หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/10

    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ

    กระทือ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Zingiber zerumbet  (L.) Smith.

    วงศ์  Zingiberaceae

    ชื่ออื่น :  กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ล้มลุก ลำต้นเหนือดินกลม สูง 0.9-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ต้นโทรมในหน้าแล้งแล้วงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรูยาว กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าขึ้นมา ช่อดอกรูปทรงกระบอก มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกบานไม่พร้อมกัน ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง เมล็ดสีดำ
    ส่วนที่ใช้ : ราก เหง้า ต้น ใบ ดอก หัว หรือ เหง้าแก่สด  เก็บใบช่วงฤดูแล้ง

    สรรพคุณ :

    • ราก  - แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เคล็ดขัดยอก

    • เหง้า
      - บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด บิดป่วงเบ่ง
      - แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะ
      - แก้จุกเสียด แก้เสมหะเป็นพิษ
      - ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร
      - เป็นยาบำรุงกำลัง
      - แก้ฝี

    • ต้น
      - แก้เบื่ออาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารมีรส
      - แก้ไข้

    • ใบ
      - ขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ
      - แก้เบาเป็นโลหิต

    • ดอก
      - แก้ไข้เรื้อรัง
      - ผอมแห้ง ผอมเหลือง
      - บำรุงธาตุ แก้ลม

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง บิด
      โดยใช้หัวหรือเหง้ากระทือสด ขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ
      บางท้องถิ่นใช้หัวกระทือประกอบอาหาร เนื้อในมีรสขมและขื่นเล็กน้อย ต้องหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนานๆ
      กระทือเป็นพืชที่มีสารอาหารน้อย

    สารเคมี :
              Afzelin, Camphene, Caryophyllene
              น้ำมันหอมระเหยมี Zerumbone, Zerumbone Oxide

    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ

    กระชาย

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.

    ชื่อสามัญ  Kaempfer

    วงศ์   Zingiberaceae

    ชื่ออื่น :  กระชายดำ กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม) จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ระแอน (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ละแอน (ภาคเหนือ)  ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ล้มลุก มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ รากอวบ รูปทรงกระบอกหรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-10 ซม. ออกเป็นกระจุก ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะตัว ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นใบ มี 2-7 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี กว้าง 5-12 ซม. ยาว 12-50 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ เส้นกลางใบ ก้านใบ และกาบใบด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างนูนเป็นสัน ก้านใบเรียบ ยาว 7-25 ซม. กาบใบสีชมพู ยาว 7-25 ซม. ระหว่างก้านใบและกาบใบมีลิ้นใบ ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด ยาวประมาณ 5 ซม. แต่ละดอกมีใบประดับ 2 ใบ สีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน รูปใบหอก กว้างประมาณ 8 มม. ยาว 3.5-4.5 ซม. กลีบเลี้ยงสีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.7 ซม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 ซม. ปลายแยกเป็น 3 กลีบ รูปใบหอก ขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่ 1 กลีบ กว้างประมาณ 7 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. อีก 2 กลีบ ขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 5 มม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน แต่ 5 อัน เปลี่ยนไปมีลักษณะเหมือนกลีบดอก โดย 2 กลีบบนสีชมพู รูปไข่กลับ ขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 1.2 ซม. ยาวประมาณ 1.7 ซม. อีก 3 กลีบล่างสีชมพูติดกันเป็นกระพุ้ง กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 2.7 ซม. ปลายแผ่กว้างประมาณ 2.5 ซม. มีสีชมพูหรือม่วงแดงเป็นเส้นๆ อยู่เกือบทั้งกลีบโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกระเปาะและปลายกลีบ มีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 1 อัน ก้านชูอับเรณูหุ้มก้านเกสรเพศเมีย ผลแก่แตกเป็น 3 เสี่ยง เมล็ดค่อนข้างใหญ่

    สรรพคุณ :

    • เหง้าใต้ดิน - มีรสเผ็ดร้อนขม แก้ปวดท้อง มวนในท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร

    • เหง้าและราก - แก้บิดมูกเลือด เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ใช้เป็นยาภายนอกรักษาขี้กลาก

    • ใบ - บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆ

    วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ :

    1. แก้ท้องร่วงท้องเดิน
      ใช้เหง้าสด 1-2 เหง้า ตำหรือฝนเหง้าที่ปิ้งไฟแล้วกับน้ำปูนใส หรือคั้นให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง

    2. แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดมวนในท้อง
      ใช้เหง้าและราก ประมาณครึ่งกำมือ (สดหนัก 5-10 กรัม, แห้ง 3-5 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน

    3. แก้บิด
      ใช้เหง้าสด 2 เหง้า บดให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำดื่ม

    4. เป็นยาบำรุงหัวใจ
      ใช้เหง้าและรากกระชายปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง ใช้ผงแห้ง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ½ ถ้วยชา รับประทานครั้งเดียว

    5. ยารักษาริดสีดวงทวาร
      ใช้เหง้าสด 60 กรัม ประมาณ 6-8 เหง้า ผสมกับเนื้อมะขามเปียก 60 กรัม เกลือแกง 3 ช้อนแกง ตำแล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว รับประทานครั้งละ ½ แก้ว ก่อนนอน รับประทานติดต่อกัน 1 เดือน ริดสีดวงทวารควรจะหาย

    สารเคมี :
              ทั้งส่วนรากและส่วนต้น ประกอบด้วยสาร alpinetin, pinocembrin, cardamonin,boesenbergin A, pinostrobin และน้ำมันหอมระเหย และในส่วนรากยังพบ chavicinic acid อีกด้วย

    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ

    กระท้อน

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr.

    ชื่อสามัญ  Sentul, Santol, Red sentol, Yellow sentol

    วงศ์  MELIACEAE

    ชื่ออื่น :  เตียน ล่อน สะท้อน (ภาคใต้) มะต้อง (ภาคเหนือ,อุดรธานี)  มะติ๋น (ภาคเหนือ) สตียา สะตู (มาเลย์-นราธิวาส) สะโต (มาเลย์-ปัตตานี) 

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ
    ใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ ผล กลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด ออกดอกเดือน มกราคม -มีนาคม และเป็นผลเดือน มีนาคม - พฤษภาคม
    ส่วนที่ใช้ : ใบสด เปลือก ผล ราก

    สรรพคุณ :

    • บสด  -   ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้

    • เปลือก  -  รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน

    • ผลฝาดสมาน เป็นอาหาร

    • รากเป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ

    • ต้น - เป็นไม้ใช้สอย

    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ

    ทับทิม

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Punica granatum  L.

    ชื่อสามัญ  Pomegranate , Punica apple

    วงศ์   Punicaceae

    ชื่ออื่น :   พิลา (หนองคาย) พิลาขาว มะก่องแก้ว (น่าน) มะเก๊าะ (เหนือ) หมากจัง (แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น หรือพรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลักษณะผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือ มีหนามแหลมยาวขึ้น ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมน แคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบ เกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 - 1.8 ซม. ยาว ประมาณ 2.5 - 6 ซม. ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด
    ส่วนที่ใช้ :  ใบ ดอก เปลือกผลแห้ง เปลือกต้นและเปลือกราก เมล็ด

    สรรพคุณ :
    • ใบ - อมกลั้วคอ ทำยาล้างตา

    • ดอก - ใช้ห้ามเลือด

    • เปลือกและผลแห้ง
      - เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน แก้บิด
      - แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด

    • เปลือกต้นและเปลือกราก
      - ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด , พยาธิตัวกลม

    • เมล็ด - แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    1. ถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิตัวกลม ได้ผลดี
      ใช้เปลือกสดของราก , ต้น ที่เก็บใหม่ๆ 60 กรัม หรือประมาณ 1/2 กำมือ เติมกานพลูหรือกระวานลงไปเล็กน้อย เพื่อแต่งรส ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (30 ซี.ซี.) หลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง รับประทานยาถ่าย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะตาม ควรอดอาหารก่อนรับประทานยา
       

    2. ยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค)
      ใช้เปลือกผล ตากแดดให้แห้ง ประมาณ 1/4 ของผล ฝนกับน้ำฝนหรือน้ำปูนใสให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง หรือต้มกับน้ำปูนใส แล้วดื่มน้ำที่ต้มก็ได้
       

    3. บิด (มีอาการปวดเบ่ง และมีมูก หรืออาจมีเลือดด้วย)
      ใช้เปลือกผลแห้งของทับทิม ครั้งละ 1 กำมือ (3-5 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 2 ครั้ง อาจใช้กานพลูหรืออบเชยแต่งกลิ่นให้น่าดื่มก็ได้

    สารเคมี
               เปลือกผลมีรสฝาด เนื่องจากมี tannin 22-25% gallotannic acid สารสีเขียวอมเหลือง รากมีสารอัลคาลอยด์ ชื่อ pelletierine และอนุพันธ์ของ pelletierine
    คุณค่าด้านอาหาร
              ทับทิมใช้รับประทานเป็นผลไม้รสหวาน หรือเปรี้ยวหวาน มีวิตามินซี และแร่ธาตุหลายตัว ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และบำรุงฟันให้แข็งแรง

    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ

    บานไม่รู้โรยดอกขาว

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Gomphrena globosa  L.

    ชื่อสามัญ  Everlasting, Globe Amaranth

    วงศ์  AMARANTHACEAE

    ชื่ออื่น :  กุนนีดอกขาว, กุนหยินขาว, สามเดือนดอกขาว, ตะล่อม, สามปีบ่อเหยี่ว

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงราว 2 ฟุต ลำต้นตั้งตรง กิ่งมีขนเล็กน้อย ใบเดี่ยวรูปรีปลายแหลม ขอบเรียบ มีขนนุ่มทั้งใบ ดอกเป็นกระจุกทรงกลมมีสีขาว แดง ชมพู นิยมใช้ชนิดดอกขาวทำยา ปลูกเป็นไม้ประดับ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
    ส่วนที่ใช้ :  ดอก ทั้งต้น และราก
    ดอก เก็บเมื่อดอกแก่ เอามาตากแห้ง เอาก้านดอกออกเก็บไว้ใช้ ดอกแห้งมีลักษณะกลมหรือยาวรี ส่วนมากออกเป็นช่อเดี่ยว แต่มีบางครั้งอาจติดกัน 2-3 ช่อ ดอกที่ดีคือดอกที่มีขนาดโตๆ

    สรรพคุณ :

    • ดอก - รสจืด ชุ่มสุขุม
      ใช้บำรุงตับ แก้ตาเจ็บ แก้ไอระงับหอบหืด ขับปัสสาวะ แก้ปวดศีรษะ บิด ไอกรน แผลผื่นคัน ฝีประคำร้อย

    • ราก -  ขับปัสสาวะ แก้พิษต่างๆ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • ดอกแห้ง - ใช้หนัก 3-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    • ทั้งต้น  - ใช้หนัก 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    • ใช้ภายนอก - ใช้ตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้าง

    ตำรับยา

    1. แก้หอบหืด
      ใช้ดอก 10 ดอก ต้มน้ำผสมเหล้าเล็กน้อย ดื่มวันละ 3 ครั้ง

    2. แก้บิดมูก
      ใช้ดอก 10 ดอก ต้มน้ำผสมเหล้าเล็กน้อยดื่ม

    3. แก้ปัสสาวะขัด
      ใช้ดอก 3-10 กรัม ต้มน้ำดื่มบ่อยๆ

    4. แก้เด็กเป็นโรคลมชัก
      ใช้ดอก 10 ดอก รวมกับตั๊กแตนแห้ง (oxya chinensis thumb.) 7 ตัว ตุ๋นรับประทาน

    5. แก้เด็กตัวร้อนตาเจ็บ
      ใช้ดอกสด 10-14 ดอก ต้มน้ำดื่ม หรือผสมกับฟังเชื่อมแห้ง ต้มน้ำดื่ม

    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ

    เปล้าน้อย

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Croton stellatopilosus Ohba
    ชื่อพ้อง
    : Croton sublyratus  Kurz

    วงศ์  EUPHORBIACEAE

    ชื่ออื่น :  เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้น สูง 1-4 เมตร ผลัดใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็กแยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกสีนวล  ออกดอกเมื่อใบแก่ ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู
    ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ดอก ผล เปลือก แก่น

    สรรพคุณ :

    •   -   ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคกระเพาะ บำรุงโลหิตประจำเดือน
      มีสาร
      disterpene alcohol (CS-684 หรือ plaunotol) มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น แผลในกระเพาะ

    • ใบ ราก
      - แก้คัน รักษามะเร็งเพลิง
      - รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
      - แก้พยาธิต่างๆ ริดสีดวงทวาร
      - แก้ไอเป็นโลหิต
      - เป็นยาปฏิชีวนะ

    • ดอก - ขับพยาธิ ฆ่าพยาธิ

    • ผล - แก้โรคน้ำเหลืองเสีย

    • เปลือก - บำรุงธาตุ

    • แก่น - ขับโลหิต

    วิธีใช้
              นำใบ ค่อนข้างใบอ่อน ตากแห้ง บดละเอียด ต้มหรือชงน้ำดื่ม (ต้นเปล้าน้อยที่ปลูกมีอายุ 2 ปี ตัดใบนำมาใช้ได้ เก็บใบได้ปีละ 2 ครั้ง)

    ข้อเสียของยาชงนี้
              ทำให้คนไข้ได้ตัวยาไม่สม่ำเสมอ ตัวยาไม่แน่นอน และได้ตัวยาอื่นๆ เจือปนด้วย ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาไม่สมบูรณ์ มีอาการข้างเคียง
              นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบวิธีการสกัดตัวยาเปล้าน้อยบริสุทธิ์ได้คือ  Plaunotol ออกมา

    ขนาดรับประทานที่เหมาะสม คือ 3x8 มก./วัน ประมาณ 8 อาทิตย์ อาการคนไข้ดีขึ้น 80-90% และเมื่อส่องดูแผลพบว่าได้ผล 60-80%

    อาการข้างเคียง น้อย มีเพียง 1-2 ราย ที่มีอาการผื่นขึ้น ท้องเสีย แน่นท้อง ท้องผูก Plaunotol ดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ดี ส่วนใหญ่ถูก Oxidise ในตับ และขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ

    ข้อดีของตัวยาบริสุทธิ์ Plaunotol คือ

    1. มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ได้เป็นอย่างดี

    2. มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อบุลำไส้ที่เสียไป ทำให้แผลหายเร็วขึ้น

    3. มีฤทธิ์ลดปริมาณการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารน้อยลง และทำให้ระบบป้องกัน การดูดซับกรดของเนื้อเยื่อบุกระเพาะซึ่งถูกทำลายด้วยสารบางชนิด กลับคืนดี

    4. มีความเป็นพิษต่ำ
      นับว่าสมุนไพรเปล้าน้อยนี้ มีตัวยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะได้อย่างดีเยี่ยม เป็น Broad Spectrum antiseptic ulcer drug

    สารเคมี
              (E.Z,E) -7- hydroxymethyl -3, 11, 15-trimethy-2,6,10,14-hexadecate traen-1-01 มีชื่อว่า CS-684 หรือ Plaunotol, Plaunotol A,B,C,D,E

    หมายเหตุ
              การขยายพันธุ์ ควรได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือรากไหล จะได้พันธุ์แท้ เพาะจากเมล็ดมีการกลายพันธุ์ได้


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch