หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/17

    กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ

    กฤษณา

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Aquilaria crassna  Pierre ex Lecomte

    ชื่อสามัญ  Eagle wood

    วงศ์  Thymelaeaceae

    ชื่ออื่น :  ไม้หอม (ภาคตะวันออก)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 18-30 เมตร เปลือกสีเทา แตกเป็นร่องยาวตื้นๆ ตามกิ่งอ่อนมีขนสีขาวปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-11 ซม. โคนใบมน ปลายใบเป็นติ่งแหลม แผ่นใบค่อนข้างหนา เรียบเกลี้ยง สีเขียว มีขนประปรายตามเส้นใบด้านล่าง ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 0.2-0.7 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก ติดทน กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 10 อัน ผล รูปกลมรี มีเส้นแคบตามยาวของผล ผิวขรุขระเป็นลายสีเขียว มีขนละเอียดสั้นคล้ายกำมะหยี่ พอแก่แตกอ้าออก เมล็ดกลมรี สีน้ำตาลเข้ม มี 1-2 เมล็ด 
    ส่วนที่ใช้ : 
    เนื้อไม้  แก่น  และชัน

    สรรพคุณ :

    • นื้อไม้ 
      - รสขม หอม เป็นยาบำรุงหัวใจ (คือมีอาการหน้าเขียวตาเขียว)
      - ช่วยตับ ปอด ให้เป็นปกติ แพทย์ตามชนบทใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้ลมหน้ามืดวิงเวียน ผสมเครื่องหอมทุกชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม เช่น ธูปหอม น้ำอบไทย
      - สุมศีรษะ แก้ลมทรางสำหรับเด็ก รับประทานให้ชุ่มชื่นหัวใจ กฤษณาชนิด
      Aquilaria agallocha ใช้เนื้อไม้เป็นยารักษาโรคปวดข้อ

    • น้ำมันจากเมล็ด - รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังได้

    วิธีใช้ :
              เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ รวมกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น เกษรทั้ง 5 และอื่นๆ

    กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ

    กันเกรา

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Fagraea fragrans  Roxb.

    วงศ์  Gentianaceae

    ชื่ออื่น :  มันปลา (ภาคเหนือ,อีสาน) ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้) ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ภาคใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-15 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล พอต้นแก่จะแตกเป็นร่องลึกตามยาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน หนาแน่นที่ปลายกิ่ง รูปรี กว้าง 4+6 ซม. ยาว 8-12 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ พอเริ่มบานเป็นสีขาว เมื่อบานเต็มที่เป็นสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก ปลายแฉกแหลม เกสรเพศผู้ยาวติดกับกลีบดอก เกสรเพศเมียยาวมี 1 อัน ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว พอสุกเป็นสีแดง เมล็ดเล็ก สีน้ำตาลไหม้
    ส่วนที่ใช้ : 
    แก่น

    สรรพคุณ :
              แก่น  -
    รสมัน เฝื่อน ฝาดขม บำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ไข้จับสั่น แก้หืดไอ ริดสีดวง ท้องมานลงท้อง มูกเลือด แน่นหน้าอก บำรุงม้าม แก้เลือดพิการ ขับลม

    กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ

    จันทน์เกศ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Myristica fragrans  Houtt.

    ชื่อสามัญ  Nutmeg tree

    วงศ์  Myristicaceae

    ชื่ออื่น :  จันทน์บ้าน (เงี้ยว-ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ผล  ดอก  แก่น  ราก และเมล็ดไม้พุ่ม สูง 5-18 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีเทาอมดำ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี กว้าง 4-5 ซม. ยาว 10-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เป็นมัน ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ออกเป็นช่อตามซอกใบ สีเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท ปลายแยกออกเป็น 3 แฉก ไม่มีกลีบดอก ผล รูปทรงค่อนข้างกลม ผิวเรียบ สีเหลืองนวล พอแก่แตกอ้าออกเป็น 2 ซีก เห็นรก หุ้มเมล็ดสีแดง เมล็ดสีน้ำตาลมี 1 เมล็ด
    ส่วนที่ใช้ : 

    สรรพคุณ :

    •  - ให้ Myristica Oil ึ่งเป็น Volatile Oil ระกอบด้วย Myristiein ละ Safrole ึ่งเป็นตัวแต่งกลิ่น และขับลม

    • ดอก - ใช้เป็นเครื่องเทศ และขับลม

    • แก่น - แก้ไข้ บำรุงตับ ปอด

    • ราก - ขับลม แต่งกลิ่น เครื่องเทศ เจริญอาหาร

    • เมล็ด - ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ เป็นเครื่องเทศ เจริญอาหาร

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              รกและเมล็ดขนาด 0.5 กรัม หรือประมาณ 1-2 เมล็ด หรือใช้รก 4 อัน ป่นรก หรือเมล็ดให้เป็นผงละเอียด ชงน้ำครั้งเดียว รับประทานวันละ 2 ครั้ง 2-3 วัน

    กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ

    จันทน์ลูกหอม

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Diospyros decandra  Lour.

    วงศ์  Ebenaceae

    ชื่ออื่น :  จันอิน จันโอ จันขาว จันลูกหอม อิน (ภาคกลาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-15 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลแข้มอมเทา กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม กิ่งก้านเหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 7-10 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันลื่น สีเขียวเข้ม ดอก ดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ ส่วนดอกเพศเมียออกดอกเดี่ยว ดอกสีขาวนวล กลีบดอกเชื่อมติดกันสั้นๆ ผล รูปกลมแป้นเรียกว่า ลูกจัน ไม่มีเมล็ด ผลกลม เรียกว่า อิน มีเมล็ด ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง มีกลิ่นหอม รับประทานได้ ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดทน
    ส่วนที่ใช้
    เนื้อไม้  ผล

    สรรพคุณ :

    • นื้อไม้  -  มีรสขม หวาน ทำให้เกิดปัญญา บำรุงประสาท บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น แก้ไข้ แก้ปอดตับพิการ แก้ดีพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เหงื่อตกหน้า ขับพยาธิ

    • ผล - ผลสุกสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม มีรสหวานและฝาดเล็กน้อย รับประทานกับน้ำกะทิสดเป็นอาหาร

    กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ

    โด่ไม่รู้ล้ม

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Elephantopus  scaber  L.

    ชื่อสามัญ  Prickly-leaved elephant's foot

    วงศ์  Asteraceae

    ชื่ออื่น :  หนาดผา เคยโป้ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าปราบ หญ้าสามสิบสองหาบ หญ้าไฟนกคุ้ม (ภาคเหนือ)  ตะชีโกวะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย) คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ) หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ทั้งต้นสด ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรงสั้นอยู่ในระดับพื้นผิวดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนกันแน่นที่โคนต้น รูปขอบขนาน กว้าง 2-6 ซม.ยาว 10-25 ซม. ปลายใบและโคนใบมน แผ่นใบมีขนสากมือ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ก้านใบสีขาวหนา ดอก ออกเป็นช่อแบบแขนงที่ปลายยอด มีใบประดับ 2 ใบ ดอกสีม่วง กลีบดอกเรียวยาว ปลายกลีบดอกแหลม โคนเชื่อมติดกัน ก้านช่อดอกเหนี่ยวเมื่อโดนเหยียบก้านช่อดอกจะตั้งขึ้นมาใหม่เหมือนเดิม เกสรเพศผู้เป็นเส้นตรงมีอับเรณูสีม่วง ผล รูปทรงกลม มีสัน 10 สัน ผิวมีขนนุ่มปกคลุม
    ส่วนที่ใช้ : 

    สรรพคุณ :
             
    มีรสขื่น แก้ปัสสาวะ และบำรุงความกำหนัด มีรสกร่อย จืด ขื่นเล็กน้อย รับประทานทำให้เกิดกษัยแต่มีกำลัง ทั้งต้นต้มรับประทานต่างน้ำ แก้ไข้จับสั่นหรือไข้มาเลเรียดี ใช้ต้มรับประทานแก้ไอ สำหรับสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ บางตำรากล่าวว่า แก้กษัย บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับไส้เดือน แก้กามโรค แก้อักเสบ ห้ามเลือดกำเดา แก้ดีซ่าน นิ่ว บิด เหน็บชา ท้องมาน ฝีฝักบัว
    ข้อห้ามใช้ :
              ห้ามใช้ในผู้หญิงท้อง และผู้ที่อาการกลัวหนาว แขนขาเย็น ไม่กระหายน้ำ ชอบดื่มของร้อน ปวดท้อง ท้องร่วง ปัสสาวะและปริมาณมาก มีชั้นฝ้าบนลิ้นขาวและหนา

    ตำราและวิธีใช้  (ดูรายละเอียด) 

    กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ

    มะตูม

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Aegle marmelos  (L.) Correa ex Roxb.

    ชื่อสามัญ  Bael

    วงศ์  Rutaceae

    ชื่ออื่น :  มะปิน (ภาคเหนือ) กระทันตาเถร ตุ่มเต้ง ตูม (ปัตตานี) มะปีส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้น สูง 10 - 15 เมตร เปลือกต้นสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยใบปลาย รูปไข่ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-14 ซม. ปลายใบแหลม แผ่นใบบางเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ก้านใบย่อยใบปลายจะยาวกว่าใบที่คู่กัน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนติดกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉก รูปไข่กลับยาว ด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาวนวล มีน้ำเมือก มีกลิ่นหอม ผล รูปรีกลมหรือยาว ผิวเรียบเกลี้ยง เปลือกหนา แข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกเป็นสีเขียวอมเหลือง เนื้อในสีส้มปนเหลือง นิ่ม เมล็ดมีจำนวนมาก
    ส่วนที่ใช้ : 
    ผลโตเต็มที่  ผลแก่จัด ผลสุก ผลอ่อน ใบ  ราก

    สรรพคุณ :

    • ลโตเต็มที่ - ฝานเป็นชิ้นบางๆ ตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงรับประทาน แก้ท้องเดิน ท้องเสีย ท้องร่วง โรคลำไส้เรื้อรังในเด็ก

    • ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก - น้ำมาเชื่อมรับประทานต่างขนมหวาน จะมีกลิ่นหอม และรสชวนรับประทาน บำรุงกำลัง รักษาธาตุ ขับลม

    • ผลสุก - รับประทานต่างผลไม้ เป็นยาระบายท้อง และยาประจำธาตุของผู้สูงอายุ ที่ท้องผูกเป็นประจำ

    • ใบ - ใส่แกงบวช เพื่อแต่งกลิ่น

    • ราก - แก้หืด หอบ แก้ไอ แก้ไข้ ขับลม แก้มุตกิต

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
             
    ใช้ผลโตเต็มที่ ฝานตากแห้ง คั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่ม ใช้ 2-3 ชิ้น ชงน้ำเดือดความแรง 1 ใน 10 ดื่มแทนน้ำชา หรือชงด้วยน้ำเดือด 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว

    สารเคมี :
             
    ผลมะตูม  ประกอบด้วยสารที่มีลักษณะเป็นเมือกๆ คือ mucilage, pectin, tannin, volatile oil และสารที่มีรสขม
              ใบ  มี aegeline (steroidal alkaloid) aeglenine, coumarin

    กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ

    มะพร้าว

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cocos nucifera   L. var. nucifera

    ชื่อสามัญ  Coconut

    วงศ์  Palmae

    ชื่ออื่น :  ดุง (จันทบุรี) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) โพล (กาญจนบุรี) คอส่า (แม่ฮ่องสอน) พร้าว (นครศรีธรรมราช) หมากอุ๋น

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 20-30 เมตร ลำต้นกลม ตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน เปลือกต้นแข็ง สีเทา ขรุขระ มีรอยแผลใบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียน รูปพัดจีบ กว้าง 3.5- ซม. ยาว 80-120 ซม. โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวแก่เป็นมัน โคนก้านใบใหญ่แผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ไม่มีก้านดอก ผล รูปทรงกลมหรือรี ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวพอแก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลสีขาวนุ่ม ข้างในมีน้ำใส
    ส่วนที่ใช้

    • เปลือกผล - ผลแก่ปอกเปลือกตากแห้งเก็บไว้ใช้

    • กะลา - ตากแห้ง หรือเผาเป็นถ่าน บดเป็นผงเก็บไว้ใช้ โดยเผากะลาให้ลุกโชน เอากะลามัง หรือกระทะเหล็กครอบไม่ให้อากาศเข้าได้ จนไฟดับหมดแล้วปล่อยไว้ให้เย็น เปิดภาชนะเหล็กที่ครอบไว้ออก จะได้ถ่านจากกะลามะพร้าว นำไปบดเป็นผง เก็บไว้ในขวดปิดสนิท เก็บไว้ใช้ และที่ก้นภาชนะเหล็กมีน้ำมันเหนียวสีน้ำตาล ขูดเก็บไว้ใช้ เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อนได้ดี

    • เนื้อมะพร้าว - เนื้อมะพร้าว (ติดกับกะลา) มีสีขาว ใช้สด หรือหั่นฝอย ใส่น้ำเคี่ยว เอาน้ำมันมะพร้าวเก็บไว้ใช้ หรือตากแห้ง บีบและเคี่ยวเอาน้ำมันเก็บไว้ใช้ น้ำมันใหม่ๆ จะมีกลิ่นหอม น้ำมันมะพร้าวในที่อุ่นจะเหลวใส ในที่เย็นจะข้นขาวคล้ายเนยแข็ง มีกลิ่นเฉพาะตัว

    • น้ำ - น้ำมะพร้าว อ่อน และน้ำมะพร้าวแก่ใช้สด

    • ราก - ใช้สด เก็บได้ตลอดปี

    • ดอก - ใช้สด

    • เปลือกต้น - ใช้สด เก็บได้ตลอดปี

    • สารสีน้ำตาล - ที่ออกมาย้อยแข็งอยู่ใต้ใบ เก็บไว้ใช้

    สรรพคุณ :

    • เปลือกผล  - รสฝาดขม สุขุม ใช้ห้ามเลือด แก้ปวด เลือดกำเดาออก โรคกระเพาะ และแก้อาเจียน

    • กะลา - แก้ปวดเอ็น ปวดกระดูก

    • ถ่านจากกะลา - รับประทานแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษต่างๆ

    • น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา - ใช้ทา บาดแผล และโรคผิวหนัง แก้กลาก อุดฟัน แก้ปวดฟัน

    • เนื้อมะพร้าว - รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ รับประทานบำรุงกำลัง ขับพยาธิ

    • น้ำมันจากเนื้อมะพร้าว - ใช้ทาแก้กลาก และบาดแผลที่เกิดจากความเย็นจัด หรือถูกความร้อน และใช้ผสมทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ นอกจากที่ยังใช้เป็นอาหาร ทาแก้ผิวหนัง แห้ง แตกเป็นขุย และชนิดที่บริสุทธิ์มากๆ ใช้เป็นตัวทำลายในยาฉีดได้

    • น้ำมะพร้าว - รสชุ่ม หวานสุขุม ไม่มีพิษ แก้กระหาย ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้พิษ อาเจียนเป็นเลือด ท้องเสีย บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ในยามจำเป็น น้ำมะพร้าวอ่อนอายุประมาณ 7 เดือน อาจใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดแก้ภาวะการเสียน้ำได้

    • ราก - รสฝาด หวาน ใช้ขับปัสสาวะ และแก้ท้องเสีย ต้มน้ำอมแก้ปากเจ็บ

    • เปลือกต้น - เผาเป็นเถ้า ใช้ทาแก้หิด และสีฟันแก้ปวดฟัน

    • สารสีน้ำตาล - ไหลออกมาแข็งตัวที่ใต้ใบ ใช้ห้ามเลือดได้ดี

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              มะพร้าวเก็บในช่วงผลแก่ และนำมาเคี่ยวเป็นน้ำมัน ทาแก้ปวดเมื่อย และขัดตามเส้นเอ็น เจือกับยาที่มีรสฝาด รักษาบาดแผลได้
              ใช้น้ำมะพร้าว มาปรุงเป็นยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกมานาน วิธีใช้ทำได้โดย การนำเอาน้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ในภาชนะคนพร้อมๆ กับเติมน้ำปูนใส 1 ส่วน โดยเติมทีละส่วนพร้อมกับคนไปด้วย คนจนเข้ากันดี แล้วทาที่แผลบ่อยๆ


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch