑ - ละคร  เป็นละครรำไทยแบบหนึ่ง ที่สมเด็จฯ กรมพระยานริศราผุวัดติวงศ์ได้ทรงปรับปรุงขึ้น เป็นละครที่เลียนแบบละครโอเปร่าของฝรั่ง โดยตัวละครร้องเพลงเอง มีฉากเปลี่ยนไปตามเนื้อเรื่อง
                        ละครดึกดำบรรพ์ แรกเลยเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๒ ในการรับแขกเมืองที่เข้ามาเฝ้าในปีนั้น         ๑๒/ ๗๑๙๗
                ๒๐๔๒. ดึกดำบรรพ์ ๒ - เล่นการ  เป็นการแสดงอย่างหนึ่ง ในพระราชพิธีอินทราภิเษกบางทีก็เรียกว่า "ชักมาดดึกดำบรรพ์" คือการแสดงเรื่องกวนเกษียรสมุทร ซึ่งตรงกับเรื่องในปางกูรมางดาง ปางที่สองในนารายณ์สิบปาง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่หก ได้เพิ่มชุมพระแสง ศัสตราวุธลงในน้ำอมฤต เหมือนพระราชพิธีสัจบาน คือทำน้ำนั้นเป็นน้ำสำหรับถือน้ำพิพัฒธสัตยา ต่อจากนี้บรรดาข้าราชการผู้ใหญ่ก็กราบพระพรถวายบ้านเมือง แสนยานุภาพและส่วยสาอากร แด่พระมหากษัตริย์ เสมือนกระทำพระราชพิธีราชาภิเษกใหม่          ๑๒/ ๗๒๐๔
                ๒๐๔๓. ดึงดูด - แรง  ในวิชาฟิสิกส์ แรงดึงดูด คือแรงระหว่างวัตถุสองก้อน ที่พยายามจะดึงให้วัตถุทั้งสองเข้าใกล้กัน หรือพยายามดันการแยกวัตถุทั้งสองให้ห่างออกไป
                        แรงดึงดูดอาจเป็นผลการแรงมูลฐานหลายชนิด เช่น แรงโน้มถ่วงระหว่างสองจำนวนเป็นแรงดึงดูดเสมอ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า อาจเป็นแรงดึงดูด หรือแรงผลักก็ได้ นอกจากนี้ยังมีแรงนิวเคลียร์ ซึ่งมีค่ามากกว่าแรงแม่เหล็กไฟฟ้า และแรงนิวเคลียร์มีอยู่ระหว่างอนุภาคโปรตอนกับโปรตอน โปรตอนกับนิวตรอนและนิวตรอนกับนิวตรอน          ๑๒/ ๗๒๐๗
                ๒๐๔๔. ดุก - ปลา  เป็นปลาที่มีรูปร่าง และมีความเป็นอยู่ต่างกัน เหตุนี้ปลาดุกทะเลเมืองไทย พอจะแบ่งออกได้เป็นสองวงศ์ คือปลาดุกน้ำจืด กับปลาดุกทะเล
                        ๑. ปลาดุกน้ำจืด เป็นปลาไม่มีเกล็ด มีหนวดสีคู่ แบ่งออกได้เป็น สองสกุล คือปลาดุกและปลาดุกลำผัน ในเมืองไทยมีปลาดุกน้ำจืดอยู่สามชนิด ที่รู้จักกันดีคือ ปลาดุกด้าน, ปลาดุกอุย และปลามด
                        ๒. ปลาดุกทะเล มีอยู่สองชนิดที่พบในเมืองไทย ปรกติอาศัยอยู่ในทะเลไม่มีเครื่องช่วยหายใจ มักพบตามปากน้ำใหญ่ ๆ บางทีก็จับได้ในน้ำจืด        ๑๒/ ๗๒๐๘
                ๒๐๔๕. ดุริยางค์  ในสมัยโบราณหมายถึง เครื่องบรรเลงประเภท ตี เป่า ได้แก่ วงปี่พาทย์ แต่ปัจจุบันได้ขยายความหมาย กว้างขวางออกไป จนใช้หมายถึงเครื่องบรรเลงได้ทั่วไป ไม่ว่าเครื่อง ดีด สี หรือตี เป่า
                         คำว่า "ดุริยางค์" นัยว่า มีกำเนิดมาจากปี่ชนิดหนึ่งของอินเดียสมัยโบราณ ซึ่งอินเดียสมัยนั้นมีวงบรรเลงอยู่หย่างหนึ่งเรียกว่า วง"ปัญจวาทยะ" ซึ่งประกอบด้วยเครื่องบรรเลงห้าอย่าง ในห้าอย่างนั้นมีปี่เลา ที่ชื่อว่าดุริยะ เป็นประธานวง       ๑๒/ ๗๒๑๓
               ๒๐๔๖. ดุริยางค์ศิลป์  หมายถึง ศิลปะของการบรรเลงเครื่องดุริยางค์  เป็นการทำเสียงเพลงที่บรรเลงนั้น บังเกิดมีชีวิตขึ้น ผู้ใดฟังเกิดอารมณ์สะเทือนใจไปตามอารมณ์นั้นได้         ๑๒/ ๗๒๑๕
                ๒๐๔๗. ดุษฎีบัณฑิต  คือ ปริญญาเอก หรือปริญญาสูงสุด         ๑๒/ ๗๒๑๖
                ๒๐๔๘. ดุษฎีมาลา  เป็นชื่อเหรียญสำหรับศิลปะวิทยา ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประเภทหนึ่ง (ดูเครื่องราชอิสริยาภรณ์ - ลำดับที่ ๑๑๑๑)         ๑๒/ ๗๒๑๖
                ๒๐๔๙. ดุสิดาราม - วัด  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือปากคลองบางกอกน้อย ต.บางยี่ขัน อ.บางกอกน้อย จ.กรุงเทพฯ เป็นวัดโบราณสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดเสาประโดน
                         ส่วนสำคัญของพระอุโบสถที่ยังคงเหลือร่องรอยอยู่คือภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ เป็นภาพเขียนฝีมือช่างในรัชกาลที่หนึ่ง เขียนเป็นตอน ๆ คือตั้งแต่พื้นพระอุโบสถขึ้นไปถึงขอบธรณี ด้านล่างของหน้าต่าง เขียนภาพต้นไม้ดอกไม้ไว้โดยรอบทั้งสี่ด้าน เหนือขอบธรณีล่างขึ้นไปถึงขอบธรณีบนของหน้าต่าง เขียนภาพพระพุทธประวัติสามด้าน ส่วนผนังงด้านหลังพระประธานในระดับเดียวกันนี้เขียนภาพยมโลก ตั้งแต่ขอบธรณีขึ้นไปเขียนภาพเทพชุมนุมสามชั้นไว้ที่ฝาผนังด้านข้างทั้งสอง ส่วนฝาผนังด้านหน้าในระดับเดียวกันเขียนภาพมารวิชัย แต่ด้านหลังเขียนภาพมนุษยโลกและเทวโลก       ๑๒/ ๗๒๑๖
                ๒๐๕๐. ดุสิต ๑  อำเภอใน จ.กรุงเทพฯ ภูมิประเทศเป็นที่ราบ         ๑๒/ ๗๒๒๕
                ๒๐๕๑. ดุสิต ๒  เป็นชื่อสวรรค์ชั้นที่สี่ แห่งอกามาพจร มีท้าวสันดุสิตเป็นผู้ครอง เป็นที่เกิดแสง เป็นที่อยู่ระหว่างพวกโพธิสัตว์ พระพุทธปิดก พระพุทธมารดาแสงท่าบ ผู้วิเศษอื่น ๆ เป็นแดนแห่งความสุข เป็นที่สถิตแห่งปวงเทพเจ้า ผู้มีความยินดี และมีความแช่มชื่นอยู่เป็นนิตย์ ภาพในเทพนคร มีปราสาทวิมานอยู่สามวิมานคือ รัตนวิมาน กนกวิมาน และรัชตวิมาน
                        ทวยเทพผู้สถิตในสวรคค์ชั้นดุสิตมีความรู้เรื่องบุญกุศล เป็นอย่างดี มีจิตยินดีต่อการสดับตรับฟังพระธรรมเทศนายิ่งนัก ทุกวันธรรมสวนะจะมีเทวสันนิบาติ เพื่อฟังธรรมเสนอมิได้ขาด ท้าวสันดุสิตเทวราช ทรงเป็นเทพรทิผู้พหูสูตร เป็นผู้รู้ธรรม ของพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก อีกประการหนึ่ง ตามปรกติสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ เป็นที่สถิตแห่งเทพบุตรผู้เป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งจักตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ท้าวสันดิสิต จึงอัญเชิญให้เป็นองค์แสดงธรรม         ๑๒/ ๗๒๒๕
                ๒๐๕๒. ดุสิตมหาปราสาท - พระที่นั่ง  เป็นพระมหาปราสาทองค์ที่สองของกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เป็นมหาปราสาทจตุรมุขเจ็ดชั้น เป็นปราสาทก่ออิฐก่อปูนองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
                        ภายนอกองค์พระที่นั่งมีกำแพงแก้วล้อมสามด้าน มีประตูด้านเหนือสามประตู ด้านตะวันออกสองประตู ด้านตะวันตกหนึ่งประตู เป็นประตูยอดมณฑป ประดับกระเบื้องเคลือบสี หน้าพระที่นั่งมีทิมคตสองหลัง เบื้องหลังพระที่นั่งสรรเขื่อนเพชร เป็นแนวกำแพงกับเขตระหว่างพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน
                        พระที่นั่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า สมเด็จพระอัครมเหสีและบางโอกาส ก็โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระศพพระบรมราชวงศ์บางพระองค์ด้วย ในระหว่างที่มิได้มีการประดิษฐานพระบรมศพ ก็ได้ใช้พระที่นั่งสำหรับประกอบการพระราชพิธีและการพระราชกุศลต่าง ๆ          ๑๒/ ๗๒๒๙
                ๒๐๕๓. ดูเหว่า - นก  มีขนาดเล็กกว่านกกระปูด และกา แต่ห่างยาวกว่า ตัวผู้สีดำทั่วตัว ตัวเมียมีน้ำตามแก่ มีลายสีขาวแทบทั่วตัว นกดุเหว่ามักส่งเสียงร้องดัง "ดูเวา ดูเวา" เราจึงให้ชื่อตามเสียงที่ร้องว่า นกดูเหว่า ซึ่งมักร้องตอนจวบสว่าง และตอนเช้า
                        นกดูเหว่าทำรังไม่เป็น ตัวเมียมักชอบไปแอบ่างไข่ไว้ในรังกา ฉะนั้น จึงผสมพันธ์ วางไข่ในฤดูที่กาทำรัง คือในหน้าหนาว สี่ไข่นกดูเหว่า คล้ายกับสีไข่กา คือสีเทาแกมเขียว แต่ขนาดเล็กกว่า บ้างครั้งนกตัวผู้บินไปล่อกา ให้ขับไล่ตามปล่อยให้ตัวเมียเข้าไปวางไข่ในรังกา กาจะกกและฟักไข่จนออกมาเป็นตัวและเลี้ยงดูลูกนกดูเหว่า เหมือนกับลูกของตัวจนสอนบินได้จึงแยกกันไป          ๑๒/ ๗๒๓๙
                ๒๐๕๔. เดชอุดม  อำเภอใน จ.อุบลราชธานี ภูมิประเทศตอนเหนือและตอนกลางเป็นที่ราบ เหมาะแก่การทำนา ตอนตะวันออกและตอนใต้ ติดต่อกับภูเขาพนมดงรัก เป็นที่สูงเป็นเนินเป็นโคกดินแดงมีเขาเล็ก ๆ ตอนตะวันตกเป็นเนินเป็นโคกมีที่ราบบ้าง
                        อ.เดชอุดม เดิมเป็นบ้านเรียกว่า บ้านโดยใหญ่ ยกเป็นเมืองเดชอุดม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๗ ตั้งอยู่ในอำเภอปัจจิมเดช ต่อมายุบเมือง เดชอุดม เหลือเพียง อ.ปัจจิมเดช ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๕ ได้ตั้งเป็น อำเภอขึ้นใหม่เรียก อ. เดชอุดม          ๑๒/ ๗๒๓๙
                ๒๐๕๕. เดชาดิศร - กรมสมเด็จพระ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระนามเดิมคือ พระองค์เจ้านายมั่ง ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๖ ได้ทรงกำกับกรมพระอารักษณ์ตั้งแต่ในรัชกาลที่สอง จนตลอดพระชนมายุ ได้กำกับกรมนา ในรัชกาลที่สี่ สิ้นพระชนมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๒ พระชันษา ๖๗ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุลเดชาติวงศ์ ณ อยุธยา         ๑๒/ ๗๒๔๑
                ๒๐๕๖. เดโช ๑ - พระญา  เป็นชื่อแม่ทัพใหญ่ของขอม ชื่อนี้สมเด็จกรมพระยานริสราบุรัดติวงศ์ ได้ทรงเป็นผู้ขยายขึ้น แต่เดิมพงศาวดารเหนือใช้ว่า "ขอมดำดิน"
                        บทบาทของพญาเดโชในเรื่องพระร่วงมีอยู่ว่า เมื่อนักคุ้ม ข้าหลวงพระเจ้าพันธุมสุริยวงศ์รายงานเรื่องความเฉลียว ของพระร่วงเข้าเมืองละโว้คนใหม่  พระเจ้าพันธุมฯ ทรงเห็นว่าควรกำจัดเสียแต่ต้น เมื่อพญาเดโชเป็นผู้รับเหมา ที่มาจับพระร่วง เมื่อมาถึงเมืองละโว้ปรากฏว่าพระร่วงหนี้ไปอยู่ที่เมืองสุโขทัย พญาเดโชจึงปลอมตัวเป็นคนไทย และลอบไปอย่างลึกลับ ประหนึ่งว่าแทรกแผ่นดินไป จึงเรียกว่า ขอมดำดิน เมื่อไปถึงกรุงสุโขทัย แล้วไปพบพระร่วง เป็นภิกษุอยู่ไม่รู้จักจึงเข้าไปถามหาพระร่วง พระร่วงรู้ว่าเป็นขอมปลอมมาจึงไปบอกให้โยมวัดมาจัดการ พญาเดโชถูกส่งตัวกลับไปเมืองขอม          ๑๒/ ๗๒๔๒
                ๒๐๕๗. เดโช ๒ - พระยา  เป็นราชทับนามย่อของออกญา หรือพระยาสีหราชเดโชโชย สมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าราชการ ฝ่ายทหาร มีกองทัพใหญ่สังกัดอยู่แยกเป็นสองกองทัพ คือกองทัพเดโชและกองทัพหนี้น้ำ กองทัพเดโชมีออกญาสีหราชเดโชไชย คือศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ เป็นแม่ทัพฝ่ายขวา กองทัพท้ายน้ำมีออกญาท้ายน้ำ ถือศักดินา ๑๐.๐๐๐ ไร่ เป็นแม่ทัพฝ่ายซ้าย
                        ข้าราชการผู้ใหญ่ฝ่ายทหารได้รับแต่งตั้งเป็นออกญาเดโช สืบต่อมาตั้งแต่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๑๑) ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ (พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๒๓๑) โปรดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี ขุนเหล็กยกทัพไปตีพม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๗ มีพระยาสีหราชเดโชไชย เป็นแม่ทัพหน้า กองทัพไทยรุกไปทางเหนือของพม่า แล้วล้อมเมืองภูพานไว้ได้ พระยาสีหราชเดโชไชย เห็นว่าพม่าไม่ออกรบ กลางแปลงก็คุมพลเข้าปล้นค่ายพม่าได้ชัยชนะเนื่อง ๆ พวกพม่าทำกลอุบายแกล้งทำเป็นทิ้งค่ายหนีไป พระยาสีหราชเดโชไชยไม่รู้ว่าเป็นกลอุบาย คุมพลถลำล่วงเข้าไปในค่าย พม่าล้อมจับได้ แต่ก็สามารถแก้ไขชิงเอาค่ายได้ในที่สุด
                        ในสมัยรัตนโกสินทร บรรดาศักดิพระยาสีหราชเดโช ได้มีสืบต่อม เช่น นายพลโทพระยาสีหราชเดโชไชย (โต บุนนาค) ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาสรวงษ์วัฒนศักดิ์ และนายพลเอกพระยาสีหราชเดโชไชย (แย้ม ณ นคร) ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต
                        ในหนังสือพจนานุกรมข้าราชการ ซึ่งพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.๑๔๘๐ มีชื่อพระยาสีหราชเดโชไชย (สวาสดิ์ บุนนาค) มียศทหารเป็นนายพลโท         ๑๒/ ๗๒๔๓
                ๒๐๕๘. เด่นชัย  อำเภอใน จ.แพร่ ภูมิประเทศเป็นที่ราบมีป่าและเขา อ.เด่นชัยแรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ ขึ้น อ.สูงเนิน ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘          ๑๒/ ๗๒๔๘
                ๒๐๕๙. เดอ ลาบอตลองแบรด์  เป็นชื่อหัวหน้าคณะบาทหลวงฝรั่งเศสชุดแรก ที่เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๕ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
                        สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงให้การต้อนรับคณะสอนศาสนาด้วยดี และอนุญาตให้สั่งสอนศาสนาได้ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๐๗ บาทหลวงปัลลู พระราชาคณะแห่งเฮลิโอพรอปีตรัช บาทหลวงอีกสี่คนได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยา บาทหลวงเดอ ลาบอตลองแบรด์และบาทหลวงปัลลู เห็นพ้องกันว่า กรุงศรีอยุธยาเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่คริสตศาสนาในตะวันออกไกล ยิ่งกว่าเมืองใดๆ เพราะเมืองไทยเป็นศูนย์กลางการค้าขายติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ในเแหลมอินโดจีน ญี่ปุ่น และรัฐต่าง ๆ ในอินเดีย สะดวกในการบริหารและควบคุมคณะมิชชันนารีในประเทศใกล้เคียงที่สำคัญคือรัฐบาลไทยไม่กีดกันศาสนาอื่น ทั้งยังให้เสรีภาพพวกศาสนายิ่งกว่าประเทศใด ๆ ทางตะวันออก
                        บาทหลวงเดอลาบอต ลองแบรด์ จึงทำรายงานเสนอสันตปาปา และพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่คริสต์ศาสนา ในภาคตะวันออกและส่งบาทหลวงปัลลูเดินทางกลังไปยุโรป เมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๘ เพื่อขอให้สันตปาปาและพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มีพระราชสาสน์มาเจริญทางพระราชไมตรีกับ กรุงศรีอยุธยา สันตปาปาเห็นชอบด้วย ได้แต่งตั้งบาทหลวง เดอลาบอต ลองแบรด์ พระราชาคณะแห่ง เบริท ดำรงตำแหน่งสังฆราชในเมืองไทย และบรรดาประเทศใกล้เคียงที่มิได้อยู่ในอำนาจปกครองของรัฐบาลสเปน และโปร์ตุเกส เมื่อบาทหลวงปัลลูเดินทางกลับจากทวีปยุโรปในปี พ.ศ.๒๒๑๖ ได้นำพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และสาสน์ของสันตปาปา เดลมองดูที่ ๙ เข้ามากราบสมเด็จพระนารายณ์ฯ ด้วย บาทหลวงทั้งสองเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ฯ กราบพระราชสาสน์ และสาสน์อย่างราชทูตเป็นครั้งแรก
                        บาทหลวง เดอ ลาบอต ลองแบรด์ ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๒๒๒         ๑๒/ ๗๒๔๘
                ๒๐๖๐. เดิมบางนางบวช  อำเภอใน จ.สุพรรณบุรี ภูมิประเทศทางทิศตะวันตกเป็นที่ดอน เป็นป่าทึบและเขาโดยมาก นอกนั้นเป็นที่ราบ
                        อำเภอนี้แต่เดิมเรียก เดิมบาง ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๔ เป็นคนละอำเภอกับ อ.นางบวช ในปี พงศ.๒๔๘๑ เปลี่ยนชื่อ อ.บางบวช เป็น อ.สามชุก และเปลี่ยนชื่อ อ.เดิมบาง เป็น อ.เดิมบางนางบวช         ๑๒/ ๗๒๕๒
                ๒๐๖๑. เดียนเขียนฟู - เมือง  ชื่อไทยว่าเมืองแกง ตั้งอยู่ใกล้พรมแดนลาว เมืองนี้เคยเป็นหัวเมืองสำคัญในแคว้นสิบสองจุไท ตอนใต้ในขณะที่ประทับของพ่อขุนบรม ซึ่งเป็นกษัตริย์ไทยองค์แรก ในสมัยที่ชนชาติไทยอพยพลงมาตั้งถิ่นฐานในแคว้นสิบสองจุไท
                        ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ หลังจากที่ไทยได้ปราบขบถเจ้าอนุแห่งเมืองเวียงจันทน์ แล้วก็ได้ยกกองทัพไปขับไล่ญวนให้ออกไปจากเมืองแถง และมอบหมายให้เจ้านครหลวงพระบาง ซึ่งขึ้นต่อไทยในขณะนั้น เป็นผู้ดูแลปกครองเมืองเกียง แต่เจ้านครหลวงพระบางไม่ได้แต่ตั้งผู้ใดไปครองเมืองแถงเลย ญวนจึงกลับเข้ามามีอำนาจในแคว้นสิบสองจุไทอีก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๘๕ เป็นต้นไป
                        ในปี พ.ศ.๒๔๐๓ พวกลื้อ ได้ยกทัพมาจากสิบสองปันนาเข้าโจมตีแคว้นสิบสองจุไท เจ้าเมืองหนีไปพึ่ง เจ้านครหลวงพระบาง แล้วช่วยกันขับไล่ลือออกไป จากแคว้นสอบสองจุไทได้ ส่วนเมืองแถงก็ถูกพวกลือรุกราน เช่นกัน พวกลือขับไล่ขุนบางญวนกลับไปหมด ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๑๓ พวกผู้ไท ก็สามารถขับไล่พวกลือออกไปจากเมืองแถงได้
                        ในปี พ.ศ.๒๔๑๑ พวกป่อก่อขบถขึ้นที่เมืองแถง เจ้าเมืองถูกฆ่าตาย ยังไม่มีการตั้งเจ้าเมืองใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ.๑๔๑๕ ญวนได้ส่งคนมาปกครองเมืองแถง ในปีเดียวกันพวกฮ่อ ได้ยกมายึดเมืองแถง เจ้านครหลวงพระบางยกกำลังไปขับไล่ ฮ่อออกไป พ.ศ.๒๔๑๙ ญวนตั้ง พ่อค้าจีนคนหนึ่งให้เป็นเจ้าเมืองแถง
                        ในปี พ.ศ.๒๔๒๑ ญวนได้ส่งกองทัพมาช่วยบุตรเจาไลปราบฮ่อธงเหลืองในแคว้นสิบสองจุไท เจาไลมอบเมือง ที่ตีได้จากฮ่อเมือง ให้แก่ญวน ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ เจาไลให้บุตรชายชื่อคำฮุยมาครองเมืองแถง ญวนตั้งให้เป็นที่บางเบียน
                        ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ฝรั่งเศสมีนโยบายจะใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางไปสู่ตลาดการค้าที่ยูนนาน ก็ยึดญวนใต้ไว้ได้ ในปี พ.ศ.๒๔๐๕ ยึดแบ่งจากไทยในปี พ.ศ.๒๕๐๖ แล้วกำหนดเขตปฏิบัติการของคนต่อไปในลาวเหนือ ซึ่งรวมแคว้นสิบสองจุไทไว้ด้วย
                        พวกฮ่อได้ยกเข้ามาปล้นสะดมหัวเมืองลาวในปี พ.ศ.๒๔๑๘, ๒๔๒๘ และ ๒๔๒๘ ตามลำดับ หมื่นไวยวรนารถได้ยกกองทัพไปปราบฮ่อ และจัดการปกครองแคว้นสอบสองจุไท และหัวเมืองอื่นๆ ทางลาว เมื่อปราบพวกฮ่อในหัวพับทั้งห้าทั้งหก เรียบร้อยแล้ว ก็ยกทัพไปเมืองแถง ในปี พ.ศ.๒๔๒๙ แต่งตั้งพระสวามิภักดิ์สยามเขตเป็นเจ้าเมืองแถง
                        ฝ่ายฝรั่งเศสประสงค์จะรวมแคว้นสิบสองจุไทไว้กับจักรวรรดิ์อินโดจีน จึงพยายามหาหลักฐานว่าดินแดนดังกล่าว เป็นของญวนเพื่อฝรั่งเศสจะได้สืบสิทธิญวนต่อไป ได้แต่งตั้งให้นายปาวเป็นผู้ช่วยกงสุล ประจำหลวงพระบาง แล้วให้ตรวจตราภูมิประเทศในลาวเหนือเพื่อทำแผนที่
                        พวกฮ่อได้ยกทัพมาตีเมืองแถงแล้วยกมาปล้นเมืองหลวงพระบางจากนั้นก็ยกทัพกลับเพราะได้ข่าวว่า กองทัพฝรั่งเศสจากตังเกี๋ยยกมายังลุ่มแม่น้ำดำ
                        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงแต่งตั้งพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจ้าหมื่นไวยวรนาถ) เป็นแม่ทัพยกไปปราบ ฮ่อใหม่โดยให้ไปรักษาเมืองหลวงพระบาง และช่วยแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือแต่ทางฝรั่งเศสได้ส่งกองทหาร เข้ายึดครองเมืองแถงเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๐ ก่อนที่กองทัพไทยจะยกไปถึง
                        ในต้นปี พ.ศ.๒๔๓๑ ฝรั่งเศษอ้างว่าดินแดนของฝรั่งเศสมีอาณาเขตไปจดแม่น้ำโขง และขอสงวนเสรีภาพทุกประการในดินแดนทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เมืองแถงจึงอยู่ใต้การยึดครองของฝรั่งเศสโดย พฤตินัยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๑ และต่อมาไทย ไทยต้องลงนามในสัญญาฉบับวันที่ ๓ ตุาลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ยกดินแดนบนฝั่งชายแม่น้ำโขงรวมแคว้นสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศส
                        หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โฮจิมินห์ประกาศญวนเป็นเอกราช เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ แต่ฝรั่งเศสไม่ยินยอม จึงเกิดการรบที่ เมืองเขียนฟู กองทัพฝรั่งเศสเลือกเมืองเดียนเขียนฟู เป็นที่มั่นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ แต่ถูกพวกเรียตมินต์ตีแตกในวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๗
                        ฝรั่งเศสได้มอบภาคเหนือของญวนให้อยู่ในความปกครองของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามตามความ ตากลงแห่งเมืองเจนีวา เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๗ โดยใช้แม่น้ำไฮ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เส้นขนานที่ ๑๗ เป็นเส้นกันเขตแดน         ๑๒/ ๗๒๕๔
                ๒๐๖๒. เดียรถีย์  มีคำนิยามว่า "นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยพุทธกาล" เป็นคำกลางที่ทางพุทธศาสนาใช้ เรียกนักบวชอื่น ๆ บางทีตามเดิม อัญญะ ซึ่งแปลว่า อื่น เข้าไปข้างหน้าเป็นอัญญเดียรกีย์ ก็มี
                       พวกเดียร์ถีย์ในสมัยพุทธกาลมีอยู่มากมาย และมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เรียกตามชื่อลัทธิก็มี เรียกตามชื่อสำนักก็มี และเรียกตามลักษณะอาการ หรือพรตที่ประพฤติปฏิบัติก็มี แยกออกเป็นประเภทๆ ได้ คือ
                       ฤาษี  แปลว่าผู้เห็น คือ เห็นสัจธรรม ผู้แสวงหา คือ แสวงหาคุณธรรม เป็นคำในภาษาสันสกฤตตรงกับ อิสิ ในภาษาบาลี เป็นนักบวชประเภทอยู่ในป่า จัดเป็นนักบวชพวกธรรมของอินเดีย
                       ดาบส แปลว่า ผู้บำเพ็ญพรต เป็นนักบวชประเภทนุ่งขาว
                       มุนี แปลว่า ผู้บำเพ็ญโมเนยปฏิบัติ คือ ถือความวิเวก สงบ สงัด ไม่พูดจากับใคร
                       ปริพาชก แปลว่า ผู้เร่ร่อน ไม่ค่อยอยู่ประจำที่มีทั้งผู้ชายและผู้หญิง
                       อาชีวก แปลว่า ผู้เลี้ยงชีพ มีทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยทั่วไปเป็นนักบวชในศาสนาเชนนิกายหนึ่ง
                       อเจลก แปลว่า ผู้ไม่นุ่งผ้า ใช้เรียกนักบวชในศาสนาเชนนิกายทิกับพร
                       นิคันถะ คือ นิครนถ์แปลว่าผู้ปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดเป็นชื่อเรียนับวชในศาสนาเชน
                       ชฎิล แปลว่า ผู้ไว้ผม นิยมเกล้าเป็นชฎา นับถือการบูชาไฟ
                       มณทกะ แปลว่า ผู้มีศรีษะโล้น
                       เครุยะ แปลว่า ผู้นุ่งขาวห่มขาว เห็นจะเป็นพวกชีผ้าขาว
                       เคคัณติกะ แปลว่า ผู้ถือไม้เท้าสามหัว ผ้าจะเป็นพวกฤาษี
                       เทวธัมมิกะ แปลว่า ผู้นับถือพระผู้เป็นเจ้า คือพราหมณ์พวกนับถือพระพรหม ว่าเป็นผู้สร้างโลก
                       ภิกขุหรือภิกษุ แปลว่า ผู้ขอ คือถือการขออาหารเป็นอาชีพ
                        คำว่าเดียรถีย์ แปลว่า ทางน้ำ ฝั่งน้ำ ในทางศาสนาหมายถึงลัทธิ เพราะเป็นที่ข้ามไปสู่สุคติ ในพระวินัยปิฎก มีว่าถ้าเดียรถีย์คนใดต้องการจะบวชในพระพุทธศาสนา ต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อทดสอบดูว่าผู้นั้นมีความเลื่อมใสจริง เสียก่อนจึงอนุญาตให้บวชได้ วิธีดังกล่าวเรียกว่า ติตถิยปริวาส อนึ่ง การภิกษุในพระพุทธศาสนารูปใด ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ต่อมาเกิดกลับใจขอบวชในพระพุทธศาสนาอีก ท่านห้ามมิให้บวชเด็ดขาดเพราะถือเป็นอภัพบุคคล คือ ผู้ขาดคุณสมบัติของผู้จะบวชอย่างหนึ่ง          ๑๒/ ๗๒๖๓
                ๒๐๖๓. เดือน  เป็นช่วงเวลาที่กำหนดโดยอาศัยการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ไปในท้องฟ้า การกำหนดเดือนอาศัยการดู เสียงของดวงจันทร์ เริ่มนับช่วงเวลาตั้งแต่เดือนดับ ถึงเดือนดับอีกครั้งหนึ่งเป็นหนึ่งเดือน เดือนระบบจันทรคติมี ๒๙.๕๓๑๐๕๘๙ วันใช้ในการคำนวณของดาราศาสตร์         ๑๒/ ๗๒๖๗
                ๒๐๖๔. เดือย  เป็นผลของพันธุ์หญ้าล้มลุกขนาดสูง ต้มเดือยมีลำต้น และใบคล้ายข้าวโพด ผิดกันที่ใบสั้นกว่า สูงประมาณ ๑.๕ - ๒.๐ เมตร
                        ลูกเดือยบางพันธุ์มีเปลือกหนาแข็ง และมีสีต่าง ๆ จึงเหมาะสำหรับใช้ทำเครื่องประดับร่างกายเพื่อความสวยงาม ของสตรี เช่น ทำเป็นประคำ ตุ้มหู และกล่าวว่า มีสรรพคุณทางรักษาโรคต่าง ๆ          ๑๒/ ๗๒๖๙
                ๒๐๖๕. แดง ๑ - ทะเล  เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย เป็นแอ่งกระเบน มีรูปร่างแคบยาว ล้อมรอบด้วยแผ่นดินเกือบทุกด้าน ทางตะวันออกคือ คาบสมุทรอาหรับ เป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเซีย ทางตะวันตกเป็นทวีปแอฟริกา
                        ทะเลแดงทอดตั้งทางตะวันตกเฉียงเหนือไปตะวันออกเฉียงใต้ ยาว ๒,๒๙๔ กม. ตอนกว้างสุด ๓๔๔ กม. ตอนแคบสุด ๓๒ กม. เรียกว่า ช่องแคบ บาบ เอล แมนเดบ ที่ทางตอนเหนือสุดมีคาบสมุทรซีนาย ยื่นเข้ามาทำให้เกิดเป็น อ่าวแคบๆ สองอ่าว อ่าวทางตะวันตกเรียกว่า อ่าวสุเอซ ซึ่งติดต่อกับทะเลเมดิเตอเรเนียน ใต้ทางคลองสุเอซ อ่าวสุเอซ กว้างเฉลี่ย ๒๙ กม. ยาว ๓๓๖ กม. ทางตะวันตกของคาบสมุทรซีนายเป็นอ่าวอะกาปา ความกว้างเฉลี่ย ๑๖ กม. ยาว ๑๘๙ กม. ตอนใต้สุดของทะเลแดงคือ ช่องแคบ บาบ เอล เเมนเดบ ซึ่งติดต่อกับมหาสมุทรอินเดียโดยผ่านทางอ่าวเอเดน         ๑๒/ ๗๒๖๙
                ๒๐๖๖. แดง ๒ - แม่น้ำ  อยู่ในเวียดนามเหนือเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเวียดนาม ตอนเหนือยาวประมาณ ๑,๑๗๐ กม. ยอดน้ำอยู่ห่างจากทะเลสาบเออไฮยา ทางใต้อยู่ในมณฑลยูนนาน ทางภาคใต้ของประเทศจีน ไหลมาทางตะวันออกเฉียงใต้ เข้าเขตเวียดนามตอนเหนือ ผ่านเมืองขลากาย เจียดตรี ซอนเต และฮานอย แล้วไหลลง อ่าวตังเกี๋ย
                        ที่ปากแม่น้ำแดงมีดินดอนสามเหลี่ยม เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ดินมีความอุดมสมบูรณ์มาก เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ
                        แม่น้ำแดงมีสาขาอยู่สอบสายคือ แม่น้ำดำ  ไหลมาบรรจบจากทางใต้ใกล้เมืองกวางตรี กับแม่น้ำแกม ไหลมาบรรจบทางเหนือ         ๑๒/ ๗๒๗๒
                ๒๐๖๗. แดง ๓ - ลม  เป็นคำไทยโบราณ เรียกลมพายุแรงๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย สาเหตุที่เรียกว่า ลมแดง เพราะจะสังเกตเห็นท้องฟ้าสีแดงจัด ก่อนเกิดพายุเสมอ         ๑๒/ ๗๒๗๓
                ๒๐๖๘. แดง ๔ - มด  เป็นมดชนิดหนึ่งทำรังอยู่บนต้นไม้ โดยใช้ใบไม้หลายใบมาเชื่อมต่อกัน ห่อหุ้มเป็นรัง การที่เรียกกันว่า มดแดง เพราะตัวมดมีสีแดงปนสีส้มตลอดทั้งตัว โดยทั่วไปมดเหล่านี้เป็นมดงานทำหน้าที่เฝ้ารักษารัง และหาอาหารเลี้ยงดูรัง ทางภาคเหนือเรียกมดชนิดนี้ว่า มดส้ม และนิยมเก็บตัวมากิน หรือปรุงแทนน้ำส้มใส่อาหาร         ๑๒/ ๗๒๗๔


    • Update : 25/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch