หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/15

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    ประคำดีควาย

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Sapindus emarginatus  Wall.

    ชื่อสามัญ  Soap Nut Tree

    วงศ์  Sapindaceae

    ชื่ออื่น :  มะคำดีควาย

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ผลแก่ และตากแดดจนแห้ง   ใบ  ราก  ต้น  เปลือก  ดอก  เมล็ดไม้ต้น สูง 10-30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 2-4 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ดอกแยกเพศ อยู่ต้นเดียวกัน ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวนวล กลีบดอกมี 5 กลีบ ก้านช่อดอกมีขนปกคลุม ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบ หรือมีรอยย่นที่ผลบ้าง ผลสดสีเขียว เมล็ดเดี่ยว
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :

    • ลแก่  - แก้ไข้ ดับพิษร้อนภายใน ดับพิษทุกอย่าง แก้ไข้แก้เลือด แก้หอบเนื่องจากปอดชื้น ปอดบวม แก้กาฬ แก้โรคผิวหนัง แก้พิษตานซาง แก้เสลดสุมฝีอันเปื่อยพัง แก้จุดกาฬ ผลผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคตัวร้อนนอนไม่หลับ นอนสะดุ้งผวา แก้สลบ แก้พิษ หัด สุกใส แก้ฝีเกลื่อน แก้ปากเปื่อย แก้สารพัดพิษ สรพัดกาฬ แก้ไข้จับเซื่องซึม แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สารพัดไข้ทั้งปวง

    • - แก้พิษกาฬ ดับพิษกาฬ

    • าก
      - แก้ริดสีดวงมองคร่อ แก้หืด
      - รากผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้แก้ฝีในท้อง

    • ้น - แก้ลมคลื่นเหียน

    • ปลือกต้น
      - แก้กระษัย แก้พิษร้อน แก้พิษไข้
      - เปลือกต้นผสมในตำรับยากับสมุนไพรอื่นใช้แก้ฝีหัวคว่ำ ฝีอักเสบ

    • อก - แก้พิษ เม็ดผื่นคัน

    • มล็ด - แก้โรคผิวหนัง

    ิธีใช้และปริมาณ :
             
    ลประคำดีควาย สุมให้เป็นถ่าน แล้วปรุงเป็นยารบประทาน
              ผลประคำดีควาย ใช้รักษาชันนะตุหัวเด็กได้ ผลต้มแล้วเกิดฟอง สุมหัวเด็กแก้หวัด แก้รังแค ใช้ซักผ้าและสระผมได้
              โดยเอาผลประมาณ 5 ผล ทุบพอแตก ต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย ทาที่หนังศีรษะ ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย (ระวังอย่าให้เข้าตา จะทำให้แสบตา)

    ารสำคัญ คือ
             
    Quercetin, Quercetin -3 - a - A- arabofuranoside, ß - Sitosterol, Emarginatoside, O - Methyl-Saponin, Sapindus - Saponin

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    ประยงค์

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Aglaia odorata  Lour

    วงศ์  Meliaceae

    ชื่ออื่น :  ขะยง ขะยม พะยงค์ ยม (ภาคเหนือ) ประยงค์ใบใหญ่ (ภาคกลาง) หอมไกล (ภาคใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ดอก  ก้าน และใบไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น เปลือกต้นเรียบ สีเทา ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก  ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ก้านใบแผ่ออกเป็นปีก ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีเหลือง กลีบดอกมี 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นรูปทรงกลมไม่บาน ผล รูปทรงกลมรี ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเหลืองอ่อน ผลสุกสีแดง เมล็ดเดี่ยว สีน้ำตาล
    ส่วนที่ใช้

    สรรพคุณ :

    • ดอก - ช่วยเร่งการคลอด แก้อาการเมาค้าง ฟอกปอด ทำให้หูตาสว่าง แก้ร้อนดับกระหาย อึดอัดแน่นหน้าอก ไอ วิงเวียนศีรษะ ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง

    • ก้านและใบ - แก้แผลบวมฟกช้ำ จากการหกล้ม หรือถูกระทบกระแทก ฝีมีหนองทั้งหลาย

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              ดอก หรือก้านและใบ แห้ง 3-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก เคี่ยวให้ข้น ใช้ทาแผลบวมฟกช้ำ

    ข้อห้ามใช้ - หญิงมีครรภ์ห้ามดื่ม
    สารเคมีที่พบ
              ใบ มี Aglaiol, Aglaiondiol, (24 S) - Aglaitriol  (24 R) - Aglaitriol, อัลคาลอยด์ Odoratine และ Odoratinol
    การเก็บมาใช้
              ช่อดอกและใบ  เก็บในฤดูร้อน ตอนออกดอก ตากแห้งแยกเก็บไว้ใช้
    หมายเหตุ :
              เป็นไม้ที่เหมาะที่จะปลูกเป็นรั้ว ดอกมีกลิ่นหอม แต่โตชา

    • ดอกแห้ง  -  ใช้อบเสื้อผ้า บุหรี่ และแต่งกลิ่นใบชา

    • รากและใบ
      - ในฟิลิปปินส์ ใช้ต้มเป็นยาบำรุงร่างกาย
      - แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก แก้ไข้และอาการชัก

    • ยาชงจากดอก - ใช้ดื่มแบบน้ำชา เป็นยาเย็น แก้ไข้ พุพอง

    • ราก - ในไทยใช้เป็นยาทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    ปลาไหลเผือก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Eurycoma longifolia  Jack

    วงศ์  Simaroubaceae

    ชื่ออื่น :  คะนาง ขะนาง ไหลเผือก (ตราด) ตุงสอ แฮพันชั้น (ภาคเหนือ) หยิกปอถอง หยิกไม่ถึง เอียนดอย (ภาคอีสาน) เพียก (ภาคใต้) กรุงบาดาล (สุราษฎร์ธานี) ตรึงบาดาล (ปัตตานี) ตุวุเบ๊าะมิง ดูวุวอมิง (มลายู-นราธิวาส)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ แตกกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนปกคลุม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคู่ ออกเรียงสลับหนาแน่นที่ปลายยอด ใบย่อยมี 7-8 คู่ รูปใบหอกหรือรูปรี กว้าง 1.5-6.5 ซม. ยาว 5-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้ม ดอก ออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบ ดอกสีม่วงแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1 ซม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ รูปไข่มีขน เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านช่อดอกสีแดง ผล รูปกลมรี กว้าง 0.5-1.2 ซม. ยาว 1-1.7 ซม. ออกเป็นพวง ผิวเรียบ ผลสดสีเขียว สุกเป็นสีแดง เมล็ดเดี่ยว
    ส่วนที่ใช้ : 
    รากปลาไหลเผือก

    สรรพคุณ :

              รากปลาไหลเผือก - รสขมจัด เบื่อเมาเล็กน้อย ถ่ายฝีในท้อง ถ่ายพิษต่างๆ ใช้เป็นยาแก้ไข้ ตัดไข้ทุกชนิด ใช้ผสมยาจันทลิ้นลา* ใช้เป็นยาตัดไข้ ใช้รับประทานแก้วัณโรคในระยะบวมขึ้น
    * ยาจันทลิ้นลา เป็นยาตำรับโบราณ ใช้รักษไข้ แก้อาการชัก

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    ฝ้ายแดง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Gossypium arboreum  L.

    ชื่อสามัญ  Ceylon Cotton , Chinese Cotton , Tree Cotton

    วงศ์  Malvaceae

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 2.5-3.5 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลแดง ใบ ใบเดี่ยวออกเวียนสลับ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ขอบหยักลึก 3-7 แฉก ปลายแหลมหรือมน โคนเว้า ก้านใบและเส้นใบสีแดงคล้ำ ดอก สีแดงเข้ม หรือ สีเหลืองอ่อน กลางดอกสีม่วงแดง ออกเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ใบประดับ 3 ใบ รูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก ๕ กลีบ เกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมกันเป็นหลอดล้อมรอบเกสรตัวเมีย ปลายเกสรตัวเมียแยกเป็น 5 แฉก ผล กลม หัวท้ายแหลม เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดค่อนข้าง กลมสีเขียว จำนวนมากคลุมด้วยขนยาวสีขาว
    ส่วนที่ใช้ :
    เปลือกราก  ใบ

    สรรพคุณ :

    • เปลือกราก - บดเป็นผง ชงน้ำเดือดดื่มช่วยขับปัสสาวะ บีบมดลูก ช่วยขับน้ำคาวปลา

    •   -   ปรุงเป็นยารับประทานแก้ไข้ ขับเหงื่อ จำพวกยาเขียว และเป็นยาเด็ก แก้พิษตานทรางของเด็กได้ดี

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    พิมเสนต้น

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Pogostemon cablin (Blanco) Benth.
    ชื่อพ้อง :  P. patchouli  Pellet var. suavis  Hook f.

    ชื่อสามัญ  Patchouli

    วงศ์  Labiatae

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ล้มลุก สูง 30-75 ซม. ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 7-10 ซม. ขอบใบหยักมน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวประม่วง ผลแห้ง ไม่แตก
    ส่วนที่ใช้ :
    ใบ

    สรรพคุณ :

    • บ - ปรุงเป็นยาเย็น ถอนพิษร้อน แก้ไข้ทุกชนิด ทำให้ความร้อนในร่างกายลดลง โดยมากมักปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้ และยาหอมก็เข้าใบพิมเสนต้นนี้


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch