หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/16

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    ฟ้าทะลายโจร

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees

    ชื่อสามัญ   Kariyat , The Creat

    วงศ์   ACANTHACEAE

    ชื่ออื่น :   หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ล้มลุก สูง 30-70 ซม. ทุกส่วนมีรสขม กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ปากล่างมี 2 กลีบ ผล เป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล แตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
    ส่วนที่ใช:  ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    มะปราง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Bouea macrophylla  Griffith

    ชื่อสามัญ  Marian Plum , Plum Mango

    วงศ์  Anacardiaceae

    ชื่ออื่น :  ปราง (ภาคใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น มีทรงต้นค่อนข้างแหลม มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบต้นโต มีขนาดสูง 15-30 เซนติเมตร มีรากแก้วแข็งแรง ใบ มะปรางเป็นไม้ผลที่มีใบมาก ใบเรียว ขนาดใบโดยเฉลี่ยกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร ปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน 1-3 ครั้ง ดอก มะปรางจะมีดอกเป็นช่อ เกิดบริเวณปลายกิ่งแขนง ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร เป็นดอกสมบูรณ์เพศ (เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน) ดอกบานจะมีสีเหลือง ในไทยออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผล มีลักษณะทรงกลมรูปไข่และกลม ปลายเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งมีผล 1-15 ผล ผลดิบมีสีเขียวอ่อน-เขียวเข้มตามอายุของผล ผลสุกมีสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม เนื้อสีเหลืองแดงส้มออกแดงแล้วแต่ชนิดพันธุ์ รสชาติหวาน-อมหวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยว-เปรี้ยวจัด เมล็ด มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด ส่วนผิวของกะลาเมล็ดมีลักษณะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดทั้งสีขาวและสีชมพูอมม่วง รสขมฝาดและขม ลักษณะเมล็ดคล้ายเมล็ดมะม่วง หนึ่งเมล็ดเพาะกล้าได้ 1 ต้น
    ส่วนที่ใช้ :
    ราก ใบ น้ำจากต้น

    สรรพคุณ :

    • ราก -  แก้ไข้กลับ  ถอนพิษสำแดง

    • ใบ - ยาพอกแก้ปวดศีรษะ

    • น้ำจากต้น - ยาอมกลั้วคอ

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    ย่านาง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tiliacora triandra  (Colebr.) Diels

    ชื่อสามัญ  Bamboo grass

    วงศ์  Menispermaceae

    ชื่ออื่น :  จ้อยนาง (เชียงใหม่)  เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพัน กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5 - 10 ซม. กว้าง 2 - 4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2 - 5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3 - 5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ
    ส่วนที่ใช้ : 
    รากแห้ง

    สรรพคุณ :

    • รากแห้ง -  แก้ไข้ทุกชนิด 

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              ใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ (15 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง

    สารเคมี :
             
    รากมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ tilacorine, tiacorinine, nortiliacorinine A, tiliacotinine 2 - N - Oxide, และ tiliandrine, tetraandrine, D - isochondrodendrine (isoberberine)

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    ลูกใต้ใบ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   phyllanthus amarus  Schum & Thonn.

    ชื่อสามัญ  Egg Woman

    วงศ์  Euphorbiaceae

    ชื่ออื่น :  มะขามป้อมดิน  หญ้าใต้ใบ  หญ้าใต้ใบขาว

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ทั้งต้นสดไม้ล้มลุก สูง 10 - 60 เซนติเมตร ทุกส่วนมีรสขม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อย 23 - 25 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมไข่กลับ ปลายใบมนกว้างโคนใบมนแคบ ขนาดประมาณ 0.40 X 1.00 เซนติเมตร ก้านใบสั้นมากและมีหูใบสีขาวนวลรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติด 2 อัน ดอกแยกเพศ เพศเมียมักอยู่ส่วนโคน เพศผู้มักอยู่ส่วนปลายก้านใบ ดอกขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซนติเมตร ผลทรงกลมผิวเรียบสีเขียวอ่อนนวล ขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร เกาะติดอยู่ที่ใต้โคนใบย่อย เมื่อแก่จะแตกเป็น 6 พู แต่ละพูจะมี 1 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลรูปเสี้ยว 1/6 ของทรงกลม ขนาดประมาณ 0.10 เซนติเมตร
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :
             เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน ขับปัสสาวะ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
               นำต้นสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ½ ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว

    สารเคมี :  Potassium, phyllanthin, hypophyllanthin

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    สะเดา (สะเดาไทย)

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis  Valeton

    ชื่อสามัญ Siamese neem tree, Nim , Margosa, Quinine

    วงศ์  Meliaceae

    ชื่ออื่น :  สะเลียม (ภาคเหนือ)  กะเดา (ภาคใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ดอกช่อดอก  ขนอ่อน ยอด เปลือก ก้านใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล ต้น เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก โคนติดกัน กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล รูปทรงรี ขนาด 0.8 - 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดเดี่ยว รูปรี 
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :

    • ดอก ยอดอ่อน  -  แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี

    • ขนอ่อน - ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ

    • เปลือกต้น - แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด

    • ก้านใบ - แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย

    • กระพี้ - แก้ถุงน้ำดีอักเสบ

    • ยาง - ดับพิษร้อน

    • แก่น - แก้อาเจียน ขับเสมหะ

    • ราก - แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก

    • ใบ,ผล - ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ

    • ผล มีสารรสขม - ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ

    • เปลือกราก - เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง

    • น้ำมันจากเมล็ด - ใช้รักษาโรคผิวหนัง และยาฆ่าแมลง

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • เป็นยาขมเจริญอาหาร
      ช่อดอกไม่จำกัด ลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก หรือใช้เปลือกสด ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว

    • ใช้เป็นยาฆ่าแมลง
      สะเดาให้สารสกัดชื่อ
      Azadirachin ใช้ฆ่าแมลงโดยสูตร สะเดาสด 4 กิโลกรัม ข่าแก่ 4 กิโลกรัม  ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม นำแต่ละอย่างมาบดหรือตำให้ละเอียด หมักกับน้ำ 20 ลิตร 1 คืน น้ำน้ำยาที่กรองได้มา 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดฆ่าแมลงในสวนผลไม้ และสวนผักได้ดี โดยไม่มีพิษและอันตราย

    สารเคมี :
              ผล   มีสารขมชื่อ bakayanin
              ช่อดอก  มีสารพวกไกลโคไซด์ ชื่อ nimbasterin 0.005% และน้ำมันหอมระเหยที่มีรสเผ็ดจัดอยู่ 0.5%  นอกนั้นพบ  nimbecetin, nimbesterol, กรดไขมัน และสารที่มีรสขม
              เมล็ด  มีน้ำมันขมชื่อ
    margosic acid 45% หรือบางที่เรียก Nim Oil และสารขมชื่อ nimbin, nimbidin
              Nim Oil  มี nimbidin  เป็นส่วนมากและเป็นตัวออกฤทธิ์มีกำมะถันอยู่ด้วย

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    สะเดาอินเดีย

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Azadirachta indica A. Juss. var. indica

    ชื่อสามัญ  Neem

    วงศ์  Meliaceae

    ชื่ออื่น :  ควินิน (ทั่วไป)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 8-12 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ รูปรี โคนใบเบี้ยว ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบมน โคนเรียว ผล เป็นผลสด รูปกลมรี ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว สุกสีเหลือง เมล็ดเดี่ยว
    ส่วนที่ใช้ :
    เปลือก ต้น ใบสด

    สรรพคุณ :
              เป็นยาแก้ไข้มาเลเรีย หรือไข้จับสั่น ไข้ประจำฤดูได้ดี

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              ใช้เปลือกสด 1 ฝ่ามือ หรือใบสด 2 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า-เย็น จนกว่าจะหายไข้


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch