หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/9

    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    ไพล

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.

    ชื่อพ้อง  Z.purpureum  Roscoe

    วงศ์  Zingiberaceae

    ชื่ออื่น :  ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ว่านไฟ (ภาคกลาง) มิ้นสะล่าง(ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองถึงเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ซึ่งประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 18-35 เซนติเมตร ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลเป็นผลแห้งรูปกลม
    ส่วนที่ใช้
    เหง้าแก่จัด เก็บหลังจากต้นไพลลงหัวแล้ว

    สรรพคุณ :

    • หง้า 
      -  เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
      - แก้บิด ท้องเดิน ขับประจำเดือนสตรี ทาแก้ฟกบวม แก้ผื่นคัน
      - เป็นยารักษาหืด
      - เป็นยากันเล็บถอด
      - ใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอด

    • น้ำคั้นจากเหง้า -  รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แพลงช้ำเมื่อย

    • ัว - ช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี เลือดร้าย แก้มุตกิตระดูขาว แก้อาเจียน แก้ปวดฟัน

    • อก - ขับโลหิตกระจายเลือดเสีย

    • ้น - แก้ธาตุพิการ แก้อุจาระพิการ

    • - แก้ไข้ ปวดเมื่อย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เมื่อย

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    1. แก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม
      ใช้เหง้าแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ½ ถึง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ผสมเกลือเล็กน้อย ดื่ม

    2. รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง
      ใช้หัวไพลฝนทาแก้ฟกบวม เคล็ด ขัด ยอก
      ใช้เหง้าไพล ประมาณ 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเคล้า แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อยและบวมฟกช้ำ เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย หรือทำเป็นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้ โดยเอาไพล หนัก 2 กิโลกรัม ทอดในน้ำมันพืชร้อนๆ 1 กิโลกรัม ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา ทอดต่อไปด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 10 นาที กรองแล้วรอจนน้ำมันอุ่นๆ ใส่การบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ภาชนะปิดฝามิดชิด รอจนเย็น จึงเขย่าการบูรให้ละลาย น้ำมันไพลนี้ใช้ทาถูนวดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลาปวด (สูตรนี้เป็นของ นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา)

    3. แก้บิด ท้องเสีย
      ใช้เหง้าไพลสด 4-5 แว่น ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำเติมเกลือครึ่งช้อนชา ใช้รับประทาน หรือฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน

    4. เป็นยารักษาหืด
      ใช้เหง้าไพลแห้ง 5 ส่วน พริกไทย ดีปลี อย่างละ 2 ส่วน กานพลู พิมเสน อย่างละ ½ ส่วน บดผสมรวมกัน ใช้ผงยา 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนรับประทาน หรือปั้นเป็นลูกกลอนด้วยน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2 ลูก ต้องรับประทานติดต่อกันเวลานาน จนกว่าอาการจะดีขึ้น

    5. เป็นยาแก้เล็บถอด
      ใช้เหง้าไพลสด 1 แง่ง ขนาดเท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเกลือและการบูร อย่างละประมาณครึ่งช้อนชา แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหนอง ควรเปลี่ยนยาวันละครั้ง

    6. ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น และเป็นยาช่วยสมานแผลด้วย
      ใช้เหง้าสด 1 แง่ง ฝานเป็นชิ้นบางๆ ใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นๆ เนื่องจากไพลมี่น้ำมันหอมระเหย

    สารเคมี - Alflabene : 3,4 - dimethoxy benzaldehyde, curcumin, beta-sitosterol, Volatile Oils

    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    มะรุม

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Moringa oleifera  Lam.

    ชื่อสามัญ Horse radish tree, Drumstick

    วงศ์  Moringaceae

    ชื่ออื่น :  กาเน้งเดิง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ)  เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นสูง 3-6 เมตรหรือใหญ่กว่าเปลือกสีขาว รากหนานุ่ม ใบสลับแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ยาว 20-60 ซนติเมตร ใบชั้นหนึ่งมีใบย่อย 8-10 คู่ ใบแบบรูปไข่รูปไข่หัวกลับรูปคู่ขนาน ใต้ใบสีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีขนสีเทาขนาดใบยาว 1-3 เซนติเมตร ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรือขาวอมเหลืองแต้มสีแดงเข้าที่ใกล้ฐานด้านนอกยาว 1.4-1.9 เซนติเมตรกว้าง 0.4 เซนติเมตรปลายกลีบดอกกว้างกว่าโคน 4 กลีบ ตั้งตรง เกสรตัวผู้แยกจากกันสมบูรณ์ 5 อันไม่สมบูรณ์ 5 อันเรียงสลับกันมีขนสีขาว ที่โคนอับเกสรสีเหลืองเกสรตัวเมีย 1 อัน ผลยาวเป็นฝัก 3 เหลี่ยม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร 3 ปีก
    ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ราก ฝัก

    สรรพคุณ :

    • ัก  -  ปรุงเป็นอาหารรับประทาน

    • เปลือกต้น - มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก)

    • ราก - มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก
            - แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
      แพทย์ตามชนบท ใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมาเลย

    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    เร่ว

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Amomum xanthioides  Wall.

    ชื่อสามัญ Bustard cardamom, Tavoy cardamom

    วงศ์  Zingiberaceae

    ชื่ออื่น :   หมากแหน่ง (สระบุรี) หมากเนิง (อีสาน) มะอี้ หมากอี้ มะหมากอี้ (เชียงใหม่) หน่อเนง (ชัยภูมิ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ในดิน จัดเป็นพืชสกุลเดียวกับ กระวาน ข่า ขิง ใบมีลักษณะยาวเรียว ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลง ก้านใบมีขนาดสั้น ออกดอกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกมีสีขาวก้านช่อดอกสั้น ผลมีขนสีแดงปกคลุม เมล็ดมีสีน้ำตาล เร่วมีหลายชนิด เช่น เร่วหอม เร่วช้าง เร่วกอ ซึ่งเร่วเหล่านี้มีลักษณะต้นแตกต่างกันไป
    ส่วนที่ใช้ :  เมล็ดจากผลที่แก่จัด ราก ต้น ใบ ดอก ผล

    สรรพคุณ :

    • เมล็ดจากผลที่แก่จัด 
      -  เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
      -  แก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับน้ำนมหลังจากคลอดบุตร

    • ราก - แก้หืด แก้ไอ แก้ไข้เซื่องซึม

    • ต้น - แก้คลื่นเหียน อาเจียน

    • ใบ - ขับลม แก้ปัสสาวะพิการ

    • ดอก - แก้พิษอันเกิดเป็นเม็ดผื่นคันตามร่างกาย

    • ผล- รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    • แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมแน่นจุกเสียด
      โดยนำเมล็ดในของผลแก่มาบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1-3 กรัม (ประมาณ 3-9 ผล) วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

    • ใช้เป็นเครื่องเทศ โดยใช้เมล็ด

    สารเคมี - Essential Oil น้ำมันหอมระเหยจากผล P-Methyloxy- trans ethylcinnamate

    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    ว่านน้ำ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Acorus calamus  L.

    ชื่อสามัญ  Mytle Grass, Sweet Flag

    วงศ์  Araceae

    ชื่ออื่น :  คงเจี้ยงจี้ ผมผา ส้มชื่น ฮางคาวน้ำ ฮางคาวบ้าน (ภาคเหนือ) ตะไคร้น้ำ (เพชรบุรี)  ทิสีปุตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ว่านน้ำ ว่านน้ำเล็ก ฮางคาวผา (เชียงใหม่)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ว่านน้ำมีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินลักษณะเป็นแท่งค่อนข้างแบน มีใบแข็งตั้งตรง รูปร่างแบนเรียวยาวคล้ายใบดาบฝรั่ง ปลายใบแหลม แตกใบเรียงสลับซ้ายขวาเป็นแผง ใบค่อนข้างฉ่ำน้ำ ดอกมีสีเขียวมีขนาดเล็กออกเป็นช่อ มีจำนวนมากอัดกันแน่นเป็นแท่งรูปทรงกระบอก มีก้านช่อดอกลักษณะคล้ายใบ ทั้งใบ เหง้า และรากมีกลิ่นหอมฉุน ชอบขึ้นตามที่น้ำขัง หรือที่ชื้นแฉะ
    ส่วนที่ใช่ :  ราก เหง้า น้ำมันหอมระเหยจากต้น

    สรรพคุณ :

    • ราก
      รับประทานมาก ทำให้อาเจียน แต่มีกลิ่นหอม รับประทานน้อย เป็นยาแก้ปวดท้อง ธาตุเสีย บำรุงธาตุ แก้จุก ขับลมในลำไส้ ปรุงลงในยาขมต่างๆ ทำให้ระงับอาการปวดท้องได้ดี
      -  ในว่านน้ำมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า อาโกริน
      acorine มีรสขมและแอลคาลอยด์ คาลาไมท์ อยู่ในนี้เป็นยาแก้บิด เป็นยารักษาบิดของเด็ก (คือมูกเลือด) และหวัดลงคอ (หลอดลมอักเสบ) ได้อย่างดี เป็นยาขับเสมหะอย่างดี ชาวอินเดียใช้ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยว 2-3 นาที แก้หวัดและเจ็บคอ และใช้ปรุงกับยาระบายเพื่อเป็นยาธาตุด้วยในตัว
      -  เป็นยาเบื่อแมลงต่างๆ เช่น แมลงวัน
      -  เป็นยาแก้เส้นกระตุก แก้หืด ขับเสมหะ แก้ปวดศีรษะ แก้
      Hysteria และ Neuralgia แก้ปวดกล้ามและข้อ แก้โรคผิวหนัง

    • เหง้า - ใช้ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้โรคผิวหนัง เป็นยาหอม

    • น้ำมันหอมระเหยจากต้น - แก้ชัก เป็นยาขมหอม ขับแก๊สในท้อง ทำให้เจริญอาหาร ช่วยการย่อย

    วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ :

    • บำรุงธาตุ - ใช้เหง้าสด 9-12 กรัม หรือแห้ง 3-6 กรัม ชงด้วยน้ำร้อน 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ก่อนอาหารเย็น ติดต่อกันจนกว่าธาตุจะปกติ

    • แก้ปวดท้องและจุกแน่น -ใช้รากว่านน้ำ หนัก 60 กรัม โขลกให้ละเอียด ชงลงในน้ำเดือด 420 ซีซี. รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง

    • เป็นยาดูดพิษ แก้อาการอักเสบของหลอดลมและปอด - ใช้รากฝนกับสุรา เจือน้ำเล็กน้อย ทาหน้าอกเด็ก

    • เป็นยาแก้ไอ -  ใช้ชิ้นเล็กๆ ของรากว่านน้ำแห้ง อมเป็นยาแก้ไอ มีกลิ่นหอมระเหยทางลมหายใจ

    • ป็นยาถอนพิษของสลอด และแก้โรคลงท้องปวดท้องของเด็ก - ใช้รากว่านน้ำเผาจนเป็นถ่าน ทำผงรับประทานมื้อละ 0.5 ถึง 1.5 กรัม ใช้ใบว่านน้ำสดตำละเอียดผสมน้ำสุมศีรษะแก้ปวดศีรษะได้ ตำพอกแก้ปวดกล้ามและข้อ ตำรวมกับชุมเห็ดเทศ แก้โรคผิวหนัง

    • เป็นยาขมหอม เจริญอาหาร ขับแก๊ส ช่วยย่อยอาหาร - ในน้ำมันหอมระเหยมีวัตถุขมชื่อ acorin และมีแป้งและแทนนินอยู่ด้วย ทำเป็นยาชง (1 ใน 10) รับประทาน 15-30 ซีซี. หรือทิงเจอร์ (1 ใน 5) รับประทาน 2-4 ซีซี. ขนาดใช้ 1-4 กรัม

    สารเคมี มีน้ำมันหอมระเหย (Calamus oil)  2-4% ในน้ำมันประกอบด้วย Sesquiterpene  เช่น  asarone, Betasalone (มี 70-80 %)  และตัวอื่นๆ ยังมี glucoside รสขมชื่อ acorin

    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    โหระพา

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ocimum basilicum  L.

    ชื่อสามัญ  Sweet Basil

    วงศ์  Labiatae

    ชื่ออื่น :  ห่อกวยซวย ห่อวอซุ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมขาว (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีขนาดเล็ก มีลักษณะหรือลักษณะพิเศษของโหระพาดังนี้ เป็นพืชที่มีอายุได้หลายฤดู มีลักษณะลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมและเป็นพุ่ม ลำต้นจะแตกแขนงได้มากมาย กิ่งก้านมีสีม่วงแดง มีขนอ่อนๆ ที่ผิวลำต้น ใบมีรูปร่างแบบรูปไข่ปกติจะยาวไม่เกิน ๒ นิ้ว ใบจะเรียงตัวแบบตรงกันข้ามกัน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ใบมีสีเขียวอมม่วงและมีก้านใบยาว ดอกโหระพา ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือม่วงจะออกเป็นช่อคล้ายฉัตรที่ยอด ดอกมีทั้งสีม่วง แดงอ่อน และสีขาว ในแต่ละดอกจะมีเกสรตัวผู้ ๔ อัน รังไข่แต่ละอันจะมีสีม่วง เมล็ดมีสีดำมีกลิ่นหอมทั้งต้น
    ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น เมล็ด และราก

    • ทั้งต้น - เก็บเมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาว ขณะเจริญเต็มที่ มีดอกและผลล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนตาแห้งเก็บไว้ใช้

    • เมล็ด - นำต้นไปเคาะ แยกเอาเมล็ดตากแห้งเก็บไว้ใช้ (ระวังไม่ให้ถูกน้ำเพราะจะจับกันเป็นก้อน)

    • ราก - ใช้รากสด หรือตากแห้ง เก็บไว้ใช้

    สรรพคุณ :

    • ทั้งต้น 
      - รสฉุน สุขุม ขับลม ทำให้เจริญอาหาร
      - แก้ปวดหัว หวัด ปวดกระเพาะอาหาร
      - จุกเสียดแน่น ท้องเสีย
      -  ประจำเดือนผิดปกติ
      - ฟกช้ำจากหกล้ม หรือกระทบกระแทก งูกัด
      -  ผดผื่นคัน มีน้ำเหลือง

    • เมล็ด
      - รสชุ่ม เย็น สุขุม ถูกน้ำจะพองตัวเป็นเมือก
      - ใช้แก้ตาแดง มีขี้ตามาก ต้อตา
      - ใช้เป็นยาระบาย (ใช้เมล็ด 4-12 กรัม แช่น้ำเย็นจนพอง ผสมน้ำหวาน เติมน้ำแข็งรับประทาน)

    • ราก - แก้เด็กเป็นแผล มีหนองเรื้อรัง

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    • ทั้งต้น - แห้ง 6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือใช้สดคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง หรือเผาเป็นเถ้า บดเป็นผง ผสมทา

    • เมล็ด - แห้ง 2.5-5 กรัม ต้มน้ำหรือแช่น้ำดื่ม ใช้ภายนอก บดเป็นผงแต้มทา

    • ราก - เผา เป็นเถ้าพอก

    • ใบ
      - ใช้ใบคั้นเอาน้ำ 2-4 กรัม ผสมน้ำผึ้ง จิบแก้ไอและหลอดลมอักเสบ
      - ใช้สำลีก้อนเล็กๆ ชุบน้ำคั้นจากใบอุดโพรงฟันที่ปวด แก้ปวดฟัน

    สารเคมี
              น้ำมันหอมระเหยจากใบ ประกอบด้วย
    Ocimine, alpha-pinene, 1,8- cineole, eucalyptol ,linalool, geraniol,limonene, eugenol, methyl chavicol, eugenol methyl ether.methyl cinnaminate, 3- hexen -1- ol, estragol

    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    อบเชยเทศ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cinnamomum verum  J.Presl

    ชื่อสามัญ  Cinnamon Tree

    วงศ์  Lauraceae

    ชื่ออื่น :  -

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นมีสีเทาและหนา กิ่งขนานกับพื้นและตั้งชันขึ้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกลับกันตามลำต้น ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม มีเส้นใบสามเส้น ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอม ผลมีสีดำคล้ายรูปไข่
    ส่วนที่ใช้
    : เปลือกต้น ใบ

    สรรพคุณ :

    • เปลือกต้น 
      - ใช้บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลีย ทำให้มีกำลัง  
      - ใช้ขับลม บำรุงธาตุ
      - บดเป็นผงใช้เป็นเครื่องเทศใส่อาหาร
      - ใส่เครื่องสำอาง
      - ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน และจุกเสียด

    • ใบ
      - มีน้ำมัน ใช้แต่งกลิ่น
      - ฆ่าเชื้อ

    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    อบเชยต้น (เชียด)

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cinnamomum iners Reinw. ex Blume

    ชื่อสามัญ  Cinnamon

    วงศ์  Lauraceae

    ชื่ออื่น : กระแจะโมง กะเชียด กะทังนั้น (ยะลา) กระดังงา (กาญจนบุรี) กะพังหัน โกเล่ เนอม้า (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เขียด เคียด เฉียด ชะนุต้น (ภาคใต้) มหาปราบตัวผู้ อบเชย อบเชยต้น (ภาคกลาง)  ดิ๊กซี่สอ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) บอกคอก (ลำปาง) ฝักดาบ (พิษณุโลก) พญาปราบ (นครราชสีมา) สะวง (ปราจีนบุรี) 

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น  ใบและเปลือกหอม   ใบ เดี่ยว  เรียงตรงข้าม  เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอม   ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง  สีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน  เหม็น  กลีบรวมชั้นนอก 3 กลีบ  คล้ายกลีบเลี้ยง   กลีบรวมชั้นใน 3 กลีบ  แยกกันแต่ติดตรงโคน ผลสด แก่สีม่วงดำ 
    ส่วนที่ใช้ : เปลือก ใบ

    สรรพคุณและวิธีใช้

    • เปลือก 
      - หอมหวาน บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลัน ทำให้มีกำลัง ขับผายลม  
      - เปลือกต้ม หรือทำเป็นผง แก้โรคหนองในและแก้โทษน้ำคาวปลา
      - ใช้เป็นยานัตถุ์ แก้ปวดศีรษะ ปรุงรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง และปรุงเป็นยาแก้บิด และไข้สันนิบาต

    • ใบ - เป็นสมุนไพรหอม ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนและจุกเสียดแน่นและลงท้อง เป็นยาบำรุงกำลัง และบำรุงธาตุ

    • รากกับใบ - ต้มน้ำรับประทาน แก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch