หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/41

    กลุ่มยารักษาเบาหวาน

    บุก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Amorphophallus campanulatus  Bl.ex Dence.(A.paeoniifolius (Dennst.) Nicolson

    ชื่อสามัญ  Elephant yam, Stanley's water-tub

    วงศ์  ARACEAE

    ชื่ออื่น :  บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ (แม่ฮ่องสอน) มันซูรัน (ภาคดลาง)  หัวบุก (ปัตตานี) บุกคางคก  (ภาคกลาง, เหนือ) บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ม้ล้มลุกเนื้ออ่อน ลำต้นอวบ สีเขียวเข้ม ตามต้นมีรอยด่างเป็นดวงๆ เขียวสลับขาว ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว แตกใบที่ยอด กลุ่มใบแผ่เป็นแผงคล้ายร่มกาง ก้านใบต่อเนื่องกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 – 7 ใบ รูปใบยาวปลายใบแหลม ขนาดใบยาว 12 – 15 ซม. สำต้นสูง 1 – 2 เมตร ดอกบุกเป็นสีเหลือง บานในตอนเย็นมีกลิ่นเหม็น คล้ายหน้าวัว ประกอบด้วยปลี และจานรองดอก จานรองดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 – 15 ซม. เกสรตัวผู้และตัวเมียรวมอยู่ในดอกเดียวกัน แต่แยกกันอยู่คนละชั้น เมื่อบานจานรองดอกจะโรย เหลืออยู่แต่ปลีดอก ซึ่งจะกลายเป็นผล ก่อนออกดอกต้นจะตายเหลือแต่หัว ซึ่งเป็นก้อนกลมสีขาว ขนาด 6 – 10 ซม. เจริญเติบโตอยู่ใต้ดิน
    ส่วนที่ใช้ :  
    เนื้อจากลำต้นใต้ดิน หัว

    สรรพคุณ : หัวบุกมีสารสำคัญ คือกลูโคแมนแนน เป็นสารประเภท คาร์โบไฮเดรท ซึ่งประกอบด้วย กลูโคลส แมนโนส และฟลุคโตส  กลูโคแมนแนน สามารถลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ ก็เนื่องจากความเหนี่ยว ซึ่งยับยั้งการดูดซึมของกลูโคลสจากทางเดินอาหาร ยิ่งหนืดมาก็ยิ่งมีผลลดการดูดซึมกลูโคลส ดังนั้น กลูโคแมนแนน ซึ่งเหนียวกว่า gua gum จึงลดน้ำตาลได้ดีกว่า จึงใช้แป้งเป็นวุ้นเป็นอาหารสำหรับผู้ป่ายโรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคมีไขมันในเลือดสูง
    วิธีและปริมาณที่ใช้

    • แยกเป็นแป้งส่วนที่เป็นเนื้อทราย แล้งชงน้ำดื่ม
      ใช้แป้ง 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 แก้ว ชงดื่มวันละ 2-3 มื้อ ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง

    • ใช้หัวหุงเป็นน้ำมัน ใส่บาดแผล กัด ฝ้าหนอง

    ส่วนที่เป็นพิษ เหง้าและก้านใบถ้าปรุงไม่ดี กินเข้าไปทำให้คันปากและลิ้นพอง

    กลุ่มยารักษาเบาหวาน

    สัก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tectona grandis  L.f.

    ชื่อสามัญ  Teak

    วงศ์  LABIATAE

    ชื่ออื่น :  เคาะเยียโอ (ละว้า-เชียงใหม่) ปายี้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)  ปีฮือ เป้อยี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  เส่บายี้ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ไม้ผลัดใบสูงตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป ลำต้นเปลาตรง โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น เปลือกในสีเขียวอ่อน ใบ เดี่ยว เรียบตรงข้าม ปลายแหลม โคนมน ยาว 25-40 เซนติเมตร กว้าง 20-30 เซนติเมตร ใบต้นอ่อนจะใหญ่กว่านี้มาก ด้านล่างสีเขียวเข้ม ด้านบนสีอ่อนกว่า ผิวใบมีขนสากมือ มีต่อมเล็ก ๆ สีแดง ขยี้ใบจะมีสีแดงเหมือนเลือด ดอก ขนาดเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล แห้งค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง เมล็ด มี 1-3 เมล็ด
    ส่วนที่ใช้ : 
    ใบ เนื้อไม้ เปลือก ดอก

    สรรพคุณ :

    • บ 
      -  รสเผ็ดเล็กน้อย
      - รับประทานเป็นยาลดน้ำตาลในเลือด
      - บำรุงโลหิต รักษาประจำเดือนไม่ปกติ แก้พิษโลหิต
      - ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
      - ทำยาอม แก้เจ็บคอ

    • เนื้อไม้
      - รสเผ็ดเล็กน้อย
      - รับประทานเป็นยา ขับลม ขับปัสสาวะ ได้ดีมาก ใช้แก้บวม
      - บำรุงโลหิต แก้ลมในกระดูก แก้อ่อนเพลีย
      - แก้ไข้ คุมธาตุ
      - ขับพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง

    • เปลือก - ฝาดสมาน

    • ดอก - ขับปัสสาวะ

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    • ใช้ใบ - ต้มกับน้ำ รับประทานเป็นยาลดน้ำตาลในเลือด

    กลุ่มยารักษาเบาหวาน

    อินทนิลน้ำ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.

    ชื่อสามัญ  Queen's crape myrtle , Pride of India

    วงศ์  LYTHRACEAE

    ชื่ออื่น :   ฉ่วงมู  ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ)  บางอบะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส) บาเย  บาเอ (มลายู-ปัตตานี) อินทนิล (ภาคกลาง, ใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่ไว สูง 5-20 เมตร ลำต้น ต้นเล็กมักคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะเปลา ตรง โคนต้นไม้ไม่ค่อยพบพูพอน มักจะมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือพื้นดินขึ้นมาไม่มากนัก ดังนั้น เรือนยอดจึงแผ่กว้าง พุ่มแบบรูปร่มและคลุมส่วนโคนต้นเล็กน้อยเท่านั้น ต้นอินทนิลน้ำที่พบตามธรรมชาติในป่าทั่วๆ ไป จะมีเรือนยอดคลุมลำต้นประมาณเก้าในสิบส่วนของความสูงทั้งหมด ผิวเปลือกนอกสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน และมักจะมีรอยด่างเป็นดวงสีขาวๆ ทั่วไป ผิวของเปลือกค่อนข้างเรียบ ไม่แตกเป็นร่องหรือเป็นรอยแผลเป็น  เปลือกหนาประมาณ 1 ซม.  เปลือกในออกสีม่วง  ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 11-26 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบมนหรือเบี้ยวเยื้องกันเล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม เส้นแขนงใบ มี 9-17 คู่ เส้นโค้งอ่อนและจะจรดกับเส้นถัดไปบริเวณใกล้ๆ ขอบใบเส้นใบย่อยเห็นไม่เด่นชัดนัก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. เกลี้ยง ไม่มีขน ดอก โต มีสีต่างๆ กัน เช่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพู หรือม่วงล้วนๆ ออกรวมกันเป็นช่อโต  ยาวถึง 30 ซม. ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนใกล้ๆ ปลายกิ่ง ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปกรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฎชัด และมีขนสั้นปกคลุมประปราย กลีบดอกบาง รูปช้อนที่มีโคนกลีบเป็นก้านเรียว ผิวกลีบเป็นคลื่นๆ บ้างเล็กน้อย เมื่อบานเต็มที่จะมีรัศมีกว้างถึง 5 ซม. รังไข่ กลม เกลี้ยง ผล รูปไข่เกลี้ยงๆ ยาว 2-2.5 ซม.  เมื่อแก่จะแยกออกเป็น 6 เสี่ยง เผยให้เห็นเมล็ดเล็กๆ ที่มีปีกเป็นครีบบางๆ ทางด้านบน
    ส่วนที่ใช้ :
    ใบ เปลือก ราก เมล็ด

    สรรพคุณ :

    • ใบ - รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ขับปัสสาวะ

    1. ก่อนใช้ใบอินทนิลน้ำรักษาโรคเบาหวาน คนไข้ควรให้แพทย์ตรวจน้ำตาลในเลือดหรือในปัสสาวะดูเสียก่อนว่า "มีปริมาณน้ำตาลในเลือดอยู่เท่าใด" เมื่อทราบปริมาณน้ำตาลในเลือดแน่อนอนแล้ว จึงปฏิบัติดังนี้คือ

    2. ให้ใช้ใบอินทนิลน้ำตากแห้งจำนวน 10% ของปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ เช่น คนไข้มีน้ำตาลในเลือด 300 มิลลิกรัม ให้ใช้ใบอินทนิลน้ำ 30 ใบ บีบให้แตกละเอีดย

    3. และใส่น้ำบริสุทธิ์เท่าปริมาณความต้องการของคนไข้ผู้นั้นใช้ดื่มในวันหนึ่งๆ เทลงในหม้อเคลือบ หรือหม้อดิน ไม่ควรใข้ภาชนะอลูมิเนียมต้มยา แล้วเคี่ยวให้เดือดประมาณ 15 นาที

    4. นำน้ำยาใบอินทนิลน้ำชงใส่ภาชนะไว้ให้คนไข้ดื่มแทนน้ำตลอดวัน ติดต่อกันไป 20-30 วัน จึงควรตรวจน้ำตาลในเลือดของคนไข้ผู้นั้นอีกครั้งหนึ่ง

    5. เมื่อปรากฎว่าปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ลดปริมาณเหลือน้อยลงก็ให้ลดจำนวนใบอินทนิลน้ำลงตามปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ สมมุติว่า น้ำตาลในเลือดของคนไข้ลดลงเหลือ 200 มิลลิกรัม ก็ควรลดจำนวนอินทนิลน้ำลงเหลือ 20 ใบ แล้วนำไปต้มเคี่ยวให้คนไข้ดื่มน้ำ ดื่มต่อไปทุกๆ วันติดต่อกัน 15-21 วัน จึงควรตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้อีกครั้งหนึ่ง หากน้ำตาลลดลงอีกก็ให้ลงปริมาณใบอินทนิลน้ำให้เหลือ 10% ของปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ จนกระทั่งน้ำตาลลดลงอยู่ในระดับปกติ จึงควรงดใช้ใบอินทนิลน้ำให้คนไข้รับประทานชั่วคราว

    6. หากปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้เพิ่มขึ้นผิดปกติเมื่อใด ก็ให้คนไข้เริ่มรับประทานใบอินทนิลน้ำใหม่ สลับกันจนกว่าคนไข้ผู้นั้นจะหายป่วยจากโรคเบาหวาน เป็นปกติ


    • Update : 24/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch