หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/18

    กลุ่มยาแก้อาเจียน

    กะเพรา

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ocimum sanctum  L.

    ชื่อพ้อง : Ocimum tenuiflorum  L.

    ชื่อสามัญ Holy basil,  Sacred Basil

    วงศ์  Lamiaceae (Labiatae)

    ชื่ออื่น :  กะเพราขน กะเพราขาว กะเพรา (ภาคกลาง) กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) อีตู่ไทย (ภาคอีสาน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 30-60 ซม. โคนต้นค่อนข้างแข็ง กะเพราแดงลำต้นสีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวลำต้นสีเขียวอมขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมี 1 แฉก ปากล่างยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล เป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ด สีดำ รูปไข่
    ส่วนที่ใช้ :
    ใบ และยอดกะเพราแดง ทั้งสดและแห้ง ทั้งต้น

    สรรพคุณ :

    1. แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ)

    2. ใช้แก้อาการท้องอืดเฟ้อ แน่จุกเสียดและปวดท้อง

    3. แก้ไอและขับเหงื่อ

    4. ขับพยาธิ

    5. ขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด

    6. ลดไข้

    7. เป็นยาอายุวัฒนะ

    8. เป็นยารักษาหูด กลากเกลื้อน ต้านเชื้อรา

    9. เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่ หรือฆ่ายุง

    10. เป็นสมุนไพร ไล่แมลงวันทอง

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • แก้คลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ)
      อาการท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง
      ใช้กะเพราทั้ง 5 ทั้งสด หรือ แห้ง ชงน้ำดื่ม รับประทาน
      เด็กอ่อน ใช้ใบสด 3-4 ใบ
      ผู้ใหญ่ ใบแห้ง 1 กำมือ, 4 กรัม ผงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 2 ช้อนแกง ใบสด 25 กรัม
      ภายนอก เด็กอ่อน ใบสด 10 ใบ

    วิธีใช้ :
              ยาภายใน 
              เด็กอ่อน - ใช้ใบสด ใส่เกลือเล็กน้อย บดให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยขับลม และถ่ายขี้เทา
              ผู้ใหญ่ - ใช้ใบกะเพราแห้ง ชงกับน้ำดื่ม เป็นยาขับลม ถ้าป่นเป็นผง ให้ชงกับน้ำรับประ
              คนโบราณใช้ใบกะเพราสดแกงเลียงให้สตรีหลังคลอดรับประทาน ช่วยขับลม บำรุงธาตุ
              ยายภายนอก
              ใช้ใบสดทาบริเวณท้องเด็กอ่อน จะลดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อได้
              กะเพรามี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว และ กะเพราแดง  กะเพราแดงมีฤทธิ์แรงกว่ากะเพราขาว ในทางยานิยมใช้กะเพราแดง แต่ถ้าประกอบอาหารมักใช้กะเพราขาว

    • ยาเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด
      ใช้ใบกะเพราสด 1 กำมือ แกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ

    • เป็นยารักษากลากเกลื้อน
      ใช้ใบสด 15-20 ใบ ตำหรือขยี้ให้น้ำออกมา ใช้ทาถูตรงบริเวณที่เป็นกลาก ทาวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย

    • เป็นยารักษาหูด
      ใช้ใบกะเพราแดงสด ขยี้ทาตรงหัวหูด เข้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุด

    ข้อควรระวัง :
              น้ำยางที่ใช้สำหรับกัดหูดนี้เป็นพิษมาก ดังนั้นควรใช้ด้วยความระวัง
              - อย่าให้เข้าตา
              - ให้กัดเฉพาะตรงที่เป็นหูด อย่าให้ยางถูกเนื้อดี ถ้าถูกเนื้อดี เนื้อดีจะเน่าเปื่อย ซึ่งรักษาให้หายได้ยาก

    • เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่หรือฆ่ายุง
      ใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด 1 กิ่งใหญ่ ๆ เอาใบมารขยี้ แล้ววางไว้ใกล้ๆ ตัว จะช่วยไล่ยุงได้ และยังสามารถไล่แมลงได้ด้วย น้ำมันกะเพรา เอาใบสดมากลั่น จะได้น้ำมันกะเพรา ซึ่งมีคุณสมบัติไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสดๆ

    • เป็นสมุนไพรไล่แมลงวันทอง
      ใช้น้ำมันที่กลั่นจากใบสด ตามความเหมาะสม น้ำมันหอมระเหยนี้ไปล่อแมลง จะทำให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมันนี้

    สารเคมี :
              ในใบพบ Apigenin, Ocimol, Linalool , Essential Oil, Chavibetal

    กลุ่มยาแก้อาเจียน

    ขิง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Zingiber officinale  Roscoe

    ชื่อสามัญ  Ginger

    วงศ์  Zingiberaceae

    ชื่ออื่น :  ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่) สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวล มีกลิ่นเฉพาะ จะแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาเหนือพื้นดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน แกมรูปใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน  ดอก ออกเป็นช่อ แทงออกจากเหง้าใต้ดิน ใบประดับเรียงเวียนสลับสีเขียวอ่อน ดอกสีเหลืองแกมเขียว ผล เป็นผลแห้ง ทรงกลม ขนาดประมาณ 1 ซม. เป็น 3 พู เมล็ดหลายเมล็ด
    ส่วนที่ใช้ : 
    เหง้าแก่สด  ต้น  ใบ  ดอก  ผล

     

    สรรพคุณ :

    • เหง้าแก่สด 
      - ยาแก้อาเจียน
      - ยาขมเจริญอาหาร
      - ยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
      - แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ
      - สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียดได้ดี
      - มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี เพื่อย่อยอาหาร
      - แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก
      - ลดความดันโลหิต

    • ต้น - ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา แก้บิด แก้ลมป่วง แก้ท้องร่วงอย่างแรง แก้อาเจียน

    • ใบ - แก้โรคกำเดา ขับผายลม แก้นิ่วแก้เบาขัด แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา  ขับลมในลำไส้

    • ดอก - ทำให้ชุ่มชื่น แก้โรคตาแฉะ ฆ่าพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ  แก้นิ่ว แก้เบาขัด แก้บิด

    • ผล - แก้ไข้

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • ยาแก้อาเจียน
      ใช้ขิงแก่สด หรือแห้ง ขิงสดขนาดหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ถ้าแห้ง 5-7 ชิ้น ต้มกับน้ำดื่ม
      นำขิงสด 3 หัว หัวโตยาวประมาณ 5 นิ้ว ใส่น้ำ 1 แก้ว ต้มจนเหลือ 1/2 แก้ว (ประมาณ 15-20 นาที หลังจากเดือดแล้ว) รินเอาน้ำดื่ม

    • ยาขมเจริญอาหาร
      ใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลี ถ้าผงแห้งใช้ 1/2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 0.6 กรัม
      ผงแห้งชงกับน้ำดื่ม เหง้าสดต้มน้ำ หรือปรุงอาหาร เช่น ผัด หรือรับประทานสดๆ เช่น กับลาบ แหนม และอื่นๆ

    • แก้อาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียดและปวดท้อง
      - น้ำกระสายขิง น้ำขิง 30 กรัม มาชงด้วยน้ำเดือด 500 ซีซี ชงแช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง กรองรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
      - ใช้ขิงแก่ต้มกับน้ำ รินน้ำดื่มแก้โรคจุกเสียด ทำให้หลับสบาย
      - ขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว ปิดฝา ตั้งทิ้งไว้นาน 5 นาที รินเอาแต่น้ำมาดื่มระหว่างอาหารแต่ละมื้อ
      - ใช้ผงขิงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะปาดๆ หรือ 0.6 กรัม ถ้าขิงแก่สดยาวประมาณ 1 องคุลี หรือประมาณ 5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลดื่มทุกๆ วัน ถ้าเป็นผงขิงแห้งให้ชงน้ำร้อน เติมน้ำตาลดื่ม

    • แก้ไอและขับเสมหะ
      ใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ

    • ลดความดันโลหิต
      ใช้ขิงสดเอามาฝานต้มกับน้ำรับประทาน

    สารเคมี
              เหง้า พบ
     Gingerol Zingiberene, Zingiberone Zingiberonol, Shogoal, Fenchone, Camphene Cineol Citronellol
              ใน น้ำมันหอมระเหย พบสาร Bisabolene, Zingiberone Zingiberol, Zingiberene, Limonene, Citronellol Gingerol, Camphene, Borneol, Cineol
              ทั้งต้น พบ 5 - (1) - 6 - Gingerol
              ใบ  พบ Shikimic acid

    กลุ่มยาแก้อาเจียน

    ปีกแมลงสาบ หรือ ก้ามปูหลุด

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tradescantia zebrina  Loudon  ( Zebrina pendula  Schnizl.)

    วงศ์  Commelinaceae

    ชื่ออื่น :  ก้ามปูหลุด (กรุงเทพฯ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก แตกแขนงมาก ลำต้นทอดราบไปตามพื้นและชูส่วนปลายกิ่งสูง 10-30 ซม. ลำต้นอวบสีเขียวหรือเขียวประม่วงจนถึงม่วงลายเขียว มีข้อและปล้องชัด ใบเดี่ยว เรียงสลับ กาบใบเป็นปลอกหุ้มรอบข้อสูงประมาณ 1 ซม. ที่กาบใบมีลายเส้นสีม่วงเป็นแนวตามความยาวและมีขน ใบรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 3-8 ซม. ปลายแหลม โคนมน เบี้ยว ขอบเรียบ สีม่วงและมีขนประปราย เส้นกลางใบสีม่วง แผ่นใบด้านบนสีเขียวสลับแถบสีเงินและประสีม่วง ด้านล่างสีม่วงหรือม่วงสลับเขียว ช่อดอกสั้น ออกที่ยอด มีใบประดับใหญ่ 2 ใบ ซึ่งมีขนาดไม่เท่ากันประกบหุ้มช่อดอกอ่อนไว้ ดอกจะทยอยบานโผล่เหนือใบประดับ ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 1 ซม. ก้านดอกสั้นมาก กลีบเลี้ยงสีขาว บาง โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 4 มม. ปลายแยกเป็น 2 แฉก มีขน กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอดเรียวสีขาว ยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นกลีบรูปไข่ 3 กลีบ กว้าง 4-5 มม. ยาว 6-8 มม. กลีบด้านบนสีม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านชูอับเรณูสีขาว มีขนยาวสีม่วง อับเรณูสีนวล รังไข่เล็ก ก้านเกสรเพศเมียเรียว ยอดเกสรเพศเมียมี 3 แฉก ผลเล็กมาก
    ส่วนที่ใช้ :
    เก็บทั้งต้นสด ล้างสะอาด หรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้

    สรรพคุณ :
              ทั้งต้นรสชุ่ม เย็นจัด มีพิษ ใช้แก้อาเจียนเป็นโลหิต หนองใน ตกขาว บิด ฝีอักเสบ สตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทาน ก้านและใบมี Calcium oxalate, Gum

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              ใช้ทั้งต้นแห้งหนัก 15- 30 กรัม (สดใช้ 60- 90 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มหรือคั้นเอาน้ำดื่ม

    • แก้ไอเป็นเลือด
      ใช้ต้นสด 60- 90 กรัม ต้มกับปอดหมูหนัก 120 กรัม ผสมน้ำต้มให้เหลือ 1 ชาม ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง

    • แก้โรคหนองใน
      ใช้ต้นสด 60- 120 กรัม ใส่น้ำต้มให้เหลือ 1 ถ้วย ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง

    • แก้สตรีมีตกขาวมาก
      ใช้ต้นสด 60- 120 กรัม น้ำตาลกรวด 30 กรัม  ต่าฉ่าย (Mytilum crassitesta Lischke) 30 กรัม  ผสมน้ำต้มให้เหลือครึ่งชาม ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง

    • แก้บิดเรื้อรัง
      ใช้กาบหุ้มดอกสดหนัก 150 กรัม  ข้าวสารคั่วจนเกรียม (เริ่มไหม้) 30 กรัม ต้มน้ำแบ่งดื่มเป็น 3 ครั้ง

    กลุ่มยาแก้อาเจียน

    พระจันทร์ครึ่งซีก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Lobelia chinensis  Lour.

    วงศ์  Campanulaceae

    ชื่ออื่น :  บัวครึ่งซีก (ชัยนาท)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ทั้งต้นสด ขณะที่ดอกกำลังบาน ไม้ล้มลุก ลำต้นขนาดเล็ก ตามข้อมีรากออก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ชูส่วนยอดขึ้น มียางสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 0.2-0.6 ซม. ยาว 1-2 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบตัด ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตื้นเกือบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบสั้นมาก ดอก ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกสีม่วงอ่อน กลีบเลี้ยงสีเขียวอมม่วง มี 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก หลอดดอกแยกผ่าออก ทำให้กลีบดอกเรียงเพียงด้านเดียว หลอดดอกด้านนอกมีขนสีขาว ผล เป็นผลแห้ง แตกออกได้
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :
              ลดไข้ แก้หอบหืด บำรุงปอด แก้อาเจียนเป็นเลือด วัณโรค ปอดพิการอักเสบ ทอนซิลอักเสบ เจ็บคอ ตาแดง ไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้อักเสบ บิด ขับปัสสาวะ (เพื่อลดอาการบวมจากไตอักเสบ) ท้องมาน (เนื่องจากพยาธิใบไม้ในเลือดและดีซ่าน) ยาแก้มะเร็ง กระเพาะอาหาร หรือที่ทวารหนัก แก้ข้ออักเสบ เคล็ดขัดยอก บวมเจ็บ ฝี แผลเปื่อย บาดแผล กลากเกลื้อน ผื่นคัน และแก้คัดจมูก หรือโรคแพ้ เนื่องจากการใช้ยา เข้ารากย่อม
    ข้อห้ามใช้
              ห้ามใช้ในคนที่มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย อุจจาระหยาบเหลว (จีนเรียก ม้ามพร่อง)

    ตำรับยาและวิธีใช้

    • แก้อาเจียนเป็นเลือด  ใช้ต้นสดตำผสมกับสุราเล็กน้อย รับประทาน

    • ท้องเสีย  ใช้ต้นสด 15- 30 กรัม (1 กำมือ) ต้มน้ำดื่ม

    • ทอนซิลอักเสบ ใช้ต้นสดตำให้ละเอียด ปั้นเป็นก้อนขนาดไข่ไก่ ใส่ในถ้วย เติมเหล้าเข้าไป 90 ซีซี. ผสมให้เข้ากัน คั้นเอาน้ำแบ่งอม 3 ครั้งๆ ละ 10-20 นาที แล้วบ้วนทิ้ง

    • บิด ใช้ต้นสด 60 กรัม ต้มน้ำ เติมน้ำตาลแดงดื่ม

    • บวมน้ำ (เพราะไตอักเสบ) ท้องมาน (เนื่องจากพยาธิใบไม้) ใช้ต้นสด 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    • ดีซ่าน ขัดเบา บวมน้ำ ใช้ต้นสด 30 กรัม ผสมกับรากหญ้าคา ( Imperata cylindrica Beauv ) 30 กรัม ต้มน้ำใส่น้ำตาลทราย แบ่งกิน 2 ครั้ง เช้า-เย็น

    • เคล็ดขัดยอก บวมเจ็บ ใช้ต้นสด 60 กรัม น้ำ 180 ซีซี. ต้มให้เหลือ 90 ซีซี. กรองเอาน้ำเก็บไว้ นำกากที่เหลือไปต้มอีกครั้งตามอัตราส่วนเดิม นำน้ำกรองครั้งที่ 2 รวมกับครั้งแรก ให้เหลือ 60 ซีซี. เทใส่ขวดเก็บไว้ เวลาใช้เอาสำลีชุบน้ำยา ปิดบริเวณที่ปวดบวม

    • ฝี แผลเปื่อย ผิวหนังอักเสบ ใช้ต้นสดพอประมาณ ใส่เกลือเล็กน้อย ตำให้แหลก พอกบริเวณที่เป็น

    • เต้านมอักเสบ  ใช้ต้นสด ตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่เป็น

    • ตาแดง ใช้ต้นสดจำนวนพอสมควร ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด นำมาพอกบนหนังตา เอาผ้าก็อตที่สะอาดปิด เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง

    สารเคมี :  สารสำคัญคือ Lobeline, Flavone และ Inulin

    กลุ่มยาแก้อาเจียน

    มะกล่ำต้น

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Adenanthera pavonina  L.

    ชื่อสามัญ  Red Wood, Coral Woood

    วงศ์  Mimosaceae

    ชื่ออื่น :  มะโหกแดง (ภาคเหนือ) มะหัวแดง มะแดง มะก้ำต้น มะกล่ำตาช้าง ไฟ (ใต้) ปี้จั่น

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง ใบ เป็นใบประกอบซ้อน มีใบย่อย 3-4 คู่ ใบย่อยเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 5-9 คู่ รูปกลมรีเสมอกันทั้งใบ ขนาดเท่าหัวแม่มือ สีเขียวเข้ม มักออกที่ปลายกิ่ง ดอก ออกช่อสีเหลือง ผล กลมยาวบิด เมื่อแก่แตกออกเห็นเมล็ดสีแดงสดกลมแป้น มีชนิดเมล็ดเล็กและชนิดโต
    ส่วนที่ใช้ :  
    ราก เมล็ด ใบ

    สรรพคุณ :

    • ราก -  รสเปรี้ยวเล็กน้อย แก้ทางเสมหะ แก้ร้อนใน แก้อาเจียน แก้หืดไอ และพิษฝี

    • มล็ด, ใบ - แก้ริดสีดวงทวารหนัก

    • เมล็ดใน - เป็นยาเบื่อพยาธิ และเบื่อไส้เดือนได้ดี ถ้าผสมกับยาอื่นที่ทำให้ระบายด้วยแล้ว ก็จะได้ประโยชน์ทั้งเบื่อไส้เดือน และระบายออกมาด้วย

    กลุ่มยาแก้อาเจียน

    ยอบ้าน

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Morinda citrifolia  L.

    ชื่อสามัญ  Indian Mulberry

    วงศ์  Rubiaceae

    ชื่ออื่น :  ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ) ยอ แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ใบ ราก ผลดิบ ผลสุก ไม้ต้น สูง 2-6 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออก กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลรวม ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ผลสุกมีกลิ่นเหม็นเอียน เมล็ดสีน้ำตาลมีหลายเมล็ด
    ส่วนที่ใช้ : 

    สรรพคุณ :

    • ใบ -  มีวิตามินเอ 40,000 กว่ายูนิตสากลต่อ 100 กรัม มีคุณสมบัติในการบำรุงสายตา หัวใจ คั้นน้ำทาแก้โรคเก๊าท์ ปวดตามข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือคั้นน้ำสระผมฆ่าเหา แก้กระษัย ใช้ใบปรุงเป็นอาหาร แก้ท้องร่วง

    • ราก -  ใช้เป็นยาระบาย แก้กระษัย ใช้สกัดสีออกมา เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยผสมส่วนของเกลือต่างๆ สามารถเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ ได้ตามต้องการ ซึ่งสีเดิมของรากจะมีสีเหลือง หรือเหลืองปนแดง หากผสมตามส่วนด้วยเกลือ อาจจะได้สีแดง ชมพู น้ำตาลอ่อน สีม่วงแดง หรือสีดำ เป็นต้น

    • ผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก  - จิ้มน้ำผึ้งรับประทาน มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ กระเพาะอาหาร แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุมบวม ขับเลือดลม ขับโลหิตประจำเดือน

    • ผลดิบ -  ต้มน้ำรับประทานกับรากผักชี แก้อาการอาเจียนของหญิงมีครรภ์

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              นำผลยอโตเต็มที่แต่ไม่สุก ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบ ใช้ครั้งละ 1 กำมือ (10-15 กรัม) ต้มหรือชงกับน้ำ เอาน้ำที่จิบทีละน้อย และบ่อยๆ ครั้งจะได้ผลดีกว่าดื่มครั้งเดียว
    สารเคมี : ผลยอนั้นมีสารเคมี Asperuloside, caproic acid, caprylic acid และ glucose

    กลุ่มยาแก้อาเจียน

    ว่านกาบหอย

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tradescantia spathacea  Stearn

    ชื่อสามัญ  Oyster plant , White flowered tradescantia

    วงศ์  Commelinaceae

    ชื่ออื่น :  กาบหอยแครง ว่านหอยแครง (กรุงเทพฯ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 20-45 ซม. ลำต้นอวบใหญ่ แตกใบรอบเป็นกอ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงซ้อนเป็นวงรอบ รูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียว ท้องใบสีม่วงแดง เนื้อใบหนา ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยใบประดับสีม่วงปนเขียว รูปหัวใจคล้ายหอยแครง มี 2 กาบ โคนกาบทั้งสองประกบเกยซ้อนและโอยหุ้มดอกสีขาว ดอกสีขาวเล็กอยู่รวมเป็นกระจุก กลีบดอก 3 กลีบ รูปไข่ สีขาว แผ่นกลีบหนา เกสรเพศผู้มี 6 อัน ผล รูปรี กว้าง 2.5-3 มม. ยาว 3.5 มม. มีขนเล็กน้อย ผลแก่แตกออกเป็น 3 ซีก เมล็ดเล็ก
    ส่วนที่ใช้ :
    ใช้ใบสด หรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ และดอก เมื่อเก็บดอกที่โตเต็มที่ แล้วตากแห้ง หรืออบด้วยไอน้ำ 10 นาที แล้วจึงนำไปตากแห้ง เก็บเอาไว้ใช้

    สรรพคุณ :

    • ใบ - แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไอ อาเจียนเป็นโลหิต แก้ฟกช้ำภายใน เนื่องจากพลัดตกจากที่สูงหรือหกล้มฟาดถูกของแข็ง แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด แก้ปัสสาวะเป็นเลือด

    • ดอก -  รสชุ่มเย็น ต้มกับเนื้อหมูรับประทาน ใช้ขับเสมหะ แก้ไอแห้งๆ แก้อาเจียนเป็นโลหิต เลือดกำเดาออก ห้ามเลือด แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ไอเป็นเลือด แก้บิดถ่ายเป็นเลือด

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • ใบ  ใช้ต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 15- 30 กรัม ใช้ภายนอก โดยการตำพอก

    • ดอก ใช้ดอกแห้งหนัก 10- 15 กรัม หรือ ดอกสด หนัก 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    ตำรับยา :

    • แก้ไอ ร้อนใน กระหายน้ำ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ฟกช้ำภายใน เนื่องจากพลัดตกจากที่สูง หรือหกล้มฟาดถูกของแข็ง
      ใช้ใบสด 3 ใบ ต้มน้ำผสมน้ำตาลกรวดเล็กน้อยดื่ม

    • แก้หวัด ไอ มีเสมหะปนเลือด เลือดกำเดาออก บิดจากแบคทีเรีย
      ใช้ดอกแห้ง 20-30 ดอก ต้มน้ำดื่ม


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch