หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/22

    กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ

    กัญชา

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cannabis sativa  L.

    ชื่อสามัญ  Indian Hemp

    วงศ์  Canabaceae

    ชื่ออื่น :  กัญชาจีน (ทั่วไป), คุนเช้า (จีน), ปาง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ยานอ (กะเหรี่ยง -แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูง 0.9-1.5 ซม. ไม่ค่อยแตกสาขา ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ เรียงสลับ ขอบใบเว้าลึกจนถึงจุดโคนใบเป็น 5-7 แฉก โคนและปลายสอบ ขอบจักฟันเลื่อย ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายยอด ช่อดอกและใบของต้นเพศผู้จัดเรียงตัวกันห่างๆ ต่างจากต้นเพศเมียที่เรียงชิดกัน ดอกเล็ก ผลแห้งเมล็ดล่อน เล็ก เรียบ สีน้ำตาล

    ส่วนที่ใช้ :  เมล็ดแห้ง ดอก

    สรรพคุณ :
              เป็นยากล่อมประสาท (
    Tranquilizer) หมายถึงยาที่ช่วยทำให้จิตใจสบาย ไม่หงุดหงิด ระงับอารมณ์ที่พลุ่งพล่าน เมื่อจิตใจสงบ ทำให้นอนหลับสบาย
    วิธีและปริมาณที่ใช้

              เอาเมล็ดมาทำให้แห้ง บดให้ละเอียด ชงน้ำรับประทาน ครั้งละ 3 กรัม รับประทานก่อนนอน
              ดอกกัญชาปรุงเป็นยารับประทาน ทำให้อยากอาหาร
    ** กัญชาเป็นประโยชน์ในสถานะที่เป็นยา แต่ถูกจัดเป็นพืชให้พิษต่อระบบประสาทและทำให้เสพติด ให้ดูพืชพิษเกี่ยวกับกัญชาประกอบด้วย

    กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ

    ขี้เหล็ก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Senna siamea  (Lam.) Irwin & Barneby

    ชื่อสามัญ  Cassod tree, Thai copper pod

    วงศ์  Leguminosae - ceasalpinioideae

    ชื่ออื่น :  ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง, สุราษฎร์ธานี) ผักจี้ลี้ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) แมะขี้แหละพะโด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มลายู-ปัตตานี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแคบ เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 13-19 ใบ รูปรี กว้าง 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ปลายใบเว้าตื้นๆ โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบร่วมสีน้ำตาลแดง ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงกลม มี 3- 4 กลีบ ปลายมน กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายมน โคนเรียว หลุดร่วงง่าย ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. เกสรเพศผู้มีหลายอัน ผล เป็นฝักแบนยาว กว้าง 1.3 ซม. ยาว 15-23 ซม. หนา สีน้ำตาล เมล็ดมีหลายเมล็ด
    ส่วนที่ใช้ : 
    ดอก ราก ลำต้นและกิ่ง ทั้งต้น เปลือกต้น แก่น ใบ ฝัก เปลือกฝัก ใบแก่

    สรรพคุณ :

    • ดอก
      - รักษาโรคเส้นประสาท นอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย
      - รักษาหืด รักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ
      - รักษารังแค ขับพยาธิ

    • ราก - รักษาไข้ รักษาโรคเหน็บขา ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ให้หย่อน แก้ฟกช้ำ แก้ไข้บำรุงธาตุ ไข้ผิดสำแดง

    • ลำต้นและกิ่ง - เป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับระดูขา

    • ทั้งต้น - แก้กระษัย ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ รักษาโรคหนองใน รักษาอาการตัวเหลือง เป็นยาระบาย บำรุงน้ำดี ทำให้เส้นเอ็นหย่อน

    • เปลือกต้น - รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคหิด แก้กระษัย ใช้เป็นยาระบาย

    • แก่น
      - รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคหนองใน ใช้เป็นยาระบาย
      - รักษาวัณโรค รักษามะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร

    • ใบ
      - รักษาโรคบิด โรคเบาหวาน แก้ร้อนใน รักษาฝีมะม่วง
      - รักษาโรคเหน็บชา ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ เป็นยาระบาย
      - รักษาอาการนอนไม่หลับ

    • ฝัก - แก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้ระส่ำระสายในท้อง

    • เปลือกฝัก - แก้เส้นเอ็นพิการ

    • ใบแก่ - ใช้ทำปุ๋ยหมัก

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • แก้อาการนอนไม่หลับ กังวล เบื่ออาหาร
      ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใบสดหนัก 50 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า (ใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ไว้ 7 วัน คนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ กรองกากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก) ดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชา ก่อนนอน

    • แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ยาถ่าย
      ใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นขนาดประมาณ 2 องคุลี ใช้ 3-4 ชิ้น ใช้ใบอ่อนหรือแก่ต้มกับน้ำ 1-1
      ½ ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มเมื่อตื่นนอนเช้า หรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว

    สารเคมี :
              เปลือก แก่นและใบ มี anthraquinone glycoside เช่น rhein, aloe-emodin, Chrysophanol  และ Sennoside ดอกมีสารพวก chromone ชื่อ Barakol และสารขมชื่อ cassiamin

    กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ

    ชุมเห็ดไทย

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Senna tora (L.) Roxb.  ชื่อพ้อง : Cassia tora  L.

    ชื่อสามัญ Foetid Cassia

    วงศ์   Leguminosae - Caecalpinoideae

    ชื่ออื่น :  กิเกีย, หน่อปะหน่าเหน่อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; ชุมเห็ดควาย, ชุมเห็ดไทย, ชุมเห็ดนา, ชุมเห็ดเล็ก (ภาคกลาง); พรมดาน (สุโขทัย); ลับมือน้อย (ภาคเหนือ); หญ้าลึกลืน (ปราจีนบุรี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่มอายุหลายปี ทรงพุ่มตั้งตรง ต้นสูงประมาณ 105.83-132.65 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 12.3-17.4 มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาลแดง ไม่มีขน ใบเรียงตัวแบบขนนกปลายคู่ (even–pinnate) ใบย่อยรูปไข่กลับ (obovate) โคนใบแหลม ปลายใบแหลมแบบติ่งหนาม (mucronate) ขนาดใบยาว 4.27-5.17 เซนติเมตร กว้าง 2.19-2.69 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2.71-3.99 เซนติเมตร ไม่มีขน ผิวใบสีเขียวเข้ม นุ่ม (tender) หน้าใบไม่มีขน หลังใบมีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น ขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย (ciliate) ใบมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย หูใบ (stipule) แบบเข็มแหลม (filiform) สีเขียว 2 อัน ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ออกดอกเดือน กุมภาพันธ์-มิถุนายน ดอกออกที่ซอกใบ เป็นกระจุก ดอกเดี่ยวมีก้านช่อดอกออกจากจุดเดียวกัน ช่อดอกยาว 2.71-4.03 เซนติเมตร มี 1-3 ดอกต่อช่อ ดอกสีเหลืองอมส้ม มี 5 กลีบดอก ฐานรอบกลีบดอกสีขาวอมเหลืองมีขนครุยตามขอบ อับเรณู (anther) สีเหลืองอมน้ำตาล ฝักรูปขอบขนานแบน (oblong) ฝักยาว 11.83-14.91 เซนติเมตร กว้าง 0.3-0.4 เซนติเมตร
    ส่วนที่ใช้ :  
    เมล็ด ทั้งต้น ใบ และ ผล

    สรรพคุณ :

    • เมล็ด - ทำให้ง่วงนอนและหลับได้ดี แก้กระษัย ขับปัสสาวะพิการได้ดี เป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาโรคผิวหนัง

    • ทั้งต้น -  ปรุงเป็นยาแก้ไข้ ขับพยาธิในท้องเด็ก รับประทานเป็นยาระบายอ่อนๆ และแก้ไอ แก้เสมหะ แก้หืด คุดทะราด

    • ใบ - เป็นยาระบาย

    • ผล - แก้ฟกบวม

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    •  ทำให้ง่วงนอน และนอนหลับได้ดี
      ใช้เมล็ดชุมเห็ดไทย คั่วให้ดำเกรียมเหมือนเมล็ดกาแฟ แล้วทำเป็นผง ชงน้ำร้อนอย่างปรุงกาแฟ ดื่มหอมชุ่มชื่นใจดี ไม่ทำให้หัวใจสั่น ให้คนไข้ดื่มต่างน้ำ

    • เป็นยาระบายอ่อนๆ
      ใช้ใบหรือทั้งต้น ประมาณ 1 กำมือ 15- 3 กรัม เมล็ด 1 หยิบมือ 5- 10 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมกระวาน 2 ผล เพื่อกลบรสเหม็นเขียวและเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้า ส่วนเมล็ดคั่วให้เหลือง ใช้ชงเป็นน้ำชาดื่ม

    สารเคมี :
              เมล็ด พบ anthraquinone, emodin chrysarobin, chrysophanic acid-9-anthrone, chrysophanol Rhein aloe-emodin
              น้ำมันจากเมล็ด พบ linoleic acid, oleic acid, palmitic acid, stearic acid
              ใบ  พบ chrysophanic acid, emodin และ 1, 68, -trihydroxy-3 methl anthraquinone

    กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ

    พวงชมพูดอกขาว

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Antigonon leptopus  Hook & Arn.

    ชื่อสามัญ  Chain of love, Confederate Vine, Coral vine 

    วงศ์  Polygonaceae

    ชื่ออื่น : ชมพูพวง (กรุงเทพฯ) พวงนาค (ภาคกลาง) หงอนนาค (ปัตตานี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้เลื้อยพาดพัน ลำต้นเล็ก สีเขียว มีมือสำหรับเกาะยึด ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เห็นเส้นใบชัดเจน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน มีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ดอกสีชมพู ที่พบสีขาวมีบ้าง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายแหลม ผล เป็นผลแห้ง รูปสามเหลี่ยม
    ส่วนที่ใช้ :  
    ราก และเถา

    สรรพคุณ : เป็นยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ
    วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เถา 1 กำมือ หรือราก 1/2 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว ต้มให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 3 ช้อนแกง ก่อนนอน


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch