หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/23

    กลุ่มยากัน หรือ แก้เลือดออกตามไรฟัน

    มะกอก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Spondias cytherea  Sonn.

    ชื่อสามัญ Jew's plum, Otatheite apple

    วงศ์ Anacardiaceae

    ชื่ออื่น :  มะกอกฝรั่ง มะกอกหวาน (ภาคกลาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาหรือน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพส ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด
    ส่วนที่ใช้ : 
    ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด

    สรรพคุณ :

    • เนื้อผลมะกอก - มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ โดยน้ำดีไม่ปกติ และมีประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย

    • น้ำคั้นใบมะกอก - ใช้หยอดหู แก้ปวดหูดี

    • ผลมะกอกสุก - รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี เช่น ผลมะขามป้อม

    • เปลือก - ฝาด เย็นเปรี้ยว ดับพิษกาฬ แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก

    • เมล็ดมะกอก - สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใช้ผสมยามหานิล

    • ใบอ่อน - รับประทานเป็นอาหาร

    วิธีใช้ : ใช้ผลรับประทานเป็นผลไม้ และปรุงอาหาร

    กลุ่มยากัน หรือ แก้เลือดออกตามไรฟัน

    มะกอกน้ำ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Elaeocarpus hygrophilus  Kurz.

    วงศ์  Elaeocarpaceae

    ชื่ออื่น :  สารภีน้ำ (ภาคกลาง)  สมอพิพ่าย (ระยอง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ผล เมล็ดไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกลำต้น สีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกจากลำต้นแบบสลับ แต่ช่วงปลายยอดจะออกแบบเวียน ใบ รูปไข่หรือรูปรี ปลายใบแหลม ฐานใบมน มีหูใบ ขอบใบเป็นหยักเล็กน้อย ก้านใบมีสีแดง ดอก ออกเป็นช่อแบบราซีม ออกตรงซอกใบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีขาว มีลักษณะเป็นริ้ว มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก มีเกสรตัวเมีย 1 อัน ผล เป็นรูปดรุป (drupe) มีเปลือกหุ้มเมล็ดที่แข็งมาก ภายในมี 1 เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน เมล็ด รูปกระสวย ผิวขรุขระ ออกดอกราวเมษายนถึงพฤษภาคม
    ส่วนที่ใช้

    สรรพคุณ :

    • ผล - ใช้ดองน้ำเกลือ รับประทานเป็นอาหารแทนมะกอกฝรั่ง จะมีรสเปรี้ยวฝาดเล็กน้อย น้ำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี

    • เมล็ด -  อาจกลั่นได้น้ำมัน คล้ายน้ำมันโอลีฟ ( Olive Oil ) ของฝรั่ง

    • ดอก - แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ

    กลุ่มยากัน หรือ แก้เลือดออกตามไรฟัน

    มะขามป้อม

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Phyllanthus emblica  L.

    ชื่อสามัญ  Emblic myrablan, Malacca tree

    วงศ์  Euphorbiaceae

    ชื่ออื่น :  กำทวด (ราชบุรี) กันโตด (เขมร-จันทบุรี) สันยาส่า มั่งลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-12 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน กว้าง 1- 5 มม. ยาว 4-15 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี 5-6 กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้นๆ 3-5 อัน ก้านดอกสั้น ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.3-2 ซม. เป็นพูตื่นๆ 6 พู ผิวเรียบ  ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
    ส่วนที่ใช้ :
    ผลสด  น้ำจากผล

    สรรพคุณ :

    • ผลสด - โตเต็มที่ รสเปรี้ยวอมฝาด จะรู้สึกหวานตาม แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคลักปิดลักเปิด เป็นผลไม้ที่มีไวตามินซีสูง

    • น้ำจากผล - แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              ใช้ผลโตเต็มที่ไม่จำกัดจำนวน กัดเนื้อเคี้ยวอมบ่อยๆ แก้ไอ หรือใช้ผลไม้สด 10-30 ผล ตำคั้นน้ำรับประทาน แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ

    สารเคมี
    : มะขามป้อมสดมีไวตามินซีประมาณ 1-2 % มะขามป้อม 1 ผล มีปริมาณไวตามินซีเท่ากับที่มีในส้ม 2 ผล นอกจากนี้พบ nicotinic acid, mucic acid, ellagic acid และ phyllemblic acid.

    กลุ่มยากัน หรือ แก้เลือดออกตามไรฟัน

    มะนาว

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Citrus aurantifolia (Christm.)  Swingle

    ชื่อสามัญ  Common lime

    วงศ์  Rutaceae

    ชื่ออื่น :  ้มมะนาว มะลิว (ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามแหลม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลปนเทา ใบ เป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยใบเดียว รูปไข่หรือรูปรียาว กว้าง 3-5 ซม. ยาว4-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนมีปีกแคบๆ ขอบใบหยัก แผ่นใบมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ตามผิวใบ ดอก ออกเป็นช่อสั้น 5-7 ดอก หรือออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบดอกมี 4-5 กลีบ หลุดร่วงง่าย ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียวเข้ม พอแก่เป็นสีเหลือง ข้างในแบ่งเป็นห้องแบบรัศมี มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มี 10-15 เมล็ด
    ส่วนที่ใช้ : 
    น้ำ
    มันจากผิวของผลสด น้ำคั้นจากผลมะนาว

    สรรพคุณ :
            
     น้ำมันจากผิวมะนาว ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด แต่งกลิ่น น้ำคั้นจากผลมะนาว รักษาอาการเจ็บคอ แก้ไอ ขับเสมหะ และรักษาโรคลักปิดลักเปิดซึ่งเกิดจากการขาดวิตามินซี

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              1. 
    ใช้ผิวมะนาวแห้ง 10-15 กรัม ต้มน้ำรับประทาน
              2.  ใช้น้ำมะนาว 1 ถ้วยชา ผสมน้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ และเกลือเล็กน้อย ชงน้ำอุ่นจิบบ่อยๆ

    สารเคมี : ผิวมะนาวน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย d-limonene, linalool, terpineol และ flavonoids

    กลุ่มยากัน หรือ แก้เลือดออกตามไรฟัน

    มะละกอ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Carica papaya  L.

    ชื่อสามัญ  Papaya, Pawpaw, Tree melon

    วงศ์  Caricaceae

    ชื่ออื่น :  มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ) หมักหุ่ง (ลาว,นครราชสีมา,เลย) ลอกอ (ภาคใต้) กล้วยลา (ยะลา) แตงต้น (สตูล)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 3-6 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลออกขาว ลำต้นตรง ไม่มีแก่น แตกกิ่งก้านน้อย มีรอยแผลใบชัดเจน มียางขาวข้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรอบต้นหนาแน่นที่ปลายยอด ใบรูปฝ่ามือ ขนาด 80-120 ซม. ขอบใบเว้าเป็นแฉกลึกถึงแกนก้าน ก้านใบเป็นหลอด กลมกลวงยาว 25-100 ซม. ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อยาวห้อยลง ดอกสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ดอกเพศเมียสีขาว ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกมีขนาดใหญ่ กว่าดอกเพศผู้ ผล รูปกระสวย ผิวเรียบ เปลือกบาง มียางสีขาว ผลสดสีเขียวเข้ม พอสุกเปลี่ยนเป็นสีส้ม รับประทานได้ มีเมล็ดมาก เมล็ดกลม สีดำ มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวใส
    ส่วนที่ใช้
    : ผลสุก ผลดิบ ยางจากผลหรือจากก้านใบ ราก

    สรรพคุณ :

    • ผลสุก - เป็นยากัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย

    • ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อย ฆ่าพยาธิ

    • ราก - ขับปัสสาวะ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • เป็นยาระบาย
      ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้

    • เป็นยาช่วยย่อย
      ก. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร
      ข. ยางจากผล หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 เกรน หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อยแท้ๆ ( Papain )

    • เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน
      ใช้มะละกอสุกไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซี

    • ราก เป็นยาขับปัสสาวะ

    ข้อควรระวัง :
              สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง

    สารเคมี :

    • ในผลมะละกอ ประกอบด้วย โปรตีน 0.5 % คาร์โบไฮเดรต 9.5 % แคลเซี่ยม 0.01 % ฟอสฟอรัส 0.01 % เหล็ก 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม และสารอื่นๆ อีกเล็กน้อย

    • ในส่วนของเนื้อมะละกอ จะมี sucrose, invert sugar papain, malic acid และเกลือของ Tartaric acid, citric acid และ pectin จำนวนมาก (มีทั้งในผลดิบด้วย) และ pigment พวก carotenoid และวิตามินต่างๆ

    • ยางมะละกอ มี enzyme ชื่อ papain ซึ่ง papain เป็นชื่อรวมสำหรับเรียกเอนไซม์จากน้ำยางมะละกอ ซึ่งประกอบด้วย papain 10% chymopapain 45% lysozyme 20%


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch