หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/33

    กลุ่มยารักษา เหา หิด จี๊ด

    กระทกรก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Passiflora foetida L.

    ชื่อสามัญ  Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking passionflower

    วงศ์  Passifloraceae

    ชื่ออื่น :  รก กระโปรงทอง ละพุบาบี หญ้ารกช้าง (ใต้) ตำลึงฝรั่ง

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยคล้ายตำลึง เถาค่อนข้างคดไปงอมา เถามีหนามเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ห่าง ๆ โดยทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบมนโค้งผิวเรียบปลายใบแหลมโดยแยกเป็นสามแฉก ใบและเส้นใบบริเวณที่ติดต่อกันมีสีแดงเรื่อ บริเวณใกล้โคนก้านใบมีแฉกแหลมเล็กเรียงตรงกันข้ามสลับกัน ก้านใบ มีขนาดก้านไม้ขีด ยาว 5 –6 เซนติเมตร มีขนอ่อนเป็นฝอยขนาดเล็ก ดอกมีลักษณะก้านดอกยาวกว่าใบ ดอกบานออกกลมกว้าง กลีบดอกสีขาวแซมด้วยริ้วสีม่วง ผลค่อนข้างกลมขนาดปลายนิ้วมือ และห่อหุ้มด้วย “รก” ผลสุกมีสีเหลือง

    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :

    • บ  -  

    • ดอก -

    • เปลือก  - 

    • กระพี้ - 

    • แก่น - 

    • ราก - 

    กลุ่มยารักษา เหา หิด จี๊ด

    น้อยหน่า

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Annona squamosa L.

    ชื่อสามัญ  Sugar Apple

    วงศ์  Annonaceae

    ชื่ออื่น :  : น้อยแน่  มะนอแน่  หมักเขียบ

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น สูง 3-5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 7-13 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ห้อยลง กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว 6 กลีบ เรียง 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ หนาอวบน้ำ มีเกสรตัวผู้และรังไข่ จำนวนมาก ผลเป็นผลกลุ่ม ค่อนข้างกลม
    ส่วนที่ใช้ :
    ใบสด หรือ เนื้อในเมล็ดสด

    สรรพคุณ :

    • รักษาเหา

    • รักษาหิด

    • รักษาจี๊ด

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    • ยารักษาเหา
      ใช้ใบสด 8-12 ใบ หรือเมล็ดที่กะเทาะเปลือกแล้วตำให้ละเอียด 4-5 ช้อนแกง นำมาผสมกับน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันถั่วพอเปียกเล็กน้อย (แฉะๆ) ชะโลมบนเส้นผมที่เป็นเหา ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง สระออกให้หมด ทำเช่นนี้ติดต่อกัน 2-3 วัน ตัวเหา และไข่จะฝ่อหมด หรืออาจจะใช้ความแรงของใบสด หรือเมล็ดน้อยหน่ากับน้ำมันมะพร้าว ความแรง 1
      :2

    • ยารักษาหิด
      ใช้ใบสดหรือเมล็ดในสด จำนวนไม่จำกัด ตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืชลงไปพอแฉะ ใช้ทาบริเวณที่เป็นหิดวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย

    • ยารักษาจี๊ด
      ใช้เนื้อเมล็ดสด 20 เมล็ด ตำให้ละเอียด ใช้สารส้มเท่ากับหัวแม่มือ ใส่ในฝาละมี ตั้งไฟอ่อนๆ เมื่อสารส้มละลาย ค่อยๆ โรยผงของเมล็ดน้อยหน่าลงไปทีละน้อย คนจนเข้ากันดี จากนั้นใช้ไม้ป้ายยาที่กำลังร้อนแต่พอให้ผิวหนังทนได้ ป้ายลงตรงตำแหน่งที่บวม ทำเช่นนี้วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ทำหลายๆ วัน จนกว่าจะหาย ยาที่เหลือจะแข็งพอจะใช้ตั้งไฟอ่อนๆ

    ข้อควรระวัง : ถ้าใช้น้ำสกัดจากเมล็ดอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ และควรระวังอย่าให้น้ำยาเข้าตา เพราะจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง
    สารเคมี

    • ใบ มี แอลคาลอยด์ชื่อ Anonaine และน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย Borneol, Camphene, Camphor, Carvone, Eugenol, Geraniol, Thymol, Menthone, Pinene

    • เมล็ด มีแอลคาลอยด์ชื่อ Anonaine, Fixed Oil Steroids ผงของเมล็ดน้อยหน่า 1.8 กิโลกรัม ให้ Anonaine 0.258 กรัม

    กลุ่มยารักษา เหา หิด จี๊ด

    บวบขม

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichosanthes cucumerina  L.

    ชื่อสามัญ  

    วงศ์  Cucurbitaceae

    ชื่ออื่น : นมพิจิตร มะนอยจ๋า (ภาคเหนือ) กะตอรอ (ปัตตานี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา ลำต้นเป็นร่อง มือเกาะมี 2-3 แขนง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปกลม หรือคล้ายรูปไต โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเป็นซี่และเว้าลึกเป็น 5 แฉก ปลายใบแหลมหรือกลม มีขนทั้งสองด้าน ก้านใบเล็ก ดอกมีการแยกเพศอยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อก้านชูดอกเล็กคล้ายเส้นด้าย มีขนเล็กน้อย กลีบรองกลีบดอกกลีบเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่แกมสามเหลี่ยมมีเส้น 3 เส้นกลีบอยู่ชิดกัน เกสรตัวผู้ 3 อัน รูปทรงกระบอก ดอกเพศเมีย ออกดอกเดี่ยว กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก มีลักษณะเหมือนกันกับดอกเพศผู้ รังไข่รูปยาวรี ท่อรังไข่เล็กเหมือนเส้นด้าย ผลรูปกลมยาว หัวท้ายแหลม สีเขียวมีลายสีขาวตามยาวของผล มีขนสีแดง เมล็ดมี 8-10 เมล็ด รูปขอบขนาน ขอบเป็นคลื่น

    ส่วนที่ใช้ : 
    รังบวบขม

    สรรพคุณ : แพทย์ตามชนบทใช้รังบวบขมฟอกศรีษะแก้รังแค แก้เหาดี

    กลุ่มยารักษา เหา หิด จี๊ด

    มะระขี้นก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Momordica charantia  L.

    ชื่อสามัญ  Bitter Cucumber, Balsum Pear

    วงศ์ :  Cucurbitaceae

    ชื่ออื่น :  ผักไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะร้อยรู (กลาง) ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
    ราก เถา ใบ ดอก ผลและเมล็ด ใช้สดหรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ ผลอาจเก็บมาหั่นเป็นท่อนๆ ตากแห้งเก็บไว้ใช้
    ลักษณะยาแห้ง
    : เนื้อผลแห้งมีลักษณะเป็นท่อนยาวกลม เนื้อหนาประมาณ 2-8 มม. ยาว 3-15 ซม. กว้าง 0.4-2 ซม. ทั้งแผ่นมีรอยย่นขรุขระ ผิวเปลือกสีเทาออกน้ำตาล ระหว่างกลางอาจมีเมล็ด หรือรอยของเมล็ดที่ร่วงไปแล้ว เนื้อแข็งหักง่าย รสขมเล็กน้อย ยาที่ดีควรมีผิวนอกสีเขียว เนื้อในสีขาว เป็นแผ่นบางมีเมล็ดติดมาน้อย
    ป็นไม้เลื้อยพันต้นไม้อื่น มีมือเกาะ ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนปกคลุม ใบเดี่ยว ออกสลับลักษณะคล้ายใบแตงโมแต่เล็กกว่า มีสีเขียวทั้งใบ ขอบใบหยัก เว้าลึก มี 5-7 หยัก ปลายใบแหลม ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ สีเหลืองอ่อน มี 5 กลีบ เกสรมีสีเหลืองแก่ถึงส้ม กลีบดอกบาง ช้ำง่าย ผลเดี่ยว รูปกระสวย ผิวขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองถึงส้ม ผลแก่แตกอ้าออก เมล็ดสุกมีสีแดงสด รูปร่างกลมแบน
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :

    • ผลแห้ง - รักษาโรคหิด

    • ผล - รสขม เย็นจัด ใช้แก้ร้อน ร้อนในกระหายน้ำทำให้ตาสว่าง แก้บิด ตาบวมแดง แผลบวมเป็นหนอง ฝีอักเสบ

    • เมล็ด - รสขม ชุ่ม ไม่มีพิษ แก้วัวถูกพิษใช้คั้นเอาน้ำให้กิน เป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มพูนลมปราณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง

    • ใบ - แก้โรคกระเพาะ บิด แผลฝีบวมอักเสบ ขับพยาธิ

    • ดอก - รสขม เย็นจัด ใช้แก้บิด

    • ราก - รสขม เย็นจัด ใช้แก้ร้อน แก้พิษ บิดถ่ายเป็นเลือด แผลฝีบวมอักเสบ และปวดฟัน

    • เถา - รสขม เย็นจัด ใช้แก้ร้อน แก้พิษ บิดฝีอักเสบ ปวดฟัน

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    • ผลสด - ต้มรับประทาน ครั้งละ 6-15 กรัม หรือผิงไฟให้แห้ง บดเป็นผงรับประทาน ใช้ภายนอก ตำคั้นเอาน้ำทาหรือพอก

    • เมล็ดแห้ง - 3 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    • ใบสด - 30-60 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือใบแห้งบดเป็นผงรับประทาน ใช้ภายนอกต้มเอาน้ำชะล้าง กอก หรือคั้นเอาน้ำทา

    • รากสด - 30-60 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้าง

    • เถาแห้ง - 3-12 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้าง หรือตำพอก

    ข้อห้ามใช้ : พวกที่ม้ามเย็นพร่อง กระเพาะเย็นพร่อง เมื่อรับประทานเข้าไปจะอาเขียน ถ่ายท้องปวดท้อง

    ตำรับยา

    • แก้ไข้ที่เกิดจากกระทบความร้อน
      ใช้ผลสด 1 ผล ควักไส้ในออกใส่ใบชาเข้าไปแล้วประกบกันน้ำไปตากแห้งในที่ร่ม รับประทานครั้งละ 6-10 กรัม โดยต้มน้ำดื่มหรือชงน้ำดื่มต่างชาก็ได้

    • แก้ร้อนในกระหายน้ำ
      ใช้ผลสด 1 ผล ขูดไส้ในออก หั่นฝอยต้มน้ำดื่ม

    • แก้บิด ใช้น้ำคั้นจากผลสด 1 แก้ว ผสมน้ำดื่ม
      - แก้บิดเฉียบพลัน ใช้ดอกสด 20 ดอก ตำคั้นเอาน้ำมาผสมน้ำผึ้งพอสมควรดื่ม บิดถ่ายเป็นเลือด ก็เพิ่มข้าวแดงเมืองจีน (อั่งคัก
      Monascus pur-pureus, Went.) อีก 2-3 กรัม บิดมูกให้เพิ่มอิ๊ชั่ว (ยาสำเร็จรูปชนิดหนึ่ง) 10 กรัม ผสมน้ำสุกรับประทาน
      - แก้บิดปวดท้อง ถ่ายเป็นเมือกๆ ใช้รากสด 60 กรัม น้ำตาลกรวด 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม ถ่ายเป็นเลือด ใช้รากสด 120 กรัม ต้มน้ำดื่ม
      - แก้บิดถ่ายเป็นมูกเลือดหรือเลือด ใช้เถาสด 1 กำมือ แก้บิดมูก ใส่เหล้าต้มดื่ม แก้บิดเลือด ให้ต้มน้ำดื่ม

    • แก้แผลบวม  ใช้ผลสดตำพอก

    • แก้ปวดฝี  ใช้ใบแห้ง บดเป็นผงชงเหล้าดื่มแก้ฝีบวมปวดอักเสบ ใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นหรือใช้รากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำพอก

    • แผลสุนัขกัด ใช้ใบสดตำพอก

    • แก้ปวดฟัน  ใช้รากสดตำพอก

    • ขับพยาธิ  ใช้ใบสด 120 กรัม ตำคั้นเอาน้ำดื่ม นอกจากนี้ยังใช้เมล็ด 2-3 เมล็ด รับประทานขับพยาธิตัวกลม

    • แก้คัน แก้หิดและโรคผิวหนังต่างๆ  ใช้ผลแห้งบดเป็นผง ใช้โรยแผลแก้คันหรือทำเป็นขี้ผึ้ง ใช้ทาแก้หิดและโรคผิวหนังต่างๆ

    สารเคมีที่พบ

    • ผล  มี Charanthin (b - Sitosterol b - D - glucoside กับ 5,25 stigmastadien 3b - ol -b - D - Glucoside), Serotonin และ Amino acids เช่น Glutamic acid, Alanine,  b - Alanine Phenylalanine, Proline,  a - Aminobutyric acid, Citrulline,  Galacturonic acid

    • เมล็ด มีความชื่น 8.6%  เถ้า 21.8% Cellulose 19.5%  เถ้าที่ละลายน้ำ 16.4% ไขมัน 31.0 % (ประกอบด้วย Butyric acid 1.8%  Palmitic acid 2.8%, Stearic acid 21.7%  Oleic acid 30%,  a - Elaeostearic acid 43.7%, Momordicine, Protein

    • ใบสด มี Momordicine


    • Update : 24/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch