หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/20

    กลุ่มยาขับปัสสาวะ

    สามสิบ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Asparagus racemosus  Willd.

    วงศ์  Asparagaceae

    ชื่ออื่น :  จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ) เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักชีช้าง (หนองคาย) ผักหนาม (นครราชสีมา) พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) สามร้อยราก (กาญจนบุรี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  รากไม้เลื้อย ปีนป่ายขึ้นที่ต้นไม้ข้างเคียงด้วยหนาม หนามเปลี่ยนมาจากใบเกล็ดบริเวณข้อ หนามโค้งกลับ ยาว1-4 มม. ลำต้นสีขาวแกมเหลือง ต้นกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 มม. ปีนป่ายขึ้นได้สูงถึง 5 เมตร แตก แขนงเป็นเถาห่างๆ บริเวณข้อมีกิ่งแตกแขนงแบบรอบข้อและกิ่งนี้เปลี่ยนเป็นสีเขียวลักษณะแบน รูปขอบขนาน กว้าง 0.5-1 มม. ยาว 0.5-2.5 มม. ปลายแหลม ทำหน้าที่แทนใบ (cladophyll) ลำต้นผิวเรียบ ลื่นเป็นมัน ใบ ใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับ ใบเป็นเกล็ด รูปสามเหลี่ยม ฐานกว้าง0.5-4 มม. ยาว 1-4 มม. ใบเกล็ดมี อายุสั้นๆต่อมาแข็งขึ้นและเปลี่ยนเป็นหนามโค้งกลับ(recurved) ดอก ดอกช่อ raceme เกิดที่ซอกกิ่ง (cladophyll) ก้านช่อดอกยาว 3-15 มม. ดอกย่อย เส้นผ่าศูนย์ กลางดอกบาน 3-4 มม. ก้านดอกย่อยยาว 2-3 มม. กลีบ (tepals) 6 กลีบ สีขาว แยกกันเป็น 2 วง วงนอก 3 กลีบ วง ใน 3 กลีบ กลีบกว้าง 0.5-1 มม. ยาว 2.5-3.5 มม. กลีบรูปขอบขนาน ปลายกลีบมน ขอบเรียบ เกสรเพศผู้ จำนวน 6 อัน มาก เรียงตัวตรงข้ามกับกลีบ ก้านชูอับเรณูยาวขนานกับกลีบ ก้านชูอับเรณูลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ สีขาวแกมเหลือง ยาว 2-2.5 มม. อับเรณูสีน้ำตาลอ่อน ยาว 0.3-0.5 มม. เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ superior ovary สีเขียวแกมเหลือง ลักษณะทรงกลม 3 พู เส้นผ่าศูนย์กลางรังไข่ 1-1.5 มม. ก้านเกสรตัวเมีย 1 อัน ยาว 0.5 มม. ยอดเกสรตัวเมีย แยกเป็น 3 แฉก ผลและเมล็ด ผลสด berry สีแดง หรือแดงงอมม่วง เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 มม.
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :
              มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ หล่อลื่นและกระตุ้น
              มีรสเย็น หวานชุ่ม บำรุงเด็กในครรภ์ บำรุงตับปอดให้เกิดกำลังเป็นปกติ

    วิธีใช้ :
            
    นำรากมา ต้ม, เชื่อม หรือทำแช่อิ่ม รับประทานเป็นอาหาร กรอบดีมาก

    กลุ่มยาขับปัสสาวะ

    สับปะรด

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ananas comosus  (L.) Merr.

    ชื่อสามัญ  Pineapple

    วงศ์  Bromeliaceae

    ชื่ออื่น :  แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่) เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สับปะรด (กรุงเทพฯ) ลิงทอง (เพชรบูรณ์)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ราก หนาม ใบสด ผลดิบ ผลสุก ไส้กลางสับปะรด เปลือก จุก แขนง ยอดอ่อนสับปะรด ไม้ล้มลุกอายุหลสบปร สูง 90-100 ซม. ลำต้นใต้ดิน ปล้องสั้น ไม่แตกกิ่งก้านมีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนถี่ ไม่มีก้านใบ ใบเรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้มและเป็นทางสีแดง ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ก้านช่อใหญ่แข็งแรง กลีบดอก 3 กลีบ ด้านบนสีชมพูอมม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียบกัน 2 ชั้น ผล เป็นผลรวมรูปรี โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำ
    ส่วนที่ใช้ : 

    สรรพคุณ :

    • ราก - แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี แก้หนองใน แก้มุตกิดระดูขาว แก้ขัดข้อ

    • หนาม - แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน ไข้พา ไข้กาฬ

    • ใบสด - เป็นยาถ่าย ฆ่าพยาธิในท้อง ยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย

    • ผลดิบ - ใช้ห้ามโลหิต แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และขับระดู

    • ผลสุก - ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน มุตกิด กัดเสมหะในลำคอ

    • ไส้กลางสับปะรด - แก้ขัดเบา

    • เปลือก - ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี

    • จุก - ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้หนองใน มุตกิดระดูขาว

    • แขนง - แก้โรคนิ่ว

    • ยอดอ่อนสับปะรด - แก้นิ่ว

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เหง้าสดหรือแห้งวันละ 1 กอบมือ (สดหนัก 200-250 กรัม แห้งหนัก 90-100 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
    คุณค่าด้านอาหาร : สับปะรด รับประทานเป็นผลไม้ มีแร่ธาตุและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
    สารเคมี :

    • เหง้า มี Protein

    • ลำต้น มี Bromelain, Peroxidase, Amylase, Proteinase

    • ใบ มี Hemicellulose, Bromelain, Campestanol

    • ผล มี Acetaldehyde, Ethyl acetate, Acetone

    • น้ำมันหอมระเหย มี Isobutanol

    กลุ่มยาขับปัสสาวะ

    สมอพิเภก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Terminalia bellirica  (Gaertn.) Roxb.

    ชื่อสามัญ   Beleric myrobalan

    วงศ์  Combretaceae

    ชื่ออื่น :  ลัน (เชียงราย) สมอแหน (กลาง) แหน แหนขาว แหนต้น (เหนือ) สะคู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ซิบะดู่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-35 เมตร ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอมน้ำตาลหรือเป็นสีดำๆ ด่างๆ เป็นแห่งๆ ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น เปลือกในสีเหลือง เรือนยอดกลมแผ่กว้างและค่อนข้างทึบ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนประปราย ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดเวียนกันเป็นกลุ่มตามปลายๆ กิ่ง ทรงใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 9-15 ซม. ยาว 13-19 ซม. โคนใบสอบมาสู่ก้านใบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบผายกว้าง ปลายสุดจะหยัดคอดเป็นติ่งแหลมสั้นๆ เส้นแขนงใบโค้งอ่อน มี 6-10 คู่ เส้นใบแบบเส้นร่างแหเห็นชัดทางด้านท้องใบ เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบเขียวเข้มและมีขนสีน้ำตาลกระจายทั่วไป ท้องใบสีจางหรือสีเทามีขนนุ่มๆ คลุม แต่ทั้งสองด้านขนจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่จัด ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 4-6 ซม. บริเวณกึ่งกลางก้านจะมีต่อมหรือตุ่มหูด หนึ่งคู่ ดอก เล็ก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ แบบหางกระรอก ที่ง่ามใบหรือรอยแผลใบตามกิ่ง ปลายช่อจะห้อยย้อยลง ช่อยาว 10-15 ซม. ดอกเพศผู้ส่วนใหญ่จะอยู่ตามปลายๆ ช่อ ส่วนดอกสมบูรณ์เพศจะอยู่ตามโคนช่อ กลีบฐานดอก มี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ ทั้งหมดมีขนทั่วไป เกสรเพศผู้มี 10 อัน เรียงซ้อนกันอยู่สองแถว รังไข่ ค่อนข้างแป้น ภายในมีช่องเดียวและมีไข่อ่อน 2 หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว ผล กลมหรือกลมรีๆ แข็ง ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น ออกรวมกันเป็นพวงโตๆ
    ส่วนที่ใช้ :
    ผลอ่อน ผลแก่ เมล็ดใน ใบ ดอก เปลือก แก่น ราก

    สรรพคุณ :

    • ลอ่อน - มีรสเปรี้ยว แก้ไข้ แก้ลม เป็นยาระบาย ยาถ่าย

    • ลแก่ - มีรสฝาด แก้โรคในตา บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ริดสีดวงทวารหนัก เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน

    • มล็ดใน - แก้บิด บิดมูกเลือด

    • - แก้บาดแผล

    • อก - แก้โรคในตา

    • ปลือกต้น - ต้มขับปัสสาวะ

    • ก่น - แก้ริดสีดวงพรวก

    • าก - แก้โลหิต อันทำให้ร้อน

    นาดและปริมาณที่ใช้ :

    • ขับปัสสาวะ - ใช้เปลือก ต้น ต้มรับประทาน ขับปัสสาวะ

    • ป็นยาระบาย ยาถ่าย - ใช้ผลโตแต่ยังไม่แก่ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว

    • ป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค)  - ใช้ผลแก่ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทาน

    กลุ่มยาขับปัสสาวะ

    หญ้าหนวดแมว

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.
    ชื่อพ้อง : O. grandiflorus  Bold.

    ชื่อสามัญ  Java tea, Kidney Tea Plant, Cat's Whiskers

    วงศ์ Lamiaceae ( Labiatae)

    ชื่ออื่น :  บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์) พยับเมฆ (กรุงเทพฯ) อีตู่ดง (เพชรบูรณ์)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  พืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม สูง 0.3-0.8 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกตรงปลายยอด มี 2 พันธุ์ ชนิดดอกสีขาวอมม่วงอ่อน กับพันธุ์ดอกสีฟ้า บานจากล่างขึ้นข้างบน เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวยื่นออกมานอกกลีบดอก ผล เป็นผลแห้งไม่แตก
    ส่วนที่ใช้
    ราก ทั้งต้น ใบและต้นขนาดกลางไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป

    สรรพคุณ :

    • ราก - ขับปัสสาวะ

    • ทั้งต้น -  แก้โรคไต ขับปัสสาวะ รักษาโรคกระษัย รักษาโรคปวดตามสันหลัง และบั้นเอว รักษาโรคนิ่ว รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ

    • ใบ -  รักษาโรคไต รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำขับกรดยูริคแอซิดจากไต

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • ขับปัสสาวะ
      1. ใช้กิ่งกับใบหญ้าหนวดแมว ขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ล้างสะอาด นำมาผึ่งในที่ร่มให้แห้ง นำมา 4 กรัม หรือ 4 หยิบมือ ชงกับน้ำเดือด 1 ขวดน้ำปลา (750 ซีซี.) เหมือนกันชงชา ดื่มต่างน้ำตลอดวัน รับประทานนาน 1-6 เดือน
      2. ใช้ต้นกับใบวันละ 1 กอบมือ (สด 90- 120 กรัม แห้ง 40- 50 กรัม ) ต้มกับน้ำรับประทาน ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 ซีซี.) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

    ข้อควรระวัง - คนที่เป็นโรคหัวใจ ไต ห้ามรับประทาน เพราะมีสารโปตัสเซียมสูงมาก ถ้าไตไม่ปกติ จะไม่สามารถขับโปตัสเซียมออกมาได้ ซึ่งทำให้เกิดโทษต่อร่างกายอย่างร้ายแรง
    การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
              หญ้าหนวดแมวมีโปรแตสเซียมสูงประมาณร้อยละ 0.7-0.8 มี Glycoside ที่มีรสขม ชื่อ orthsiphonin นอกจากนี้ก็พบว่ามี essential (0.2-0.6%) saponin alkaloid, organic acid และ fatty oil อีกด้วย จากรายงานพบว่ามีสารขับปัสสาวะได้ ยาที่ชงจากใบใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับไตได้หลายชนิดด้วยกัน ใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ เช่น โรคไตอักเสบ

            ** โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทย์ วีรสิงห์ เมืองมั่น และคณะ พบว่าได้ใช้ยาชงจากหญ้าหนวดแมว 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี. ดื่มต่างน้ำในคนไข้ 27 คน พบว่าทำให้ปัสสาวะคล่องและใส อาการปวดนิ่วลดลงได้และนิ่วขนาดเล็กลง และหลุดออกมาได้เอง มีผู้ป่วยร้อยละ 40 ผู้ป่วยหายจากปวดนิ่วร้อยละ 20 กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานเรื่องพิษเฉียบพลันว่าไม่มีพิษ
    สารเคมี :
              ต้น มี Hederagenin, Beta-Sitosterol, Ursolic acid
             
    มี Glycolic acid, Potassium Salt Orthosiphonoside, Tannin, Flavone Organic acid และน้ำมันหอมระเหย

    กลุ่มยาขับปัสสาวะ

    อ้อยแดง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Saccharum officinarum  L.

    ชื่อสามัญ  Sugar cane

    วงศ์  Poaceae (Gramineae)

    ชื่ออื่น :  อ้อย อ้อยขม อ้อยดำ (ภาคกลาง) กะที (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
    ส่วนที่ใช้ :
    ทั้งต้น  ต้น น้ำอ้อย  ผิวของต้นอ้อย มี wax

    สรรพคุณ :

    • ทั้งต้น - แก้ปัสสาวะพิการ แก้ขัดเบา แก้ช้ำรั่ว แก้โรคนิ่ว แก้ไอ

    • ต้น - แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง บำรุงธาตุน้ำ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เสมหะเหนียว ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ ในอก บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลือง แก้ช้ำใน รักษาโรคไซนัส

    • น้ำอ้อย - รักษาโรคนิ่ว บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ แก้เสมหะ แก้หืด ไอ ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร เจริญธาตุ

    • ผิวของต้นอ้อย มี wax เอามาทำยา และเครื่องสำอาง

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              ขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา
              ใช้ลำตันทั้งสดและแห้งขออ้อยแดง วันละ 1 กำมือ (สด 70-90 กรัม แห้ง หนัก 30-40 กรัม) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น
              อ้อยแดงมีฤทธิ์ในทางขับปัสสาวะได้ในหนูขาว กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่า อ้อยแดงไม่มีพิษเฉียบพลัน
    สารเคมี :

    • ราก มี Nitrogenase

    • ต้น มี Alcohols, Phenolic esters and ethers Alkaloids, Amino acids, Asparagine

    • น้ำอ้อย มี Cacium , Potassium, Magnesium, Phosphorus, Sulfur

    • ใบ มี 5, 7-Dimethyl-apigenin-4-O-B-D-glycosideส่วน

    • ดอก พบ 5-0-Methyl apigenin


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch