หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/46

    สมุนไพรให้สีแต่งสีอาหาร

    กรรณิการ์

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Nyctanthes arbor-tristis  L.

    ชื่อสามัญ  Night blooming jasmine

    วงศ์  OLEACEAE

    ชื่ออื่น :  กณิการ์ , กรณิการ์

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร กิ่งเป็นสี่เหลี่ยม มีขนสาก ใบ
    ส่วนที่ใช้
    ต้น ใบ ดอก ราก ก้านดอก
    เดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3.5-10 ซม. ปลายแหลมหรือยื่นเป็นติ่งแหลม โคนมน ขอบเรียบหรือจักแหลมใกล้ๆ โคนใบ แผ่นใบหนาสากมือ มีขนแข็งตามแผ่นใบและเส้นใบ ตามขอบใบอาจมีขนแข็งๆ เส้นแขนงใบข้างละ 3-4 เส้น ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ช่อดอกออกตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาว 1.2-2 ซม. มีใบประดับรูปคล้ายใบเล็กๆ 1 คู่ที่ก้านช่อดอก แต่ละช่อมี 3-7 ดอก กลิ่นหอม บานตอนเย็นและจะร่วงในเช้าวันรุ่งขึ้น ไม่มีก้านดอก แต่ละดอกมีใบประดับ 1 ใบ ดอกตูมมีกลีบดอกเรียงซ้อนกันและบิดเป็นเกลียว กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน ติดกันเป็นหลอดรูปกรวยปลายตัดหรือหยักตื้นๆ 5 หยัก ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอดสีแสด ยาว 1.1-1.3 ซม. ด้านนอกเกลี้ยง ด้านในมีขนยาวๆ สีขาวที่โคนหลอด ปลายหลอดแยกเป็นกลีบสีขาว 5-8 กลีบ แต่ละกลีบยาว 0.9-1.1 ซม. โคนกลีบแคบ ปลายกลีบกว้างและเว้าลึก เกสรเพศผู้ 2 อัน ติดอยู่ภายในหลอดกลีบดอกตรงบริเวณปากหันด้านหน้าเข้าหากัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกับหลอดดอก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ กลม มี 2 ช่อง มีออวุลช่องละ 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียมีอันเดียว ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มมีขน ผลรูปไข่หรือกลม ค่อนข้างแบน ปลายมีติ่งสั้นๆ

    สรรพคุณ :

    • ต้น - รับประทานแก้ปวดศีรษะ

    • ใบ -  บำรุงน้ำดี

    • ดอก - แก้ไข้ และแก้ลมวิงเวียน

    • ราก - แก้อุจจาระเป็นพรรดึก บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ลม แก้ผมหงอกบำรุงผิวหนังให้สดชื่น

    • ก้านดอกสีแดงแสด (สีส้ม) - คั้นเอาน้ำไปทำสีขนมหรือสีย้อมผ้าได้ดี

    วิธีและปริมาณที่ใช้ - ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำ เติมน้ำคั้นเองาแต่น้ำ 1 ถ้วยแก้ว แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง เป็นยาขม เจริญอาหาร
    สารเคมี - กลุ่ม
    Carotenoid

    สมุนไพรให้สีแต่งสีอาหาร

    ขนุน

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Artocarpus heterophyllus  Lam.

    ชื่อสามัญ  Jack fruit tree

    วงศ์ MORACEAE

    ชื่ออื่น :  ขะนู (ชอง-จันทบุรี) ขะเนอ (เขมร) ซีคึย, ปะหน่อย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  นะยวยซะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)  นากอ  (มลายู-ปัตตานี) เนน (ชาวบน-นครราชสีมา) มะหนุน (ภาคเหนือ,ภาคใต้) ล้าง,ลาน (ฉาน-เหนือ)  หมักหมี้ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) หมากกลาง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ ดอก เป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า "ส่า" มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม การออกดอก จะออกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม และเมษายน - พฤษภาคม  ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยง ผล เป็นผลรวมมีขนาดใหญ่
    ส่วนที่ใช้ :
     ยวง เมล็ด แก่นของขนุน ส่าแห้งของขนุน ใบ

    สรรพคุณ :

    • ยวงและเมล็ด - รับประทานเป็นอาหาร

    • แก่นของขนุน - ต้มย้อมผ้าให้สีน้ำตาลแก่

    • ส่าแห้งของขนุน - ใช้ทำชุดจุดไฟได้

    • แก่นขนุนหนังหรือขนุนละมุด - มีรสหวานชุ่มขม บำรุงกำลังและโลหิต ทำให้เลือดเย็น สมาน

    • ใบขนุนละมุด - เผาให้เป็นถ่านผสมกับน้ำปูนใสหยอดหู แก้ปวดหู และหูเป็นน้ำหนวก

    • ไส้ในของขนุนละมุด - รับประทานแก้ตกเลือดทางทวารเบาของสตรีที่มากไปให้หยุดได้

    • แก่นและเนื้อไม้ - รับประทานแก้กามโรค

    สมุนไพรให้สีแต่งสีอาหาร

    คำแสด

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Bixa orellana  L.

    ชื่อสามัญ  Annatto Tree

    วงศ์  BIXACEAE

    ชื่ออื่น :  คำเงาะ  คำแงะ  คำไทย คำแฝด คำยง  ชาตี  จำปู้  ส้มปู้ (เขมร-สุรินทรฒ) ชาด (ภาคใต้) ซิติหมัก (เลย)  มะกายหยุม แสด (ภาคเหนือ) หมากมอง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เมล็ด ดอก ใบ เนื้อหุ้มเมล็ด เปลือก รากไม้ต้น พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3-8 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหนาทึก แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบบาง เกลี้ยงนุ่ม สีเขียวเหลือบแดง ใบอ่อนมีสีแดง กว้าง 8-10 ซม. ยาว 11-18 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตั้งบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมี 5-10 ดอก กลีบดอกรูปไข่ยาว สีขาวแกมชมพูหรือสีชมพูอ่อน กลีบรองดอกมีขนาดเล็ก สีเขียว กลีบดอกมี 5 กลีบ ดอกอ่อนจะกลม ผิวสีแดง มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก มีเกษรตัวเมีย 1 อัน ภายในมีช่อง 1 ช่อง มีไข่อ่อนจำนวนมาก ผล เป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม มีขนสีแดงเข้มหนาทึบคล้ายผลเงาะ ผลแก่จัดแตกออกได้ 2 ซีก ภายในมีเมล็ดกลมเล็กๆ สีน้ำตาลแดงจำนวนมาก เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีแดงหรือสีแสด
    ส่วนที่ใช้ : 

    สรรพคุณ :

    • เมล็ด
      - ให้สารสีแสด ชื่อสาร
      Bixin
      - ใช้แต่งสีอาหารประเภทไขมัน เช่น ฝอยทอง เนย ไอศครีม
      - ใช้ย้อมผ้าฝ้าย หรือ ผ้าไหมได้ด้วย
      ** องค์การอนามัยโลกกำหนดให้รับประทานสีที่สกัดจากเมล็ดคำแสดได้ไม่เกิน 0.065 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน
      - มีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อนๆ ลดไข้ ฝาดสมาน

    • ดอก
      - มีคุณสมบัติเป็นยาบำรุงเลือด แก้โลหิตจาง แก้แสบร้อนคันตามผิวหนัง
      - รักษาโรคไตผิดปกติ แก้บิด แก้พิษ ฝาดสมาน

    • ใบ - แก้ดีซ่าน แก้เจ็บคอ ลดไข้ แก้บิด ขับปัสสาวะ

    • เนื้อหุ้มเมล็ด - เป็นยาระบายและขับพยาธิ แก้โรคผิวหนัง ใช้แต่งสีอาหาร และเนย

    • เปลือกราก - ใช้ป้องกันไข้มาเลเรีย ลดไข้ และโรคหนองใน

    สารเคมี : ที่พบ

    • เนื้อหุ้มเมล็ด ให้สีที่เรียกว่า annatto ซึ่งเป็นสีอนุญาตให้ใช้ประกอบอาหารได้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2515)
      annatto ประกอบด้วยสาร Bixin (C25  H30 O4) สีแสดสด และสาร Bixol (C18  H30 O) สีเขียวเข้ม ใช้แต่งสีอาหารประเภทเนย และเนยเทียม (margarine) สีที่ได้จากเมล็ดคำแสด มีความคงทนและมีสีเข้มกว่าสีที่ได้จากแคโรทีนในต่างประเทศ นิยมใช้กันในผลิตภัณฑ์นม เช่น เนยเหลว เนยแข็ง เป็นต้น นอกจากนั้นยังใช้ผสมในยาขัดหนังที่ให้สีแดงคล้ำ

    วิธีเตรียมสีจากเมล็ดคำแสด  : โดยแกะเมล็ดออกจากผลที่แก่จัด แช่น้ำร้อนหมักทิ้งไว้หลายๆ วันจนสารสีตกตะกอน แยกเมล็ดออก นำน้ำสีที่ได้ไปเคี่ยวจนงวดเกือบแห้ง แล้วนำไปตากแดดจนแห้งเป็นผงเก็บไว้ใช้

    สมุนไพรให้สีแต่งสีอาหาร

    ฝาง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Caesalpinia sappan L.

    ชื่อสามัญ  Sappan Tree

    วงศ์  LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

    ชื่ออื่น :  ง้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ฝาง (ทั่วไป); ฝางส้ม (กาญจนบุรี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :   ไม้พุ่มแตกกิ่งที่โคน สูง 5-8 เมตร สำต้นมีหนามโค้งสั้นๆ และแข็งทั่วทุกส่วน ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนานกว้าง 0.6-0.8 ซม. ยาว 1.5-1.8 ซม. โคนใบเฉียง ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งและที่ปลายกิ่ง กลีบรองดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบเกยซ้อนกัน กลีบล่างสุดโค้งงอและใหญ่กว่ากลีบอื่น กลีบดอกสีเหลือง มี 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 10 อัน แยกเป็นอิสระ ผล เป็นฝักแบนแข็งเป็นจงอยแหลม เปลือกเป็นสันมน ปลายแหลม  มีเมล็ดเป็นรูปรี 2-4 เมล็ด
    ส่วนที่ใช้
    แก่นของไม้มีสีแดง
                    - มี วัตถุไม่มีสี ชื่อ
    Haematoxylin อยู่ 10% วัตถุนี้เมื่อถูกอากาศ อาจจะกลายเป็นสีแดง
                    - มี แทนนิน เรซิน และน้ำมันระเหยนิดหน่อย

    สรรพคุณ :

    • ฝาง มี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งแก่นสีแดงเข้ม เรียกว่า ฝางเสน อีกชนิดหนึ่งแก่นสีเหลือง เรียกว่าฝางส้ม ใช้ทำเป็นยาต้ม 1 ใน 20 หรือยาสกัดสำหรับ Haematoxylin ใช้เป็นสีสำหรับย้อม Nuclei ของเซล ใช้แก่นฝางต้มเคี่ยว จะได้น้ำสีแดงเข้มคล้ายด่างทับทิมใช้ย้อมผ้าไหม งามดีมาก  ใช้แต่งสีอาหาร ทำยาอุทัย

    สรรพคุณทางยา

    •  แก่นฝาง
      - รสขื่นขมหวาน ฝาด รับประทานเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี ขับประจำเดือน แก้ปอดพิการ ขับหนอง ทำโลหิตให้เย็น รับประทานแก้ท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อน แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา
      - รักษาน้ำกัดเท้า แก้คุดทะราด แก้เสมหะ แก้โลหิต แก้เลือดกำเดา

    • น้ำมันระเหย - เป็นยาสมานอย่างอ่อน แก้ท้องเดิน

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    • แต่งสี ย้อมสี
      นำแก่นฝางเสนหรือฝางส้ม มาแช่น้ำหรือต้มเคี่ยวจะได้สีชมพูเข้ม (
      Sappaned) นำมาใช้ตามต้องการ

    • เป็นยาขับประจำเดือน
      ใช้แก่น 5-15 กรัม หรือ 5-8 ชิ้น ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เติมเนื้อมะขามที่ติดรกอยู่ (แกะเมล็ดออกแล้ว) ประมาณ 4-5 ฝัก เคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว รับประทาน เช้า-เย็น

    • เป็นยารักษาน้ำกัดเท้า
      ใช้แก่น 2 ชิ้น ฝนแก่นฝางกับน้ำปูนให้ข้นๆ ทาบริเวณที่น้ำกัดเท้า ในแก่นฝางมีตัวยาฝาดสมาน

    • แก้ท้องร่วง ท้องเดิน
      ใช้แก่น หนัก 3-9 กรัม 4-6 ชิ้น ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว หรือใช้ฝาง 1 ส่วน น้ำ 20 ส่วน ต้มเคี่ยว 15 นาที รับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนโต๊ะ หรือ 4-8 ช้อนแกง

    สมุนไพรให้สีแต่งสีอาหาร

    อัญชัน

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Clitoria ternatea L.

    ชื่อสามัญ  Blue Pea, Butterfly Pea

    วงศ์  LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

    ชื่ออื่น :  แดงชัน (เชียงใหม่); อัญชัน (ภาคกลาง); เอื้องชัน (ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกเลื้อยพัน ยาว 1-5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3-9 ใบ รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปรีแกมไข่กลับ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2-5 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีน้ำเงิน ม่วงหรือขาว ตรงกลางกลีบสีเหลืองหม่นขอบสีขาว ผลเป็นฝัก รูปดาบ โค้งเล็กน้อย ปลายเป็นจะงอย แตกเป็น 2 ฝา เมล็ดรูปไต จำนวน 6-10 เมล็ด
    ส่วนที่ใช้ :

    • กลีบดอกสดสีน้ำเงิน จากต้นอัญชันดอกสีน้ำเงิน

    • รากของต้นอัญชันดอกขาว

    สรรพคุณและวิธีใช้ :

    • ดอกสีน้ำเงิน ใช้เป็นสีแต่งอาหาร ขนม
      ใช้กลีบดอกสด ตำเติมน้ำเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นเอาน้ำออก จะได้น้ำสีน้ำเงิน (Anthocyanin) ใช้เป็น indicator แทน lithmus
      ถ้าเติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย จะกลายเป็นสีม่วง ใช้แต่งสีอาหารตามต้องการ มักนิยมใช้แต่งสีน้ำเงินของขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู

    • รากต้นอัญชันดอกสีขาว
      ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย

    สารเคมี :  anthocyanin


    • Update : 24/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch