หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/13

    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ

    มะกรูด

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Citrus hystrix  DC.

    ชื่อสามัญ  Leech lime, Mauritus papeda

    วงศ์  Rutaceae

    ชื่ออื่น :  มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำมัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มีหลายเมล็ด
    ส่วนที่ใช้ : 
    ราก ใบ ผล ผิวจากผล

    สรรพคุณ :

    • รากกระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ

    • ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย

    • ผล, น้ำคั้นจากผล - ใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำให้ผมสะอาด

    • ผิวจากผล
      - ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น
      - เป็นยาบำรุงหัวใจ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    1. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้เสมหะ
      ฝานผิวมะกรูดสดเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ช้อนแกง เติมการบูร หรือ พิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ ดื่มแต่น้ำรับประทาน 1 ถึง 2 ครั้ง แต่ถ้ายังไม่ค่อยทุเลา จะรับประทานติดต่อกัน 2-3 สะรก็ได้

    2. ใช้สระผมทำให้ผมสะอาดชุ่มชื้น เป็นเงางาม ดกดำ ผมลื่นด้วย
      โดยผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จแล้ว เอามะกรูดสระซ้ำ ใช้มะกรูดยีไปบนผม น้ำมะกรูดเป็นกรด จะทำให้ผมสะอาด แล้วล้างผมให้สมุนไพรออกไปให้หมด หรือใช้มะกรูดเผาไฟ นำมาผ่าซีกใช้สระผม จะรักษาชันนะตุ ทำให้ผมสะอาดเป็นมัน

    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ

    มะดัน

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Garcinia schomburgkiana  Pierre.

    วงศ์ Clusiaceae (Guttiferae)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 7-10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 2.5 ซม. ยาว 9 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบลื่น สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 0.5-1 ศทซ ดอก ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก 3-6 ดอก ตามซอกใบ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายกลีบดอกมน ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 10-12 อัน ผล รูปรีปลายแหลม ผิวเรียบสีเขียว เป็นมันลื่น มีรสเปรี้ยว เมล็ดมี 3-4 เมล็ด ติดกัน
    ส่วนที่ใช้ :  ใบ  ราก  ผล

    สรรพคุณ :

    • บและราก
      - เป็นยาดอกเปรี้ยวเค็ม และปรุงเป็นยาต้ม รับประทานแก้กระษัย แก้ระดูเสีย ขับฟอกโลหิต
      - เป็นยาระบายอ่อนๆ
      - เป็นยาสกัดเสมหะในลำคอดี  

    • ผล
      - เป็นยาสกัดเสมหะในลำคอดี
      - เป็นอาหาร

    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ

    มะขามป้อม

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Phyllanthus emblica  L.

    ชื่อสามัญ Emblic myrablan, Malacca tree

    วงศ์  Euphorbiaceae

    ชื่ออื่น :   กำทวด (ราชบุรี) กันโตด (เขมร-จันทบุรี) สันยาส่า มั่งลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-12 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน กว้าง 1- 5 มม. ยาว 4-15 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี 5-6 กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้นๆ 3-5 อัน ก้านดอกสั้น ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.3-2 ซม. เป็นพูตื่นๆ 6 พู ผิวเรียบ  ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
    ส่วนที่ใช้ :
    น้ำจากผล ผลโตเต็มที่

    สรรพคุณ :

    • น้ำจากผล  -  แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ

    • ผล - แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              ผลโตเต็มที่ จำนวนไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้

    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ

    มะนาว

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Citrus aurantifolia (Christm.)  Swingle

    ชื่อสามัญ  Common lime

    วงศ์  Rutaceae

    ชื่ออื่น :  ้มมะนาว มะลิว (ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามแหลม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลปนเทา ใบ เป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยใบเดียว รูปไข่หรือรูปรียาว กว้าง 3-5 ซม. ยาว4-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนมีปีกแคบๆ ขอบใบหยัก แผ่นใบมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ตามผิวใบ ดอก ออกเป็นช่อสั้น 5-7 ดอก หรือออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบดอกมี 4-5 กลีบ หลุดร่วงง่าย ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียวเข้ม พอแก่เป็นสีเหลือง ข้างในแบ่งเป็นห้องแบบรัศมี มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มี 10-15 เมล็ด
    ส่วนที่ใช้ : 
    น้ำมะนาว (น้ำคั้นจากผล)  ราก  ใบ  ดอก  ผล  เมล็ด

    สรรพคุณ :

    • น้ำมะนาว  - แก้โรคลักปิดลักเปิด (เลือดออกตามไรฟัน) ทำอาหาร ขับเสมหะ ฟอกโลหิต ทำให้ผิวนุ่มนวล แก้ซาง บำรุงเสียง บำรุงโลหิต ขับระดู แก้เล็บขบ แก้ขาลาย จิบแก้ไอ ดับกลิ่นเหล้า ฆ่าพยาธิในท้อง รักษาผม ขับลม รักษาลมพิษ แก้ริดสีดวง แก้ระดูขาว แก้พิษยางน่อง แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ

    • ราก - กระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษสำแดง แก้สติหลงลืม แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ ถอนพิษไข้ กลับไข้ซ้ำ

    • ใบ - ฟอกโลหิต แก้ตับทรุด

    • ดอก - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ ) แก้ไอ ขับเสมหะ

    • ผล - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง ทาแก้ผิวแห้งตกสะเก็ด แก้สิวฝ้า แก้ส้นเท้าแตก แก้ไอ รักษาแผลจากแมลงมีพิษ

    • เมล็ด - แก้พิษตานซาง แก้หายใจขัด แก้ไข้ขับเสมหะ แก้พิษฝีภายใน

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    1. ยาแก้ไอขับเสมหะ
      น้ำในผลที่โตเต็มที่ น้ำมะนาว 2-3 ช้อนแกง, เมล็ดมะนาว 10-20 เมล็ด  นำน้ำมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย จิบ จะช่วยทำให้เสมหะถูกขับออก และเสียงดี ถ้าเป็นเมล็ดมะนาวนำไปคั่วให้เหลือง บดให้ละเอียด เติมพิมเสน 2-5 เกล็ด ชงน้ำร้อนรับประทาน เป็นยาขับเสมหะ

    2. ยาป้องกันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด)
      ใช้น้ำจากผลที่แก่จัดไม่จำกัด เติมเกลือ น้ำตาล น้ำแข็ง ใช้เป็นเครื่องดื่ม หรือจะใส่ในอาหาร ก็ได้ผลเช่นกัน

    3. ยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
      ใช้น้ำจากผล ครึ่งช้อนชา หรือ 1/4 ช้อนแกง แผลถูกมีดบาด เลือดไม่หยุด บีบน้ำมะนาวลงไป 3-4 หยด เลือดจะหยุด

    สารเคมี :
              ใบ  มี Alcohols, Aldehydes, Elements, Terpenoids, Citral
              ผล  มี  1 - Alanine, γ - Amino butyric acid, 1 - Glutamic acid
              เมล็ด มี  Glyceride Oil
              น้ำมันหอมระเหย   มี  P - Dimethyl -
    a - Styrene, Terpinolene

    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ

    มะอึก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Solanum stramonifolium  Jacq.

    วงศ์  Solanaceae

    ชื่ออื่น :  มะเขือปู่ มะปู่ (ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ทุกส่วนมีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่กว้าง กว้าง 15-25 ซม. ยาว 20-30 ซม. โคนใบเว้าหรือตัด ขอบใบหยักเว้าเป็นพู แผ่นใบสีเขียว มีขนทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแหลม เกสรเพศผู้สีเหลือง เป็นเส้นรวมเป็นยอดแหลม ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.8-2 ซม. ผิวมีขนยาวหนาแน่น ผลสุกสีเหลืองแกมน้ำตาล เมล็ดแบน มีจำนวนมาก
    ส่วนที่ใช้ : 
    ผล  ใบ  ราก  เมล็ด

    สรรพคุณ :

    • ผล  -  เป็นอาหาร กัดฟอกเสมหะ แก้ไอ

    • ใบ - เป็นยาพอก แก้คัน

    • ราก - แก้ปวด แก้ไข้ พอกแก้คัน

    • เมล็ด - แก้ปวดฟัน (โดยเผาสูดดมควันเข้าไป) 

    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ

    ลำโพงดอกขาว

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Datura  metel  L.

    ชื่อสามัญ  Apple of Peru, Green Thorn Apple, Hindu Datura, Metel, Thorn Apple

    วงศ์  Solanaceae

    ชื่ออื่น :  มะเขือบ้า, มั่งโต๊ะโล๊ะ, ละอังกะ, เลี๊ยก

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ใบแห้ง ดอกแห้ง ยอดอ่อน ช่อดอกไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบจักเป็นซี่ห่างกัน แผ่นใบสีเขียว  ดอก ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาวคึ่งหนึ่งของความยาวดอก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายบานเป็นรูปแตร ผล รูปทรงค่อนข้างกลม สีเขียว ผิวเป็นตุ่มหนาม ผลแห้งแตกได้ เมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :
              ยารักษาโรคหืด คลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ (antispasmodic) anticholinergic activity
    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • ใบแห้ง  1-3 ใบ มวนบุหรี่สูบ

    • ดอกแห้ง 1 ดอก มวนบุหรี่สูบ
      ใบขนาดที่ใช้ 100-250 มิลลิกรัม liquid extract (0.25% alkaloids) ขนาดที่ใช้ 0.06-0.2 มล. ทิงเจอร์ (มีแอลกอฮอล์ 0.25%)  ขนาดที่ใช้ 0.3-2 มล.

    สารเคมี - มี hyoscine 0.25-0.55 %  และ hyoscyamine

    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ

    หนุมานประสานกาย

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Schefflera leucantha  R. Vig.

    วงศ์  Araliaceae

    ชื่ออื่น :  -

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ใบสดไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำใกล้พื้นดิน เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 6-8 ใบ รูปรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีขาวนวล ผล เป็นผลมีเนื้อ รูปทรงกลม ขนาดเล็ก
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :

    1. รักษาโรคหืด โรคแพ้อากาศ ขับเสมหะ

    2. รักษาโรคหลอดลมอักเสบ

    3. รักษาวัณโรคปอด แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด

    4. ตำพอกแผลห้ามเลือด ห้ามเลือด

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • รักษาโรคหืด แพ้อากาศ ขับเสมหะ และโรคหลอดลมอักเสบ
      ใช้ใบสดเล็กๆ 9 ใบ ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น เป็นเวลา 49 วัน หืดควรจะหาย

    • ยาแก้อาเจียนเป็นเลือด
      ใช้ใบสด 12 ใบย่อย ตำคั้นน้ำ 2 ถ้วยตะไล รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ติดต่อกัน 5-7 วัน

    • ใช้รักษาวัณโรค
      ใช้เหมือนวิธีที่ 1 ติดต่อกัน 60 วัน แล้ว x-ray ดู ปอดจะหาย แล้วให้รับประทานต่อมาอีกระยะหนึ่ง

    สารเคมี :
             พบ Oleic acid, butulinic acid, D - glucose, D - Xylose, L - rhamnose


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch