หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/34

    กลุ่มยารักษา เหา หิด จี๊ด

    มะเขือมอญ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Abelmoschus esculentus (L.) Moench

    ชื่อสามัญ Ladies' Finger, Lady's Finger, Okra

    วงศ์  Malvaceae

    ชื่ออื่น :  กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทวาย มะเขือมอญ (ภาคกลาง), มะเขือพม่า มะเขือมื่น มะเขือละโว้ (ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ผลอ่อนไม้ล้มลุก สูง 0.5-2 ม. มีขนทั่วไป ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 10-30 ซม. ปลายหยักแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 เส้น ดอกใหญ่ ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ มีริ้วประดับ (epicalyx) เป็นเส้นสีเขียว 8-10 เส้น เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง โคนกลีบสีม่วงแดง รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดยาว 2-3 ซม. หุ้มเกสรเพศเมียไว้ อับเรณูเล็กจำนวนมากติดรอบหลอด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลมขนาดเล็ก สีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก ผลเป็นฝักห้าเหลี่ยม ปลายเรียวแหลม มีขนทั่วไป มีเมล็ดมาก เมล็ดรูปไต ขนาด 3-6 มม.
    ส่วนที่ใช้

    สรรพคุณ : ใช้เป็นยาแก้จี๊ด รักษาโรคกระเพาะ

    • ยาแก้จี๊ด
      ใช้ผลอ่อน ไม่จำกัดจำนวน นำไปต้มหรือปิ้งไฟ ใช้ทำเป็นผักจิ้มหรือแกงส้ม รับประทานสดๆ จะได้ผลดีกว่า

    • รักษาโรคกระเพาะ
      ใช้ผลมะเขือมอญ ตากแห้ง บดให้ละเอียด รับประทานครั้งบะ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 เวลา หลังอาหารแล้วดื่มน้ำตาม

    กลุ่มยารักษา เหา หิด จี๊ด

    ยาสูบ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Nicotiana tabacum  L.

    ชื่อสามัญ  Tobacco

    วงศ์ Solanaceae

    ชื่ออื่น :  จะวั้ว (เขมร – สุรินทร์)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ใบแก่ๆไม้ล้มลุก สูง 0.6-2 เมตร ตามลำต้นและยอดมีขนอ่อนปกคลุม ทุกส่วนของต้นมีต่อมน้ำยางเหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว 30-60 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบเรียวสอบ ท้องใบและหลังใบมีขนปกคลุม ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอก เป็นดอกช่อออกที่ปลายยอด มีกลีบดอก สีชมพูปนขาว 5 กลีบ ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบแหลม มีขนขาวปกคลุม กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกแหลม ผล เป็นผลแห้ง รูปขอบขนาน ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาล แตกออกได้ ด้านในมีเมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ : รักษาเหา หิด เป็นยาถอนพิษ รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาโรคผิวหนัง แก้หวัด คัดจมูก ฉีดพ่นฆ่าแมลงและเพลี้ยต่างๆ ได้ผลดี
    วิธีและปริมาณที่ใช้

    • รักษาเหา - ใช้ยาฉุนหรือยาตั้ง (ใบยาสูบแก่ตากแห้ง) 1 หยิบมือ ผสมกับน้ำมันก๊าดประมาณ 3-4 ช้อนแกง ชะโลมทั้งน้ำและยาเส้นลงบนผมทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง แล้วสระให้สะอาด ทำติดต่อกัน 3-4 วัน

    • เป็นยาถอนพิษ รักษาแผลน้ำร้อนลวก - ใช้ยาเส้นหรือยาตั้ง 1 หยิบมือ คลุกกับน้ำมันมะพร้าวปิดบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวก จะช่วยถอนพิษ

    • แก้หวัดคัดจมูก - ใช้ใบยาอย่างฉุนจัดๆ ผสมกับปูนแดงและใบเนียม กวนเป็นยานัตถุ์

    • แก้หิดและโรคผิวหนัง - ใช้ยางสีดำๆ ในกล้องสูบยาของจีนใส่แต้มแผล แก้หิดได้ดีมาก ใช้เคี่ยวกับน้ำมันทารักษาโรคผิวหนังต่างๆ ได้ด้วย

    • คุณประโยชน์ทางยา ใช้น้อย
           การสูบบุหรี่โดยการเผาใบยานี้ ทำให้นิโคตินและอัลคาลอยด์อื่นๆ สลายตัว วัตถุเหล่านี้ทำให้เกิดเป็นพิษขึ้นในการสูบบุหรี่ มีหลายคนแสดงว่าการสูบบุหรี่ มีอำนาจกล่อมประสาท (
      Soothing) แต่ไม่ใช่เนื่องจากอำนาจของนิโคติน
           การสูบบุหรี่มากทำให้เจ็บคอและไอ เนื่องจากลำคอและหลอดลม อักเสบบวม ถ้าอาการแรงหน่อยจะทำให้หัวใจอ่อนและเต้นไม่สม่ำเสมอ และผ่อนสภาพประสาทส่วนกลาง ความจำไม่ดี  มือสั่น หายใจอ่อน ความดันโลหิตลดลงต่ำ เหงื่อออกมาก
           แต่ถ้าเป็นคนสูบประจำ ก็จะไม่มีอาการเหล่านี้ เพราะร่างกายสามารถอ๊อกซิไดซ์นิโคตินได้พอควร คนที่สูบซิกาแรตวันละ 25 มวน จะต้องเสียสีของเม็ดโลหิตแดงไปประมาณ 25
      % ในคราวหนึ่ง
           นิโคตินเป็นแอลคาลอยด์ชนิดน้ำ มีอยู่ในใบของยาสูบประมาณ 7
      % ละลายง่ายในน้ำ แอลกอฮอล์ และอีเธอร์ ใช้มากในทางเกษตรกรรม ปรุงเป็นยาฉีดแมลงและเพลี้ยต่างๆ ได้ผลดี การผสม ใช้นิโคติน 1 ส่วน สบู่อ่อน 20 ส่วน ในน้ำ 2,000 ส่วน ยานี้มีพิษแรง ใช้ระวังถูกผิวหนังจะซึมเข้าไป เป็นพิษมาก

    กลุ่มยารักษา เหา หิด จี๊ด

    หนอนตายอยาก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Stemona tuberosa  Lour.

    วงศ์ Stemonaceae

    ชื่ออื่น :  กะเพียด (ประจวบคีรีขันธ์, ชลบุรี) หนอนตายหยาก (แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : หัว รากแห้ง รากสด
    สรรพคุณ
     เป็นไม้เถาล้มลุกเลื้อยพันต้นไม้อื่น เถากลมสีเขียว มีรากอยู่ใต้ดินคล้ายกระชาย เป็นไม้เลื้อยใบเดี่ยว รากออกเป็นกระจุก ใบ ออกเรียงสลับ ใบรูปหัวใจ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 6-10 เซนติเมตร โคนใบเว้า ปลายใบเรียวแหลมเส้นใบแตกออกจากโคนใบ ขนานกันไปทางด้านปลายใบ แผ่นใบเป็นคลื่น ขอบใบเรียบหรืบิดเป็นคลื่น เล็กน้อย ก้านใบยาว ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ดอกสีแดงเข้ม กลีบดอกมี 4 กลีบ กลีบดอกด้านนอกมีสีเขียวปนเหลืองโคนกลีบดอกติดกัน ผล ลักษณะเป็นผัก ปลายแหลม ขนาดกว้าง1 เซนติเมตร ยาว 3เซนติเมตร ผลแห้งแล้วแตก

    ส่วนที่ใช้ :

    • หัว - รักษาริดสีดวงทวารหนัก

    • รากแห้ง
      - ใช้เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ รักษาวัณโรค
      - แก้โรคผิวหนัง ยาขับเบื่อพยาธิ

    • รากสด - รักษาจี๊ด หิด เหา แก้ปวดฟัน

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    • รักษาจี๊ด - ใช้รากสด 3-4 ราก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นตำให้ละเอียดพอกตรงที่มีตัวจี๊ด ซึ่งจะสังเกตได้โดยบริเวณนั้นจะบวมขึ้นมา พอกหลายๆ ครั้ง จนกว่าจะหาย

    • รักษาเหา - ใช้รากสด 3-4 ราก ล้างน้ำให้สะอาด ตำผสมน้ำชะโลมเส้นผมทิ้งไว้  1 ชั่วโมง จึงสระออกให้สะอาด ทำติดต่อกัน 2-3 วัน จนเหาตายหมด

    • แก้ปวดฟัน - ใช้รากสด 1ราก ล้างให้สะอาด หั่นตำให้ละเอียด เติมเกลือ 1/2 ช้อนชา อมประมาณ 10-15 นาที แล้วบ้วนทิ้ง ทำเช่นนี้ติดต่อกัน 2-4 ครั้ง ทิ้งระยะห่างกัน 4-5 ชั่วโมง จะหายปวดฟัน

    กลุ่มยารักษา เหา หิด จี๊ด

    ผกากรอง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Lantana camara  L.

    ชื่อสามัญ  Weeping Lantana, White Sage, Cloth of gold

    วงศ์ Verbebaceae

    ชื่ออื่น :  ก้ามกุ้ง Kam kung, เบญจมาศป่า  (Central); ขะจาย  ตาปู, มะจาย Ma chai (Mae Hong Son); ขี้กา (Prachin Buri); คำขี้ไก่ (Chiang Mai)); ดอกไม้จีน (Trat); เบ็งละมาศ, สาบแร้ง (Northern); ไม้จีน  (Chumphon); ยี่สุ่น  (Trang); สามสิบp (Chanthaburi); หญ้าสาบแร้ง  (Central, Northern)จีน ยี่สุ่น สามสิบ

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่ม ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มักมีขน ขอบใบหยัก สาก ด้านท้องใบมีขน ดอกเป็นดอกช่อเรียงตัวเป็นรูปกลม มีสีต่างๆ ตั้งแต่สีขาว เหลืองนวล หรืออาจเป็นสองสี ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นเป็นสีน้ำเงินเข้มเกือบดำ ภายในมี 2 เมล็ด (1)

    ส่วนที่ใช้ :
    ใบ ดอก ราก เก็บได้ตลอดปี ใช้สด หรือตากแห้งเก็บไว้ใช้

    สรรพคุณ :

    • บ  -  รสขม เย็น ใช้แก้บวม ขับลม แก้แผลผื่นคันเกิดจากชื้น หิด

    • ดอก - รสชุ่ม จืด เย็น ใช้แก้อักเสบ ห้ามเลือด แก้วัณโรค อาเจียนเป็นเลือด แก้ปวดท้องอาเจียน แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้น และรอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระทบกระแทก

    • ราก  -  แก้หวัด ปวดศีรษะ ไข้สูง ปวดฟัน คางทูม ฟกช้ำที่เกิดจากการกระทบกระแทก

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    • ใบสด - 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอกหรือคั้นเอาน้ำผสมเหล้าทา หรือต้มน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น

    • ดอกแห้ง - 6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    • รากสด - 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มน้ำอมบ้วนปาก แก้ปวดฟัน

    ข้อห้ามใช้ : หญิงมีครรภ์ห้ามดื่ม


    • Update : 24/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch