หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/44

    กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ

    แสลงใจ (โกฏกะกลิ้ง)

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Strychnos nux-vomica   L.

    ชื่อสามัญ  Nux-vomica Tree, Snake Wood

    วงศ์  Strychnaceae

    ชื่ออื่น :  กระจี้ กะกลิ้ง ตูมกาแดง แสลงทม แสลงเบื่อ แสลงเบือ

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
    ส่วนที่ใช้ :
    ไม้ต้น สูงประมาณ 30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 5 - 8 ซม. ยาว 7 - 12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเขียวอ่อน ผลเป็นผลสด รูปกลม เมล็ดกลมแบนคล้ายกระดุม สีเขียวแกมเทา มีขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่มปกคลุม

    สรรพคุณ :

    • มล็ด 
      -  มี
      Alkaloid  เรียกว่า Strychnine
      เป็นยาบำรุงหัวใจให้เต้นแรงและบำรุงประสาทอย่างแรง
      -  ยาที่เบื่อสุนัขให้ผงอัลคาลอยด์ของสตริกนิน 1 เกรน เบื่อสุนัขได้ 1 ตัว ก่อนตายมีอาการชักกะตุกจนตาย ภายใน 1-3 ชั่วโมง (**ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตถือเป็นบาป ไม่ควรทำ)
      -  มีรสเมาเบื่อขมเล็กน้อย ตัดไข้ตัดพิษกระษัยเจริญอาหาร 

    วิธีและปริมาณที่ใช้
              ทิงเจอร์นักสะวอมมิกา (Tincture Nux vomica) เป็นยาน้ำสีเหลืองทำจากเมล็ดของต้นแสลงใจ รับประทานได้ 5-15 หยด

              - เป็นยาบำรุงประสาท  ให้มีกำลังรู้สึกเฉียบแหลมขึ้น บำรุงเส้นประสาทชนิดโมเตอร์ ให้กระเพาะและลำไส้ขย้อนอาหารและขับน้ำไฟธาตุ

              -ใช้แก้โรคอัมพาต เส้นตายและเนื้อชาไม่รู้สึก

              -ใช้ป็นยาบำรุงความกำหนัด

              -ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ เป็นยาระบายอย่างอ่อน
                ยานี้รับประทานมากไม่ได้เป็นยาพิษ
               
    สตริกนินเป็นยาด่างที่แยกออกจากยานี้ รับประทานได้ 1/200 เกรน หรือ 1/100 เกรน ใช้ยาอย่างเดียวกับยานักสะวอมมิกา

              -ใช้แก้ในทางประสาทพิการ เส้นตาย หรือเป็นเหน็บชาต่างๆ

              -แก้โรคอันเกิดจาก ปากคอพิการ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้พิษงู พิษตะขาบ พิษแมลงป่อง แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้คลื่นเหียน แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร โลหิตพิการ ทำให้ตัวเย็น ขับลมในลำไส้
              ในเภสัชตำรับกล่าวว่า ลูกโกฏกะกลิ้งหรือลูกกกะจี้ หรือแสลงใจนั้น ประกอบด้วยเมล็ดแห้งสุกของ Strychnos nux vomica L. มีไม่มากกว่า 1% ของ Oganic วัตถุอื่นๆ และไม่น้อยกว่า 1.2% ของ Strychnos สรรพคุณ ของ Strychnos nux vomica  เนื่องจาก Strychnine ที่มีอยุ่ ใช้ผงผสมกับ Bismuth หรือ Pepsin ใส่ Cachet ใช้ในโรคธาตุพิการไม่มีกำลังย่อยอาหาร ใช้มากในยาผสมต่างๆ สำหรับบำรุงการย่อยอาหารในปาก ทำให้ขมและอยากอาหารในลำไส้ ทำให้ลำไส้เกิดอาการไหวตัว ใช้ผสมกับยาถ่ายต่างๆ เช่น Cascara ใช้ในโรคพรรดึกเรื้อรัง เนื่องขากลำไส้ไม่มีกำลัง ใช้ Extract อย่างแห้งผสมน้ำ เป็นยาเม็ดประกอบด้วยยาระบายหรือยาจำพวกเหล็ก สำหรับโรคโลหิตจาง

    • ใบ  - ตำกับสุรา พอกปิดแผลเรื้อรัง เน่าเปื่อยได้ดี แก้โรคไตพิการ

    • ราก - รับประทานแก้ท้องขึ้น

    กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ

    เสม็ดแดง (ผักเม็ก)

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Syzygium  gratum  (Wight) S.N. Mitra  var. gratum

    ชื่อสามัญ  -

    วงศ์  Myrtaceae

    ชื่ออื่น :  ไคร้เม็ด (เชียงใหม่) เม็ก (ปราจีนบุรี)  เม็ดชุน (นครศรีธรรมราช) เสม็ด (สกลนคร) เสม็ดเขา เสม็ดแดง (ตราด)  เสม็ดชุน (ภาคกลาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มต้นไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง แตกสะเก็ดแผ่นบางๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อซี่ร่มเล็กๆ สีเหลืองอ่อน  ออกที่ปลายยอด ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน  ผล กลม สีขาว มีขนาดเล็ก ออกผลเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน
    ส่วนที่ใช้ : ใบสด

    สรรพคุณและวิธีใช้ :
              ใช้ใบสด ตำป่นปิดพอกแก้เคล็ดยอก ฟกบวมได้ดี  ใช้ผลมะกรูด หรือใบพลู รมควันใต้ใบเสม็ดพออุ่นๆ นาบท้องเด็กแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก แก้ปวดท้องได้ดีมาก

    กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ

    สายน้ำผึ้ง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Lonicera japonica Thunb.

    ชื่อสามัญ  Honey Suckle

    วงศ์  Caprifoliaceae

    ชื่ออื่น :  -

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา กิ่งสีน้ำตาลเป็นมัน มีขนนุ่ม ใบเดี่ยวเกิดเป็นคู่ตรงกันข้าม มีขนตามเส้นกลางใบทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น ดอกมีสีเหลืองอมส้ม กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นหลอดยาว 1.5-3 ซม. แยกเป็น 2 กลีบๆ บนมี 4 หยัก กลีบล่างมี 1 กลีบ เกสรเพศผู้ยาวกว่ากลีบดอก ผลกลมสีดำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-7 ซม. เกลี้ยงไม่มีขน
    ส่วนที่ใช้ :
    ทั้งต้น ดอกตูม เถาสด

    สรรพคุณ :

    • ทั้งต้น 
      -ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้แผลฝีต่างๆ
      - แก้ท้องร่วง ตับอักเสบ โรคลำไส้
      - ปวดเมื่อยตามข้อ

    • ดอกตูม
      - ใช้รักษาโรคผิวหนัง
      - ดอกคั้นรับประทานเป็นยาเจริญอาหาร

    • เถาสด - ใช้รักษา บิดไม่มีตัว (ท้องเสีย) ลำไส้อักเสบ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              ใช้เถาสด 100 กรัม สับเป็นท่อนเล็กๆ ใส่ลงในหม้อเคลือบ เติมน้ำลงไป 200 มิลลิลิตร แช่น้ำไว้ 12 ชั่วโมง แล้วต้มด้วยไฟอ่อนๆ 3 ชั่วโมง แล้วเติมน้ำให้ได้ 100 มิลลิลิตร กรองเอาน้ำรับประทานวันละ 1.6-2.4 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้เพิ่มหรือลดขนาดของยาตามอาการ โดยทั่วไปเริ่มต้นให้รับประทาน 20 มิลลิลิตร ทุก 4 ชั่วโมง เมื่ออาการดีขึ้นให้รับประทานครั้งละ 20 มิลลิลิตร ทุก 6 ชั่วโมง หลังจากอาการท้องร่วงหายไปให้รับประทานต่ออีก 2 วัน
    สารเคมี

    • ใบ  มี lonicerin  และ luteolin-7-rhamnoglucoside

    • ดอก มี  luteolin-7-glucoside, inositol และ saponin

    • ผล  มี  Cryptosanthin


    • Update : 24/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch