หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/8

    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    กานพลู

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Syzygium aromaticum (L.) Merr.& L.M.Perry
    ชื่อพ้อง :  Caryophyllus aromatica  L. ; Eugenia aromatica  (L.) Baill; E.Caryophylla (Spreng.) Bullock et Harrison;  E.caryophyllata Thunb.

    ชื่อสามัญ  Clove Tree

    วงศ์  Myrtaceae

    ชื่ออื่น :  -

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม. มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม. ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1 เมล็ด
              กานพลูเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตร

    ส่วนที่ใช้ :  เปลือกต้น ใบ ดอกตูม ผล น้ำมันหอมระเหยกานพลุ

    สรรพคุณ :

    • เปลือกต้น  -  แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ 

    • ใบ แก้ปวดมวน

    • ดอกตูม - รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่น
      ดอกกานพลูแห้ง ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการ แก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียว ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเสียในเด็ก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาด กับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน

    • ผล -  ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม

    • น้ำมันหอมระเหยกานพลู - ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรม เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม และปวดท้อง
      ใช้ดอกกานพลูโตเต็มที่ ที่ยังตูมอยู่ 4-6 ดอก หรือ 0.25 กรัม
      ในผู้ใหญ่  - ใช้ทุบให้ช้ำ ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว
      ในเด็ก -  ใช้ 1 ดอก ทุบแล้วใส่ลงในขวดนม
      เด็กอ่อน - ใช้ 1 ดอก ทุบใส่ในกระติกน้ำที่ไว้ชงนม ช่วยไม่ให้เด็กท้องขึ้นท้องเฟ้อได้

    • ยาแก้ปวดฟัน
      ใช้นำมันจากการกลั่นดอกตูมของดอกกานพลู 4-5 หยด ใช้สำลีพันปลายไม้ จุ่มน้ำมันจิ้มในรูฟันที่ปวด จะทำให้อาการปวดทุเลา และใช้แก้โรครำมะนาดก็ได้
      หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยว แล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟันเพื่อระงับอาการปวด หรือใช้ ดอกกานพลูตำพอแหลกผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะใช้จิ้มหรืออุดฟันที่ปวด

    • ระงับกลิ่นปาก
      ใช้ดอกตูม 2-3 ดอก อมไว้ในปาก จะช่วยทำให้ระงับกลิ่นปากลงได้บ้าง

    สารเคมี : Eugenol, Cinnamic aldehyde Vanillin น้ำมันหอมระเหย Caryophylla - 3(12)-6-dien-4-ol

    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    กระวาน

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Amomum krervanh Pierre

    ชื่อสามัญ  Siam Cardamom, Best Cardamom, Clustered Cardamom, Camphor Seed

    วงศ์   Zingiberaceae

    ชื่ออื่น :  กระวานดำ กระวานแดง กระวานขาว (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก) กระวานจันทร์ กระวานโพธิสัตว์

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ล้มลุก มีเหง้า สูงประมาณ 2 เมตร กาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้น ใบเดี่ยว แคบยาว รูปขอบขนาน ยาว 15-25 ซม. ปลายแหลม ช่อดอกออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน รูปทรงกระบอก ยาว 6-15 ซม. ก้านช่อดอกยาว 5-15 ซม. ใบประดับสีเหลืองนวล มีขนคาย เรียงซ้อนสลับกันตลอดช่อ ในซอกใบประดับมีดอก 1-3 ดอก  ปลายกลีบเลี้ยงมี 3 หยัก  กลีบดอกสีเหลือง เป็นหลอดแคบ เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์แปรสภาพเป็นกลีบขนาดใหญ่ สีขาว มีแถบสีเหลืองตรงกลาง  ผลค่อนข้างกลม สีนวล มี 3 พู ผลอ่อนมีขนและจะร่วงไปเมื่อแก่ ผลแก่จะแตก มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดอ่อนสีขาวมีเยื่อหุ้ม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ ทั้งผลและเมล็ดมีกลิ่นหอม
    ส่วนที่ใช้ :  ราก หัวและหน่อ  เปลือก แก่น กระพี้ ผลแก่ที่มีอายุ 4-5 ปี (เก็บในช่วงเดือนสิงหาคม-มีนาคม)  เมล็ด

    สรรพคุณ :

    • ราก -  แก้โลหิตเน่าเสีย ฟอกโลหิต แก้ลม เสมหะให้ปิดธาตุ รักษาโรครำมะนาด

    • หัวและหน่อ - ขับพยาธิในเนื้อให้ออกทางผิวหนัง

    • เปลือก - แก้ไข้ ผอมเหลือง รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้อันง่วงเหงา ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้อันเป็นอชินโรค และอชินธาตุ

    • แก่น - ขับพิษร้าย รักษาโรคโลหิตเป็นพิษ

    • กระพี้ - รักษาโรคผิวหนัง บำรุงโลหิต

    • ใบ - แก้ลมสันนิบาต แก้สันนิบาตลูกนก ขับผายลม ขับเสมหะ แก้ไข้เพื่อลม รักษาโรครำมะนาด แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ แก้ไข้เซื่องซึม แก้ลม แก้จุกเสียด บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ  แก้ไข้อันง่วงเหงา

    • ผลแก่  - รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) 5-9 เปอร์เซนต์ มีฤทธิ์ในการขับลม (Carminative) และฤทธิ์ในการยับยั้ง การเจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ขับโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมในอกให้ปิดธาตุ แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ แก้ลมเจริญอาหาร รักษาโรค รำมะนาด แก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ลมสันนิบาต ผลแก่ของกระวานตากแห้ง ใช้เป็นเครื่องเทศ

    • เมล็ด - แก้ธาตุพิการ อุจจาระพิการ บำรุงธาตุ

    • เหง้าอ่อน - ใช้รับประทานเป็นผักได้ มีกลิ่นหอมและเผ็ดเล็กน้อย

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              ผลกระวาน ขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด
              ใช้ผลกระวานแก่จัดประมาณ 6-10 ผล (0.6-2 กรัม) ตากแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1-3 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว ใช้รับประทานครั้งเดียว
              ผลกระวาน ยังใช้ผสมยาถ่าย เช่น มะขามแขกเพื่อบรรเทาอาการไซ้ท้อง
    สารเคมี :  ในน้ำมันหอมระเหย กระวาน (Essential oil) พบสารเคมีคือ Borneol, Cineol, Camphor

    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    กุ่มน้ำ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Crataeva magna (Lour.) DC.

    วงศ์  CAPPARACEAE

    ชื่ออื่น :  กุ่มน้ำ (ภาคกลาง), รอถะ (ละว้า-เชียงใหม่, ภาคเหนือ), เหาะเถาะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), อำเภอ (ภาคตะวันตกเฉียงใต้, สุพรรณบุรี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5-20 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 4-14 ซม. หูใบเล็ก ร่วงง่าย ใบย่อยรูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-6.5 ซม. ยาว 4.5-18 ซม. ปลายค่อยๆ เรียวแหลม ยาวประมาณ 2.5 ซม. โคนสอบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยวเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน เส้นแขนงใบข้างละ 9-20 เส้น บางครั้งพบมีถึงข้างละ 22 เส้น เห็นชัดทางด้านล่าง ใบแห้งสีค่อนข้างแดง ใบย่อยไม่มีก้านหรือถ้ามียาวไม่เกิน 5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะถี่ ออกที่ยอด ช่อหนึ่งมีหลายดอก ก้านดอกยาว 4-7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ ปลายแหลม กว้างประมาณ 2 มม. ยาว 2-4 มม. กลีบดอกสีขาว ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง รูปค่อนข้างกลมหรือรูปรี กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 1.5-3 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 0.5-1.2 ซม. เกสรเพศผู้สีม่วง มี 15-25 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 3.5-6.5 ซม. อับเรณูยาว 2-3 มม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาว 3.5-8 ซม. รังไข่รูปรีหรือทรงกระบอก มี 1 ช่อง ผลสีนวล รูปรี กว้าง 1.5-4.5 ซม. ยาว 5-8 ซม. เปลือกผลมีนวล ก้านผลยาว 8-13 ซม. หนา 3-5 มม. มีเมล็ดมาก เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม รูปเกือกม้า ขนาดกว้างและยาวเท่าๆ กันคือ 6-9 มม.

    ส่วนที่ใช้: ใบ เปลือก กระพี้ แก่น ราก ดอก ผล

    สรรพคุณ :

    • บ  -   ขับเหงื่อ

    • เปลือก  -  แก้สะอึก

    • กระพี้ -  แก้ริดสีดวงทวาร

    • แก่น -  แก้นิ่ว

    • ราก -  ขับหนอง

    • ดอก - แก้เจ็บตา และในลำคอ

    • แก้ไข้

    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    ดีปลี

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Piper retrofractum  Vahl

    ชื่อสามัญ  long pepper

    วงศ์   Piperaceae

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถารากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะ ใบ เดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-10 ซม. สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น แยกเพศ ผล เป็นผลสด มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสเผ็ดร้อน

    ส่วนที่ใช้ : ราก เถา ใบ ดอก ผลแก่จัด แต่ยังไม่สุก หรือตากแดดให้แห้ง

    สรรพคุณ :

    • ราก  -   แก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต พิษปัตคาด แก้ตัวร้อน แก้พิษคุดทะราดให้ปิดธาตุ แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้  แก้คุดทะราด

    • เถา -  แก้พิษงู ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ปวดท้อง จุกเสียด แก้เสมหะพิการ แก้ลมอัมพฤกษ์ แก้มุตฆาต

    • ใบ - แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็น

    • ดอก - แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียดแน่นท้อง ขับลมในลำไส้ให้ผายและเรอ แก้หืด ไอ แก้ริดสีดวง คุดทะราด แก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย แก้ปถวีธาตุ 20 ประการ แก้อัมพาต และเส้นปัตคาด

    • ผลแก่จัด - รสเผ็ดร้อน แก้ลม บำรุงธาตุไฟ แก้หืดไอ แก้เสมหะ(หลังเป็นหวัด) แก้หลอดลมอักเสบ ยาขับระดู ยาธาตุ ทาแก้ปวดเมื่อยและอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อแน่นจุกเสียด ขับลม บำรุงธาตุ  ใช้ประกอบตำรายาที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ธาตุไม่ปกติ (ใช้เป็นยาขับลม แต่ไม่นิยมใช้ โดยมากนำมาเป็นเครื่องเทศ)

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    • อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ
      โดยใช้ผลดีปลีแก่แห้ง 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ผล) ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าไม่มีผลใช้เถาต้มแทนได้

    • อาการไอ และขับเสมหะ
      ใช้ผลแห้งแก่ ประมาณครึ่งผล ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือเล็กน้อย กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ

    • ผลดีปลีแห้งใช้เป็นเครื่องเทศ ประกอบอาหาร มีรสเผ็ดร้อน ขม

    สารเคมีที่พบ
            มีน้ำมันหอมระเหย และแอลคาลอยด์ ชื่อ
    P-Methoxy acetophenone, Dihydrocarveol, Piperine, Pipelatine Piperlongumine, Sylvatine และ Pyridine alkaloids อื่นๆ

    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    เทพธาโร

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.

    วงศ์  Lauraceae

    ชื่ออื่น :  จวง จวงหอม (ภาคใต้) จะไคต้น จะไคหอม (ภาคเหนือ) พลูต้นขาว (เชียงใหม่) มือแดกะมางิง (มลายู-ปัตตานี) การบูร (หนองคาย)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้น สูง 10 – 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม ทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมักจะมีคราบขาว เปลือกสีเทาอมเขียวหรือสีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ยาว 7 – 20 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ก้านใบเรียวเล็ก ยาวประมาณ 2.5 – 3.5 เซนติเมตร ดอก สีขาว เหลืองอ่อน ออกเป็นช่อประจุกตามปลายกิ่ง ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.7 เซนติเมตร สีเขียว

    ส่วนที่ใช้ ใบ เปลือก ต้น

    สรรพคุณ :

    •   -   รสร้อน ใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้ลม จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้อาการปวดท้อง ขับผายลมได้ดี ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหารให้เรอ เป็นยาบำรุงธาตุ ขับเสมหะ

    • เปลือก  -  รสร้อน มีน้ำมันระเหย 1-25 % และแทนนิน แก้ลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร บำรุงธาตุ

    วิธีการใช้ : เนื้อไม้สีขาว มีกลิ่นหอมฉุนเหมือนกลิ่นการะบูน อาจกลั่นเอาน้ำมันระเหยออกมาจากเนื้อไม้นี้ได้ และอาจดัดแปลงทางเคมี ให้เป็นการะบูนได้ ใบมีกลิ่นหอมเป็นเครื่องเทศตามร้านขายยาสมุนไพรในประเทศไทย ใช้ใบนี้เป็นใบกระวานสำหรับใส่เครื่องแกงมัสหมั่น ทุกร้านถ้าเราไปขอซื้อใบกระวานจะได้ใบไม้นี้ ส่วนใบกระวานจริงๆ เราไม่ได้ใช้กัน (ใบกระวานจริงๆ ลักษณะเหมือนใบข่า)

    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    พริกไทย

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Piper nigrum  L.

    ชื่อสามัญ  Black Pepper

    วงศ์  Piperaceae

    ชื่ออื่น :  พริกน้อย (ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เลื้อยมีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ลำต้นมีข้อและป้องชัดเจน ใบเดี่ยวออกสลับ รูปไข่หรือรี ปลายใบแหลม โคนใบมนกลมหรือแหลมเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้าง 3.5 - 6 ซม. ยาว 7 - 10 ซม. เส้นใบที่บริเวณโคนใบมี 3 - 5 เส้น ดอกออกเป็นช่อและออกตรงข้ามกับใบ ช่อรูปก้านใบยาว 10 - 20 มม. ติดอยู่ตามแกนช่อดอกรองรับดอก รังไข่กลมปลายเกสรแยก 3 - 6 แฉก ช่อดอกตัวผู้มีดอกที่มีเกสรตัวผู้ 2 อัน ผลรวมกันบนช่อยาว 5 - 15 ซม. ผลรูปทรงกลมขนาด 4 - 5 ซม. แก่แล้วมีเมล็ดสีดำ ภายในมี 2 เมล็ด

    ส่วนที่ใช้ : ใบ ผล เมล็ด ดอก

    สรรพคุณ :

    •   -   แก้ลมจุกเสียดแน่น ท้องอืดเฟ้อ

    • ผล - ผลที่ยังไม่สุกนำมาเป็นเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร

    • เมล็ด - ขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ  อาหารไม่ย่อย

    • ดอก -  แก้ตาแดง ถนอมอาหารหลายชนิด เช่น มะม่วงดอง

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :  ใช้เมล็ด 0.5-1 กรัม ประมาณ 15-20 เมล็ด บดเป็นผง ชงรับประทาน 1 ครั้ง
    สารเคมี
    :  มีน้ำมันหอมระเหย 2-4 % มีแอลคาลอยด์หลักคือ piperine 5-9% ซึ่งเป็นตัวทำให้มีความเผ็ด นอกจากนี้ยังพบ piperidine, pipercanine เป็นตัวทำให้มีกลิ่นฉุนและรสเผ็ด (ซึ่งเดิมคิดว่าเป็น chavicine) พริกไทยอ่อนนั้นมีน้ำมันหอมระเหยต่ำกว่า พริกไทยดำ และมีโปรตีน 11%  คาร์โบไฮเดรต 65%


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch