หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/39

    กลุ่มยาขับประจำเดือน

    ว่านชักมดลูก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Curcuma xanthorrhiza  Roxb.

    วงศ์  ZINGIBERACEAE

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร หัวใต้ดินขนาดใหญ่ อาจยาวถึง 10 ซม. เนื้อสีส้มถึงสีส้มแดง ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกเหนือดิน รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอกกว้าง 15 - 20 ซม. ยาว 40 - 90 ซม. มีแถบสีม่วงกว้างได้ถึง 10 ซม. บริเวณกลางใบ ดอกช่อเชิงลด ออกที่บริเวณกาบใบ ก้านดอกยาว 15 - 20 ซม. กลีบดอกสีแดงอ่อน ใบประดับสีม่วง เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แปรรูปคล้ายกลีบดอกสีเหลือง ผลแห้ง แตกได้
    ส่วนที่ใช้ : 
    เหง้า ราก
    สรรพคุณ
    :

    • ราก - แก้ท้องอืดเฟ้อ

    • เหง้า
      - เป็นยาบีบมดลูก ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วหลังจากการคลอดบุตร ทำให้ประจำเดือนมาปกติ ขับประจำเดือนในกรณีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ รักษาโรคมดลูกพิการปวดบวม
      - แก้ปวดมดลูก
      - แก้ริดสีดวงทวาร
      - แก้ไส้เลื่อน
      - ขับเลือด ขับลม ขับน้ำคาวปลา แก้โรคลม
      - รักษาอาการอาหารไม่ย่อย

    กลุ่มยาขับประจำเดือน

    ว่านสากเหล็ก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Molineria latifolia  Herb. ex Kurz

    วงศ์  HYPOXIDACEAE

    ชื่ออื่น :  จ๊าลาน มะพร้าวนกคุ่ม (เชียงใหม่)  พร้าวนก พร้าวนกคุ่ม (นครศรีธรรมราช)  ละโมยอ (มาลายู-นราธิวาส)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลักษณะคล้ายพืชพวกปาล์ม ใบ เรียงสลับติดกันที่โคนต้น แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก พับเป็นร่อง ๆ ตามยาว คล้ายใบปาล์ม กว้างประมาณ 4 – 6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมโคนใบสอบแคบ ก้านใบยาว 25 – 30 เซนติเมตร โคนแผ่กว้างหุ้มลำต้น ดอก มี 6 กลีบ สีเหลือง โคนเชื่อมติดกัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 2.5 เซนติเมตร ดอกออกรวมกันแน่น เป็นช่อรูปทรงกระบอกปลายแหลม ยาว 5 – 7 เซนติเมตร กว้าง ประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ผล ผลแก่สีขาวถึงแดง ขนาดยาวประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ส่วนที่ด้านขั้วป่อง ออกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร และค่อย ๆ เรียวไปทางปลายผล ขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด
    ส่วนที่ใช้ : 
    ราก

    สรรพคุณ :

    • าก  -  รับประทานเป็นยาชักมดลูก เช่น คลอดบุตรใหม่ๆ มดลูกลอย เพราะความอักเสบ เนื่องจากความเคลื่อนไหวของมดลูกจากที่เดิมให้เป็นปกติ

    ิธีใช้ : ำรากมาหั่นบางๆ ตากแห้ง ดองกับสุรารับประทานเป็นยาชักมดลูก  

    กลุ่มยาขับประจำเดือน

    ตาเสือ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Amoora culcullata Roxb.

    วงศ์  MELIACEAE

    ชื่ออื่น :  แดงน้ำ (ภาคใต้)  ตาเสือ, โกล (ภาคกลาง) เซ่ (แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เปลือกต้น เนื้อไม้ ผล ใบไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง อาจสูงถึง 18 เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกเรียบ สีชมพูอมเทา มีรากหายใจรูปคล้ายหมุด ยาว 30-50 ซม. จากผิวดิน หนาแน่นบริเวณโคนต้น ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ยาว 20-40 ซม. ขอบใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ไม่สมมาตรกัน ขนาด 3-6 x 8-17 ซม. ปลายใบแหลมถึงมน ฐานใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบด้านบนเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อ เพศผู้เป็นแบบช่อแยกแขนง ช่อดอกห้อยลง แต่ละดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.4 ซม. สีเหลือง ดอกเพศเมียเป็นแบบช่อกระจะ มีดอกจำนวนน้อย วงกลีบเลี้ยงแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอก 3 กลีบ ผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 ซม. มี 3 พลู ผลแก่แห้งแตกกลางพลู เมล็ด มีเยื่ออ่อนนุ่มสีแดงหุ้ม
              เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ด้านในของป่าชายเลน บริเวณน้ำกร่อยตามริมชายฝั่งของแม่น้ำที่ได้รับอิทธิพลจากการขึ้น-ลงของน้ำทะเล
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :

    • ปลือกต้น  -  รสฝาด กล่อมเสมหะ ขับโลหิต

    • นื้อไม้ - รสฝาด แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย

    • - แก้ปวดตามข้อต่างๆ ในร่างกาย

    • - แก้บวม 

    กลุ่มยาขับประจำเดือน

    เปราะหอมขาว, เปราะหอมแดง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Kaempferia galanga L.

    ชื่อสามัญ  Sand Ginger, Aromatic Ginger, Resurrection Lily

    วงศ์  ZINGIBERACEAE

    ชื่ออื่น :  หอมเปราะ (ภาคกลาง) ว่านตีนดิน ว่านแผ่นดินเย็น ว่านหอม (ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชล้มลุก อายุปีเดียว มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า เนื้อภายในสีเหลืองอ่อน มีสีเหลืองเข้มตามขอบนอก มีกลิ่มหอมเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยว แทงขึ้นจากเหง้าใต้ดิน 2-3 ใบ แผ่ราบไปตามพื้นดิน หรือวางตัวอยู่ในแนวราบเหนือพื้นดินเล็กน้อย ใบมีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย มีขนอ่อนบริเวณท้องใบ บางครั้งอาจพบขอบใบมีสีแดงคล้ำ เนื้อใบค่อนข้างหนา ตัวใบมีขนาดกว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ก้านใบเป็นกาบยาว 1-3 ซม.ดอกออกรวมกันเป็นช่อ ยาว 2-4 ซม.มี 4-12 ดอก ออกตรงกลางระหว่างใบ ดอกมีสีขาว หรือสีขาวอมชมพูแต้มสีม่วง แต่ละดอกมี กลีบประดับ 2 กลีบรองรับอยู่ ซึ่งใบและต้นจะเริ่มแห้งเมื่อมีดอก ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ พบมากทางเหนือ ใบอ่อนม้วนเป็นกระบอกออกมาแล้วแผ่ราบบนหน้าดิน ต้นหนึ่งๆ มักมี 1 – 2 ใบ ใบมีรูปร่างทรงกลมโตยาว ประมาณ 5 – 10 ซม. หน้าใบเขียว เปราะหอมแดงจะมีท้องใบสีแดง เปราะหอมขาวจะมีท้องใบสีขาว มีกลิ่นหอม หัวกลมเหมือนหัวกระชาย ใบงอกงามในหน้าฝน และจะแห้งไปในหน้าแล้
    ส่วนที่ใช้
    ดอก ต้น หัว ใบทั้งสด หรือ แห้ง

    สรรพคุณ : เปราะหอมขาว

    • อก  -  แก้เด็กนอนสะดุ้งผวา ร้องไห้ตาเหลือก ตาช้อนดูหลังคา

    • ้น - ขับเลือดเน่าของสตรี

    • - ใช้ปรุงเป็นผักรับประทานได้

    • ัว
      - แก้โลหิต ซึ่งเจือด้วยลมพิษ
      - ปรุงเป็นเครื่องเทศสำหรับแกง สุมศีรษะเด็ก แก้หวัด คัดจมูก รับประทานขับลมในลำไส้

    รรพคุณ : ปราะหอมแดง

    • - แก้เกลื้อนช้าง

    • อก - แก้โรคตา

    • ้น - แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ

    • ัว - ขับเลือด และหนองให้ตก แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน แก้ไอ แก้บาดแผล

    • ัวและใบ - ใช้ในการปรุงเป็นอาหารได้

    ิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • ั้งเปราะหอมขาว และเปราะหอมแดง ใช้เปราะหอมสด 10-15 กรัม หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หัวสดใช้ 1/2-1 กำมือ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ดื่ม 1-2 ครั้ง

    • ปราะหอมขาวและแดง เป็นไม้ลงหัว จำพวกมหากาฬ ใบหนาแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ม้วนๆ คล้ายๆ หูม้า หน้าใบเขียว เปราะหอมขาว ท้องใบมีสีขาว เปราะหอมแดง ท้องใบมีสีแดง ใบยาวราว 3-4 นิ้วฟุต ใบมีกลิ่นหอม ลงหัวกลมๆ เป็นไม้เจริญในฤดูฝนพอย่างเข้าฤดูหนาว ต้นและใบก็โทรมไป เปราะหอมทั้งสองรสเผ็ดขม แก้เสมหะ เจริญไฟธาตุ แก้ลมทิ้ง

    กลุ่มยาขับประจำเดือน

    ส้มเสี้ยว

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Bauhinia malabarica  roxb.

    วงศ์  LEGUMINOSAE-CAESALPINIODIDEAE

    ชื่ออื่น :  คังโค (สุพรรณบุรี) แดงโค (สระบุรี) ป้าม (ส่วย-สุรินทร์) ส้มเสี้ยว (ภาคเหนือ) เสี้ยวส้ม (นครราชสึมา) เสี้ยวใหญ่ (ปราจีนบุรี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ใบ เปลือกต้นไม้ต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร เปลือกต้นสีเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดยาวตามลำต้น ใบ ทรงกลมเว้า ปลายเป็นพูกลมตื้นๆ ใบแก่เหนียว เรียบ ท้องใบมีนวล สีเขียวออกเทา ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามง่ามใบ สีขาวออกเขียวหรือเหลืองอ่อน เป็นช่อเล็กๆ ออกดอกเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน ผล เป็นฝักแบนยาว โค้งงอ ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่แห้งสีน้ำตาล เมล็ดแบน ผิวเรียบมัน  มี 8-12 เมล็ด ออกผลเดือนกรกฏาคม - กันยายน แหล่งที่พบ ป่าเต็งรัง
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :


    • - มีรสเปรี้ยวฝาด เป็นยาขับโลหิตระดู และขับปัสสาวะ
      - แก้แผลเปื่อยพัง
      ใช้ใบส้มเสี้ยวร่วมกับยาระบาย ทำให้ขับเมือกเสมหะตกทางทวารหนักได้ดี
      ใช้ร่วมกับยาบำรุงโลหิตระดูที่เป็นลิ่มเป็นก้อนมีกลิ่นเหม็นให้ปกติดีขึ้น

    • เปลือกต้น - รสเปรี้ยวฝาด แก้ไอ ฟอกโลหิต


    • Update : 24/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch