หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/40

    กลุ่มยารักษาเบาหวาน

    กระแตไต่ไม้

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Drynaria quercifolia  (L.) J.Sm.

    วงศ์  POLYPODIACEAE

    ชื่ออื่น :  กระแตไต่ไม้ (ภาคกลาง), กระปรอก (จันทบุรี), กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี), กูดขาฮอก เช้าวะนะ พุดองแคะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เดาน์กาโละ (มลายู-ปัตตานี), ใบหูช้าง สไบนาง (กาญจนบุรี), สะโมง (ส่วย-สุรินทร์), หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นอิงอาศัย เหง้าทอดยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-4 ซม. ยาวได้ถึง 1 ม. หรือมากกว่า มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดแคบ กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. ปลายเรียวยาว รากสั้นๆ มีรากขนอ่อนสีน้ำตาล ใบเดี่ยว มีรูปร่างและหน้าที่ต่างกัน 2 แบบ ใบไม่สร้างอับสปอร์เป็นรูปไข่ กว้าง 10-25 ซม. ยาว 15-35 ซม. ปลายแหลม โคนมน ขอบหยักเว้ามนตื้นๆ เข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน ปลายมน ไม่มีก้านใบ ใบชนิดนี้จะมีสีเขียวอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งแต่ยังคงติดอยู่กับต้น ดังนั้นจะเห็นซ้อนกันหลายใบ เป็นที่สะสมของใบไม้แห้งที่ตกลงมา ซึ่งจะกลายเป็นปุ๋ยให้ต้น ใบสร้างอับสปอร์กว้าง 20-35 ซม. ยาว 0.6-1 ม. รูปคล้ายใบประกอบแบบขนนก ขอบหยักเว้าลึกเข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน แต่ละหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ใบชนิดนี้มีสีเขียวตลอดอายุ เมื่อใบแก่แผ่นใบจะร่วงไป คงเหลือส่วนก้านใบและเส้นกลางใบติดอยู่กับต้น เส้นใบเป็นร่างแห กลุ่มอับสปอร์รูปกลมหรือรูปไข่ เรียงตัวค่อนข้างมีระเบียบ 2 ข้างของเส้นใบที่แบ่งกลางแต่ละแฉก
    ส่วนที่ใช้ :  
    ส่วนหัว

    สรรพคุณ :

    • ส่วนหัวของกระแตไต่ไม้
      -
      ปรุงเป็นยาต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการและกระปริกระปรอย
      -
      ขับระดูขาว
      - แก้เบาหวาน
      - แก้ไตพิการ
      - เป็นยาคุมธาตุ
      - เป็นยาเบื่อพยาธิ

    • ใบ - ตำพอกแผล แก้แผลเรื้อรังและแผลพุพอง

    วิธีใช้ : ใช้ส่วนหัวของกระแตไต่ไม้ ต้มรับประทาน

    กลุ่มยารักษาเบาหวาน

    ชะพลู (ช้าพลู)

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Piper sarmentosum  Roxb.

    ชื่อสามัญ  Wildbetal Leafbush

    วงศ์  PIPERACEAE

    ชื่ออื่น :  นมวา (ภาคใต้) ผักปูนา ผักพลูนก พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นทอดคลานไปตามพื้นดิน สูง 30-80 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ มีรากงอกออกตามข้อ  ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบบาง ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน  ใบรูปหัวใจ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบรูปทรงกระบอก ดอกเล็กสีขาวอัดแน่นอยู่บนแกนช่อดอก  ดอกแยกเพศ ผล เป็นผลสด กลม อัดแน่นอยู่บนแกน
    ส่วนที่ใช้ :  
    ผล ใบ ทั้งต้น ราก

    สรรพคุณ :

    •   -  เป็นส่วนผสมของยารักษาโรคหืด แก้บิด

    • าก ต้น ดอก ใบ - ขับเสมหะ

    • าก - แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อขับลม แก้บิด

    • ั้งต้น
      - แก้เสมหะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ
      - รักษาโรคเบาหวาน

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    • รักษาโรคเบาหวาน
      ใช้ชะพลูสดทั้ง 5 จำนวน 7 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้พอท่วม ต้มให้เดือดสักพัก นำมาดื่ม เหมือนดื่มน้ำชา
      ข้อควรระวัง - จะต้องตรวจน้ำตาลในปัสสาวะก่อนดื่มและหลังดื่มทุกครั้ง เพราะว่าน้ำยานี้ทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก ต้องเปลี่ยนต้นชะพลูใหม่ทุกวันที่ต้ม ต้มดื่มต่อไปทุกๆ วัน จนกว่าจะหาย

    • แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
      ใช้ราก 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว

    • แก้บิด
      ใช้รากครึ่งกำมือ ผล 2-3 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว

    กลุ่มยารักษาเบาหวาน

    โทงเทง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Physalis angulata  L.

    ชื่อสามัญ  Hogweed, Ground Cherry

    วงศ์  SOLANACEAE

    ชื่ออื่น :  ต้อมต๊อก บาตอมต๊อก (เชียงใหม่)  ตะเงหลั่งเช้า (จีน)  ปุงปิง (ปัตตานี) ปิงเป้ง (หนองคาย)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นอวบน้ำเปลือกเกลี้ยงสีเขียว โคนสีม่วงแดงและสีค่อย ๆ จางลงเป็นสีเขียวใสเป็นเหลี่ยม ยอดเป็นสีเขียวอ่อน ลำต้นสูงประมาณ 25 - 50 เซนติเมตร สูงเต็มที่ 120 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขา ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียวเรียงสลับออกตามข้อ ๆ ละใบ มีก้านยาว 2 - 3 เซนติเมตร ลักษณะใบคล้ายใบพริก รูปหอกป้าน ปลายแหลมและขอบใบเรียบ ใบกว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 7 เซนติเมตร มีเส้นแขนงใบ 5 - 7 คู่ ดอก ออกระหว่างก้านใบกับลำต้น ดอกเล็กคล้ายดอกพริก แต่กลีบดอกสั้นและแข็งกว่า ดอกตูมทรงรีปลายแหลม เวลาบานเป็นรูปแตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 - 2 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นในมีสีเหลืองอ่อน กลีบดอกชั้นนอกหรือกลีบเลี้ยงมีสีเขียวอ่อน จำนวน 5 กลีบ ซึ่งจะเจริญเติบโตขยายตัวหุ้มผลภายในไว้หลวม ๆ ทำให้ดูเสมือนว่าผลพอง ออกดอกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เรื่อยไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน ผล ผลโทงเทงมีกลีบดอกชั้นนอกหุ้มเหมือนโคมจีนสีเขียวอ่อนมีลายสีม่วง ผลภายในมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผลกลมใสมีสีเขียวอ่อน และเมื่อสุกกลายเป็นสีเหลือง เมล็ด ในผลมีเมล็ดขนาดเล็กมีจำนวนมาก รูปกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.2 - 0.3 มิลลิเมตร มีเมือกหุ้มคล้ายมะเขือเทศจำนวนมาก
    ส่วนที่ใช้ :  ทั้งต้น ราก เยื่อหุ้มผลแห้ง

    สรรพคุณ :

    • ั้งต้น  - รักษาดีซ่าน ไอหืดเรื้อรัง แผลมีหนอง เจ็บคอ

    • าก - ใช้ขับพยาธิ รักษาโรคเบาหวาน

    ิธีและปริมาณที่ใช่

    • ารักษาโรคหืด
      ใช้ทั้งต้นแห้ง 1/2 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลกรวดลงไปให้หวาน รับประทานครั้งบะ 1/4 ถ้วยแก้ว วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารเป็นเวลา 10 วัน หยุดยา 3 วัน รับประทานต่อไปอีก 10 วัน พักอีก 3 วัน แล้วรับประทานต่อไปอีก 10 วัน หอบหืดจะได้ผลดี
      ข้อควรระวัง - ในการรับประทานสมุนไพรโทงเทงนี้ใน 1-5 วันแรก บางคนอาจมีอาการอึดอัด เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ หงุดหงิด หลังจากนั้นอาหารเหล่านี้จะหายไปเอง

    • ารักษาแผลในปาก เจ็บคอ
      -
      ใช้เยื่อหุ้มผลแห้งที่เอาเมล็ดออกแล้วหนัก 10 กรัม เปลือกส้ม 6 กรัม ต้มกับน้ำผสมน้ำตาลกรวดพอหวานเล็กน้อย ใช้ดื่มต่างน้ำ
      - ใช้ทั้งต้น ตำละลายกับสุรา เอาสำลีชุบน้ำยาอมไว้ข้างแก้ม กลืนน้ำผ่านลำคอทีละน้อย แก้ต่อมน้ำลายอักเสบ (ต่อมทอนซิล) แก้ฝีในลำคอ (แซง้อ) หรือ ละลายกับน้ำส้มสายชูก็ได้ แก้ความอักเสบในลำคอได้ดีมาก
      ใช้ภายใน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ใช้ภายนอก แก้ฟกบวมอักเสบ ทำให้เย็น

    • าขับพยาธิ รักษาโรคเบาหวาน
      ใช้รากต้มกับน้ำรับประทาน


    • Update : 24/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch