หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/30

    กลุ่มพืชถอนพิษ

    รางจืด

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Thumbergia laurifolia   Lindl.

    วงศ์  Acanthaceae

    ชื่ออื่น :  กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว ยาเขียว (ภาคกลาง) คาย รางเย็น  (ยะลา)  จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า (ปัตตานี) ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี) ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย/ไม้เถา เนื้อแข็ง  ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเว้า  มีเส้น 3 เส้นออกจากโคนใบ ดอก มีสีม่วงอมฟ้า ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ ใบประดับสีเขียวประแดง กลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกสีเหลืองอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 4 อันผล เป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก
    ส่วนที่ใช้ :
     ใบ ราก และเถาสด

    สรรพคุณ : รางจืดที่มีประสิทธิภาพ คือรางจืดชนิดเถาดอกม่วง

    • รากและเถา - รับประทานแก้ร้อนใน กระหายน้ำ

    • ใบและราก - ใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำลายพิษยาฆ่าแมลง พิษจากสตริกนินให้เป็นกลาง พิษจากดื่มเหล้ามากเกินไป หรือยาเบื่อชนิดต่างๆ เข้าสู่ร่างกายโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น ติดอยู่ในฝักผลไม้ที่รับประทาน เมื่ออยู่ในสถานที่ห่างไกล การนำส่งแพทย์ต้องใช้เวลา อาจทำให้คนไข้ถึงแก่ชีวิตได้ ถ้ามีต้นรางจืดปลูกอยู่ในบ้าน ใช้ใบรางจืดไม่แก่ไม่อ่อนเกินไปนัก หรือรากที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป และมีขนาดเท่านิ้วชี้ มาใช้เป็นยาบรรเทาพิษเฉพาะหน้าก่อนนำส่งโรงพยาบาล (รากรางจืดจะมีตัวยามากกว่าใบ 4-7 เท่า) ดินที่ใช้ปลูก ถ้าผสมขี้เถ้าแกลบหรือผงถ่านป่น จะช่วยให้ต้นรางจืดมีตัวยามากขึ้น

    วิธีใช้ :

    • ใบสด
      สำหรับคน 10-12 ใบ
      สำหรับวัวควาย 20-30 ใบ
      นำใบสดมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวครึ่งแก้ว คั้นเอาแต่น้ำดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ อาจให้ดื่มซ้ำได้อีกใน 1/2 - 1 ชั่วโมงต่อมา

    • รากสด
      สำหรับคน 1-2 องคุลี
      สำหรับวัวควาย 2-4 องคุลี
      นำรากมาฝนหรือตำกับน้ำซาวข้าว แล้วดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ อาจใช้ซ้ำได้อีกใน 1/2 - 1 ชั่วโมง ต่อมา

    คำเตือน :  การใช้รางจืดสำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลง ยาพิษและสตริกนินนั้น ต้องใช้ยาเร็วที่สุดเท่าที่จำทำได้ จึงจะได้ผลดี ถ้าพิษยาซึมเข้าสู่ร่างกายมากแล้ว หรือทิ้งไว้ข้ามคืน รางจืดจะได้ผลน้อยลง

    กลุ่มพืชถอนพิษ

    ว่านหางจระเข้

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Aloe vera  (L.)  Burm.f.
    ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis  Mill

    ชื่อสามัญ  Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados

    วงศ์  Asphodelaceae

    ชื่ออื่น :  หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวย
    ส่วนที่ใช้ :
    วุ้นในใบสด  ยางในใบ  เหง้า

    สรรพคุณ :

    • วุ้นในใบสด 
      - บรรเทาอาการปวดศีรษะ
      - รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้
      - ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน แผลเรื้อรัง

    • ยางในใบ - ทำยาดำ เป็นยาระบาย

    • เหง้า  - ต้มเอาน้ำรับประทาน แก้หนองใน

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • บรรเทาอาการปวดศีรษะ
      เลือกใบว่านหางจระเข้ที่อยู่ล่างสุด ใบสด 1 ใบ (เพราะมีตัวยามากกว่า) ฝานตามขวางใบ หนาประมาณ 1/4 ซม. ใช้ปูนแดงทาตรงเนื้อที่มีลักษณะคล้ายวุ้นสีขาวใสๆ แล้วเอาทางด้านปูนแดงปิดบนขมับ

    • รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ถอนพิษ
      ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างยางสีเหลืองออกให้หมด ขูดเอาวุ้นใสออกมาทาพอกบริเวณแผลที่ถูกไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกให้ชุ่ม เปลี่ยนวุ้นทุกวันจนกว่าจะหาย ช่วยระงับความเจ็บปวดด้วยและป้องกันการติดเชื้อ ช่วยให้แผลหายเร็วและไม่เกิดแผลเป็น
      ** วุ้นว่านหางจระเข้ ยังใช้ทารักษาผิวไหม้ที่เกิดจากแดดเผาได้

    ข้อควรระวัง :  ก่อนใช้ว่านทดสอบดูว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้

    กลุ่มพืชถอนพิษ

    เสลดพังพอนตัวเมีย (พญาปล้องทองง)

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Clinacanthus nutans (Burm.f) Lindau.

    ชื่อสามัญ  -

    วงศ์  ACANTHACEAE

    ชื่ออื่น :  ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องดำ (ลำปาง) พญาปล้องทอง (ภาคกลาง) ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง) เสลดพังพอนตัวเมีย

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มเลื้อย ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปรีแคบขอบขนาน กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ขึ้นตามป่า หรือปลูกกันตามบ้าน ขยายพันธุ์โดยวิธีปักชำ เสลดพังพอนมีชื่อพ้องกัน คือ เสลดพังพอนตัวผู้ และเสลดพังพอนตัวเมีย แต่ต่างกันที่เสลดพังพอนตัวผู้มีหนาม สรรพคุณอ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย เพื่อไม่ให้สับสนจึงเรียกเสลดพังพอนตัวเมียว่า พญายอ และตำรายาไทยนิยมนำมาทำยา
    ส่วนที่ใช้ :
    ส่วนทั้ง 5  ใบสด  ราก

    สรรพคุณ :

    • ส่วนทั้ง 5  -   ใช้ถอนพิษ โดยเฉพาะพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตะขาบ แมลงป่อง รักษาอาการอักเสบ งูสวัด ลมพิษ แผลน้ำร้อนลวก

    • ใบ - นำมาสกัดทำทิงเจอร์และกรีเซอรีน ใช้รักษาแผลผิวหนังชนิดเริ่ม Herpes และรักษาแผลร้อนในในปาก Apthous ตับพิษร้อน แก้แผลน้ำร้อนลวก

    • ราก  - ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว 

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • รักษาอาการอักเสบ ถอนพิษ รักษาแผลร้อนในในปาก เริม งูสวัด
      - ใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมียสด 10-20 ใบ (เลือกใบสีเขียวเข้มสดเป็นมันไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไป)นำมาตำผสมกับเหล้าหรือน้ำมะนาว คั้นเอาน้ำดื่มหรือเอาน้ำทาแผลและเอากากพอกแผล
      - ใช้ใบเสลดพังพอน 1,000 กรัม หมักใน
      alcohol 70 % 1,000 ซีซี. หมักไว้ 7 วัน นำมากรองแล้วเอาไประเหยให้เหลือ 500 ซีซี. เติม glycerine pure ลงไปเท่ากับจำนวนที่ระเหยไป (500 ซีซี.) นำน้ำยาเสลดพังพอนกรีเซอรีนที่ได้ทาแผลเริม งูสวัด แผลร้อนในปาก ถอนพิษต่างๆ

    • ทาบริเวณที่แมลงสัตว์กัดต่อยเป็นผื่นคัน
      - ใช้ใบสด 5-10 ใบ ตำขยี้ทาบริเวณที่เป็นแผลที่แพ้ จะยุบหายได้ผลดี

    • แก้แผลน้ำร้อนลวก
      - ใช้ใบตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าวหรือน้ำมันงา เอากากพอกแผลที่ถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ แผลจะแห้ง
      - นำใบมาตำให้ละเอียดผสมกับสุรา ใช้พอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก มีสรรพคุณดับพิษร้อนได้ดี

    สารเคมี :
              ราก  พบ
    Betulin, Lupeol, β-sitosterol
              ใบ  พบ Flavonoids

    กลุ่มพืชถอนพิษ

    เสลดพังพอนตัวผู้ (ซองระอา)

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Barleria lupulina Lindl.

    ชื่อสามัญ  Hop Headed Barleria

    วงศ์  ACANTHACEAE

    ชื่ออื่น :  พิมเสนต้น (ภาคกลาง) ทองระอา ช้องระอา ลิ้นงูเห่า เสลดพังพอนตัวผู้ (กรุงเทพฯ) คันชั่ง (ตาก) อังกาบ อังกาบเมือง (ไทย) ก้านชั่ง (พายัพ)
    ชื่อภาษาอังกฤษ

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงประมาณ 1 เมตร มีหนามแหลมยาว ข้อละ 2 คู่ ถึง 3 คู่กิ่งก้าน ก้านใบสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม เส้นกลางใบแดง ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 8 ซม. มีใบประดับสีน้ำตาลแดง ค่อนข้างกลม กลีบดอกสีส้ม ผลเป็นฝักรูปไข่
    ส่วนที่ใช้ :
    ราก ใบ ส่วนทั้ง 5

    สรรพคุณ :

    • ราก  -  แก้ตาเหลือง หน้าเหลือง เมื่อยตัว กินข้าวไม่ได้ แก้เจ็บท้อง แก้ผิดอาหาร ถอนพิษงู พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวดฟัน  

    • ใบ - ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ลมพิษ รักษาเม็ดผื่นคันตามผิวหนัง แก้โรคเบาหวาน แก้ปวดแผล แผลจากของมีคมบาด แก้โรคฝีต่างๆ รักษาโรคคางทูม แก้โรคไฟลามทุ่ง แก้ขยุ้มตีนหมา แก้โรคงูสวัด รักษาโรคเริม ถอนพิษจากเม็ดตุ่มฝีดาษ รักษาโรคฝีดาษ แก้ฟกช้ำ แก้ช้ำบวมเนื่องจากถูกของแข็ง ถอนพิษไข้ พิษไข้ทรพิษ แก้ปวดฟัน เหงือกบวม แก้ริดสีดวงทวาร แก้ยุงกัด แก้พิษไฟลวกน้ำร้อนลวก แก้ปวดจากปลาดุกแทง

    • ส่วนทั้ง 5 - ใช้เหมือนเสลดพังพอนตัวเมีย และใช้แทนเสลดพังพอนตัวเมียได้ แต่ใบเสลดพังพอนตัวเมียมีรสจืด ใบเสลดพังพอนตัวผู้มีรสขมมาก และเสลดพังพอนตัวผู้มีฤทธิ์อ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              ใช้เหมือนเสลดพังพอนตัวเมียทุกอย่าง
    สารเคมี
    :
              ต้น  พบ Iridiod glycoside, Acetyl barlerin , Barlerin, Shanzhiside methyl ester


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch