หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/14

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    แคดอกขาว แคดอกแดง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Sesbania grandiflora  (L.) Desv.

    ชื่อสามัญ  Agasta, Sesban, Vegetable humming bird

    วงศ์  Leguminosae - Papilionoideae

    ชื่ออื่น :  แค แคบ้านดอกแดง แคขาว (ภาคกลาง) แคแดง (เชียงใหม่)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม.  ยาว 3-4 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ  สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-4 ดอก ดอกสีขาวหรือแดง มีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว 60 อัน ผล เป็นฝัก ยาว 8-15 ซม. ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด
    ส่วนที่ใช้ :
    เปลือกต้น  ดอก  ใบสด  ยอดอ่อน

    สรรพคุณ :

    • เปลือก 
      - ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว
      - แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
      - ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล

    • ดอก,ใบ - รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม) 
      ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้

    • ใบสด
      - รับประทานใบแคทำให้ระบาย
      - ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
      ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง

    • แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)
      - ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
      - ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    ท้าวยายม่อม ( ต้น )

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Clerodendrum petasites  (Lour.) S.Moore

    วงศ์  Labiatae

    ชื่ออื่น :  กาซะลอง จรดพระธรณี ดอกคาน (ยะลา) ท้าวยายม่อมป่า (อุยลราชธานี) ปิ้งขม ปิ้งหลวง (ภาคเหนือ) พญารากเดียว (ภาคใต้) พญาเล็งจ้อน เล็งจ้อนใต้ (เชียงใหม่) พมพี (อุดรธานี)  พวกวอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) พินที (เลย) โพพิ่ง (ราชบุรี) ไม้เท้าฤๅษี (ภาคเหนือ,ภาคใต้) หญ้าลิ้นจ้อน (ประจวบคีรีขันธ์)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม ลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้านสาขา ลำต้นโตเท่านิ้วมือ สูงประมาณ 4-5 เมตร มีรากเดี่ยวพุ่งตรงลึก ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว รูปหอกเล็กเรียวยาว 6-7 นิ้ว ปลายและโคนแหลม สีเขียว ออกตามข้อตรงกันข้ามเป็นคู่ๆ สลับทางกันเป็นพุ่มที่กลางต้นถึงปลาย ดอก ช่อเล็กๆ ออกเป็นช่อชั้นๆ ที่ปลายยอดเหมือนฉัตร ดอกคล้ายดอกปีบสีขาว มีจานรองดอก 5 แฉก สีแดง ผล กลมเท่าลูกเถาคัน
    ส่วนที่ใช้
    ราก

    สรรพคุณ :

    • ราก
      - เป็นยาแก้พิษไข้ พิษกาฬ ลดความร้อนในร่างกาย
      - กระทุ้งพิษไข้หวัด เป็นยาขับพิษไข้ทุกชนิด
      - เป็นยาแก้แพ้  อักเสบ ปวดบวม พิษฝี
      - แมลงสัตว์กัดต่อย
      - แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้อาเจียน หืดไอ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    1.  เป็นยาแก้พิษไข้ พิษกาฬ ลดความร้อนในร่างกาย กระทุ้งพิษไข้หวัด
      นำราก 1 ราก มาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำฝน หรือเหล้าโรง คั้นเอาน้ำรับประทาน

    2. แก้อาการแพ้ อักเสบ ปวดบวม
      นำกากมาพอกที่ปากแผล ถอนพิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    ท้าวยายม่อม ( หัว )

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tacca leontopetaloides  (L.) Kuntze

    วงศ์  Taccaceae

    ชื่ออื่น :  ไม้เท้าฤๅษี (ภาคกลาง) สิงโตดำ (กรุงเทพฯ) บุกรอ (ตราด)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีหัวเป็นแป้ง กลมหรือรี ใบรูปฝ่ามือ มี 3 แฉก แต่ละแฉกเป็นใบประกอบหลายแฉกย่อย ใบรูปฝ่ามือกว้างได้ 120 ซม. ยาว ได้ 70 ซม. ก้านใบยาว 20-170 ซม. รวมกาบใบ ช่อดอกมี 1-2 ช่อ ยาวได้ถึง 170 ซม. แต่ละช่อมี 20-40 ดอก แผ่นกลีบประดับมี 4-12 อัน เรียง 2 วง กลีบขนาดเกือบเท่าๆ กับ รูปไข่ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก สีเขียวเข้ม ยาว 2.5-10 ซม. กลีบประดับรูปเส้นด้ายมี 20-40 อัน สีเขียขาวอมม่วง ยาว 10-25 ซม. ดอกสีเขียวอมเหลือง กลีบรวม 6 กลีบ เรียง 2 วง วงนอกรูปรีหรือรูปใบหอก ยาว 0.4-0.7 ซม. วงในรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน ปลายแผ่เป็นแผ่น ก้านเกสรเพศเมียสั้น ปลายเกสรแยกเป็น 3 แฉก ผลมีเนื้อหลายเมล็ด เกือบกลมหรือทรงรี ห้อยลง เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1.5-2.5 ซม. เมล็ดจำนวนมาก
    ส่วนที่ใช้ : 
    หัว

    สรรพคุณ :
              หัวที่ใช้ทำเป็นแป้งได้ เรียกว่า William's arrow root แป้งเท้ายายม่อมเป็นอาหารอย่างดีสำหรับคนไข้ที่เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ให้คนไข้รับประทานดี เกิดกำลังและชุ่มชื่นหัวใจ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              ใช่แป้งละลายน้ำดิบ ใส่น้ำตาลกรวด ตั้งไฟกวนจนสุก ให้คนไข้รับประทาน

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    ว่านธรณีสาร

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Phyllanthus pulcher  Wall. ex Müll.Arg.

    วงศ์  Euphorbiaceae

    ชื่ออื่น :  เสนียด (กรุงเทพฯ) กระทืบยอบ (ชุมพร) ตรึงบาดาล (ประจวบคีรีขันธ์) ก้างปลาดิน ดอกใต้ใบ (นครศรีธรรมราช) คดทราย (สงขลา) ก้างปลาแดง ครีบยอด (สุราษฎร์ธานี) รุรี (สตูล) ก้างปลา (นราธิวาส)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูง 1-1.5 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีรอยแผลใบชัดเจน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 0.8-1.3 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ สีเขียว ดอก ดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ ดอกเพศเมียออกตามซอกใบในส่วนของก้านใบ ดอกห้อยลง กลีบดอกมี 6 กลีบ โคนติดกัน สีม่วงแดง ปลายแหลม ปลายเป็นสีเขียว ขอบจักเป็นฝอย ผล รูปทรงกลม สีน้ำตาลอ่อน
    ส่วนที่ใช้ :
    ใบแห้ง

    สรรพคุณ :

    • บแห้ง
      -  ป่นเป็นผง ผสมกับพิมเสนดีพอควร
      -  ใช้กวาดคอเด็ก แก้เด็กตัวร้อน แก้พิษตานทรางของเด็กได้ดี และขับลมในลำไส้

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    บอระเพ็ด

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tinospora crispa  (L.) Miers ex Hook.f.& Thomson

    วงศ์  Menispermaceae

    ชื่ออื่น :  ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน (สระบุรี) หางหนู (สระบุรี,อุบลราชธานี) จุ่งจิง เครือเขาฮอ (ภาคเหนือ) เจตมูลหนาม (หนองคาย)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ราก ต้น ใบ ดอก ผล ส่วนทั้ง 5  เถาสดไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถากลมมีขนาดใหญ่เป็นปุ่มปม สีเทาอมดำ มีรสขม เปลือกลอกออกได้ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบยาว 8-10 ซม. ดอก ออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่คนละช่อ ดอกสีเขียวอมเหลือง มีขนาดเล็กมาก ผล รูปทรงค่อนข้างกลม สีเหลืองหรือสีแดง
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :

    • ราก 
      - แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต แก้ไข้พิษ ไข้จับสั่น
      - ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
      - เจริญอาหาร

    • ต้น
      - แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้เหนือ
      - บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
      - แก้อาการแทรกซ้อน ขณะที่เป็นไข้ทรพิษ
      - แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เลือดพิการ
      - แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สะอึก แก้พิษฝีดาษ
      - เป็นยาขมเจริญอาหาร
      - เป็นยาอายุวัฒนะ

    • ใบ
      - แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้จับสั่น
      - ขับพยาธิ แก้ปวดฝี
      - บำรุงธาตุ
      - ยาลดความร้อน
      - ทำให้ผิวพรรณผ่องใส หน้าตาสดชื่น
      - รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย
      - ช่วยให้เสียงไพเราะ
      - แก้โลหิตคั่งในสมอง
      - เป็นยาอายุวัฒนะ

    • ดอก
      - ฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู

    • ผล
      - แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ไข้พิษ
      - แก้สะอึก และสมุฎฐานกำเริบ

    • ส่วนทั้ง 5
      บำบัดรักษาโรค ดังนี้
      - เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อย แก้ไข้ปวดศีรษะ รักษาฟัน รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ฝีมดลูก ฝีมุตกิต แก้ร้อนใน รักษาโรคเบาหวาน ลดความร้อน แก้ดีพิการ แก้เสมหะ เลือดลม แก้ไข้จับสั่น

    วิธีการและปริมาณที่ใช้ :
             
    ใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้

    • อาการไข้ ลดความร้อน
      - ใช้เถาแก่สด  หรือต้นสด ครั้งละ 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้ น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
      - หรือใช้เถาสด ดองเหล้า ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ของยาที่เตรียมแล้ว

    • เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร เมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
      โดยใช่ขนาดและวิธีการเช่นเดียวกับใช้แก้ไข้

    สารเคมี : ประกอบด้วยแคลคาลอยด์หลายชนิด  เช่น Picroretine, berberine นอกจากนี้ยังประกอบด้วย  colonbin, tintotuberide, N - trans - feruloyltyramine, N - cisferuloytyramine, phytosterol, methylpentose

    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

    ประทัดใหญ่ ประทัดจีน

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Quassia amara  L.

    ชื่อสามัญ  Stave-wood, Sironum wood

    วงศ์  Simaroubaceae

    ชื่ออื่น :  ปิง ประทัด  (ภาคกลาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ราก  ใบ  เนื้อไม้  เปลือกไม้พุ่ม สูง 1.5-3 เมตร แตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มเตี้ย เปลือกต้นเรียบ  สีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยมี 5 ใบ รูปรีหรือรูปไข่กลับ  กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบรวมสีแดงมีครีบแผ่ออกทั้งสองข้าง ใบอ่อนสีแดง ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีแดงสด กลีบดอกไม่บานจะหุ้มเกสรอยู่เป็นรูปกรวยคว่ำ ก้านช่อดอกสีแดง ผล เป็นผลกลุ่ม ผลย่อยรูปไข่กลับ สีแดงคล้ำ
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :

    • รากมีรสขมจัด ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ได้ดี

    • ใบ - ทาผิวหนัง แก้คัน

    • เปลือกและเนื้อไม้ - เป็นยาบำรุงน้ำย่อย ทำให้เกิดอยากรับประทานอาหาร

    • เนื้อไม้ - นำมาสกัดเป็นยาขับพยาธิเส้นด้ายสำหรับเด็ก

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • ใช้เป็นยาแก้ไข้มาเลเรีย
      ต้มเนื้อไม้ประทัดจีน (ประทัดใหญ่) 4 กรัม ด้วยน้ำ 4 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น

    • ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร และเป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย
      ใช้เนื้อไม้ 0.5 กรัม ประมาณ 4-5 ชิ้น ชงน้ำเดือด 1/2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งเดียว


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch