หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/35

    กลุ่มยารักษาน้ำกัดเท้า

    เทียนบ้าน

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Impatiens balsamina  L.

    ชื่อสามัญ  Garden Balsam

    วงศ์  BALSAMINACEAE

    ชื่ออื่น :  เทียนดอก เทียนไทย เทียนสวน (ภาคกลาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง 30-80 ซม. ลำต้นอวบน้ำและค่อนข้างโปร่งแสง ออกดอกออกผลแล้วต้นจะตาย ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบลำต้น รูปวงรี ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกมีสีชมพู แดง ม่วง ขาว ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จัดจะแตกออก เปลือกผลม้วนขมวดขึ้น และดีดเมล็ดที่ค่อนข้างกลมสีน้ำตาลออกมา เพื่อช่วยกระจายพันธุ์
    ส่วนที่ใช้
    ใบสด ดอกสด ใบแห้ง
                     เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่หมอจีนใช้ใบของเทียนดอกขาว

     

    สรรพคุณ :

    • บสด
      - ตำพอกเล็บขบและปวด ตามนิ้วมือ นิ้วเท้า  
      - ถอนพิษ ปวดแสบ ปวดร้อน

    • ใบแห้ง - แก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย แผลเรื้อรัง

    วิธีและปริมาณที่ใช้ : รายละเอียด ดูจากลิงค์ด้านล่าง (กลุ่มพืชถอนพิษ)

    กลุ่มยารักษาน้ำกัดเท้า

    มังคุด

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Garcinia mangostana  L.

    ชื่อสามัญ  Mangosteen

    วงศ์  Guttiferae

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10 - 12 เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลือง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6 - 11 ซม. ยาว 15 - 25 ซม. เนื้อใบหนา และค่อนข้างเหนียว คล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้ม เป็นมัน ท้องใบสีอ่อน ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศ หรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม
    ส่วนที่ใช้ :
     เปลือกผลแห้ง

    กลุ่มยารักษาน้ำกัดเท้า

    สีเสียดเหนือ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Acacia catechu (L.f.) Willd.

    ชื่อสามัญ  Catechu Tree} Cutch Tree

    วงศ์ LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE

    ชื่ออื่น :  สะเจ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สีเสียด ขี้เสียด (ภาคเหนือ)  สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (ภาคกล่าง) สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดบาง เรือนยอดเป็นรูปกรวยต่ำๆ ตามกิ่งก้านมีหนามโค้งเป็นคู่อยู่ทั่วไป ใบ ประกอบแบบขนนก 2 ชั้น มีก้านแขนง 10-20 คู่  ใบย่อยเล็กมากเรียงกันแน่นอยู่บนแกนกลาง 30-50 คู่ ดอก เล็ก ออกเป็นช่อแบบหางกระรอก สีเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ผล เป็นฝักแบน บาง แคบ สีน้ำตาล แตกเมื่อแก่
    ส่วนที่ใช้ :  
    เปลือกต้น เมล็ดฝัก
           ก้อนสีเสียด (เป็นสิ่งสกัดที่ได้จากการนำเนื้อไม้มาตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำ กรองและเคี่ยวให้งวด จะเหลือก้อนแข็ง สีดำและเป็นเงา

    สรรพคุณ :

    • เปลือกต้น  - แก้บิด แก้ท้องร่วง  สมานแผล แก้ท้องเดิน

    • เมล็ดในฝัก -  ฝนแก้โรคหิด แผลน้ำกัดเท้า

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    • ก้อนสีเสียดช่วยฝาดสมาน แก้อาการท้องเดิน
      ใช้ผงประมาณ 1/3 -1/2 ช้อนชา (หนัก 0.3-1 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม

    • ก้แผลเรื้อรัง
      ใช้เปลือกต้น ต้มกับน้ำ ใช้ล้างแผล หัวนมแตก ใช้ล้างแผล แก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง น้ำกัดเท้า

    • แก้โรคหิด
      ใช้เมล็ดฝัก ฝนทาแก้โรคหิด แผลน้ำกัดเท้า

    สารเคมี

    • ทั้งต้น  พบ  Epicatechin

    • เปลือกต้น พบ Catechol, Gallic acid, Tannin

    • แก่น พบ  Catechin, Dicatechin

    • ใบ พบ  Catechin, Isoacacatechol, Tannins isoacacatechol acetate


    • Update : 24/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch