หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/24

    กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง

    กาหลง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Bauhinia acuminata  L.

    วงศ์  Leguminosae - Caesalpinioideae

    ชื่ออื่น :  กาแจ๊ะกูโด (มลายู-นราธิวาส); กาหลง (ภาคกลาง); โยธิกา (นครศรีธรรมราช); ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง); เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร กิ่งอ่อนมีขนทั่วไป กิ่งแก่ค่อนข้างเกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือเกือบกลม กว้าง 9-13 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายเว้าลงมาสู่เส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ทำให้ปลายแฉกทั้ง 2 ข้างแหลม โคนรูปหัวใจ ขอบเรียบ เส้นใบออกจากโคนใบ 9-10 เส้น ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลม แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนเล็กละเอียด ก้านใบยาว 3-4 ซม. มีขนหูใบเรียวแหลม ยาวประมาณ 1 ซม. ร่วงง่าย มีแท่งรยางค์เล็กๆ อยู่ระหว่างหูใบ ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้นๆ ออกตรงข้ามกับใบที่อยู่ตอนปลายกิ่ง มี 3-10 ดอก ก้านดอกยาว 0.5-1.5 ซม. โคนก้านดอกมีใบประดับขนาดเล็ก 2-3 ใบ รูปสามเหลี่ยมเรียวแหลม ดอกตูมรูปกระสวย ยาว 2.5-4 ซม. ดอกบาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายกาบกว้าง 1-1.8 ซม. ยาว 2.5-4 ซม. ปลายเรียวแหลมและแยกเป็นพู่เส้นสั้นๆ 5 เส้น กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปรีหรือรูปไข่กลับ มักมีขนาดไม่เท่ากัน ปลายมน โคนสอบ กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 4-6 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูแต่ละอันยาวไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ 1.5-2.5 ซม. อับเรณูสีเหลือง รูปขอบขนาน ยาว 3-5 มม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 ซม. รับไข่รูปขอบขนาน ยาว 6-8 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-2 ซม. ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลม ฝักแบน คล้ายรูปขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 9-15 ซม. ปลายและโคนฝักสอบแหลม ปลายฝักมีติ่งแหลม ยาวประมาณ 8 มม. ขอบฝักเป็นสันหนา มี 5-10 เมล็ด เมล็ดเล็ก คล้ายรูปขอบขนาน
    ส่วนที่ใช้ :
     ดอก

    สรรพคุณ :

    • ดอก
      - รับประทาน แก้ปวดศีรษะ
      - ลดความดันของโลหิตที่ขึ้นสูง
      - แก้เลือดออกตามไรฟัน
      - แก้เสมหะพิการ

    กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง

    ระย่อมน้อย

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz

    วงศ์  Apocynaceae

    ชื่ออื่น :  กอเหม่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กะย่อม (ภาคใต้) เข็มแดง (ภาคเหนือ) คลาน ตูมคลาน มะโอ่งที สะมออู  (กะเหรียง-กาญจนบุรี) ระย่อม (ภาคกลาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : รากสด รากแห้ง น้ำจากใบ ดอก เปลือก ไม้พุ่ม สูง 30-70 ซม. มียางขาว ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือรอบๆ ข้อๆ ละ 3 ใบ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-20 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีขาวแกมเขียว เมื่อกลีบดอกโรยจะเปลี่ยนเป็นสีแดง กลีบดอกสีขาว โคนกลีบเป็นหลอดสีแดง ผลเป็นผลสด รูปวงรี
    ส่วนที่ใช้ : 

    สรรพคุณ :

    • รากสด - เป็นยารักษาหิด

    • รากแห้ง - เป็นยาลดความดันโลหิตสูง เป็นยากล่อมประสาท ทำให้ง่วงนอน และอยากอาหาร

    • ดอก - แก้โรคตาแดง

    • น้ำจากใบ - ใช้รักษาโรคแก้ตามัว

    • เปลือก - แก้ไข้พิษ

    • กระพี้ - บำรุงโลหิต

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • เป็นยารักษาหิด
      ใช้รากสด 2-3 ราก นำมาตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืชพอแฉะๆ ใช้ทาบริเวณที่เป็นหิดวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย

    • ป็นยาลดความดันโลหิตสูง
      ใช้รากแห้ง 200 มิลลิกรัมต่อวัน รับประทาน 1-3 อาทิตย์ติดต่อกัน โดยป่นเป็นผงคลุกกับน้ำผึ้ง รับประทานเป็นยาเม็ด
      ข้อควรระวัง - การรับประทานต้องสังเกต และระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้ามีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น หรือมีอาการผิดปกติ ให้หยุดยาทันที โดยเฉพาะระย่อม

    • รากระย่อม ปรุงเป็นยารับประทานทำให้ง่วงนอน และอยากอาหาร

    กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง

    บัวบก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Centella asiatica (L.) Urban.

    ชื่อสามัญ  Asiatic pennywort, Indian pennywort

    วงศ์ Apiaceae (Umbelliferae)

    ชื่ออื่น :  ผักหนอก (ภาคเหนือ)  ผักแว่น (ภาคใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ทั้งต้นสดไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นไหลทอดเลื้อยไปตามดินที่ชื้นแฉะ ขึ้นง่าย มีรากฝอยออกตามข้อ ใบชูตั้งขึ้น มีไหลงอกออกจากต้นเดิม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไต ขนาดกว้างและยาว 2-5 ซม. ปลายใบกลม โคนใบเว้า ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวมีขนเล็กน้อย ก้านใบยาว ดอก ออกเป็นช่อแบบซี่ร่มตามซอกใบ มีดอกย่อย 2-3 ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ สีม่วงอมแดงกลับกัน ผล เป็นผลแห้งแตกแบน เมล็ดสีดำ
    ส่วนที่ใช้

    สรรพคุณ :

    • ใบ - มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน

    • ทั้งต้นสด
      - เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
      - รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
      - ปวดศีรษะข้างเดียว
      - ขับปัสสาวะ
      - แก้เจ็บคอ
      - เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง
      - ลดความดัน แก้ช้ำใน

    • เมล็ด - แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • ใช้เป็นยาแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
      ใช้ต้นสดไม่จำกัด รับประทาน หรือคั้นน้ำจากต้นสดรับประทาน ควรรับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน

    • ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
      ใช้ทั้งต้นสด 10-20 กรัม หรือ 1 กำมือ ตำคั้นน้ำเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง จิบบ่อยๆ

    • เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
      ใช้ทั้งต้นสด 30-40 กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย รับประทาน 5-7 วัน

    • ยาแก้ช้ำใน (พลัดตกหกล้ม)
      ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม 1 ครั้ง รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน

    • เป็นยาถอนพิษรักษาแผลน้ำร้อนลวก
      ใช้ทั้งต้นสด 2-3 ต้น ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลไฟไหม้ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน

    • เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
      ใช้ใบสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด ช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็ว

    สารเคมี : สารสกัดจากใบบัวบกประกอบด้วย madecassoside asiatic acid, asiaticoside, centelloside, centellic acid brahminoside, brahmic acid.

    กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง

    มะขาม

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tamarindus indica  L.

    ชื่อสามัญ  Tamarind, Indian date

    วงศ์  Leguminosae - Caesalpinioideae

    ชื่ออื่น :  ขาม (ภาคใต้) ตะลูบ(ชาวบน-นครราชสีมา) ม่งโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล (เขมร-สุรินทร์) หมากแกง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ม้ต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี 10-15 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และหวาน
    ส่วนที่ใช้ : 
    ราก เปลือก ทั้งต้น แก่น ใบ เนื้อในฝัก ฝักดิบ เมล็ด เปลือกเมล็ด ดอกสด

    สรรพคุณ :

    • รากแก้ท้องร่วง สมานแผล รักษาเริม และงูสวัด

    • เปลือกต้น - แก้ไข้ ตัวร้อน

    • แก่น - กล่อมเสมหะ และโลหิต ขับโลหิต ขับเสมหะ รักษาฝีในมดลูก รักษาโรคบุรุษ เป็นยาชักมดลูกให้เข้าอู่

    • ใบสด (มีกรดเล็กน้อย) - เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้บิด รักษาหวัด ขับเสมหะ หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ แก้ตามัว  ฟอกโลหิต ขับเหงื่อ ต้มผสมกับสมุนไพรอื่นๆ อาบหลังคลอดช่วยให้สะอาดขึ้น

    • เนื้อหุ้มเมล็ด - แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ยาถ่าย ขับเสมหะ แก้ไอ กระหายน้ำ เป็นยาสวนล้างท้อง

    • ฝักดิบ - ฟอกเลือด และลดความอ้วน เป็นยาระบายและลดอุณหภูมิในร่างกาย บรรเทาอาการไข้

    • เมล็ดในสีขาว - เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลมในลำไส้ พยาธิเส้นด้าย

    • เปลือกเมล็ด - แก้ท้องร่วง แก้บิดลมป่วง สมานแผลที่ปาก ที่คอ ที่ลิ้น และตามร่างกาย รักษาแผลสด ถอนพิษและรักษาแผลที่ถูกไฟลวก รักษาแผลเบาหวาน

    • นื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) - รับประทานจิ้มเกลือ แก้ไอ ขับเสมหะ

    • ดอกสด - เป็นยาลดความดันโลหิตสูง

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    1.  เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน ตัวกลม ตัวเส้นด้าย ได้ผลดี
      ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกออก แล้วเอาเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานเนื้อทั้งหมด ครั้งละ 20-30 เมล็ด

    2. เป็นยาระบาย ยาถ่าย
      -
      ใช้เนื้อที่หุ้มเมล็ด (มะขามเปียก) แกะเมล็ดแล้วขนาด 2 หัวแม่มือ (15-30 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ
      - เอามะขามเปียกละลายน้ำอุ่นกับเกลือ ฉีดสวนแก้ท้องผูก

    3. แก้ท้องร่วง
      -เมล็ดคั่วให้เกรียม กะเทาะเปลือกรับประทาน
      -เปลือกต้น ทั้งสดและแห้ง ประมาณ 1-2 กำมือ (15-30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใส หรือ น้ำ รับประทาน

    4. รักษาแผล
      เมล็ดกะเทาะเปลือก ต้ม นำมาล้างแผลและสมานแผลได้

    5. แก้ไอและขับเสมหะ
      ใช้เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือรับประทานพอควร

    6. เป็นยาลดความดันสูง
      ใช้ดอกสด ไม่จำกัดจำนวน ใช้แกงส้มหรือต้มกับปลาสลิดรับประทาน

    สารเคมี :

    • ใบ  มี  Alcohols, phenolic esters and ethers. Sambubiose, Carboxylic acid, Oxalic acid

    • ดอก  มี  a - Oxoglutaric acid, Glyoxalic acid , Oxaloacetic acid

    • ผล มี  Alcohols, Aldehydes; Citric acid Ketones, Vitamin B1, Essential Oil, Enzyme.

    • เมล็ด  มี  Phosphatidylcholine, Proteins Glutelin, Albumin, Prolamine, Lectin


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch