หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/32

    กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน

    พิลังกาสา

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ardisia polycephala  Wall.

    ชื่อสามัญ   ตีนจำ (เลย) ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย)

    วงศ์  MYRSINACEAE

    ชื่ออื่น :  กะเบาข้าวแข็ง กะเบาข้าวเหนียว กะเบา กะเบาเบ้าแข็ง (ภาคกลาง) มะกูลอ กะตงคง (ลาว-เชียงใหม่) กะดงเบา (ลำปาง) กะเบาใหญ่ (นครราชสีมา) เบา กูลา (ปัตตานี) หัวค่าง (ประจวบ) กะเบาตึกกะเบาดึก กราเบา (เขมร) ตั้วโฮ่งจี๊ (จีน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีจักร ใบจะหนา ใหญ่ มีสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามส่วนยอด ดอกมีสีชมพูอมขาว ผลโตเท่าขนาดเม็ดนุ่น เมื่อยังอ่อนเป็นสีแดง ผลแก่จะเป็นสีม่วงดำ
    ส่วนที่ใช้ :  
    ทั้ง 5 คือ ใบ ดอก ราก เมล็ด ผล

    สรรพคุณ : ใบอ่อนรับประทานเป็นผักได้

    • บ  -   มีรสร้อน แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ

    • ดอก -  ฆ่าเชื้อโรค

    • ผล - แก้ไข้ ท้องเสีย แก้โรคเรื้อน

    • เมล็ด - แก้ลมพิษ

    • ต้น - แก้โรคเรื้อน กุดถัง โรคผิวหนัง

    • ราก - แก้กามโรค หนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงูกัด ใช้กากพอกแผล เอาน้ำดื่ม

    กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน

    สบู่เลือด

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Stephania pierrei  Diels

    วงศ์  MENISPERMACEAE

    ชื่ออื่น :  บัวกือ (เชียงใหม่, เพชรบุรี)  บัวเครือ (เพชรบูรณ์) บัวบก (กาญจนบุรี,นครราชสีมา) เปล้าเลือดเครือ (ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดินีขนาดใหญ่  กลมแป้น เปลือกหัวสีน้ำตาล เนื้อในสีขาวนวล รสชาติมันและเฝื่อนเล็กน้อย ลำต้นแทงขึ้นจากหัว โค้งงอลงสู่พื้นดิน เป็นไม้กึ่งเลื้อยทอดยาวได้ประมาณ 3-5 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปเกือบกลม หรือ กลมคล้ายใบบัว แต่จะมีขนาดเล็กกว่า เส้นผ่าศูนย์กลางใบประมาณ 3-6  ซม.  ก้านใบยาว 2-3.5  ซม. ติดที่กลางแผ่นใบ ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ เป็นดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ รูปขอบขนาน สีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ผลมีลักษณะเป็นทรงกลม มี 1 เมล็ด รูปเกือกม้า  
    ส่วนที่ใช้ :  
    หัว ก้าน ต้น ใบ ดอก เถา

    สรรพคุณ :

    • ต้น -  กระจายลมที่แน่นในอก

    • ใบ - บำรุงธาตุไฟ ใส่บาดแผลสดและเรื้อรัง

    • ดอก - ฆ่าเชื้อโรคเรื้อน ทำให้อุจจาระละเอียด

    • เถา - ขับโลหิตระดู  ขับพยาธิในลำไส้

    • หัว, ก้าน - แก้เสมหะเบื้องบน ทำให้เกิดกำลัง บำรุงกำหนัด

    • ราก - บำรุงเส้นประสาท

    วิธีใช้

    • หัวกับก้านรับประทานกับสุรา ทำให้หนังเกิดอาการชาอยู่ยงคงกระพัน ถูกเฆี่ยน ตีไม่เจ็บไม่แตก พวกนักดื่มนิยมกันนัก

    • หัวหั่นเป็นชิ้นบางๆ สัก 3 แว่น ตำโขลกกับน้ำซาวข้าวหรือสุราก็ได้ให้ละเอียดๆ แล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่ม ประมาณ 1 ถ้วยชา เช้า-เย็น และก่อนนอน แก้ตกเลือดของสตรี แก้มุตกิด ระดูขาว หรือตกขาวได้อย่างชงัด เป็นผลมากแล้ว

    กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน

    สลอด

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Croton tiglium L.

    ชื่อสามัญ  Purging Croton, Croton Oil Plant

    วงศ์  EUPHORBIACEAE

    ชื่ออื่น :  บะกั้ง (แพร่) มะข่าง มะคัง มะตอด หมากทาง หัสคืน (ภาคเหนือ) ลูกผลาญศัตรู สลอดต้น หมากหลอด (ภาคกลาง) หมากยอง (แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 3-6 ม. ต้นเกลี้ยง ใบเดี่ยวรูปไข่ เรียงสลับกัน ปลายใบแหลม ฐานใบกลม ขอบใบหยัก แบบซี่ฟัน มีเส้นใบ 3-5 เส้น ที่ฐานใบมีต่อม 2 ต่อม เนื้อใบบาง ก้านใบเรียวเล็ก ดอกเล็ก ออกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นช่อที่ยอด ใบประดับมีขนาดเล็ก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน หรืออยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ มีขนรูปดาว กลีบรองกลีบดอก 4-6 กลีบ ปลายกลีบมีขน กลีบดอก 4-6 กลีบ ขอบกลีบมีขน ฐานดอกมีขน และมีต่อมจำนวนเท่ากันและอยู่ตรงข้ามกันกับกลีบรองกลีบดอก เกสรผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรไม่ติดกัน เมื่อดอกยังอ่อนอยู่ ก้านเกสรจะโค้งเข้าข้างใน ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอกรูปไข่ มีขนที่โคนกลีบ ไม่มีกลีบดอก หรือถ้ามีก็เล็กมาก รังไข่มี 2-4 ช่อง ผลแก่จัดแห้งและแตก รูปขอบขนานหรือรี กว้าง 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. หน้าตัดรูปสามเหลี่ยมมนๆ เมล็ดรูปขอบขนานแกมรูปรี สีน้ำตาลอ่อน (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530)

    ส่วนที่ใช้ :
     ใบ ดอก ผล เมล็ด เปลือก ราก

    สรรพคุณ :

    •   -  แก้ตะมอย แก้ไส้ด้าน ไส้ลาม (กามโรคที่เกิดเนื้อร้ายจากปลายองค์กำเนิดกินลามเข้าไปจนถึงต้นองค์กำเนิด)

    • ดอก -  ฆ่าเชื้อโรคกลากเกลื้อน แก้คุดทะราด

    • ผล - แก้ลมอัมพฤกษ์ ดับเดโชธาตุ มีให้เจริญ

    • เมล็ด - เป็นยาถ่ายอย่างแรง ถ่ายร้อนคอ ปวดมวน ก่อนใช้ต้องทำการประสะก่อน (อันตราย)

    • เปลือกต้น - แก้เสมหะอันคั่งค้างอยู่ในอกและลำคอ

    • ราก - แก้โรคเรื้อน ถ่ายเสมหะ ถ่ายโลหิตและลม

    วิธีการใช้

    • ส่วนใบ - ก่อนจะนำมาผสมยา ให้นึ่งเสียก่อน

    • เมล็ด - เป็นยาถ่ายอย่างแรง การใช้เมล็ดเป็นยาถ่ายต้องระวังมาก เพราะน้ำมันในมเล็ดสลอดมีพิษร้อนคอ ไข้ปวดมวนและระบายจัด ก่อนใช้ผสมยา ต้องคั่วจนเกรียมให้หมดน้ำมันเสียก่อน อีกวิธีหนึ่งเอาเมล็ดใส่ในข้าวสุกปั้นเป็นก้อนแล้วต้มให้นานๆ จึงใช้ผสมยา อีกวิธีหนึ่งต้องเอาเมล็ดสลอดใส่ปากไหปลาร้า ทิ้งไว้ 3 วัน จึงเอาขึ้นมาตากแห้งใช้ผสมยาได้
      เมื่อจะทำยาระบาย ต้องมียาคุมฤทธิ์ไว้ให้ดี มิฉะนั้นจะมีคลื่นเหียน ปวดมวนไชท้องอย่างยิ่ง ฉะนั้น การใช้สลอดนี้ ถ้ายาคุมฤทธิ์ไว้ได้ดีก็จะเป็นยาวิเศษขนานหนึ่ง แต่ถ้าวิธีคุมฤทธิ์ไว้ไม่ดีก็อย่าบังควรใช้เลย ให้ใช้ยาขนานอื่นแทน


    • Update : 24/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch