หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/11
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ
    ฝรั่ง
     
    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Psidium guajava  L.
    ชื่อสามัญ :  Guava
    วงศ์ :    MYRTACEAE
    ชื่ออื่น :  สุราษฎร์ธานี จุ่มโป่, ปัตตานี ชมพู่, เชียงใหม่ มะก้วย, เหนือ มะก้วยกา มะมั่น, แม่ฮ่องสอน มะกา, ตาก มะจีน, ใต้ ยามู ย่าหมู, นครพนม สีดา, จีนแต้จิ๋ว ปั๊กเกี้ย
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ขนาดกลาง สูง 3-5 เมตร ผิวเปลือกต้นเรียบเกลี้ยง กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ หนา หยาบ ใต้ท้องใบเป็นริ้ว เห็นเส้นใบชัดเจน ขนขึ้นนวลบาง ใบยาวประมาณ 10 ซม. กว้างประมาณ 6 ซม. ดอกช่อ ช่อหนึ่งมีดอกย่อย 3 - 5 ดอก ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงแข็ง ผล รูปทรงกลม รูปไข่ หรือรูปรี ผิว เกลี้ยง สีเขียว เนื้อในขาว รสหวาน กรอบ ผลสุกสีเหลือง- เขียว มีเมล็ดเล็กๆ แข็งอยู่ภายใน
    ส่วนที่ใช้ : ใบเพสลาด ผลอ่อนสด ผลสุก เปลือกต้นสดๆ ราก
    สรรพคุณ :
             
    ฝรั่งมีสารแทนนินอยู่มาก สารนี้มีฤทธิ์ฝาดสมานน้ำมันหอมระเหยในใบฝรั่ง    สารแทนนินในฝรั่งยังยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค ช่วยสมานท้องและลำไส้ โดยช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะลำไส้ และช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และยังช่วยอาการเกร็งตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องบรรเทาลงได้ แก้ปวดเบ่ง
    •   -   แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิด หรืออหิวาตกโรค)  เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ใช้ใบ 2-3 ใบเคี้ยวๆ ระงับกลิ่นปาก แก้ฝี เป็นยาล้างแผล ดูดหนองและถอนพิษบาดแผล แก้เหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวดเนื่องจากเล็บขบ แก้แพ้ยุง
    • ผลอ่อน - แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน ระงับกลิ่นปาก แก้บิดมูกเลือด มีไวตามินซีมาก เป็นกันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด) บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ
    • ผลสุก - มีสารเพ็กตินอยู่มาก ใช้รับประทานเป็นยาระบายได้
    • ราก - แก้น้ำเหลืองเสีย เป็นฝี แผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล
    วิธีและปริมาณที่ใช้
    1. ใช้ฝรั่งแก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน
      วิธีที่ 1 รับประทานสด
      - ใช้ส่วนที่เป็นยอดอ่อนๆ 7 ยอด หรือใบเพสลาด 6-8 ใบ ค่อยๆ เคี้ยวให้ละเอียดทีละน้อย ค่อยๆ กลืน แล้วดื่มน้ำตาม ถ้าเคี้ยวทีละมากๆ จะรู้สึกฝาดขม ถ้าเคี้ยวกับเกลือเล็กน้อย จะช่วยให้รับประทานง่ายขึ้น
      วิธีนี้ได้ผลมาก เพราะรับประทานทั้งน้ำและเนื้อของใบฝรั่งจนหมด ได้ตัวยาครบถ้วน
      - อาจรับประทานผลดิบ ครั้งละ 1-2 ผล โดยเคี้ยวก่อนค่อยกลืนก็ได้
      วิธีที่ 2 ต้มดื่ม
      - ใช้ใบเพสลาด 5-10 ใบ หรือเปลือกต้นสดๆ 1 ฝ่ามือ ใส่น้ำ 2 ถ้วยแก้ว ต้มเดือดนาน 5-30 นาที เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ รับประทานครั้งละ ½ - 1 แก้ว วันละ 2 ครั้งรับประทานตามอาการหนักเบา เวลาดื่มเติมเกลือเล็กน้อยทำให้ดื่มง่ายขึ้น
      วิธีที่ 3 ชงน้ำร้อนดื่ม
      - เอายอดฝรั่ง  7 ยอด หรือใบฝรั่ง 6-10 ใบ ชงกับน้ำเดือด 2 แก้ว ปิดฝาไว้ 15-20 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว ดื่มบ่อย ๆ
      วิธีที่ 4 ต้มคั้นเอาน้ำ
      - เอาใบฝรั่ง  6-10 ใบ ตำให้ละเอียด ผสมน้ำสุก 3-5 ช้อนแกง ต้มให้เข้ากัน กรองด้วยผ้าขาว เอาน้ำผสมเกลือเล็กน้อยดื่มจนหมด
      วิธีที่ 5 บดผงรับประทาน
      - ใช้ผลฝรั่งที่เกือบแก่ หั่นเป็นแว่นบาง ๆ ตากแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ½-1ช้อนชา โดยผสมน้ำ วิธีนี้รสชาติดีเด็กดื่มได้ง่าย
    2.  ใช้เป็นยาห้ามเลือด               
      -     ใช้ใบสดล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลที่มีเลือดออก เลือดจะหยุด
    3. ช่วยระงับกลิ่นปาก
      -   ใช้ใบสด 3-5 ใบ เคี้ยวและคายกากออกทิ้ง
    4. เป็นยากันหรือแก้โรคลักปิดลักเปิด ฝรั่งมีไวตามินซีมาก
      -   ใช้ผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก รับประทานเป็นผลไม้ จะเป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงเหงือกและ
      ฟัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาท้องลำไส้ไม่ให้ผูก ช่วยบำรุงผิวพรรณ คนที่ชอบเป็นฝีเป็นแผลพุพอง ถ้ารับประทานฝรั่งบ่อย ๆ ก็ช่วยบรรเทาลงไปได้
      หมายเหตุ                                         
             ฝรั่งที่ควรปลูก ควรเป็นฝรั่งขี้นก เพราะมีโรคน้อย มีเพลี้ยแป้งน้อย ดูแลรักษาง่าย ที่สำคัญมีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุด มีไวตามินซีสูงกว่าฝรั่งพันธุ์อื่น ๆ
      สารเคมี
            ใบ  มีน้ำมันหอมระเหย  ซึ่งประกอบด้วย Caryophyllene cineol, นอกจากนี้ยังมี Tannin, sesquiter penoids และ triterpenoid compounds. 
            ผล  มี fixed oil 6%  Volatile oil 0.365%  tannin 8-15%  beta-sitosterol, quercetin, Vitamin C (330 mg.%), Arabinose,
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ
    เพกา
     
    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Oroxylum indicum  (L.) Kurz
    ชื่อสามัญ :   Broken Bones Tree
    วงศ์ :   Bignoniaceae
    ชื่ออื่น :  มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (เหนือ) ลิ้นฟ้า (เลย) หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง (ฉาน-เหนือ) กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เบโก (มาเล-นราธิวาส)
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้น สูง 3-12 เมตรแตกกิ่งก้านน้อย ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่ เรียงตรงข้ามรวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอดก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หนาย่น บานกลางคืน ผลเป็นฝัก รูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในเมล็ดแบน สีขาว มีปีกบางโปร่งแสง
    ส่วนที่ใช้ :ราก เปลือกต้น ฝักอ่อน เมล็ด
    สรรพคุณ :
    • ราก 
      -  มีรสฝาดเย็น ขมเล็กน้อย ใช้บำรุงธาตุ ทำให้เกอดน้ำย่อยอาหาร เจริญอาหาร
      -   แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต
      -   ใช้ภายนอก รากฝนกับน้ำปูนใส ทาแก้อาการอักเสบ ฟกบวม
    • เพกาทั้ง 5  -  คือการใช้ส่วนราก ใบ ดอก ผล ต้น รวมกันจะมีรสฝาดเย็น มีสรรพคุณสมานแผลก้อักเสบบวม แก้ท้องร่วง บำรุงธาตุ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้เพื่อลม เพื่อเลือด
    • ฝักอ่อน  - รับประทานเป็นผัก ช่วยในการขับผายลม บำรุงธาตุ
    • เมล็ด  - ใช้เป็นยาถ่าย เมล็ดแก่ใช้เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ
    • เปลือกต้น -รสฝาดเย็น และขมเล็กน้อย เป็นยาสมานแผล ทำน้ำเหลืองให้เป็นปกติ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับเลือดดับพิษโลหิต บำรุงโลหิต แก้เสมหะจุกคอ ขับเสมหะ แก้บิด แก้อาการจุกเสียด
    • เปลือกต้นตำผสมกับสุรา
      -     ใช้เป็นยากวาดประซะพิษซางเด็กชนิดเม็ดเหลือง
      -      แก้ละองขึ้นในปาก คอลิ้น แก้ละอองไข้
      -     ใช้ฉีดพ่นตามตัวคนคลอดบุตรที่ทนการอยู่ไฟไม่ได้ ทำให้ผิวหนังชา
      -     ทารอบ ๆ ฝี แก้ปวดฝีทาแก้อาการฟกบวมอักเสบ
    • ปลือกต้นสดตำผสมกับน้ำส้ม  ซึ่งได้จากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์
      -    รับประทานขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้บิด แก้อาเจียนไม่หยุด
      -    รับประทานแก้เสมหะจุกคอ (ขับเสมหะ) ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ บำรุงโลหิต
      นอกจากนี้เปลือกเพกา ใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น แก้เบาหวาน แก้โรคมานน้ำ เปลือกต้มรวมกับสมุนไพรหลายชนิด แยกเอาน้ำมันมาทาแก้
      -     แก้องคสูตร
      -    แก้ริดสีดวงทวารหนัก ทวารเบา
      -    แก้ฟกบวม แก้คัน
    สารเคมี
                ราก      มี D-Galatose, Baicalein, Sitosterols
                แก่น     มี Prunetin, B- sitosterols
                ใบ        มี Aloe emodin
                เปลือก  มี  Baicalein, Chrysin, 6-Methylbaicalein
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ
    ฟ้าทะลายโจร
     
    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees
    ชื่อสามัญ :    Kariyat , The Creat
    วงศ์ :   ACANTHACEAE
    ชื่ออื่น :  หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-70 ซม. ทุกส่วนมีรสขม กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ปากล่างมี 2 กลีบ ผล เป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล แตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
    ส่วนที่ใช้ :  ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน
    สรรพคุณ
         มี 4 ประการคือ
    1. แก้ไข้ทั่ว ๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
    2.  ระงับอาการอักเสบ  พวกไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี
    3. แก้ติดเชื้อ พวกทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ
    4. เป็นยาขมเจริญอาหาร         
         และการที่ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณ 4 ประการนี้ จึงชวนให้เห็นว่าตัวยาต้นนี้ เป็นยาที่สามารถนำไปใช้กว้างขวางมาก จากเหตุผลที่ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้
    ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
           ใบฟ้าทะลายโจร มีสารเคมีประกอบอยู่หลายประเภท แต่ที่เป็นสาระสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ สารกลุ่ม Lactone คือ
    1. สารแอดโดรกราโฟไลด์ (andrographolide)
    2. สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (neo-andrographolide)
    3. 14-ดีอ๊อกซี่แอนโดรกราโฟไลด์ (14-deoxy-andrographolide)
           ฟ้าทะลายโจรเป็นยาเก่าแก่ของประเทศจีน ที่ใช้ในการแก้ฝี แก้อักเสบ และรักษาโรคบิด การวิจัยด้านเภสัชวิทยาพบว่า ฟ้าทะลายโจรสามารถยับยั้ง เชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเป็นหนองได้ และมีการศึกษาวิจัยของโรงพยาบาลบำราศนราดูร ถึงฤทธิ์ในการรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิด แบคทีเรีย เปรียบเทียบกับ เตตราซัยคลิน ในผู้ป่วย 200 ราย อายุระหว่าง 16-55 ปี ได้มีการเปรียบเทียบระยะเวลาที่ถ่ายอุจจาระเหลว จำนวนอุจจาระเหลว น้ำเกลือที่ให้ทดแทนระหว่างฟ้าทะลายโจรกับเตตราซันคลิน พบว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ลดจำนวนอุจจาระร่วงและจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนอย่างน่าพอใจ แม้ว่าจากการทดสอบทางสถิติ จะไม่มีความแตกต่างโดยในสำคัญก็ตาม ส่วนการลดเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระ ฟ้าทะลายโจรไม่ได้ผลดีเท่าเตตราซัยคลิน นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลชุมชนบางแห่งได้ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาอาการเจ็บคอได้ผลดีอีกด้วย มีฤทธิ์เช่นเดียวกับเพ็นนิซิลินเมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบัน เท่ากับเป็นการช่วยให้มีผู้สนใจทดลองใช้ยานี้รักษาโรคต่าง ๆ มากขึ้น
    วิธีและปริมาณที่ใช้
           1.      ถ้าใช้แก้ไข้เป็นหวัด ปวดหัวตัวร้อน
    ใช้ใบและกิ่ง 1 กำมือ (แห้งหนัก 3 กรัม สดหนัก 25 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2
    ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
           2.      ถ้าใช้แก้ท้องเสีย ท้องเดิน เป็นบิดมีไข้
    ใช้ทั้งต้นหรือส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจร ผึ่งลมให้แห้ง หั่นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กำมือ
    (หนักประมาณ 3-9 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มตลอดวัน
    ตำรับยาและวิธีใช้
           1.      ยาชงมีวิธีทำดังนี้
              -     อาใบสดหรือแห้งก็ได้ ประมาณ 5-7 ใบ แต่ใบสดจะดีกว่า
              -     เติมน้ำเดือดลงจนเกือบเต็มแก้ว
             -      ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง หรือพอยาอุ่น แล้วรินเอามาดื่ม ขนาดรับประทาน
    ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร, ก่อนนอน
          2.      ยาเม็ด (ลูกกลอน) มีวิธีทำดังนี้
             -     เด็ดใบสดมาล้างให้สะอาดผึ่งในที่ร่ม ห้ามตากแดด ควรผึ่งในที่มีลมโกรก ใบจะได้
    แห้งเร็ว
            -      บดเป็นผงให้ละเอียด
            -      ปั้นกับน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม เป็นเม็ดขนาดเท่าเม็ดถั่วเหลือง (หนัก 250 มิลลิกรัม)
    แล้วผึ่งลมให้แห้ง เพราะถ้าปั้นรับประทานขณะที่ยังเปียกอยู่จะขมมาก ขนาดรับประทานครั้งละ  4-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร, ก่อนนอน
          3.      แค๊ปซูล มีวิธีทำคือ
                แทนที่ผงยาที่ได้จะปั้นเป็นยาเม็ด กลับเอามาใส่ในแค๊ปซูล เพื่อช่วยกลบรสขมของยา แค๊ปซูล ที่ใช้ ขนาดเบอร์ 2 (ผงยา 250 มิลลิกรัม) ขนาดรับประทานครั้งละ 3-5 แค๊ปซูล วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร ก่อนนอน
          4.      ยาทิงเจอร์หรือยาดองเหล้า
               เอาผงแห้งใส่ขวด แช่สุราที่แรง ๆ เช่น สุราโรง  40 ดีกรี ถ้ามี alcohol ที่รับประทานได้ (Ethyl alcohol) จะดีกว่าเหล้า แช่พอให้ท่วมยาขึ้นมาเล็กน้อย ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดวันละ  1 ครั้ง พอครบ 7 วัน จึงกรองเอาแต่น้ำ เก็บไว้ในขวดให้สะอาดปิดสนิท รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ (รสขมมาก) วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร
          5.      ยาผงใช้สูดดม
               คือเอายาผงที่บดละเอียด มาใส่ขวดหรือกล่องยา ปิดฝาเขย่าแล้วเปิดฝาออก ผงยาจะเป็นควันลอยออกมา สูดดมควันนั้นเข้าไป ผงยาจะติดที่คอทำให้ยาไปออกฤทธิ์ที่คอโดยตรง ช่วยลดเสมหะ และแก้เจ็บคอได้ดี วิธีที่ดีกว่านี้คือวิธีเป่าคอ กวาดคอ หรือรับประทานยาชง ตรงที่คอจะรู้สึกขมน้อยมาก ไม่ทำให้ขยาดเวลาใช้ ใช้สะดวกและง่ายมาก ประโยชน์ที่น่าจะได้รับเพิ่มก็คือ ผงยาที่เข้าไปทางจมูก อาจจะช่วยลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อที่จมูกด้วย
    ขนาดที่ใช้
            สูดดมบ่อย ๆ วันละหลาย ๆ ครั้ง ถ้ารู้สึกคลื่นไส้ให้หยุดยาไปสักพัก จนความรู้สึกนั้นหายไป จึงค่อยสูดใหม่
    ข้อควรรู้เกี่ยวกับตำรับยา
           สารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) สารในต้นฟ้าทะลายโจร ละลายในแอลกอฮอร์ได้ดีมาก ละลายในน้ำได้น้อย ดังนั้นยาทิงเจอร์ หรือยาดองเหล้าฟ้าทะลายโจร จึงมีฤทธิ์แรงที่สุด ยาชงมีฤทธิ์แรงรองลงมา ยาเม็ดมีฤทธิ์อ่อนที่สุด
    ข้อควรระวัง
          บางคนรับประทาน ยาฟ้าทะลายโจร จะเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ปวดเอว เวียนหัว แสดงว่าแพ้ยา ให้หยุดยา และเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น หรือลดขนาดรับประทานลง
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ
    มะเดื่อไทย
     
    หมายเหตุ :  มะเดื่อไทย  Ficus spp. ในที่นี้ขอใช้มะเดื่ออุทุมพรเป็นข้อมูล
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus racemosa  L.
    วงศ์ :   Moraceae
    ชื่ออื่น :  เดื่อเกลี้ยง (ภาคเหนือ มะเดื่อเกลี้ยง มะเดื่อ มะเดื่อชุมพร กูแซ เดื่อน้ำ (ภาคใต้) มะเดื่อน้ำ เดื่อเลี้ยง มะเดื่อหอม หมากเดื่อ (ภาคอีสาน) มะเดื่อดง
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางสูงประมาณ 10–20 เมตร ลำต้นเกลี้ยงสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเทา กิ่งอ่อนสีเขียว หรือสีเขียวในน้ำตาล กิ่งแก่มีสีน้ำตาลเกลี้ยง หรือมีขนปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ ใบบาง รูปไข่หรือรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐานใบมนหรือกลม ผิวใบเกลี้ยง หรือมีขน ไม่หลุดร่วงง่าย ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอก มีก้านเกิดเป็นกลุ่มบนกิ่งสั้นๆ ที่แตกออกจากลำต้น และกิ่งขนาดใหญ่ ผล รูปกลมแป้นหรือรูปไข่ มีขน ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น เมื่อฉีกออกจะพบเกสรเล็กๆ อยู่ภายในผล ผลสุกมีสีแดง
    ส่วนที่ใช้ : 
    ผลอ่อน เปลือกต้น ราก
    สรรพคุณ :
    • ผลอ่อน - รับประทานเป็นอาหาร
    • เปลือกต้น  
      -
      มีรสฝาด
      -รับประทานแก้ท้องร่วง
      -ชะล้างบาดแผล เป็นยาสมานดี
    • ราก                 
      -
      เป็นยาแก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้หัว ไข้กาฬ ไข้พิษทุกชนิด
      -
      กล่อมเสมหะ และโลหิต
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ
    โมกหลวง
     
    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Holarrhena pubescens  Wall. ex G. Don
    วงศ์ :   APOCYNACEAE
    ชื่ออื่น :  ซอทึ, พอแก, ส่าตึ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); พุด (กาญจนบุรี); พุทธรักษา (เพชรบุรี); มูกมันน้อย, มูกมันหลวง, มูกหลวง, โมกเขา, โมกทุ่ง, โมกหลวง (ภาคเหนือ); โมกใหญ่ (ภาคกลาง); ยางพูด (เลย); หนามเนื้อ (เงี้ยว-ภาคเหนือ)
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม กว้าง 3.5-14 ซม. ยาว 7-30 ซม. ก้านใบยาว 0.4-1.2 ซม. แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ รูปรีหรือขอบขนาน โคนใบป้านหรือรูปลิ่ม ปลายเรียวแหลม หรือเป็นติ่งแหลม ขอบเรียบ ผิวใบด้านบนและด้านล่างเป็นมัน เกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม ดอกช่อแบบช่อกระจุก ดอกย่อยมีก้าน ดอกย่อยที่ด้านข้างเท่ากัน  มีขนาดเล็กกว่าดอกย่อยที่ตรงกลางช่อ ช่อดอกยาว 4-14 ซม. ก้านช่อยาว 0.9-3.5 ซม. หรือไม่มีก้านช่อ ทุกส่วนเกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม ดอกย่อยประกอบด้วย ก้านดอกย่อยสั้นมากหรือไม่มีก้าน ก้านดอกย่อย วงกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก ปลายของแต่ลุแฉกแหลม วงกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปดอกเข็ม ปลายแยก 5 แฉก กว้างประมาณ 0.4-0.8 ซม. ยาวประมาณ 0.7-2.3 ซม. สีขาว รูปขอบขนาน ปลายมน เกสรเพศจำนวน 5 อัน แยกกัน เกสรเพศเมีย 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ ผลแตกแนวเดียว รูปแถบเรียวยาว กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาว 37-45 ซม. ก้านผลยาว 1.6-2.5 ซม. เมล็ดจำนวนมาก มีปีกบาง
    ส่วนที่ใช้ :
    เปลือกต้น ใบ ผล เมล็ดใน กระพี้ แก่น ราก
    สรรพคุณ :
    • เปลือกต้น -แก้บิด แก้ไข้พิษ
    • ใบ -ขับไส้เดือนในท้อง
    • ผล -ขับโลหิต
    • เมล็ดใน -แก้ไข้
    • กระพี้ -ฟอกโลหิต
    • แก่น -แก้โรคกลาก
    • ราก -ขับโลหิต
    วิธีและประมาณที่ใช้
          
    แก้บิด แก้ไข้พิษ
          ใช้เปลือกต้นโมกหลวง ครึ่งกำมือ (6-10 กรัม) ผสมกับผลมะตูมแห้ง อย่างละเท่า ๆ กัน รวมกับเปลือกรากทับทิมครึ่งส่วน ตำให้เป็นผง ผสมน้ำผึ้ง ทำเป็นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 1-2 กรัม (ของยาที่ผสมแล้ว) ประมาณ 3-5 เมล็ดพุทรา หรือใช้ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ
    โมกมัน
     
    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Wrightia pubescens R.br.
    วงศ์ :   Apocynaceae
    ชื่ออื่น :  โมก, มูก (ภาคกลาง); มูกเกื้อ (จันทบุรี); โมกมัน (ชลบุรี, กาญจนบุรี, นครราชสีมา)
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางผลัดใบ สูง 8-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาอ่อนถึงน้ำตาล ลักษณะคล้ายไม้ก๊อก ถ้าตัดทุกส่วนที่ยังสดอยู่จะมีน้ำยางสีขาวเหนียวๆ ซึมออกมา เรือนยอดรูปทรงกลม ทึบ กิ่งและยอดอ่อนมีขนนุ่มหนาแน่น ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดตรงข้ามเป็นคู่ๆ ทรงใบรูปรีๆ รูปไข่และไข่กลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 7-18 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบบาง มีขนนุ่มทั้งสองด้าน บางทีด้านหลังใบของใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ มี 8-15 คู่ เส้นใบย่อยเห็นไม่ค่อยชัด ดอก สีขาวอมเหลือง บิดเวียนเป็นรูปกังหัน ออกรวมกันเป็นช่อแบบเป็นพวงกระจายตามปลายกิ่ง ช่อยาว 4-6 ซม. มีหลายดอก ดอกเมื่อเริ่มบานใหม่ๆ ภายนอกสีเขียวอ่อน ส่วนด้านในสีขาวอมเหลือง เมื่อดอกใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแกมเหลืองหรือม่วงแดง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2.5 ซม. กลีบฐานดอกเชื่อมติดกันเป็นกรวยที่โคนกลีบ ปลายแยกเป็นแฉกมนๆ 5 แฉก มีขนแน่นทั้งสองด้าน โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวถึง 10 มม. ปลายแยกเป็นกลีบรูปขอบขนาน 5 กลีบ ในดอกตูมกลีบจะบิดเป็ฯเกลียวตามเข็มนาฬิกา เมื่อดอกบานกลีบจะบิดเวียนกันเป็นรูปกังหัน แต่ละกลีบยาว 8-16 มม. และมีระยางพิเศษสีส้มคล้ำจนถึงสีม่วงอยู่ถัดจากชั้นกลีบดอกเข้าไป ระยางนี้สั้นกว่าเกสรตัวผู้ เกสรตัวผู้ มี 5 อัน ติดอยู่ใกล้ๆ ปากหลอดกลีบดอกด้านใน ก้านเกสรสั้น ส่วนอับเรณูสีขาว รังไข่ รูปรีๆ ภายในแบ่งเป็น 2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนมาก ผล เป็นฝักรูปทรงกระบอกยาว 17-35 ซม. โตวัดผ่าศูนย์กลาง 8-13 ซม. มีร่องระหว่างกลางตามยาวฝัก ทำให้ฝักดูเป็นสองพู เมื่อฝักแก่จัดจะแตกอ้าออกตามแนวร่องนี้ ผิวฝักแข็งขรุขระไปด้วยตุ่มช่องระบายอากาศ เมล็ด รูปรีๆ คล้ายข้าวเปลือก ปลายข้างหนึ่งจะมีขนสีขาวเป็นพู่ สามารถปลิวไปตามลมได้ไกลๆ
    ส่วนที่ใช้ :
     ใบ ดอก ผล เปลือก แก่น ราก กระพี้
    สรรพคุณ :
    • ใบ-ขับเหงื่อ
    • ดอก -เป็นยาระบาย
    • ผล  -แก้โรครำมะนาด
    • เปลือก -แก้โรคคุดทะราด
    • กระพี้  -บำรุงถุงน้ำดี
    • แก่น -ขับโลหิตเสีย
    • ราก  -ขับลม

    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch